วันพุธที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2556

บรรยาย พ.ร.บ.ตำรวจ อ.สมาน 7

บรรยาย พ.ร.บ.ตำรวจ อ.สมาน 6

บรรยาย พ.ร.บ.ตำรวจ อ.สมาน 5

บรรยาย พ.ร.บ.ตำรวจ อ.สมาน 4

บรรยาย พ.ร.บ.ตำรวจ อ.สมาน 3

บรรยาย พ.ร.บ.ตำรวจ อ.สมาน 2

บรรยาย พ.ร.บ.ตำรวจ อ.สมาน 1

ความผิดลหุโทษ

ความผิดลหุโทษ


มาตรา 102     ความผิดลหุโทษ คือความผิดซึ่งต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับเช่นว่ามานี้ด้วยกัน

-          คำพิพากษาฎีกาที่ 870/2496 นอกจากความผิดตามที่บัญญัติไว้ในภาค 3 แล้ว มาตรา 102 ใช้ในกฎหมายอื่นด้วย ฉะนั้นความผิดตามพระราชบัญญัติต่าง ๆ ที่มีระวางโทษไม่เกินที่ระบุไว้ในมาตรา 102 ถือเป็นความผิดลหุโทษด้วย

มาตรา 103     บทบัญญัติในลักษณะ 1 ให้ใช้ในกรณีแห่งความผิดลหุโทษด้วย เว้นแต่ที่บัญญัติไว้ในสามมาตราต่อไปนี้

-          เหตุที่ต้องบัญญัติมาตรานี้ ก็เพราะจะใช้ มาตรา 17 กับความผิดลหุโทษในภาค ไม่ได้ เนื่องจาก มาตรา 17 บัญญัติให้นำบทบัญญัติในภาค 1 ไปใช้ในกรณีแห่งความผิดตามกฎหมายอื่น

อาญา มาตรา ๓๖๒ - ๓๖๖ บุกรุก

อาญา มาตรา ๓๖๒ - ๓๖๖

         หมวด 8               ความผิดฐานบุกรุก

          มาตรา 362      ผู้ใด เข้าไปในอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่น เพื่อถือการครอบครองอสังหาริมทรัพย์นั้นทั้งหมด หรือแต่บางส่วน หรือเข้าไปกระทำการใดๆ อันเป็นการ รบกวนการครอบครอง” อสังหาริมทรัพย์ของเขาโดยปกติสุข ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

-          ลักษณะความผิด
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 2718/2538 ความผิดฐานบุกรุกตาม ป.อ. มาตรา 362 ตอนแรก เป็นการรบกวนกรรมสิทธิ์ ตอนที่สองเป็นการรบกวนการครอบครอง และทั้งสองตอนนั้น ต้องเป็นการกระทำต่อสิทธิครอบครอง หรือกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นโดยปกติสุข ผู้เสียหายเป็น

อาญา มาตรา ๓๕๘ - ๓๖๑ ทำให้เสียทรัพย์

อาญา มาตรา ๓๕๘ - ๓๖๑


               หมวด 7                     ความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์

      มาตรา 358          ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย ทำให้เสื่อมค่า หรือทำให้ไร้ประโยชน์ ซึ่งทรัพย์ของผู้อื่นหรือผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย ผู้นั้นกระทำความผิดฐาน ทำให้เสียทรัพย์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

-          เจตนาทำให้เสียทรัพย์
-          อ คณิต เห็นว่า การทำให้ทรัพย์กลับคืนดีขึ้น ไม่เป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์” / ส่วนตัวเห็นว่า หากพิจารณาถึงการซ่อมแซมอาคาร โดยทุบไปบางส่วนเพื่อต่อเติม หรือปรับปรุง ต้องดูเจตนาผู้กระทำอีกชั้นหนึ่ง โดยส่วนของการทุบของเดิมทิ้ง แม้มีเจตนาเพื่อจะปรับปรุง ก็อาจเป็นความผิดทำให้เสียทรัพย์ได้ ลองดูตัวอย่างของ อ จิตติ หรือ อ เกียรติขจร เรื่องเจตนาทำร้าย แพทย์ตัดขาคนไข้ ในการรักษา

อาญา มาตรา ๓๕๗ รับของโจร

อาญา มาตรา ๓๕๗



            หมวด 6                        ความผิดฐานรับของโจร

           มาตรา 357      ผู้ใดช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อ รับจำนำ หรือรับไว้โดยประการใด ซึ่งทรัพย์อันได้มาโดยการกระทำความผิด ถ้าความผิดนั้นเข้าลักษณะลักทรัพย์ วิ่งราวทรัพย์ กรรโชก รีดเอาทรัพย์ ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ ฉ้อโกง ยักยอก หรือเจ้าพนักงานยักยอกทรัพย์ ผู้นั้นกระทำความผิดฐาน รับของโจร ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

อาญา มาตรา ๓๕๓ - ๓๕๖

อาญา มาตรา ๓๕๓ - ๓๕๖



    มาตรา 353 ผู้ใดได้รับมอบหมายให้จัดการทรัพย์สินของผู้อื่น หรือทรัพย์สินซึ่งผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย กระทำผิดหน้าที่ของตนด้วยประการใดๆ โดยทุจริต จนเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินของผู้นั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

อาญา มาตรา ๓๕๒ ยักยอก

อาญา มาตรา ๓๕๒



             หมวด 5                       ความผิดฐานยักยอก

      มาตรา 352 ผู้ใดครอบครองทรัพย์ซึ่งเป็นของผู้อื่น หรือซึ่งผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย เบียดบังเอาทรัพย์นั้นเป็นของตนหรือบุคคลที่สามโดยทุจริต ผู้นั้นกระทำความผิดฐานยักยอก ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ถ้าทรัพย์นั้นได้ตกมาอยู่ในความครอบครองของผู้กระทำความผิด เพราะผู้อื่นส่งมอบให้โดยสำคัญผิดไปด้วยประการใด หรือเป็นทรัพย์สินหายซึ่งผู้กระทำความผิดเก็บได้ ผู้กระทำต้องระวางโทษแต่เพียงกึ่งหนึ่ง

อาญา มาตรา ๓๔๙ - ๓๕๑

อาญา มาตรา ๓๔๙ - ๓๕๑

           หมวด 4             ความผิดฐานโกงเจ้าหนี้

     มาตรา 349          ผู้ใดเอาไปเสีย ทำให้เสียหาย ทำลาย ทำให้เสื่อมค่า หรือทำให้ไร้ประโยชน์ ซึ่ง ทรัพย์อันตนจำนำไว้” แก่ผู้อื่น ถ้าได้กระทำเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้รับจำนำ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

อาญา มาตรา ๓๔๒ - ๓๔๘

อาญา มาตรา ๓๔๒ - ๓๔๘


    มาตรา 342 ถ้าในการกระทำความผิดฐานฉ้อโกง ผู้กระทำ
(1)   แสดงตนเป็นคนอื่น หรือ
(2)   อาศัยความเบาปัญญาของผู้ถูกหลอกลวงซึ่งเป็นเด็ก หรืออาศัยความอ่อนแอแห่งจิตของผู้ถูกหลอกลวง
ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

อาญา มาตรา ๓๔๑ (ต่อ) กรณีความผิดทางแพ่ง

อาญา มาตรา ๓๔๑ (ต่อ)

-          กรณีเป็นเรื่องผิดสัญญาทางแพ่ง
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 87/2506 ผู้รับฝากเงินมีอำนาจเอาเงินที่รับฝากไปใช้จ่ายได้และมีหน้าที่ต้องคืนเงินแก่ผู้ฝากให้ครบจำนวน การที่ผู้รับฝากจ่ายเงินให้จำเลยไปเพราะถูกจำเลยหลอกลวง ต้องถือว่าผู้รับฝากเป็นผู้เสียหาย ส่วนผู้ฝากไม่ใช่ผู้เสียหาย ไม่มีอำนาจร้องทุกข์

อาญา มาตรา ๓๔๑ ฉ้อโกง

อาญา มาตรา ๓๔๑


                  หมวด 3                  ความผิดฐานฉ้อโกง

    มาตรา 341 ผู้ใดโดยทุจริต หลอกลวงผู้อื่น ด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง และโดยการหลอกลวงดังว่านั้น ได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม หรือทำให้ผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม ทำ ถอน หรือทำลายเอกสารสิทธิ ผู้นั้นกระทำความผิดฐาน ฉ้อโกง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

อาญา มาตรา ๓๔๐ ทวิ , ตรี

อาญา มาตรา ๓๔๐ ทวิ , ตรี


มาตรา 340 ทวิ          ถ้าการปล้นทรัพย์ได้กระทำต่อ ทรัพย์ตามมาตรา 335 ทวิวรรคแรก ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุก ตั้งแต่สิบปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสี่หมื่นบาท
ถ้าการปล้นทรัพย์นั้น เป็นการกระทำ ในสถานที่” ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 335 ทวิวรรคสองด้วย ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบห้าปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่สามหมื่นบาทถึงสี่หมื่นบาท

อาญา มาตรา ๓๔๐ ปล้นทรัพย์

อาญา มาตรา ๓๔๐

             มาตรา 340    ผู้ใดชิงทรัพย์โดยร่วมกันกระทำความผิดด้วยกัน ตั้งแต่สามคนขึ้นไป ผู้นั้นกระทำความผิดฐาน ปล้นทรัพย์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสามหมื่นบาท
ถ้า "ในการปล้นทรัพย์" ผู้กระทำแม้แต่คนหนึ่งคนใดมีอาวุธติดตัวไปด้วย ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบสองปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นสี่พันบาทถึงสี่หมื่นบาท
ถ้าการปล้นทรัพย์ เป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายสาหัส ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่สิบห้าปีถึงยี่สิบปี

อาญา มาตรา ๓๓๙ ชิงทรัพย์

อาญา มาตรา ๓๓๙


มาตรา 339     ผู้ใดลักทรัพย์ โดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่าในทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้าย เพื่อ
(1)   ให้ความสะดวกแก่การลักทรัพย์ หรือการพาทรัพย์นั้นไป
(2)   ให้ยื่นให้ซึ่งทรัพย์นั้น
(3)   ยึดถือเอาทรัพย์นั้นไว้
(4)   ปกปิดการกระทำความผิดนั้น หรือ
(5)   ให้พ้นจากการจับกุม

อาญา มาตรา ๓๓๗ - ๓๓๘

อาญา มาตรา ๓๓๗ - ๓๓๘


หมวด 2                        ความผิดฐานกรรโชก รีดเอาทรัพย์ ชิงทรัพย์และปล้นทรัพย์
มาตรา 337      ผู้ใดข่มขืนใจผู้อื่น ให้ยอมให้ หรือยอมจะให้ ตนหรือผู้อื่น ได้ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สิน โดยใช้กำลังประทุษร้าย” หรือ โดยขู่เข็ญว่าจะทำอันตราย ต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียง หรือทรัพย์สินของผู้ถูกขู่เข็ญ หรือของบุคคลที่สาม จนผู้ถูกข่มขืนใจยอมเช่นว่านั้น ผู้นั้นกระทำความผิดฐานกรรโชก ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี และปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท

อาญา มาตรา ๓๓๔ - ๓๓๖ ทวิ (ต่อ)

อาญา มาตรา ๓๓๔ - ๓๓๖ ทวิ (ต่อ)


-          ประเด็นเปรียบเทียบ ความผิด ฐานลักทรัพย์ กับฐานยักยอกทรัพย์
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 1253/2491 เจ้าทรัพย์ยอมให้จำเลยช่วยถือทรัพย์ไว้แทนตนและไปด้วยกัน การครอบครองในทรัพย์ยังตกอยู่แก่เจ้าของทรัพย์ การที่จำเลยบังอาจพาทรัพย์นั้นหนีไป ให้พ้นจากความครอบครองของเจ้าของทรัพย์ โดยไม่ได้รับอนุญาต ย่อมเป็นความผิดฐานลักทรัพย์

อาญา มาตรา ๓๓๔ - ๓๓๖ ทวิ

อาญา มาตรา ๓๓๔ - ๓๓๖ ทวิ


-          ความรับผิดในความผิดเกี่ยวกับทรัพย์
-          & ผู้ร่วมกระทำผิดในความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ อันเป็นการได้ทรัพย์นั้น ไม่ต้องรับผิดฐานรับของโจรอีก
-          & บางกรณี อาจเข้าลักษณะเป็นความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ 2 ข้อหาได้ เช่น Ø ผู้ต้องหา Kเอาทรัพย์ที่รับฝากไว้จากบุคคลหนึ่ง  ไปหลอกขายให้แก่อีกบุคคลหนึ่ง  ผู้ต้องหา Kยักยอกทรัพย์  และฉ้อโกง 

อาญา มาตรา ๓๒๒ - ๓๓๓

อาญา มาตรา ๓๒๒ - ๓๓๓

หมวด 2                        ความผิดฐานเปิดเผยความลับ
มาตรา 322     ผู้ใดเปิดผนึก หรือเอาจดหมาย โทรเลข หรือเอกสารใด ๆ ซึ่งปิดผนึกของผู้อื่นไปเพื่อล่วงรู้ข้อความก็ดี เพื่อนำข้อความในจดหมาย โทรเลข หรือเอกสารเช่นว่านั้นออกเปิดเผยก็ดี ถ้าการกระทำนั้นน่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

อาญา มาตรา ๓๑๗ - ๓๒๑

อาญา มาตรา ๓๑๗ - ๓๒๑


มาตรา 317     ผู้ใดโดยปราศจากเหตุอันสมควร พรากเด็ก” อายุยังไม่เกินสิบห้าปี ไปเสียจากบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแล ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่หกพันบาทถึงสามหมื่นบาท
ผู้ใดโดยทุจริต ซื้อ จำหน่าย หรือรับตัวเด็กซึ่งถูกพรากตามวรรคแรก ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้พรากนั้น
ถ้าความผิดตามมาตรานี้ ได้กระทำเพื่อหากำไร หรือเพื่อการอนาจาร ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงสี่หมื่นบาท

อาญา มาตรา ๓๐๑ - ๓๑๖

อาญา มาตรา ๓๐๑ - ๓๑๖


หมวด 3                        ความผิดฐานทำให้แท้งลูก
มาตรา 301      หญิง” ใดทำให้ตนเองแท้งลูก หรือยอมให้ผู้อื่นทำให้ตนแท้งลูก ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 302     ผู้ใดทำให้หญิงแท้งลูก โดยหญิงนั้นยินยอม ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๒๙๕ - ๓๐๐

มาตรา ๒๙๕ - ๓๐๐

               หมวด 2                        ความผิดต่อร่างกาย
     มาตรา 295 ผู้ใดทำร้ายผู้อื่น จนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจของผู้อื่นนั้น ผู้นั้นกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

อาญา มาตรา ๒๙๐ - ๒๙๔

อาญา มาตรา ๒๙๐ - ๒๙๔


มาตรา 290     ผู้ใดมิได้มีเจตนาฆ่า แต่ทำร้ายผู้อื่น จนเป็นเหตุให้ผู้นั้นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี
ถ้าความผิดนั้น มีลักษณะประการหนึ่งประการใด ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 289 ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุก ตั้งแต่สามปี ถึงยี่สิบปี

อาญา มาตรา ๒๘๙

อาญา มาตรา ๒๘๙

มาตรา 289      ผู้ใด
(1)    ฆ่าบุพการี
(2)    ฆ่าเจ้าพนักงาน ซึ่งกระทำการตามหน้าที่ หรือเพราะเหตุที่จะกระทำหรือได้กระทำการตามหน้าที่
(3)    ฆ่าผู้ช่วยเหลือเจ้าพนักงาน ในการที่เจ้าพนักงานนั้นกระทำตามหน้าที่ หรือเพราะเหตุที่บุคคลนั้นจะช่วย หรือได้ช่วยเจ้าพนักงานดังกล่าวแล้ว

อาญา มาตรา ๒๘๘ ฆ่าผู้อื่น

อาญา มาตรา ๒๘๘

        ลักษณะ 10                     ความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย
        หมวด 1                ความผิดต่อชีวิต
        มาตรา 288  ผู้ใดฆ่าผู้อื่น ต้องระวางโทษประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่สิบห้าปีถึงยี่สิบปี

อาญา มาตรา ๒๗๘ - ๒๘๗

อาญา มาตรา ๒๗๘ - ๒๘๗

มาตรา 278 ผู้ใด กระทำอนาจารแก่ บุคคล” อายุกว่าสิบห้าปี โดยขู่เข็ญด้วยประการใด ๆ โดยใช้กำลังประทุษร้าย โดยบุคคลนั้นอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ หรือโดยทำให้บุคคลนั้นเข้าใจผิดว่าตนเป็นบุคคลอื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
- คำว่า อนาจาร
- หมายความถึง การประพฤติชั่ว น่าอาย นอกรีต นอกแบบ ลามก น่าบัดสี ทำให้เป็นที่อับอาย เป็นที่น่ารังเกียจแก่ผู้อื่นในด้านความดีงาม แต่เนื่องจากฎหมายมาตรานี้เป็นกฎหมายว่าด้วยความผิด

อาญา มาตรา ๒๗๖ - ๒๗๗ ความผิดเกี่ยวกับเพศ

อาญา มาตรา ๒๗๖ - ๒๗๗

ลักษณะ ความผิดเกี่ยวกับเพศ
มาตรา 276 ผู้ใดข่มขืนกระทำชำเราหญิงซึ่งมิใช่ภริยาของตน โดยขู่เข็ญด้วยประการใด ๆ โดยใช้กำลังประทุษร้าย โดยหญิงอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ หรือโดยทำให้หญิงเข้าใจผิดว่าตนเป็นบุคคลอื่น ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สี่ปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่แปดพันบาทถึงสี่หมื่นบาท

อาญา มาตรา ๒๗๐ - ๒๗๕ ความผิดเกี่ยวกับการค้า

อาญา มาตรา ๒๗๐ - ๒๗๕

ลักษณะ ความผิดเกี่ยวกับการค้า
มาตรา 270 ผู้ใดใช้ หรือมีไว้เพื่อใช้ ซึ่งเครื่องชั่ง เครื่องตวง หรือเครื่องวัดที่ผิดอัตรา เพื่อเอาเปรียบในการค้า” หรือมีเครื่องเช่นว่านั้นไว้ เพื่อขาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1885/2517 การมีไว้ซึ่งเครื่องชั่งที่ผิดอัตรา ต้องมีเจตนาเอาเปรียบในการค้าจึงจะเป็นความผิด เป็นหน้าที่โจทก์จะต้องนำสืบให้ปรากฏ เมื่อโจทก์ไม่นำสืบหรือนำสืบไม่ได้ ลงโทษจำเลยไม่ได้

อาญา มาตรา ๒๖๙

อาญา มาตรา ๒๖๙

หมวด 4 ความผิดเกี่ยวกับบัตรอิเล็กทรอนิกส์
(หมวด 4 มาตรา 269/1  269/7 แก้ไขเพิ่มเติม ตาม พรบ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 17) พ.ศ.2547 มาตรา 4)
มาตรา 269/1 ผู้ใดทำบัตรอิเล็กทรอนิกส์ปลอมขึ้นทั้งฉบับ หรือแต่ส่วนหนึ่งส่วนใด เติม หรือตัดทอนข้อความ หรือแก้ไขด้วยประการใด ๆ ในบัตรอิเล็กทรอนิกส์ที่แท้จริง โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน ถ้าได้กระทำเพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าเป็นบัตร

อาญา มาตรา ๒๖๕ - ๒๖๙

อาญา มาตรา ๒๖๕ - ๒๖๙

มาตรา 265 ผู้ใดปลอมเอกสารสิทธิ หรือเอกสารราชการ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงห้าปี และปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงหนึ่งหมื่นบาท
- ความสมบูรณ์ของเอกสาร
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1507/2514 แบบพิมพ์ที่ได้พิมพ์รายการไว้บางรายการ ว่าเป็นเช็ค ชื่อหรือยี่ห้อสำนักงานของธนาคาร และสถานที่ใช้เงินโดยยังไม่มีรายการอื่นให้ครบถ้วนบริบูรณ์ตาม

อาญา มาตรา ๒๖๔ ความผิดเกี่ยวกับเอกสาร

อาญา มาตรา ๒๖๔


หมวด ความผิดเกี่ยวกับเอกสาร

มาตรา 264 ผู้ใด ทำเอกสารปลอม” ขึ้นทั้งฉบับหรือแต่ส่วนหนึ่งส่วนใด เติม หรือตัดทอนข้อความ หรือแก้ไขด้วยประการใด ๆ” ในเอกสารที่แท้จริง หรือ “ประทับตราปลอม หรือลงลายมือชื่อปลอม” ในเอกสาร โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน ถ้าได้กระทำเพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าเป็นเอกสารที่แท้จริง ผู้นั้นกระทำความผิดฐานปลอมเอกสาร ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

อาญา มาตรา ๒๔๐ - ๒๖๓ ความผิดเกี่ยวกับการปลอมและการแปลง

อาญา มาตรา ๒๔๐ - ๒๖๓

ลักษณะ ความผิดเกี่ยวกับการปลอมและการแปลง
หมวด ความผิดเกี่ยวกับเงินตรา
มาตรา 240 ผู้ใดทำ ปลอม” ขึ้นซึ่งเงินตรา ไม่ว่าจะปลอมขึ้น เพื่อให้เป็นเหรียญกระษาปณ์ ธนบัตรหรือสิ่งอื่นใด ซึ่งรัฐบาลออกใช้หรือให้อำนาจให้ออกใช้ หรือทำปลอมขึ้นซึ่งพันธบัตร หรือใบสำคัญสำหรับรับดอกเบี้ยพันธบัตรนั้น ๆ ผู้นั้นกระทำความผิด

อาญา มาตรา ๒๒๖ - ๒๓๙

อาญา มาตรา ๒๒๖ - ๒๓๙

มาตรา 226 ผู้ใดกระทำด้วยประการใด ๆ แก่โรงเรือน อู่เรือ ที่จอดรถหรือเรือสาธารณ ทุ่นทอดจอดเรือ สิ่งปลูกสร้าง เครื่องจักร เครื่องกล สายไฟฟ้า หรือสิ่งที่ทำไว้ เพื่อป้องกันอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์ จนน่าจะเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่บุคคลอื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

อาญา มาตรา ๒๑๗ - ๒๒๕ ความผิดเกี่ยวกับการก่อให้เกิดภยันตรายต่อประชาชน

อาญา มาตรา ๒๑๗ - ๒๒๕

ลักษณะ ความผิดเกี่ยวกับการก่อให้เกิดภยันตรายต่อประชาชน
มาตรา 217 ผู้ใดวางเพลิงเผาทรัพย์ของผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงเจ็ดปี และปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงหนึ่งหมื่นสี่พันบาท
- องค์ประกอบ วางเพลิงเผาทรัพย์
- คำพิพากษาฎีกาที่ 6666/2542 การที่จำเลยดึงรั้วไม้ไผ่ผ่าซีกที่ยึดติดเป็นแผงซึ่งเป็นรั้วบ้านของโจทก์ร่วมที่ 1 แล้วนำไปเผาทำลายนั้น เป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 358

อาญา มาตรา ๒๐๖ - ๒๑๖ ความผิดเกี่ยวกับศาสนา

อาญา มาตรา ๒๐๖ - ๒๑๖ 


ลักษณะ ความผิดเกี่ยวกับศาสนา

มาตรา 206 ผู้ใดกระทำด้วยประการใด ๆ แก่วัตถุหรือสถาน อันเป็นที่เคารพในทางศาสนาของหมู่ชนใด อันเป็นการเหยียดหยามศาสนานั้น ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งถึงเจ็ดปี หรือปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงหนึ่งหมื่นสี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
- คำพิพากษาฎีกาที่ 736/2505 จำเลยขณะเป็นพระภิกษุได้ร่วมประเวณีกับหญิง ในกุฏิของจำเลย บนเขาวัง จังหวัดเพชรบุรี ไม่สมควรอย่างยิ่ง แต่จะถือว่าเป็นการเหยียดหยามศาสนา ตาม มาตรา 206 ยังไม่ถนัด

อาญา มาตรา ๒๐๐ - ๒๐๕ ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม

อาญา มาตรา ๒๐๐ - ๒๐๕


หมวด ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม
มาตรา 200 ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงานในตำแหน่งพนักงานอัยการ ผู้ว่าคดี พนักงานสอบสวน หรือเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญาหรือจัดการให้เป็นไปตามหมายอาญา กระทำการ หรือไม่กระทำการอย่างใด ๆ ในตำแหน่งอันเป็นการมิชอบ เพื่อจะช่วย” บุคคลหนึ่งบุคคลใดมิให้ต้องโทษ หรือให้รับโทษน้อยลง ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงเจ็ดปี และปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงหนึ่งหมื่นสี่พันบาท

อาญา มาตรา ๑๘๔ - ๑๙๙

อาญา มาตรา ๑๘๔ - ๑๙๙

มาตรา 184 ผู้ใดเพื่อจะช่วยผู้อื่นมิให้ต้องรับโทษ หรือให้รับโทษน้อยลง ทำให้เสียหาย ทำลาย ซ่อนเร้น เอาไปเสีย หรือทำให้สูญหายหรือไร้ประโยชน์ ซึ่งพยานหลักฐานในการกระทำความผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
- คำพิพากษาฎีกาที่ 3964/2532 (สบฎ เน 61) จำเลยดำรงตำแหน่งป่าไม้อำเภอ ได้ร่วมกับพวก เผาไม้ท่อน 12 ท่อน ที่พนักงานสอบสวนได้ยึด และรักษาไว้ เพื่อเป็นพยานหลักฐาน โดยไม้ดังกล่าวมีดวงตราประจำตัวของจำเลยตีประทับที่หน้าตัดของไม้ทุกท่อน และกำลังอยู่ในระหว่างตรวจสอบ จำเลยกระทำไปด้วยเจตนาเพื่อช่วยตนเอง ให้พ้นจากความผิดที่ตนอาจได้รับ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตาม มาตรา 184 แต่เป็นความผิดตาม มาตรา 142

อาญา มาตรา ๑๗๕ - ๑๘๓

อาญา มาตรา ๑๗๕ - ๑๘๓

มาตรา 175 ผู้ใดเอาความอันเป็นเท็จฟ้องผู้อื่นต่อศาลว่ากระทำความผิดอาญา หรือว่ากระทำความผิดอาญาแรงกว่าที่เป็นความจริง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี และปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
- กรณีขาดเจตนา
- คำพิพากษาฎีกาที่ 426/2512 จำเลยที่ 2 เรียงคำฟ้องและรับว่าความในหน้าที่ของทนายความ ข้อความที่ปรากฏในคำฟ้อง เป็นข้อความที่ได้จากคำบอกเล่าของจำเลยที่ 1(ซึ่งเป็นลูกความ)

อาญา มาตรา ๑๖๗ - ๑๗๔

อาญา มาตรา ๑๖๗ - ๑๗๔

ลักษณะ ความผิดเกี่ยวกับการยุติธรรม
หมวด ความผิดต่อเจ้าพนักงานในการยุติธรรม
มาตรา 167 ผู้ใดให้ ขอให้ หรือรับว่าจะให้ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด แก่เจ้าพนักงานในตำแหน่งตุลาการ พนักงานอัยการ ผู้ว่าคดีหรือพนักงานสอบสวน เพื่อจูงใจให้กระทำการ ไม่กระทำการ หรือประวิงการกระทำใด อันมิชอบด้วยหน้าที่ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี และปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นสี่พันบาท

อาญา มาตรา ๑๕๘ - ๑๖๖

อาญา มาตร ๑๕๘ - ๑๖๖

มาตรา 158 ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน ทำให้เสียหาย ทำลาย ซ่อนเร้น เอาไปเสีย หรือทำให้สูญหาย หรือทำให้ไร้ประโยชน์ ซึ่ง ทรัพย์หรือเอกสาร” ใด อันเป็นหน้าที่ของตนที่จะปกครองหรือรักษาไว้ หรือยินยอมให้ผู้อื่นกระทำเช่นนั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี และปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นสี่พันบาท
- คำพิพากษาฎีกาที่ 381/2505 จำเลยเป็นตำรวจกองบังคับการตำรวจรถไฟ มีหน้าที่อารักขาพนักงานรถไฟ สืบสวนคดี และถ่ายรูปประกอบคดีในเขตการรถไฟ แต่กองบังคับการไม่มีปืนพก

อาญา มาตรา ๑๕๗

มาตรา ๑๕๗

มาตรา 157 ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหาย” แก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ โดยทุจริต ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี หรือปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
- ป.อาญา มาตรา 157 คำว่า "โดยมิชอบ" และเจตนาพิเศษ เป็นกฎหมายที่เรียกว่า กฎหมายยุติธรรม มีความยืดหยุ่นสูง และไม่สามารถจะบัญญัติให้ชัดแจ้งได้ จำเป็นต้องปล่อยให้เป็นไปตามการตีความของสังคม ซึ่งวางกลไกการใช้อำนาจ และการถ่วงดุลอำนาจไว้

อาญา มาตรา ๑๔๙ - ๑๕๖

มาตรา ๑๔๙ - ๑๕๖

มาตรา 149 ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งรัฐ สมาชิกสภาจังหวัด หรือสมาชิกสภาเทศบาล เรียก รับ หรือยอมจะรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดสำหรับตนเองหรือผู้อื่นโดยมิชอบ เพื่อกระทำการ หรือไม่กระทำการอย่างใดในตำแหน่ง ไม่ว่าการนั้นจะชอบหรือมิชอบด้วยหน้าที่ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี หรือจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสี่หมื่นบาท หรือประหารชีวิต

อาญา มาตรา ๑๔๗ - ๑๔๘

มาตรา ๑๔๗ - ๑๔๘

หมวด ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ
มาตรา 147 ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่ซื้อ ทำ จัดการ หรือรักษาทรัพย์ใด เบียดบังทรัพย์นั้นเป็นของตน หรือเป็นของผู้อื่นโดยทุจริต หรือโดยทุจริตยอมให้ผู้อื่นเอาทรัพย์นั้นเสีย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี หรือจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสี่หมื่นบาท
- หน้าที่ดูแลรักษาทรัพย์

เพิ่มเติม เจ้าพนักงาน

เจ้าพนักงาน

- เจ้าพนักงาน
- เจ้าพนักงานตามที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะ และกระทำการในหน้าที่นั้น
- เจ้าพนักงานตามที่ได้รับมอบหมาย
- คำพิพากษาฎีกาที่ 700/2490 คำว่าเจ้าพนักงานตามความหมายของกฎหมายอาญานั้น ย่อมมีความหมายถึงผู้ที่ได้รับแต่งตั้งโดยทางการของรัฐไทยให้ปฏิบัติราชการของรัฐไทยเท่านั้น เมื่อฟ้องโจทก์กับคำแถลงประกอบไม่ได้ความว่า ผู้รับมอบเงินมีตำแหน่งหน้าที่เป็นพนักงานตามกฎหมาย ศาลชอบที่จะไม่ประทับฟ้องเสียได้

อาญา มาตรา ๑๓๘ - ๑๔๖

มาตรา ๑๓๘ - ๑๔๖

มาตรา 138 ผู้ใดต่อสู้ หรือขัดขวางเจ้าพนักงานหรือผู้ซึ่งต้องช่วยเจ้าพนักงานตามกฎหมาย ในการปฏิบัติการตามหน้าที่ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ถ้าการต่อสู้หรือขัดขวางนั้น ได้กระทำโดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
- กรณีการปฏิบัติการอันมิชอบด้วยหน้าที่

slide