วันพุธที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2556

กฎหมายอาญา มาตรา ๑

กฎหมายอาญา มาตรา ๑

กฎหมายอาญา

ภาค บทบัญญัติทั่วไป
ลักษณะ บทบัญญัติที่ใช้แก่ความผิดทั่วไป
หมวด บทนิยาม มาตรา 1
มาตรา ในประมวลกฎหมายนี้
มาตรา 1 (1) “โดยทุจริต หมายความว่า เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมาย สำหรับตนเองหรือผู้อื่น
- มาตรา 1 (1) โดยทุจริต
- คำพิพากษาฎีกาที่ 557/2502 จำเลยหลอกลวงว่าน้ำที่พุขึ้นนั้น เจ้าแม่สำโรงบันดาลให้มีขึ้นและอ้างว่าน้ำพุนั้นศักดิ์สิทธิ์ ใช้เป็นยารักษาโรคภัยไข้เจ็บได้ ประชาชนคนดูหลงเชื่อ ได้เอาน้ำนั้นไปใช้กินและทารักษาโรค แต่ไม่หาย เพราะเป็นน้ำธรรมดาในลำคลองนั้นเอง และได้ให้เงินแก่จำเลยรวมประมาณหนึ่งหมื่นบาท เป็นการปกปิดความจริงและแสดงข้อความเท็จ ถือว่าจำเลยทั้งสองสมคบกันและมีความผิดฐานฉ้อโกงตาม มาตรา 343
- คำพิพากษาฎีกาที่ 791/2502 จำเลยกับพวกได้พูดกับเจ้าของม้า ขอลองกำลังม้า อ้างว่าเพื่อนของจำเลยจะซื้อ เจ้าของม้ายังไม่ทันอนุญาต จำเลยยัดเยียดส่งบังเหียนให้เพื่อนของจำเลยขี่ม้ามานั้น แล้วตีม้าเร่งฝีเท้าหนีไปต่อหน้า ดังนี้ จำเลยย่อมมีความผิดฐานลักทรัพย์
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1280/2513 จำเลยแสดงอำนาจบาตรใหญ่ขู่เข็ญผู้เสียหาย แล้วล้วงหยิบเอานกของผู้เสียหายไป โจทก์ฟ้องหาว่าจำเลยชิงทรัพย์ แม้ศาลฟังว่าจำเลยไม่มีเจตนาลักทรัพย์ แต่การขู่เข็ญก็เป็นส่วนหนึ่งในความผิดฐานชิงทรัพย์ ศาลย่อมลงโทษฐานทำให้เสื่อมเสียเสรีภาพได้
- คำพิพากษาฎีกาที่ 139/2521 ตำรวจยึดรถยนต์ที่บรรทุกไม้ผิดกฎหมายไว้เป็นของกลาง จำเลยกับพวกพากันมาขับ และเข็นรถยนต์นั้นไป เพียงแต่ช่วยให้ได้รถกลับคืน ไม่มีเจตนาทุจริตมาลักทรัพย์ (อาจเป็นความผิด ตาม ม 142)
- คำพิพากษาฎีกาที่ 965/2521 เอารถของผู้เสียหายไปทิ้งแม่น้ำ เป็นการเอาทรัพย์ไปโดยทุจริต เข้าลักษณะความผิดฐานลักทรัพย์แล้ว จำเลยเอารถของกลางไปทิ้งแม่น้ำ ก็เพื่อซ่อนมิให้ติดตามเอารถคืน ไม่พ้นความผิด
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1232/2527 จำเลยกับพวกอีก 1 คน เข้าไปนอนเล่นในบ้านผู้เสียหาย ซึ่งเป็นพี่เขยของจำเลยอยู่ก่อนแล้ว จำเลยจึงขึ้นไปบนบ้านหยิบเอาวิทยุของผู้เสียหายไป ป.บุตรชายของผู้เสียหายห้าม จำเลยกลับชักอาวุธปืนออกมา เป็นทำนองขู่บังคับมิให้ขัดขวาง พฤติการณ์ที่จำเลยเอาทรัพย์ของผู้เสียหายไปโดยใช้อาวุธปืนขู่บังคับนั้น หาใช่การถือวิสาสะไม่ เป็นความผิดฐานชิงทรัพย์
- คำพิพากษาฎีกาที่ 3486/2527 จำเลยทั้งสองกับพวกดื่มสุราอยู่ด้วยกันแล้ว จำเลยที่ 2 ให้ผู้ตายดื่มสุรา ผู้ตายไม่ดื่ม จำเลยที่ 1 ใช้แก้วสุราตบหน้าผู้เสียหาย จำเลยที่ 1 ยิงปืน 2 นัด ถูกผู้ตายถึงแก่ความตาย จากนั้นจำเลยที่ 1 ขับรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายไป เป็นการกระทำของจำเลยที่ 1 เพียงผู้เดียว จำเลยที่ 2 มิได้ร่วมกระทำความผิดด้วย ทั้งเหตุที่จำเลยที่ 1 ยิงผู้ตาย ก็เนื่องจากผู้ตายไม่ยอมดื่มสุรา มิใช่ประสงค์จะแย่งชิงรถของผู้เสียหายการเอารถไป ก็เพื่อจะหลบหนีให้พ้นจากการจับกุม หลังจากที่ได้กระทำผิดฐานฆ่าผู้ตาย จำเลยที่ 1 จึงมีความผิดฐานฆ่าผู้อื่นตาม ป.อ. ม.288 และฐานลักทรัพย์ ตาม ม. 335 ส่วนจำเลยที่ 2 ไม่มีความผิด
- คำพิพากษาฎีกาที่ 3081/2527 ผู้เสียหายและจำเลยตกลงแลกเปลี่ยนกรรมสิทธิ์ที่ดินกัน แม้ว่าจะยังมิได้จดทะเบียน แต่ต่างก็เข้าครอบครองที่ดินที่แลกเปลี่ยนกันนั้น เป็นเวลาประมาณ 20 ปี เป็นการครอบครองปรปักษ์ตาม ป.พ.พ.ม. 1382 จำเลยได้ขอแลกเปลี่ยนที่ดินคืนตามเดิม แต่ผู้เสียหายไม่ยินยอม แสดงว่าจำเลยยอมรับสิทธิครอบครองของผู้เสียหายเหนือที่ดินซึ่งเคยเป็นของจำเลย จำเลยเอาผลมะพร้าวจากต้นมะพร้าว ที่ขึ้นอยู่ในที่ดินซึ่งผู้เสียหายครอบครองไป จึงเป็นการแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเอง เป็นการเอาทรัพย์ของผู้เสียหายไปโดยทุจริต มีความผิดฐานลักทรัพย์
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1337/2532 (สบฎ เน 42) ผู้เสียหายขับรถยนต์โดยสารไปส่งคนโดยสารที่ปลายทาง เมื่อจอดรถให้คนโดยสารลงแล้ว จำเลยเดินตรงมาตบหน้าผู้เสียหาย 1 ที ผู้เสียหายเปิดประตูลงจากรถ เพื่อจะชกจำเลย จำเลยขึ้นไปบนรถขับรถ แล่นวนไปวนมาในบริเวณที่เกิดเหตุประมาณ 5 นาที แล้วขับไปจอดทิ้งไว้ในทุ่งนาซึ่งมีป่าละเมาะ ห่างจากถนนประมาณครึ่งกิโลเมตร และห่างจากที่เกิดเหตุประมาณ 2 กิโลเมตร ประกอบกับจำเลยได้หลบหนีไปอยู่ที่อื่น แสดงว่าจำเลยมีเจตนาเอารถยนต์ของผู้เสียหายไปโดยทุจริต แต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยตบหน้าผู้เสียหาย เพื่อการอย่างหนึ่งอย่างใดตาม ป.อ. มาตรา 339 (1) ถึง (5) จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานชิงทรัพย์คงมีความผิดฐานทำร้ายผู้อื่นไม่ถึงกับเป็นอันตรายแก่กายตามมาตรา 391 กระทงหนึ่ง และฐานลักทรัพย์ตามมาตรา 334 อีกกระทงหนึ่ง
- คำพิพากษาฎีกาที่ 507/2543 จำเลยกับ ตตกลงกันว่า หากพบเห็นนักศึกษาต่างโรงเรียนก็ให้แย่งเสื้อตัวที่นักศึกษาของสถาบันนั้นมาให้ได้ จำเลยจับเสื้อช๊อปของผู้เสียหายไว้ ขณะที่พูด ขอเสื้อ ครั้นถูกปฏิเสธ จำเลยจึงล้วงมีดคัทเตอร์ เมื่อพวกของจำเลยต่อย จำเลยก็เข้าชกต่อยจนกระทั่งได้เสื้อช๊อป แสดงเจตนาว่าจำเลยประสงค์ต่อเสื้อช๊อปเป็นสำคัญ จำเลยจึงมีความผิดฐานชิงทรัพย์
- มาตรา 1 (1) โดยทุจริต - ขาดเจตนาพิเศษโดยทุจริต
- คำพิพากษาฎีกาที่ 4792/2533 ฝ่ายจำเลยกับฝ่ายผู้เสียหาย ต่างเป็นนักเรียนอาชีวะ ในระยะเกิดเหตุนักเรียนอาชีวะ มีเรื่องตีกันบ่อย แต่ไม่มีเจตนาที่จะปล้น หรือฆ่ากันวันเกิดเหตุ เป็นเวลากลางวันและเหตุเกิดที่สถานีรถไฟ ซึ่งปกติมีผู้คนพลุกพล่าน จำเลยที่ 1 แต่งกายนักเรียน พร้อมกับพวกเมาสุรา เข้ามาหาผู้เสียหายไปหาเรื่องเพื่อนจำเลยที่ 1 เมื่อผู้เสียหายปฏิเสธ จำเลยที่ 1 ได้ล้วงเอามีดออกมาจากกระเป๋าย่าม ทำท่าจะฟันผู้เสียหายจำเลยอื่นห้ามไว้ จำเลยที่ 1 จึงเก็บมีด และดึงเอาปากกาและกระเป๋าของผู้เสียหายไป แล้วพูดว่าอยากได้ของ ก็ตามมาเอา จำเลยที่ 1 กับพวกไม่ได้หลบหนีไปไหน คงอยู่ที่สถานีรถไฟ จนกระทั่งถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมพฤติการณ์ของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า จำเลยที่ 1 กระทำไปด้วยความคะนองเพื่อแสดงอวดให้เพื่อน ๆ เห็นเท่านั้น จำเลยที่ 1 ไม่มีเจตนาเอาทรัพย์สิน ของผู้เสียหายไปโดยทุจริต จึงไม่มีความผิดฐานชิงทรัพย์
- คำพิพากษาฎีกาที่ 757/2534 วัดเป็นเสมือนหนึ่งสมบัติส่วนกลางซึ่งชาวบ้านใช้สอยร่วมกัน สิ่งใดที่ราษฎรได้กระทำไปเพื่อประโยชน์ร่วมกันแล้ว ย่อมเป็นที่เข้าใจกันว่าทำได้ การจับปลาในสระของวัดเกิดจากอาหารไม่เพียงพอเลี้ยงดูกันสำหรับมื้อกลางวันในวันเกิดเหตุ จึงปรารภกันทอดแหจับปลาในสระของวัดขึ้นมาประกอบอาหารรับประทานกันด้วยความรู้สึกร่วมกันของทุกคน ณ ที่นั้นว่าพึงทำได้ แม้จำเลยทั้งสองกับ ม.และ สทำกันเพียง คน ก็ทำด้วยความยินยอมพร้อมใจในบรรดาราษฎรในสถานที่นั้นด้วยกันทุกคน เพราะในที่สุดจะได้รับประทานด้วยกัน เป็นการกระทำด้วยความรู้สึกว่าเจ้าอาวาสวัดยินยอมโดยปริยาย ประกอบกับจำเลยทั้งสองกับพวกจับปลาขึ้นมาเพียง ตัว และเมื่อถูกพระทักท้วง จำเลยทั้งสองกับพวกก็มิได้ดื้อดึงทำต่อไป พฤติการณ์ดังกล่าวเห็นได้ว่าเป็นการกระทำด้วยวิสาสะคิดว่ามีสิทธิทำได้ อาจเป็นเพราะว่าเจ้าอาวาสได้พูดเป็นนัยไว้ก่อนหน้าวันเกิดเหตุให้ใช้ของวัดในกรณีขาดแคลนก็ได้ การกระทำของจำเลยทั้งสองกับพวกจึงขาดเจตนาทุจริต
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1942/2538 จำเลยและพวกกับผู้เสียหายทั้งสี่เป็นนักศึกษาต่างสถาบัน ซึ่งมีเรื่องยกพวกทำร้ายร่างกายกันเป็นประจำ ในขณะที่สวมเครื่องแบบนักศึกษา แม้ไม่เคยรู้จักกัน จำเลยกับพวกมีอาวุธปืน มีด และก้อนหินขู่บังคับผู้เสียหายทั้งสี่ให้ถอดเสื้อฝึกงานและหัวเข็มขัด ซึ่งมีราคาเพียงเล็กน้อยที่ผู้เสียหายทั้งสี่สวมใส่อยู่ให้จำเลยและพวก ผู้เสียหายทั้งสี่กลัวจึงยอมทำตาม จำเลยและพวกย่อมไม่สามารถนำเสื้อฝึกงานและหัวเข็มขัดดังกล่าวไปใช้หรือแสวงหาประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินได้ จึงเป็นการกระทำโดยมิได้มุ่งประสงค์ต่อผล ในการจะแสวงหาประโยชน์จากทรัพย์สินดังกล่าวโดยแท้จริง มิได้มีเจตนาเอาทรัพย์สินดังกล่าวไปเป็นของตนเองหรือผู้อื่น หากแต่เป็นการแสดงอำนาจบาตรใหญ่ ทำไปด้วยความคะนองตามนิสัยวัยรุ่นที่ความประพฤติไม่เรียบร้อย เพื่อหยามศักดิ์ศรีของนักศึกษาต่างสถานศึกษาเท่านั้น เป็นการกระทำที่ขาดเจตนาลักทรัพย์ จึงไม่เป็นความผิดฐานปล้นทรัพย์ แต่เป็นการข่มขืนใจผู้เสียหายทั้งสี่ให้กระทำตามที่จำเลย และพวกประสงค์โดยทำให้กลัวว่า จะทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายของผู้เสียหายทั้งสี่อันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 309 วรรคสอง
- คำพิพากษาฎีกาที่ 2753/2539 จำเลยกับพวกขึ้นไปบนรถโดยสารประจำทาง บังคับขู่เข็ญให้ผู้เสียหายถอดเสื้อฝึกงานและแหวนรุ่นทำด้วยเงินซึ่งมีราคาเล็กน้อย จำเลยกับพวกกระทำไปเป็นการแสดงอำนาจบาตรใหญ่ด้วยความคะนอง เพื่อให้ผู้เสียหายซึ่งเป็นนักศึกษาต่างสถาบัน ที่มีเรื่องทะเลาะวิวาทกับสถาบันของจำเลยเห็นว่า เป็นคนเก่ง พอที่จะรังแกคนได้ ตามวิสัยวัยรุ่นที่มีความประพฤติไม่เรียบร้อยเท่านั้น มิใช่มุ่งหมายเพื่อจะได้ประโยชน์จากทรัพย์ จึงไม่เป็นความผิดฐานปล้นทรัพย์ แต่เป็นความผิดต่อเสรีภาพตาม ป.อ. มาตรา 309 วรรคแรก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความผิดฐานปล้นทรัพย์ ตามที่โจทก์ฟ้อง จึงต้องลงโทษตามที่พิจารณาได้ความ ส่วนเสื้อฝึกงานและแหวนเงินจำเลยไม่มีสิทธิยึดถือไว้ ต้องคืนแก่ผู้เสียหาย หลังจากให้ถอดเสื้อฝึกงานและแหวนเงิน แล้วกลุ่มเพื่อนของจำเลย 3 คน ได้ชกต่อยผู้เสียหาย จากนั้นจำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายในระยะห่าง 1 ฟุต แต่ผู้เสียหายยกขาและแขนขึ้นปิดป้องไว้ และกระสุนปืนถูกกระดุมเสื้อซึ่งเป็นแผ่นเหล็ก เป็นเหตุให้ไม่ถูกอวัยวะส่วนสำคัญ ถือได้ว่าจำเลยใช้ปืนยิงโดยมีเจตนาฆ่า แต่การกระทำไม่บรรลุผล จึงมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 288, 80 และมาตรา 371
- คำพิพากษาฎีกาที่ 5164/2542 จำเลยที่ 1 ยกมือเป็นสัญญาณ คนบนรถยนต์กระบะของจำเลยที่ 2 ก็ลงจากรถเข้าไปล้มป้ายของวัดรางม่วง และกระทืบจนหลอดไฟแตก แล้วยกป้ายขึ้นรถยนต์กระบะของจำเลยที่ 2 ขับรถยนต์เข้าไปวัดถ้ำสิงโตทองนั้น แสดงว่าเจตนาจำเลยทั้งสองแต่แรก ต้องการทำลายให้แผ่นป้ายนั้นไร้ประโยชน์ อันสืบเนื่องมาจากความไม่พอใจวัดรางม่วง การเอาไปซึ่งแผ่นป้ายดังกล่าว กระทำต่อเนื่องกับการทำลายแผ่นป้ายนั้น ในวาระเดียวเกี่ยวพันกัน โดยไม่ขาดตอน จึงมิใช่เป็นการกระทำโดยมุ่งจะแสวงหาประโยชน์จากทรัพย์สินดังกล่าวโดยแท้จริงจำเลยทั้งสองมิได้มีเจตนาจะเอาแผ่นป้ายดังกล่าวเป็นของตน หากแต่เป็นการแสดงอำนาจบาตรใหญ่ หรือทำไปด้วยความคึกคะนองของพวกจำเลย มิใช่เกิดจากเจตนาทุจริต ไม่ผิดฐานลักทรัพย์

- มาตรา 1 (1) โดยทุจริต - การบังคับชำระหนี้ด้วยตนเอง
- คำพิพากษาฎีกาที่ 2474/2531 จำเลยไปทวงเงินที่ผู้เสียหายเป็นหนี้ จ.ผู้เสียหายไม่มีให้จำเลยจึงใช้อาวุธปืนขู่บังคับให้ผู้เสียหายมอบทรัพย์ให้ แม้จำเลยจะกระทำเพื่อทวงหนี้แทน จ. และพูดว่าเมื่อผู้เสียหายมีเงินเมื่อไรให้ไปไถ่คืน ก็ถือได้ว่าเป็นการขู่เข็ญเอาทรัพย์ของผู้เสียหายไปเพื่อประโยชน์ ของจำเลยโดยเจตนาทุจริต เพราะจำเลยไม่มีอำนาจเอาทรัพย์ของผู้เสียหายไปโดยพลการ และโดยขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้ายเช่นนั้นได้ จำเลยจึงมีความผิดฐานชิงทรัพย์ และเมื่อเป็นความผิดฐานชิงทรัพย์แล้ว ย่อมไม่มีความผิดฐานทำให้เสื่อมเสียเสรีภาพอีก
- คำพิพากษาฎีกาที่ 3286/2535 (สบฎ เน 1) จำเลยเอาสร้อยคอทองคำ และพระเลี่ยมทองคำรวมราคา30,000 บาท ของผู้เสียหายไป เพื่อเป็นการตอบแทนที่ผู้เสียหายได้ร่วมประเวณีกับจำเลย เพราะเหตุที่ผู้เสียหายไม่ยอมชำระเงินจำนวน 5,000 บาท ตามที่ได้ตกลงกันไว้ เป็นการเอาไปเพื่อหักใช้หนี้กัน และทรัพย์ที่เอาไปนั้น จำเลยก็เข้าใจว่ามีราคาไม่เกินกว่าจำนวนหนี้ ที่เป็นหนี้จำเลยอยู่ จำเลยเอาทรัพย์ไป เพราะจำเลยเชื่อว่าเป็นประโยชน์ที่จำเลยควรได้ จึงเป็นการเอาทรัพย์ของผู้เสียหายไปโดยไม่มีเจตนาทุจริต ไม่มีความผิดฐานลักทรัพย์
- คำพิพากษาฎีกาที่ 2016/2536 (สบฎ เน 57) การทวงค่าชมการแสดง ที่ผู้เสียหายได้รับบริการไปแล้วจำเลยไม่มีอำนาจบังคับให้ผู้เสียหายชำระเงินโดยไม่ชอบ ด้วยการขู่เข็ญว่าจะทำอันตรายเช่นนั้น จำเลยมีความผิดฐานกรรโชก
- คำพิพากษาฎีกาที่ 3058/2539 (สบฎ เน 41) แม้จำเลยจะไม่มีอำนาจเรียกเก็บเงินค่าจอดรถยนต์ แต่จำเลยมิได้ขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้ายตั้งแต่ต้น มิได้เจตนาแย่งการครอบครองเงินโดยตรงไม่เป็นความผิดฐานชิงทรัพย์ แต่เป็นความผิดฐานกรรโชกสำเร็จ
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1543/2540 (สบฎ เน 37) การที่พนักงานเก็บเงินได้ใช้แรงกายภาพ และกระทำประทุษร้ายต่อผู้เสียหายเพื่อเก็บเงิน โดยทุจริต จนผู้เสียหายต้องยื่นเงินให้ เป็นการชิงทรัพย์ โดยร่วมกันตั้งแต่สามคน จึงมีความผิดฐานปล้นทรัพย์
- คำพิพากษาฎีกาที่ 4882/2550 โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 336, 336 ทวิ ให้จำเลยคืนสร้อยคอทองคำส่วนที่เหลือหรือใช้ราคาทรัพย์จำนวน 1,250 บาท แก่ผู้เสียหาย จำเลยให้การปฏิเสธ ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 336 วรรคแรก ประกอบมาตรา 336 ทวิ ให้ลงโทษจำคุก เดือน กับให้จำเลย คืนสร้อยคำทองคำส่วนที่เหลือหรือใช้ราคาทรัพย์จำนวน 1,250 บาท แก่ผู้เสียหาย จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค พิพากษากลับ ให้ยกฟ้อง แต่ให้จำเลยคืนสร้อยคอ ทองคำส่วนที่เหลือหรือใช้ราคาทรัพย์จำนวน 1,250 บาท แก่ผู้เสียหาย โจทก์ฎีกา ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "...พิเคราะห์แล้ว โจทก์มีผู้เสียหาย และนายสุรชัย ปิดตะคุ สามีผู้เสียหาย เบิกความยืนยันตรงกันว่า จำเลยเข้าไปดึงสร้อยคำทองคำของ ผู้เสียหายที่สวมอยู่ ทำให้สร้อยคอทองคำขาด แต่ผู้เสียหายสร้อยคำทองคำส่วนที่มีจี้กางเขนไว้ได้ สามีของผู้เสียหายจะเข้าไปช่วยเหลือก็ไม่ทัน จำเลยจึงได้ สร้อยคำทองคำของผู้เสียหายไปครึ่งหนึ่ง ผู้เสียหายแจ้งให้จำเลยทราบว่าเป็นสร้อยคอ ทองคำที่บิดามอบให้ผู้เสียหาย แต่จำเลยก็ไม่ยอมคืน และนายสุรชัยได้เบิกความ ตอบทนายจำเลยถามค้านว่า สร้อยคอทองคำที่จำเลยกระชากไปได้นั้นจำเลยเอาไปด้วย เพราะจำเลยชูให้ดู สร้อยคอทองคำดังกล่าวไม่ได้ตกหล่นอยู่ในร้าน นอกจากนี้โจทก์ ยังมีร้อยตำรวจเอกเสกสรร บุญยรัชนิกรพนักงานสอบสวนเป็นพยานเบิกความว่า ผู้เสียหายนำสร้อยคอทองคำครึ่งเส้นที่แย่งจากจำเลยได้มามอบให้ไว้เป็นของกลาง พยานได้ถ่ายภาพสร้อยคำทองคำที่ผู้เสียหายแย่งคืนตามภาพถ่าย ได้ทำบัญชีทรัพย์ ถูกประทุษร้ายไม่ได้คืน และได้ทำบันทึกคำให้การของผู้เสียหายซึ่งยืนยันว่าจำเลย ได้กระชากสร้อยคำทองคำของผู้เสียหายไปบางส่วนตามบันทึกคำให้การร้อยตำรวจเอก เสกสรรได้บันทึกคำให้การดังกล่าวในวันรุ่งขึ้น ซึ่งเป็นวันที่ผู้เสียหายได้ร้องทุกข์ เพื่อดำเนินคดีแก่จำเลย ดังนั้นโจทก์จึงมีทั้งพยานบุคคลและพยานเอกสารที่สอดคล้อง ต้องกันว่าจำเลยกระชากสร้อยคอทองคำของผู้เสียหาย และเอาสร้อยคอทองคำของ ผู้เสียหายดังกล่าวไปได้ครึ่งเส้น ที่จำเลยเบิกความว่า จำเลยไม่ได้กระชากสร้อยคอ ของผู้เสียหาย จำเลยเพียงกระชากคอเสื้อผู้เสียหายนั้น เห็นว่าค่อนข้างเลื่อยลอยยัง ไม่มีน้ำหนักให้รับฟังหักล้างพยานหลักฐานโจทก์ดังกล่าวข้างต้นได้ ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยได้กระชากสร้อยคอทองคำของผู้เสียหายไปครึ่งเส้น คดีมีปัญหาต่อไปว่า จำเลย มีเจตนาลักสร้อยคอทองคำครึ่งเส้นของผู้เสียหายไปหรือไม่ เห็นว่า แม้จำเลยไปหา ผู้เสียหายโดยมีเจตนาเพื่อทวงหนี้ที่ผู้เสียหายค้างชำระโดยก่อนเกิดเหตุจำเลย พยายามยกถังแก๊สที่ผู้เสียหายใช้หุงต้มในการขายก๋วยเตี๋ยวไปเพื่อการชำระหนี้ แต่จำเลยเอาไปไม่ได้ เพราะสามีผู้เสียหายไม่ยอมให้เอาไป ต่อมาจำเลยกับผู้เสียหาย ก็โต้เถียงกันอีกเรื่องที่ผู้เสียหายไม่ชำระหนี้ให้จำเลยทำให้จำเลยโกรธแค้น จึงเข้ากระชากสร้อยคอทองคำของผู้เสียหายและเอาสร้อยคอทองคำของผู้เสียหายไปครึ่งเส้น แม่เพื่อชดเชยที่ผู้เสียหายไม่ยอมชำระหนี้ แต่การบังคับชำระหนี้ก็ต้องดำเนินการ ตามกฎหมายมิใช่กระชากสร้อยคอทองคำครึ่งเส้นของผู้เสียหายไปโดยพลการ ทั้งมูลหนี้ที่จำเลยมาทวงผู้เสียหายนั้น ผู้เสียหายเบิกความว่าเกิดจากหนี้การพนัน หวงใต้ดิน ซึ่งจำเลยก็มิได้โต้แย้ง จึงเป็นมูลหนี้ที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้าม ชัดแจ้งโดยกฎหมายย่อมไม่ก่อให้เกิดหนี้ที่ผู้เสียหายพึงชำระ และแม้จำเลยเบิกความ ว่าเป็นหนี้เงินยืม จำเลยก็รับว่าที่ผู้เสียหายไม่ยอมชำระหนี้ดังกล่าว ก็เพราะไม่มี ลายมือชื่อของผู้เสียหาย หนี้กู้ยืมเงิน 2,000 บาท ของผู้เสียหายจึงไม่มีหลักฐานแห่ง การกู้ยืมเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้เสียหายซึ่งเป็นผู้ยืม จำเลยย่อมฟ้องร้องบังคับคดีไม่ได้ กรณีจึงไม่มีมูลหนี้ที่จำเลยจะฟ้องร้องบังคับคดีต่อผู้เสียหายได้ด้วย ดังนั้น การ กระชากสร้อยคอคร่งเส้นของจำเลยดังกล่าวจึงเป็นการเอาไปโดยทุจริต เพื่อแสวงหา ประโยชน์อันมิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมาย จำเลยย่อมมีความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ แต่ตามพฤติการณ์แห่งคดีที่จำเลยขับรถยนต์ไปพบผู้เสียหายเพื่อทวงหนี้ แต่ผู้เสียหาย ไม่ยอมชำระหนี้ได้เกิดโต้เถียงกันจำเลยจึงกระชากสร้อยคอของผู้เสียหายไปได้ ครึ่งเส้นเพื่อบังคับชำระหนี้แล้วขับรถยนต์ออกไปบริเวณที่เกิดเหตุนั้น ยังฟัง ไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาใช้ยานพาหนะเพื่อความสะดวกแก่การกระทำผิดหรือการ พาทรัพย์นั้นไปหรือเพื่อพ้นการจับกุม การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 336 ทวิ ส่วนที่จำเลยยื่นคำแก้ฎีกาแต่ศาล ชั้นต้นสั่งรับเป็นคำแถลงการณ์ว่า หากฟังว่าจำเลยทำผิดก็ขอให้ศาลฎีการอการ ลงโทษแก่จำเลยนั้น เห็นว่าการกระทำความผิดของจำเลยเป็นการกระทำที่อุกอาจ ไม่เคารพต่อกฎหมายของบ้านเมืองส่งผลกระทบต่อความมั่นคงและปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สินของบุคคลซึ่งอยู่ร่วมกันในสังคมพฤติการณ์แห่งคดีนี้เป็นเรื่องร้ายแรง กรณีจึงไม่ควรรอการลงโทษให้จำเลย ฎีกาโจทก์ฟังขึ้นบางส่วน" พิพากษากลับว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 336 วรรคแรก ลงโทษจำคุก เดือน และให้จำเลยคืนสร้อยคอทองคำส่วนที่เหลือ หรือใช้ราคาทรัพย์จำนวน1,250 บาท แก่ผู้เสียหาย
- มาตรา 1 (1) โดยทุจริต ตัวอย่างประเด็นข้อสอบเก่า โดยทุจริต
- (ขส อ 2523/ 8) นายน้อยโกรธนายเล็ก กลางคืน แอบนำรถนายเล็กไปทิ้งน้ำ เพื่อไม่ให้หาพบ เป็นการซ่อน ไม่ให้ติดตามเอาคืน เป็นการครอบครองอยู่ตลอดเวลา จึงเป็นการเอาไปโดยทุจริต ผิด ม335 (1) ฎ 965/2521

มาตรา 1 (2) “ทางสาธารณ หมายความว่า ทางบกหรือทางน้ำ สำหรับประชาชนใช้ในการจราจร และให้หมายความรวมถึงทางรถไฟและทางรถรางที่มีรถเดิน สำหรับประชาชนโดยสารด้วย
- มาตรา 1 (2) ทางสาธารณ
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1020/2503 ที่ดินของจำเลยเป็นที่ดินมือเปล่า มีทางพิจารณาไม่น้อยกว่า 40 ปี สาธารณชนได้ใช้เดินและชักลากไม้มาประมาณ 20 ปี ตั้งแต่เจ้าของเดิมก่อนจำเลยไม่มีการหวงห้ามแสดงสิทธิใด ๆ เลย ดังนี้ ถือว่าเป็นการอุทิศโดยปริยายให้เป็นทางสาธารณะแล้ว จำเลยไปปิดกั้น ย่อมเป็นผิดตาม มาตรา 368
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1020-1021/2505 คลองหรือคูที่เจ้าของที่ดินขุดขึ้น เจ้าของไม่ได้อุทิศให้เป็นสาธารณะ แม้จะยอมให้ประชาชนใช้ในการสัญจรไปมา ก็ไม่ทำให้กลายเป็นทางสาธารณะ ถึงเจ้าของจะทำทำนบหรือคันดินปิดกั้น ก็ไม่มีความผิดฐานปิดกั้นทางสาธารณะ ตาม มาตรา 385
- คำพิพากษาฎีกาที่ 119/2516 (คำอธิบายเรียงมาตราฯ) มีการตัดถนนสาธารณะกว้าง 8 เมตร โดยยกร่องพูนดินไว้เป็นทางคนเดิน ทางเกวียน ถนนนี้ทำผ่านราษฎรหลายราย รวมทั้งของจำเลยด้วย โดยราษฎร และจำเลยยินยอมยกที่ดินตอนที่ถนนตัดผ่านให้ตัดถนน เพื่อใช้เป็นทางสาธารณะ เมื่อจำเลยทำคันดินขวางถนนอันเป็นทางสาธารณะดังกล่าว ให้อยู่ในลักษณะอันน่าจะเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายจราจร จำเลยมีความผิดตามมาตรา 229
มาตรา 1 (3) “สาธารณสถาน หมายความว่า สถานที่ใด ๆ ซึ่งประชาชนมีความชอบธรรมที่จะเข้าไปได้
- มาตรา 1 (3) สาธารณสถาน
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1368/2508 (สบฎ เน 503) ที่เกิดเหตุเป็น ร้านค้า” และเป็นที่ซึ่งประชาชนมีความชอบธรรมที่จะเข้าไปได้ จึงเป็นสาธารณะสถาน ตาม มาตรา (3) เมื่อจำเลยทะเลาะอื้ออึงในสาธารณะสถาน จึงผิด มาตรา 372
- คำพิพากษาฎีกาที่ 883/2520 สถานที่ใดจะเป็นสาธารณสถานหรือไม่ ไม่ต้องคำนึงว่าสถานที่นั้นจะเป็นสถานที่ผิดกฎหมาย เช่นสถานการค้าประเวณีหรือไม่ เพียงแต่พิจารณาว่าสถานที่นั้น ประชาชนมีความชอบธรรมที่จะเข้าไปได้หรือไม่ และต้องพิจารณาข้อเท็จจริงเป็นราย  ไป ถ้าประชาชนมีความชอบธรรมที่จะเข้าไปได้ สถานที่นั้นก็เป็นสาธารณสถาน ไม่ใช่ที่รโหฐาน / ได้ความว่าเจ้าของสถานการค้าประเวณีหรือซ่องโสเภณี มิได้หวงห้ามผู้หนึ่งผู้ใดที่จะไปหาความสุขกับหญิงโสเภณี หรือไปธุระอื่นที่จะเข้าไปในห้องโถง ซึ่งใช้เป็นที่รับแขกในสถานการค้าประเวณีหรือซ่องโสเภณีนั้น ห้องโถงจึงเป็นสถานที่ซึ่งประชาชนมีความชอบธรรมที่จะเข้าไปได้เป็นสาธารณสถาน ไม่ใช่ที่รโหฐาน พนักงานตำรวจมีอำนาจค้นและจับได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 93, 78 (3) จำเลยมีและใช้อาวุธปืนยิงต่อสู้ขัดขวางมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 140, 289 (2), 80, 52 (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 12/2519)
- คำพิพากษาฎีกาที่ 69/2535 (สบฎ เน 1) ภายในบ้านส่วนที่ใช้สำหรับให้บุคคลทั่วไปเข้าไปสั่งซื้อ และรับประทานอาหาร ถือได้ว่าเป็นสาธารณสถานซึ่งประชาชนรวมทั้ง จำเลยที่ 2 ที่ 3 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจมีความชอบธรรม ที่จะเข้าได้ การที่จำเลยที่ 2 ที่ 3 เข้าไปในบ้านในส่วนดังกล่าวใน เวลากลางคืนขณะที่ยังขายอาหารอยู่เพื่อจับกุมผู้กระทำผิด ฐานค้าประเวณี จึงไม่มีความผิดฐานบุกรุก / ห้องพักที่ใช้สำหรับให้หญิงค้าประเวณีทำการค้าประเวณีกับ บุคคลทั่วไป ถือได้ว่าเป็นสาธารณสถาน และเมื่อนาย สซึ่งเป็นสายลับที่ให้ไปร่วมประเวณีกับหญิงที่ค้าประเวณีในเวลากลางคืน เปิดประตูห้องพักให้จำเลยที่ 2 ที่ 3 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจ เข้าไปตามที่วางแผนไว้ ก็พบนางสาว นอยู่กับนาย สสองต่อสองหลังจากนาย สได้ร่วมประเวณีกับนางสาว นซึ่งค้าประเวณีแล้ว ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ที่ 3 ได้พบนางสาว นในลักษณะซึ่งแทบจะไม่มีความสงสัยเลยว่า นางสาว นได้กระทำผิด ฐานค้าประเวณีมาแล้วอันเป็นความผิดซึ่งหน้าตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 80 จำเลยที่ 2 ที่ 3 จึงมีอำนาจเข้าไปทำการจับกุมนางสาว นจากภายในห้องพัก ได้โดยไม่ต้องมีหมายค้นและหมายจับ
มาตรา 1 (4) “เคหสถาน หมายความว่า ที่ซึ่งใช้เป็นที่อยู่อาศัย เช่น เรือน โรง เรือ หรือแพ ซึ่งคนอยู่อาศัย และให้หมายความรวมถึงบริเวณของที่ซึ่งใช้เป็นที่อยู่อาศัยนั้นด้วย จะมีรั้วล้อมหรือไม่ก็ตาม
- มาตรา 1 (4) เคหสถาน
- คำพิพากษาฎีกาที่ 393/2509 “เล้าไก่” อยู่ห่างจากเรือนผู้เสียหายประมาณ 1 เมตร แม้แยกออกไปต่างหากจากตัวเรือนแล้ว ก็ยังอยู่ในที่ดินอันเป็นบริเวณของโรงเรือนซึ่งมีรั้วอยู่ด้วย มิใช่อยู่ในที่ ซึ่งเป็นบริเวณต่างหากจากโรงเรือนซึ่งใช้เป็นที่คนอยู่อาศัย จำเลยลักไก่ในเล้าซึ่งอยู่ในบริเวณที่อยู่อาศัย จึงเป็นการลักทรัพย์ในเคหสถานที่จำเลยได้เข้าไปโดยไม่ได้รับอนุญาต ผิดมาตรา 335 (8)
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1250/2520 ที่ดินมีรั้วสังกะสีล้อมรอบ มีคอกสุกร 80 ตัวอยู่ด้านตะวันตก มีห้องพักคนงานอยู่ด้านเหนือ มีห้องแถวอยู่ด้านใต้สำหรับคนงานอยู่อาศัย เป็นที่เก็บรักษาสุกรโดยเฉพาะ เป็นที่พักอาศัยชั่วคราวเพื่อดูแลสุกรเป็นอันดับรอง “คอกสุกร” จึงไม่ใช่บริเวณของที่อยู่อาศัย ไม่เป็นเคหสถาน
- คำพิพากษาฎีกาที่ 605/2521 “ห้องแถว 2 ชั้น” ชั้นล่างเป็นร้านขายของ ชั้นบนเป็นห้องนอน ถือได้ว่าใช้อยู่อาศัยทั้งชั้นบนชั้นล่าง จำเลยขว้างระเบิดทำให้ฝาบ้านประตูบ้านกระจกช่องลมชั้นล่างเสียหาย เป็นความผิดตาม ป.อ.ม. 222, 218
- คำพิพากษาฎีกาที่ 161/2523 จำเลยเดินเข้าไปในที่ดินของ ก. ข้ามสะพานไม้ข้างโรงเก็บระหัด คันบ่อเลี้ยงปลา ทางเดินออกสู่ถนน ถือไม่ได้ว่าเข้าไปในเคหสถานของก. ไม่ผิด ม.364
- คำพิพากษาฎีกาที่ 2014/2536 คำว่า "กุฏิ" ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 หมายความว่า "เรือนหรือตึกสำหรับพระภิกษุสามเณรอยู่" กุฏิพระจึงเป็นเพียงที่อยู่อาศัยของพระภิกษุสามเณรเท่านั้น หาใช่สถานที่บูชาสาธารณะ จึงเป็น "เคหสถาน" ตามนัยมาตรา 1 (4) การลักทรัพย์ในบริเวณกุฏิพระจึงเป็นความผิดตามมาตรา 335 (8) (ไม่ผิด ม ๓๓๕ ทวิ)
- คำพิพากษาฎีกาที่ 3780/2536 แผงลอยในตลาดสดที่ทางราชการจัดแบ่งให้พ่อค้าแม่ค้าเช่าเป็นที่ขายสินค้า เป็นล็อกซึ่งกันไว้เป็นสัดส่วนของแต่ละคน ผู้เสียหายได้เช่าทำเพิงพักใช้เป็นที่ขายกล้วย ใบตอง ไม้ลูกชิ้น และได้พักอาศัยที่บริเวณที่ค้าขายนั้นด้วย “เพิงพักแผงลอย” ของผู้เสียหาย จึงเป็นเคหสถานตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 1 (4)
- คำพิพากษาฎีกาที่ 7088/2550 ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงที่โจทก์และจำเลยไม่ได้โต้เถียงกันในชั้นฎีการับฟังเป็นยุติว่า ตามวันเวลาและสถานที่เกิดเหตุในฟ้อง จำเลยกับนายธวัชหรือหนุ่ย น้องจำเลย และนายวาทีหรือเต็ง จำเลยในคดีอาญาหมายเลขดำที่ 2736/2543 ของศาลชั้นต้น เข้าไปหานางสาวกนกวรรณ โดยรออยู่บริเวณหน้าห้องพักของผู้เสียหายที่ เมื่อนางสาวกนกวรรณออกมาจากห้องน้ำนายธวัชจะเข้าไปลวนลาม แต่ผู้เสียหายที่ ขัดขวาง จำเลยกับพวกจึงร่วมกันทำร้ายร่างกายนายมานพผู้เสียหายที่ และนายดิลก ผู้เสียหายที่ เห็นเหตุการณ์จึงวิ่งเข้ามาห้ามแต่ก็ถูกจำเลยกับพวกร่วมกันทำร้ายร่างกายผู้เสียหายที่ 2 เป็นเหตุให้ผู้เสียหายทั้งสองได้รับอันตรายแก่กาย เหตุเกิดที่บริเวณหน้าห้องพักที่ทางปั้มน้ำมันซัสโก้จัดให้เป็นที่พักของผู้เสียหายที่ 1 / คดีมีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานร่วมกันบุกรุกเคหสถานของผู้อื่นในเวลากลางคืนหรือไม่ เมื่อพิจารณาแผนที่สังเขปแสดงสถานที่เกิดเหตุประกอบภาพแสดงสถานที่เกิดเหตุแล้ว จะเห็นว่า ที่เกิดเหตุซึ่งบริเวณหน้าห้องพักของผู้เสียหายที่ มีการกั้นผนังด้วยอิฐบล็อกและมีช่องประตูทางเข้ากั้นไว้เป็นสัดส่วน บริเวณดังกล่าวเป็นพื้นที่ใช้สอยของผู้เสียหายที่ บุคคลอื่นไม่สามารถจะเข้าไปใช้สอยได้ ที่เกิดเหตุถือได้ว่าเป็นเคหสถานของผู้เสียหายที่ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 1 (4) การที่จำเลยกับพวกเข้าไปรุมชกต่อย เตะผู้เสียหายทั้งสองที่บริเวณหน้าห้องพักของผู้เสียหายที่ ถือว่าเป็นการเข้าไปในเคหสถานของผู้อื่นโดยไม่มีเหตุอันสมควร การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานร่วมกันบุกรุกเคหสถานของผู้อื่นในเวลากลางคืนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 365 (2) (3) ประกอบมาตรา 364 อีกกระทงหนึ่ง ที่ศาลอุทธรณ์ภาค พิพากษายกฟ้องโจทก์ในคดีความผิดฐานดังกล่าวมานั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วยฎีกาของโจทก์ฟังขึ้น / พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 365 (2) (3) ประกอบมาตรา 364 อีกกระทงหนึ่ง ให้ลงโทษจำคุก เดือน เมื่อรวมกับโทษฐานร่วมกันทำร้ายร่างกายผู้อื่นตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค แล้วเป็นจำคุก 20 เดือน นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 6

มาตรา 1 (5) “อาวุธ” หมายความรวมถึง สิ่งซึ่งไม่เป็นอาวุธโดยสภาพ แต่ซึ่งได้ใช้ หรือเจตนาจะใช้ประทุษร้ายร่างกายถึงอันตรายสาหัสอย่างอาวุธ
 þ ศาสตราจารย์จิตติ ติงศภัทิย์ อธิบายว่า คำว่า อาวุธ แสดงอยู่ในตัวว่าต้องใช้ทำอันตรายแก่กายได้ และต้องถึงสาหัสด้วย ที่ว่าทำอันตรายถึงสาหัสได้อย่างอาวุธ ก็แสดงภาพของอาวุธอยู่ในตัว มิใช่ว่า “อาวุธโดยสภาพ” ทำอันตรายได้ไม่ถึงสาหัส ถือว่าเป็นอาวุธ ส่วนสิ่งอื่นที่ไม่ใช่อาวุธโดยสภาพต้องใช้ทำอันตรายถึงสาหัสได้ก็เป็นอาวุธ อาวุธปืนตามบทนิยามพระราชบัญญัติอาวุธปืนแสดงว่าต้องใช้ยิงได้ คือ ส่งเครื่องกระสุนปืนโดยอำนาจของพลังงาน ไม่ใช่ปืนที่ยิงไม่ได้ เมื่อสิ่งที่เคยเป็นอาวุธปืนยิงได้ และเป็นท่อนเหล็กที่ยิงไม่ได้ทำอันตรายแก่กายไม่ได้ จึงไม่เป็นอาวุธตามมาตรา 371 ที่ว่าส่วนของอาวุธปืนเป็นความผิดนั้น ต้องเป็นส่วนสำคัญที่มีกฎกระทรวงกำหนดไว้ เป็นคนละเรื่องกับคดีนี้ และกลับสนับสนุนว่าสิ่งที่ยิงไม่ได้ ต้องมีกฎกระทรวงกำหนดไว้จึงเป็นความผิด
1) อาวุธโดยสภาพ แม้ไม่อาจทำอันตรายได้ ก็ถือเป็นอาวุธ เช่น ปืนไม่มีกระสุน ก็เป็นอาวุธ แต่ปืนที่ไม่มีซองกระสุน และไม่มีลูกกระสุน ไม่เป็นอาวุธ
2) สิ่งซึ่งไม่ใช่อาวุธโดยสภาพ” นั้น ลักษณะการใช้ต้องเทียบ ได้อย่างอาวุธ” และเฉพาะที่ใช้ทำอันตรายต่อร่างกายได้อย่างอาวุธ
3) สิ่งที่ใช้ทำอันตรายได้ แต่หากการใช้ เทียบไม่ได้อย่างอาวุธ แม้จะใช้ทำอันตรายถึงอันตรายสาหัสได้ ก็ไม่ถือเป็นอาวุธ เช่น ใช้เชือกรัดคอ ใช้ก้อนหินทุบ ใช้รถยนต์ชน
- มาตรา 1 (5) อาวุธโดยสภาพ
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1903/2520 ปืนที่ไม่อาจใช้ยิงทำอันตรายแก่ชีวิตและวัตถุใด (เพราะชำรุดก็เป็นอาวุธปืนตาม พรบ อาวุธปืน และเป็นอาวุธโดยสภาพ เป็นความผิดตามมาตรา 371 (ฎ 1459/2523วินิจฉัยทำนองเดียวกัน) ((หมายเหตุ ท้าย ฎ 1903/2520) อ จิตติ ติงศภัทิย์ คำว่า อาวุธ แสดงอยู่ในตัวว่าต้องใช้ทำอันตรายแก่กายได้ และต้องถึงสาหัสด้วย มิใช่ว่า อาวุธโดยสภาพ” ทำอันตรายได้ไม่ถึงสาหัส ถือว่าเป็นอาวุธ ส่วนสิ่งอื่นที่ไม่ใช่อาวุธโดยสภาพ ต้องใช้ทำอันตรายถึงสาหัสได้ ก็เป็นอาวุธ)
- มาตรา 1 (5) สิ่งซึ่งไม่ใช่อาวุธโดยสภาพ แต่ซึ่งได้ใช้ หรือเจตนาจะใช้ประทุษร้ายร่างกายถึงอันตรายสาหัสอย่างอาวุธ
- คำพิพากษาฎีกาที่ 301/2490 ไม้ตะพดจะเป็นสาตราวุธตามกฎหมายหรือไม่ ต้องแล้วแต่ขนาด ซึ่งสามารถจะทำให้ร่างกายแตกหักบุบสลาย ถึงสาหัสได้หรือไม่ ถ้าข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่า มีขนาดอย่างไร ก็ฟังว่าเป็นสาตราวุธไม่ได้
- คำพิพากษาฎีกาที่ 2009/2522 จำเลยชักสิ่วออกมาขู่จะทำร้าย ในการปล้นเป็นการปล้นทรัพย์โดยมีอาวุธติดตัวไปตาม ป.อ.ม.340 วรรค 2
- คำพิพากษาฎีกาที่ 4155/2531 “มีดปอกผลไม้” ที่จำเลยพาติดตัวไปในโรงภาพยนต์ ไม่ใช่อาวุธโดยสภาพ แต่เมื่อจำเลยได้ใช้มีดดังกล่าวแทงผู้เสียหายจนได้รับบาดเจ็บสาหัส จึงเป็นอาวุธตามมาตรา 371 และเป็นความผิดฐานทำร้ายร่างกายอีกกรรมหนึ่ง
- คำพิพากษาฎีกาที่ 4280/2531 ในการปล้นทรัพย์คนร้ายใช้กระบอกไฟฉายเดินทางขนาด 3 ก้อน ที่มีติดตัวไปตีทำร้ายภรรยาผู้เสียหาย จนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กาย เป็นความผิดฐานปล้นทรัพย์โดยมีอาวุธติดตัวไปด้วย ตาม มาตรา 340 วรรคสอง
- คำพิพากษาฎีกาที่ 5161/2533 จำเลยใช้ ลูกกุญแจ” จี้ที่เอวผู้เสียหาย ดึงเอาปากกาเขียนแบบกับดินสอ ซึ่งมีราคาไม่มากนัก มิได้เอาทรัพย์อย่างอื่นไปด้วย เมื่อผู้เสียหายขอคืน จำเลยยอมคืนดินสอโดยดี ส่วนปากกาเขียนแบบ จำเลยบอกให้ไปรับคืนที่โรงเรียน แสดงว่าจำเลยมิได้มีเจตนาลักทรัพย์ของผู้เสียหายจริงจัง แต่เห็นได้ว่าเป็นการกระทำด้วยความคึกคะนอง ไม่เป็นความผิดฐานชิงทรัพย์ แต่การที่จำเลยใช้ลูกกุญแจจี้ที่เอวผู้เสียหาย แล้วดึงปากกา กับดินสอ เห็นได้ว่าจำเลยมีเจตนาใช้ลูกกุญแจ ดังกล่าวอย่างอาวุธ และมีเจตนาทำให้ผู้เสียหาย เกิดความเกรงกลัว ไม่กล้าขัดขืน ถือได้ว่าเป็นการข่มขืนใจผู้เสียหาย โดยทำให้ เกิดความกลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ หรือทรัพย์สิน จำเลยจึงมีความผิดฐานทำให้เสื่อมเสียเสรีภาพ โดยใช้อาวุธ
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1400/2538 (สบฎ เน 1) มีดคัดเตอร์” ไม่เป็นอาวุธโดยสภาพ แต่จำเลยข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหาย โดยใช้มีดดังกล่าวขู่เข็ญผู้เสียหาย แสดงว่า จำเลยพามีดดังกล่าวไปโดยเจตนาจะใช้เป็นอาวุธ จึงมีความผิดฐานพาอาวุธไปในเมือง
- มาตรา 1 (5) สิ่งซึ่งไม่ใช่อาวุธ
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1154/2468 อาวุธปืนไม่มีซองกระสุน ไม่มีลูกกระสุนปืน ไม่เป็นเครื่องประหาร (อาวุธ)
- คำพิพากษาฎีกาที่ 927/2519 พลุส่องแสง เป็นสิ่งที่ใช้ให้แสงสว่าง ไม่เป็นอาวุธตามมาตรา 1 (5) แม้พกพาไปที่ใด ก็ไม่เป็นความผิดตาม ม 371

มาตรา 1 (6) “ใช้กำลังประทุษร้าย หมายความว่า ทำการประทุษร้ายแก่กายหรือจิตใจของบุคคลไม่ว่าจะทำด้วยใช้แรงกายภาพ หรือด้วยวิธีอื่นใด และให้หมายความรวมถึง การกระทำใด ๆ ซึ่งเป็นเหตุให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ ไม่ว่าจะโดยใช้ยาทำให้มึนเมา สะกดจิต หรือใช้วิธีอื่นใดอันคล้ายคลึงกัน
- þ ต้องกระทำต่อกายหรือจิตใจ ไม่รวมถึงกระทำต่อเสรีภาพ เช่น ขัง
- มาตรา 1 (6) กรณีเป็นการใช้กำลังประทุษร้ายแก่หายหรือจิตใจ
- คำพิพากษาฎีกาที่ 501/2503 (สบฎ เน 464) จำเลย จับมือ และกอด” เด็กหญิงอายุ 14 ปี เป็นการใช้แรงกายภาพ ซึ่งเป็นการใช้กำลังประทุษร้าย
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1279/2506 จำเลยจับนมผู้เสียหายในรถประจำทาง ซึ่งมีคนโดยสารแน่น เป็นการกระทำต่อหน้าธารกำนัล จำเลย จับนม” โดยผู้เสียหายไม่ยินยอม เป็นการใช้กำลังประทุษร้ายตามมาตรา 278
- คำพิพากษาฎีกาที่ 2453/2515 การใช้กำลังกายกอดรัด และบีบเคล้นอวัยวะของสงวน บริเวณหน้าอกของผู้เสียหายจนระบมฟกช้ำ เป็นการประทุษร้ายต่อร่างกายซึ่งได้เกลื่อนกลืน เป็นการกระทำผิดกรรมเดียวกับการกระทำอนาจาร โดยใช้กำลังประทุษร้ายตาม ป. อาญา มาตรา 278 แล้ว หาเป็นมูลความผิดฐานทำร้ายร่างกายตามมาตรา 296 อีกบทหนึ่งไม่
- คำพิพากษาฎีกาที่ 361/2520 จำเลยปัดไฟฉายที่ผู้เสียหายถืออยู่จนหลุดจากมือ ผู้เสียหายก้มลงเก็บไฟฉาย จำเลยกระชากเอาสร้อยคอพาหนีไป “การปัดไฟฉาย” เป็นการกระทำแก่เนื้อตัวหรือกาย เป็นการใช้กำลังประทุษร้ายเป็นชิงทรัพย์
- คำพิพากษาฎีกาที่ 2401/2522 (สบฎ เน 5890) จำเลยยึดแขน นั่งเบียดหญิง ระหว่างพาไปอนาจาร เป็นปกติในการควบคุม ไม่ให้หนี ไม่เป็นอนาจาร ม 278
- คำพิพากษาฎีกาที่ 4487/2531 จำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ใช้รถจักรยานยนต์เป็นพาหนะแล่นตามหลังรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายและจำเลยที่ 2 ขับรถจักรยานยนต์เข้าชนรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายอย่างแรง จนเสียหลักล้มลง แล้วจำเลยที่ 1 ซึ่งนั่งซ้อนท้ายได้กระชากสร้อยคอทองคำที่คอผู้เสียหายไป การกระทำของจำเลยทั้งสองถือได้ว่าเป็นการใช้กำลังประทุษร้ายเพื่อความสะดวกในการลักทรัพย์ จึงมีความผิดฐานชิงทรัพย์
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1620/2536 จำเลย ถอดกางเกงผู้เสียหาย” แล้ว จับอวัยวะเพศ” โดยผู้เสียหายพยายามต่อสู้ เป็นการใช้แรงกายกระทำต่อผู้เสียหาย อนาจารโดยใช้กำลังประทุษร้าย (อ จิตติ ติงศภัทิย์ การทำอนาจารต้องเป็นผลจากการขู่เข็ญ ถ้ายอมเพราะเหตุอื่น อาจเป็นความผิดได้ ก็แต่ในขั้นพยายาม)
- คำพิพากษาฎีกาที่ 5479/2536 จำเลย “ใช้มือผลักหน้าอก” ร้อยตำรวจโท ป. ในขณะที่จะเข้าตรวจค้นบ้านจำเลยตามหมายค้น ซึ่งเป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย จึงเป็นการขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติหน้าที่โดยใช้กำลังประทุษร้าย
- คำพิพากษาฎีกาที่ 3708/2537 ขณะที่ผู้เสียหายขึ้นรถโดยสารประจำทาง ก็ถูกจำเลยซึ่งเข้ามาทางด้านหลังกระแทกตรงหัวไหล่ และจำเลยได้ล้วงเอากระเป๋าสตางค์ของผู้เสียหาย เป็นการที่จำเลยใช้กำลังประทุษร้ายผู้เสียหาย เพื่อสะดวกแก่การลักทรัพย์ของผู้เสียหายบนยวดยานสาธารณะซึ่งประชาชนใช้โดยสาร จำเลยจึงมีความผิดฐานชิงทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 339 วรรคสอง
- คำพิพากษาฎีกาที่ 9212/2539 (สบฎ เน 18) ก่อนเกิดเหตุ สิบตำรวจเอก พ. พบเห็นจำเลยมีพฤติการณ์อันควรสงสัยว่าจำเลยจะกระทำควมผิด และพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง โดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งเป็นความผิดซึ่งหน้า แม้สิบตำรวจเอก พ. ไม่มีหมายจับ แต่ได้แสดงตัวว่าเป็นเจ้าพนักงานให้จำเลยทราบแล้ว สิบตำรวจเอก พ. จึงมีอำนาจตรวจค้น และจับจำเลยได้ ป.วิ.อาญา มาตรา 78 (1) (2) , 93 การที่จำเลยใช้มือกดอาวุธปืน ไม่ให้สิบตำรวจเอก พ. ดึงออกมาจากเอวจำเลย เพื่อยึดเป็นของกลาง จึงเป็นการขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่ โดยใช้กำลังประทุษร้าย ตาม ป.อาญา มาตรา 138 วรรคสอง
- คำพิพากษาฎีกาที่ 2768/2540 การที่จำเลยกระชากลากผู้เสียหายออกมาจากบริเวณที่ผู้เสียหายยืนอยู่ใต้ชายคาบ้านของผู้เสียหาย แม้จำเลยจะยืนอยู่นอกบริเวณบ้านของผู้เสียหาย แต่จำเลยก็จะต้องเอื้อมมือเข้าไปภายในบริเวณบ้านของผู้เสียหาย เพื่อจับและฉุดกระชากลากตัวผู้เสียหายออกไป การเอื้อมมือเข้าไปฉุดกระชากฉากตัวผู้เสียหายออกไปในลักษณะนี้ ถือได้ว่าจำเลยเข้าไปกระทำการใดๆ อันเป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของผู้เสียหายโดยปกติสุด โดยใช้กำลังประทุษร้าย เข้าองค์ประกอบแห่งความผิดฐานบุกรุกตาม ป.อ. มาตรา 362 และมาตรา 365 (1) แล้ว
- คำพิพากษาฎีกาที่ 3752/2540 (สบฎ สต 72) จำเลยใช้มือดึงกางเกงของผู้เสียหายลงมาถึงหน้าแข้ง แล้วใช้นิ้วแหย่เข้าไปในช่องคลอดของผู้เสียหาย ขยับนิ้วไปมาโดย ผู้เสียหายไม่ยินยอม แม้เป็นวิธีการกระทำอนาจาร แต่ก็เป็นการใช้แรงกายภาพต่อผู้เสียหาย” เป็นการใช้กำลังประทุษร้ายตาม ม 1 (6) จึงมีความผิดฐานกระทำอนาจารโดยใช้กำลังประทุษร้าย มาตรา 279 วรรค 2
- คำพิพากษาฎีกาที่ 6833/2541 แม้จำเลยจะกระทำอนาจารผู้เสียหายซึ่งมีอายุไม่เกิน 15 ปี โดยใช้กำลังประทุษร้าย ด้วยการใช้แขนรัดคอ ใช้มือปิดปาก จับทรวงอก และพยานปลดตะขอกางเกงของผู้เสียหาย พร้อมกับพูดขอให้ผู้เสียหายยอมให้จำเลยกระทำชำเราก็ตาม แต่จำเลยก็มิได้ใช้อาวุธทำการขู่เข็ญ หรือประทุษร้ายผู้เสียหาย ทั้งก่อนเกิดเหตุผู้เสียหายกับจำเลยเคยติดต่อคบหากันอย่างคนรัก พฤติการณ์แห่งคดีที่จำเลยกระทำต่อผู้เสียหายจึงไม่ร้ายแรงนัก
- คำพิพากษาฎีกาที่ 602/2543 การที่จำเลยที่ ยื้อแย่งไม้กวาดจากผู้เสียหายที่ และเหวี่ยงกันไปมาโดยจำเลยที่ ทำหน้าตาและส่งเสริมข่มขู่จะทำร้ายผู้เสียหายที่ ต่อเนื่องกับการที่จำเลยทั้งสองเข้าไปลักทรัพย์ในบ้านของผู้เสียหาย เป็นความผิดฐานชิงทรัพย์
- มาตรา 1 (6) การกระทำใด ๆ ซึ่งเป็นเหตุให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้
- คำพิพากษาฎีกาที่ 529/2509 จำเลยใช้ยาทำให้ผู้เสียหายมึนเมา เป็นเหตุให้ตกอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถจะขัดขืนได้ จึงถือได้ว่าเป็นการใช้กำลังประทุษร้าย เพื่อให้เป็นความสะดวกแก่การลักทรัพย์และพาทรัพย์นั้นไป เป็นกรรมเดียว ผิดฐานชิงทรัพย์ตามมาตรา 339
- คำพิพากษาฎีกาที่ 567/2537 จำเลยลอบใส่ยานอนหลับผสมลงในสุรา ให้ผู้เสียหายทั้งสองดื่ม จนหลับหมดสติ เป็นเหตุให้ผู้เสียหายทั้งสองตกอยู่ในภาวะไม่สามารถขัดขืนได้ แล้วลักทรัพย์ของผู้เสียหาย ซึ่งอยู่ในความครอบครองของ ส. ผู้เสียหายอีกคนหนึ่งไป ถือได้ว่าเป็นการใช้กำลังประทุษร้าย เพื่อให้เป็นความสะดวกแก่การลักทรัพย์และการพาทรัพย์นั้นไป เป็นความผิดฐานชิงทรัพย์
- คำพิพากษาฎีกาที่ 3562/2537 จำเลยทั้งสามร่วมกันใช้ยานอนหลับ ผสมลงในเครื่องดื่มเบียร์ให้ผู้เสียหายดื่ม จนไม่รู้สึกตัวหลับไป แล้วปลดเอาเครื่องประดับของผู้เสียหายไป เป็นความผิดฐานปล้นทรัพย์
- คำพิพากษาฎีกาที่ 248/2543 โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองกับพวก ร่วมกันปล้นทรัพย์ใช้กำลังประทุษร้าย โดยใช้ยาไดอาซีแพม ปลอมปนใส่ในเครื่องดื่มนมเปรี้ยวให้ผู้เสียหายดื่ม เป็นเหตุให้ผู้เสียหายหมดสติ อยู่ในภาวะขัดขืนไม่ได้ แล้วเอาสร้อยพลอย 91 เส้น ของผู้เสียหายไป / แต่หลังเกิดเหตุได้ตรวจปัสสาวะของผู้เสียหายไม่พบยานอนหลับ ซึ่งเป็นยาระงับประสาทกลุ่มเบนโซไดอะซีฟิน แสดงว่าขณะเกิดเหตุบุคคลทั้งสองมิได้ดื่มนมที่มียาไดอาซีแพมปลอมปน ประกอบกับโจทก์ไม่สามารถนำผู้เสียหายซึ่งเป็นประจักษ์พยานมาเบิกความยืนยันข้อเท็จจริง พยานโจทก์ไม่เพียงพอที่จะรับฟังว่าจำเลยทั้งสองกระทำความผิดฐานปล้นทรัพย์
- มาตรา 1 (6) กรณี ไม่เป็นการใช้กำลังประทุษร้าย
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1088/2520 จำเลยลูบคลำตามเสื้อกางเกงผู้เสียหาย และพูดขอแว่นตาที่ผู้เสียหายสวมอยู่ ผู้เสียหายไม่ให้ จำเลยแย่งแว่นตาไปจากผู้เสียหาย ผู้เสียหายแย่งคืนมาได้ จำเลยแย่งไปได้อีกแล้วพูดว่า "ถ้าเอ็งมีอาวุธกูแทงเสียแล้ว" และเอามือล้วงใต้เสื้อตรงขอบกางเกงหน้าท้อง ดังนี้ เป็นการวิ่งราวแว่นตา แต่ไม่เป็นการขู่ว่าจะทำร้าย โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยฉกฉวย เอาทรัพย์ไปซึ่งหน้า ถือว่าโจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษฐานวิ่งราวทรัพย์ ศาลลงโทษแต่ฐานลักทรัพย์
- คำพิพากษาฎีกาที่ 509/2529 จำเลยหลอกเด็กชายอายุไม่เกิน 13 ปี ว่าดวงไม่ดีต้องสะเดาะเคราะห์แล้วใช้ของลับสอดใส่ทวารหนัก (ไม่เป็นการขู่เข็ญด้วยประการใด ๆ ไม่เป็นการใช้กำลังประทุษร้าย หรืออยู่ในภาวะที่ไม่อาจขัดขืนได้
- คำพิพากษาฎีกาที่ 5837/2530 ผู้เสียหายยอมให้จำเลยซึ่งเป็นแพทย์แผนโบราณ กระทำอนาจารโดยโง่เขลาเบาปัญญาหลงเชื่ออย่างงมงาย ว่าจำเลยทำการรักษาโรคให้ได้ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการขู่เข็ญโดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญจนผู้เสียหายอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ ผู้เสียหายมีอายุเกินกว่า 13 ปี จึงไม่เป็นความผิดตาม มาตรา 278
- คำพิพากษาฎีกาที่ 831/2532 จำเลยที่ 1 ใช้มือซ้ายกระชากคอเสื้อผู้เสียหาย แล้วใช้มือขวา กระชากสร้อยคอทองคำหนัก 1 สลึง ของผู้เสียหายขาดออกจากกัน และเอาสร้อยคอกับพระเลี่ยมทองคำซึ่งแขวนอยู่ 1 องค์ไป เป็นการกระทำที่ต่อเนื่องกันในทันใด เพื่อประสงค์จะเอาสร้อยคอของผู้เสียหายเป็นสำคัญ และเป็นเพียงวิธีการเอาทรัพย์ของผู้เสียหายเท่านั้น มิใช่เป็นการใช้กำลังประทุษร้ายผู้เสียหาย อันจะเป็นความผิดฐานชิงทรัพย์ แต่เป็นความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์โจทก์มิได้บรรยายองค์ประกอบความผิดฐานนี้มา และคำขอท้ายฟ้องก็มิได้ขอให้ลงโทษฐานวิ่งราวทรัพย์ คงลงโทษจำเลยได้เฉพาะลักทรัพย์เท่านั้น
- มาตรา 1 (6) ตัวอย่างประเด็นข้อสอบเก่า เรื่องการใช้กำลังประทุษร้าย
- (ขส เน 2511/ 3) เอก โท ตรี ร่วมกันไปลักทรัพย์นายทอง โดยใช้ยาพิษสุมเหนือลม ทำให้คนในบ้านนายทองเมายา หลับ เอก โท จึงขึ้นไปเก็บของบนบ้าน ส่วนตรีไม่ได้ขึ้นไปบนบ้าน แต่ดูต้นทางอยู่หน้าบ้าน (สามคนผิดฐานใด) / การใช้ยาสุมไฟให้หลับ เป็นการใช้กำลังประทุษร้ายตาม ม 1 (6)จึงเป็นการลักทรัพย์โดยใช้กำลังประทุษร้าย เพื่อสะดวกแก่การลักทรัพย์ นายตรีดูต้นทาง ก็เป็นตัวการร่วม ทั้งสามคนจึงผิดฐานปล้นทรัพย์ตาม ม 340
- (ขส เน 2521/ 6) จำเลย ปัดร่ม” เพื่อกระชากสร้อย เป็นการประทุษร้าย แม้จะไม่ได้ทำต่อร่างกายโดยตรง ฎ 361/2520
- (ขส เน 2531/ 7) จำเลย แย่งร่ม” เจ้าของแย่งคืน แล้วจำเลยแย่งกลับมาอีก และพูดว่า "ถ้าเอ็งมีอาวุธกูแทงแล้วถือไม่ได้ว่าเป็นการประทุษร้ายหรือขู่เข็ญ เพราะการแย่งชิงร่ม ถือว่าประสงจะกระทำต่อตัวทรัพย์ ไม่ได้ทำต่อร่างกายโดยตรง การพูดแค่นั้น ก็ไม่พอฟังว่าเป็นการขู่เข็ญ ไม่ผิด ม 339แต่ผิด ม 336 ฎ 1088/2520 / จำเลยรวบคอ คิดว่าสวมสร้อย ทำให้สร้อยบาดคอ ไม่ถึงกับเป็นอันตรายแก่กาย ไม่เป็นการใช้กำลังประทุษร้ายโดยตรง ไม่ผิดชิงทรัพย์ แต่ผิด ม 336 ฎ 2100/2521
- (ขส พ 2524/ 8) นายมา เมฆ หมอก นัดหมายให้นายกลอนวางยาสลบนายสิน ถือว่านายกลอนเป็นตัวการ ตาม ม ๘๓ แต่นายกลอนให้นายสินกินน้ำตาลก้อน คิดว่าเป็นยาสลบ ไม่ถือเป็นการใช้กำลังประทุษร้าย ตอนยิงปืนเข้าปล้น ก็ไม่มีใครอยู่ จึงผิดฐานพยายามลักทรัพย์ ตาม ม 335 (1) (3) , 336 ทวิ ประกอบ ม 80 แต่กลอนสงสารจึงปลุกและพานายสินหนี เป็นการกลับใจ ไม่ต้องรับโทษตาม ม 82
มาตรา 1 (7) “เอกสาร หมายความว่า กระดาษหรือวัตถุอื่นใด ซึ่งได้ทำให้ปรากฏความหมาย ด้วยตัวอักษร ตัวเลข ผัง หรือแผนแบบอย่างอื่น จะเป็นโดยวิธีพิมพ์ ถ่ายภาพ หรือวิธีอื่นอันเป็นหลักฐานแห่งความหมายนั้น
- มาตรา 1 (7) เอกสาร
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1507/2514 แบบพิมพ์ที่ได้พิมพ์รายการไว้บางรายการ ว่าเป็นเช็ค ชื่อหรือยี่ห้อสำนักงานของธนาคาร และสถานที่ใช้เงินโดยยังไม่มีรายการอื่นให้ครบถ้วนบริบูรณ์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 988 ยังไม่เป็นเช็คหรือตั๋วเงินตามกฎหมาย จำเลยกรอกข้อความลงในแบบพิมพ์เช็คเพื่อให้มีรายการครบถ้วนบริบูรณ์ตามกฎหมาย แม้แบบพิมพ์เช็คนั้นจะมิใช่แบบพิมพ์ที่ธนาคารจัดพิมพ์ไว้ให้ใช้เป็นเช็ค แต่เมื่อจำเลยได้ลงลายมือชื่อของจำเลยเองเป็นผู้สั่งจ่าย มิได้ปลอมลายมือชื่อของบุคคลอื่นใด ถือไม่ได้ว่าเป็นเช็คหรือเอกสารปลอม จำเลยนำตั๋วเงินไปใช้โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน แต่เมื่อตั๋วเงินนั้นไม่ใช่เป็นตั๋วเงินปลอม จำเลยก็ยังไม่มีความผิดฐานใช้ตั๋วเงินปลอม (เทียบ ฎ 2667/2536 (อพ 2541/2/49) แบบพิมพ์ใบอนุญาตขับรถยนต์ ยังไม่กรอกข้อความอื่น เป็นเอกสารราชการ)
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1209/2522 “ภาพถ่าย” ห้อง เครื่องใช้ ตู้เสื้อผ้า และของอื่น ๆ ในบ้านเรือนเป็นภาพจำลอง ไม่ได้แสดงความหมายอย่างใด ไม่เป็นเอกสารตาม มาตรา 1 (7) การเอาไปไม่เป็นความผิดตาม มาตรา 188
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1530/2522 (สบฎ เน 5889) จำเลยเอาภาพถ่ายผู้อื่นที่รับปริญญาแพทยศาสตร์บัณฑิต และสวมครุยวิทยฐานะมาปิดภาพถ่ายเฉพาะใบหน้าของจำเลย ลงไปแทน แก้เลข พศ แต่ไม่ได้ทำให้ปรากฏความหมายด้วยตัวอักษร ตัวเลข ผัง หรือแผนแบบอย่างอื่น ๆ ตัวเลข พ.ก็ไม่ปรากฏความหมายในตัวเอง ไม่เป็นเอกสารปลอมและใช้เอกสารปลอม (อ จิตติ ภาพดังกล่าวเป็นเอกสาร แต่ไม่ปลอมให้เห็นว่าเป็นผู้อื่น จึงไม่ผิด ม 264 ภาพดังกล่าวเป็นเพียงเอกสารที่มีข้อเท็จจริงอันเป็นเท็จ)
- คำพิพากษาฎีกาที่ 30/2528 แบบพิมพ์เช็คที่ยังไม่ได้กรอกรายการ ยังมิได้ทำให้ปรากฏความหมายหรือเป็นหลักฐานแห่งความหาย จึงไม่เป็นเอกสารตาม ป.อ. ม.1 (7) แม้จำเลยจะเอาแบบพิมพ์เช็คของโจทก์มากรอกรายการสั่งจ่ายให้แก่ จำเลยเอง ก็หาเป็นความผิดตาม ป.อ. ม.188 ไม่
- คำพิพากษาฎีกาที่ 9/2543 การที่จำเลยเอาบัตร เอ.ที.เอ็ม. ไปจากผู้เสียหาย แล้วนำบัตรเอ.ที.เอ็ม. ดังกล่าวไปลักเอาเงินของผู้เสียหาย โดยผ่านเครื่องฝากถอนเงินนั้น ทรัพย์ที่จำเลยลักเป็นทรัพย์คนละประเภท เป็นความผิดหลายกรรม / การที่จำเลยลักเอาบัตรเอ.ที.เอ็ม. ของผู้เสียหายไปนั้น เป็นความผิดทั้งฐานเอาไปเสียซึ่งเอกสารของผู้อื่นตาม ป.อ. มาตรา 188 ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักกว่าความผิดฐานลักทรัพย์ตามมาตรา 334 ต้องลงโทษจำเลยตามมาตรา 188 ((ขส พ 2546/8)บัตรเอ ที เอ็ม เป็นวัตถุอื่นใดซึ่งได้ทำให้ปรากฏความหมายด้วยตัวอักษร อันเป็นหลักฐานแห่งความหมายนั้น จึงเป็นเอกสาร ตาม ม 1 (7))
มาตรา 1 (8) “เอกสารราชการ หมายความว่า เอกสารซึ่งเจ้าพนักงานได้ทำขึ้น หรือรับรองในหน้าที่ และให้หมายความรวมถึง สำเนาเอกสารนั้น ๆ ที่เจ้าพนักงานได้รับรองในหน้าที่ด้วย
- มาตรา 1 (8) เอกสารราชการ
- คำพิพากษาฎีกาที่ 317/2521 เขียนหมายเลขทะเบียน ก.ท.จ. 2395 อันเป็นหมายเลขทะเบียนรถคันอื่น ลงไว้ที่แผ่นเหล็กท้ายรถจักรยานยนต์หมายเลขทะเบียน 05591 เพื่อให้หลงเชื่อว่าเป็นเอกสารที่แท้จริงที่กองพลาธิการทำขึ้น แม้ไม่คล้ายของจริง ก็เป็นการทำเอกสารราชการปลอมขึ้นทั้งฉบับ การขับขี่รถนั้นไปเป็นการใช้เอกสารปลอม
- คำพิพากษาฎีกาที่ 2979/2522 บัตรประจำตัวข้าราชการเป็นเอกสาร ซึ่งเจ้าพนักงานได้ทำขึ้นในหน้าที่ เป็นเอกสารราชการ
- คำพิพากษาฎีกาที่ 5969/2530 หนังสือรับรองราคาที่ดิน ที่เจ้าพนักงานที่ดินออกให้เป็นเอกสาร ซึ่งเจ้าพนักงานได้ทำขึ้นหรือรับรองในหน้าที่ จึงเป็นเอกสารราชการ จำเลยที่ 2 เป็นตัวการจัดให้มีการปลอมหนังสือรับรองราคาที่ดิน แล้วมอบให้จำเลยที่ 1 เพื่อนำไปใช้เป็นหลักประกันในการยื่นคำร้องขอปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาต่อศาล จำเลยที่ 2 ผิดฐานปลอมเอกสารราชการ ตาม มาตรา 265
- คำพิพากษาฎีกาที่ 2209/2536 เอกสารใบแจ้งย้าย ท.ร.6 ตอน 1 เป็นแบบฟอร์ม ที่นายทะเบียนผู้รับแจ้งย้ายออก และนายทะเบียนผู้รับแจ้งย้ายเข้า ต้องลงชื่อเป็นผู้รับแจ้ง ด้วย ถือเป็นเอกสารซึ่งเจ้าพนักงานได้ทำขึ้น อันเป็นเอกสารราชการตาม มาตรา 1 (8)
- คำพิพากษาฎีกาที่ 2667/2536 แบบใบอนุญาตขับรถเป็นเอกสารราชการซึ่งเจ้าพนักงานได้จัดทำขึ้น ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 1 (8) ผู้ใดจะทำขึ้นเองไม่ได้ การที่จำเลยพิมพ์แบบใบอนุญาตขับรถขึ้นเอง โดยปรากฏข้อความบางส่วนให้เห็นเป็นประจักษ์ว่าเป็นแบบใบอนุญาตของทางราชการที่แท้จริง แม้ยังไม่กรอกข้อความอื่นลงไปก็เป็นการปลอมข้อความบางส่วนลงไปแล้วจึงเป็นการปลอมเอกสารราชการ Ø จำเลยปลอมแสตมป์ที่ใช้สำหรับการภาษีอากรอันเป็นความผิดตามมาตรา 254 และจำเลยมีเครื่องมือหรือวัตถุเพื่อใช้ในการปลอม อันเป็นความผิดตามมาตรา 261 ด้วย จึงลงโทษจำเลยตามมาตรา 254 ได้ เพียงกระทงเดียวตามมาตรา 263 แม้คู่ความจะมิได้ฎีกาในปัญหานี้ แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง, 225
- คำพิพากษาฎีกาที่ 950/2537 จำเลยนำ “สำเนา น.ส.3 ก.” มาแก้ไขโดยการเพิ่มเติม ตัดทอนข้อความและแก้รูปแผนที่ที่ดินให้ผิดไปจากความจริง แล้วจำเลยได้ถ่ายภาพสำเนา น.ส.3 ก.ที่มีการแก้ไขแล้ว ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องเข้าใจว่าเอกสารต่างๆที่จำเลยทำขึ้นนั้น เป็นภาพถ่ายสำเนา น.ส. 3 ก. ที่เจ้าพนักงานได้รับรองในหน้าที่ จึงเป็นความผิดฐานปลอมเอกสารราชการ
- คำพิพากษาฎีกาที่ 4766/2538 (สบฎ เน 1) บัตรประชาชนที่ปลอมขึ้นเป็นเพียง ภาพถ่ายเอกสาร” แต่การกระทำของจำเลยมีลักษณะ เพื่อการใช้อย่างต้นฉบับ” บัตรประจำตัวประชาชนที่แท้จริง จึงเป็นเอกสารราชการ Ø ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "ปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยในปัญหาข้อกฎหมายมีว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานปลอมเอกสาร หรือไม่ จำเลยฎีกาว่าจำเลยไม่ได้เติม หรือตัดทอนข้อความ หรือแก้ไขด้วยประการใดในบัตรประจำตัวประชาชนเอกสารหมายเลข .3 เพียงแต่จำเลยนำภาพถ่ายปิดลงไปแทน แล้วถ่ายเอกสารและนำไปเคลือบพลาสติกเท่านั้น ทั้งจำเลยไม่ได้ทำให้ปรากฏความหมายด้วยตัวอักษร ตัวเลข ผังหรือแผนแบบอย่างอื่นอันจะถือว่าเป็นเอกสารตามคำนิยามของกฎหมาย จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานปลอมเอกสาร เห็นว่า ข้อเท็จจริงยุติตามที่ศาลอุทธรณ์ฟังมาว่าจำเลยเป็นผู้นำภาพถ่ายที่นายเมาอีมอบให้มาตัดให้พอดีกับภาพถ่ายในบัตรประจำตัวประชาชนของนายนพดล สังข์ทอง ที่แท้จริงตามเอกสารหมาย .3 แล้วนำภาพถ่ายที่ตัดแล้วปิดทับภาพถ่ายของนายนพดลที่ติดอยู่ในบัตรประจำตัวประชาชนของนายนพดล ดังกล่าว แล้วถ่ายภาพบัตรและนำภาพถ่ายดังกล่าวอัดพลาสติกมอบให้นายเมาอี ตามภาพถ่ายเอกสารหมาย .2 โดยคิดค่าทำ 15 บาท ข้อเท็จจริงดังกล่าวมา ถือได้ว่าจำเลยกระทำโดยมีเจตนาเพื่อให้ผู้พบเห็นบัตรประจำตัวประชาชนเอกสารหมาย .2 หลงเชื่อว่า ภาพถ่ายของนายเมาอีในบัตรประชาชนเอกสารหมาย .2 ที่ถ่ายเอกสารมาเป็นภาพถ่ายของนายนพดล โดยมีวันเดือนปีเกิดและภูมิลำเนาตามที่ระบุไว้ในบัตรดังกล่าว เป็นบัตรประจำตัวประชาชนที่แท้จริง จึงเป็นความผิดฐานปลอมเอกสารและบัตรประจำตัวประชาชนเป็นเอกสารซึ่งเจ้าพนักงานสำนักทะเบียนบัตรประชาชนกระทรวงมหาดไทยได้ทำขึ้น จึงเป็นเอกสารราชการตามนิยามของประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 1(8) แม้บัตรประชาชนที่จำเลยทำปลอมขึ้นมาจะเป็นเพียงภาพถ่ายเอกสาร แต่การกระทำของจำเลยดังกล่าวมีลักษณะเพื่อการใช้อย่างบัตรประจำตัวประชาชนฉบับต้นฉบับที่แท้จริง จึงเป็นเอกสารราชการ จำเลยจึงมีความผิดฐานปลอมเอกสารราชการ ฎีกาของจำเลยฟังไม่ขึ้น
- คำพิพากษาฎีกาที่ 2570/2541 หนังสือคู่มือจดทะเบียนรถหรือใบคู่มือจดทะเบียนรถ เป็นเพียงเอกสารซึ่งควบคุมการใช้รถยนต์และการจัดเก็บภาษีประจำปีตาม พ.ร.บ.รถยนต์เท่านั้น มิได้เป็นเอกสารที่เป็นหลักฐานแห่งการก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวนหรือระงับซึ่งสิทธิแต่อย่างใด ใบคู่มือจดทะเบียนรถจึงเป็นเพียงเอกสารราชการ หาได้เป็นเอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการไม่
- คำพิพากษาฎีกาที่ 5599/2541 จำเลยเป็นเจ้าพนักงานตำรวจ เขียนข้อความลงในใบสั่งจ่ายน้ำมัน ทั้งๆ ที่ทราบว่าตนไม่มีอำนาจกระทำได้ จึงเป็นความผิดฐานปลอมเอกสาร การที่จำเลยนำเอกสารปลอมไปยื่นต่อพนักงานของสถานีน้ำมัน เพื่อประโยชน์ในการเติมน้ำมันใส่รถยนต์ของจำเลย จึงมีความผิดฐานใช้เอกสารปลอมด้วย เอกสารใบสั่งจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงดังกล่าว เป็นเอกสารซึ่งเจ้าพนักงานตำรวจผู้ทำหน้าที่พลขับ จะต้องกรอกข้อความให้ชัดเจน ว่าเติมน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อใช้ในราชการใด จำนวนเท่าใด จึงเป็นการทำขึ้นในหน้าที่ อันเป็นเอกสารราชการตาม ป.อ. มาตรา 1 (8) การกระทำของจำเลย จึงเป็นความผิดฐานปลอมเอกสารราชการ และใช้เอกสารราชการปลอม ใบสั่งจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงที่ถูกลักไป ต่อมาตกอยู่ในความครอบครองของจำเลย เมื่อจำเลยนำไปกรอกข้อความ เพื่อใช้สิทธิเติมน้ำมัน ย่อมแสดงให้เห็นว่าจำเลยทราบว่าใบสั่งจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงดังกล่าว ได้มาจากการกระทำผิดฐานลักทรัพย์ จำเลยจึงมีความผิดฐานรับของโจร
- คำพิพากษาฎีกาที่ 4340/2543 (ฎ สต 11/21) สำเนาหนังสือรับรองราคาประเมินที่ดิน” ที่จำเลยนำไปใช้ เป็นภาพถ่ายจากต้นฉบับเอกสารราชการ เพียงแต่แตกต่างกันในตัวเลขเกี่ยวกับราคาประเมินเท่านั้น แม้จะเป็นการทำปลอมในสำเนาหนังสือรับรองราคาประเมิน ถือว่าเป็นการปลอมเอกสารราชการ เมื่อจำเลยได้นำไปใช้แสดงต่อโจทก์ร่วม จึงผิดฐานใช้เอกสารราชการปลอม (ปอม 265, 268)
- มาตรา 1 (8) กรณีไม่ใช่เอกสารราชการ
- คำพิพากษาฎีกาที่ 285/2507 ..1 ไม่ใช่เอกสารราชการตามมาตรา 1 (8) เพราะไม่ใช่เอกสารที่เจ้าพนักงานทำขึ้นหรือรับรองในหน้าที่
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1112/2507 เอกสารราชการจะต้องเป็นเอกสารที่เจ้าพนักงานได้ทำขึ้น หรือรับรองในหน้าที่ดังบัญญัติไว้ใน ม 1 (8) บันทึกที่จำเลยเขียนขึ้นไว้ทั้งฉบับ และเขียนไว้ เป็นส่วนตัวโดยจำเลยมิได้มีหน้าที่ในราชการนั้น มิใช่เอกสารราชการ
- คำพิพากษาฎีกาที่ 890/2508 .แม้มีกำนันผู้ใหญ่บ้านรับรอง ก็เป็นเพียงพยานรับรองข้อเท็จจริงในเอกสารที่ผู้ครอบครองทำขึ้น ไม่ใช่รับรองความแท้จริงของเอกสาร การที่เจ้าหน้าที่ลงเลขรับ ลงชื่อ และประทับตรา ไม่ทำให้ ส..1 เป็นเอกสารราชการ
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1614/2517 ใบเสร็จรับเงินของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคที่ถูกทำปลอมขึ้น เพื่อให้หลงเชื่อว่าเป็นใบเสร็จที่แท้จริง อันอาจนำไปเรียกเก็บเงินซ้ำอีกได้นั้น แม้จะมิได้มีการลงชื่อในช่องพนักงานเก็บเงินว่า ได้รับเงินไว้ถูกต้องแล้วก็ตาม ย่อมเป็นเอกสารสิทธิ แต่มิใช่เอกสารราชการ
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1375/2522 (สบฎ เน 5888) สำเนาประวัติอาชญากร ที่เจ้าหน้าที่รับรอง” เป็นเอกสารราชการ แต่ ภาพถ่ายสำเนาของเอกสาร” ดังกล่าว เจ้าหน้าที่ไม่ได้รับรองอีกชั้นหนึ่ง” ภาพถ่ายจึงเป็นเอกสารธรรมดา ไม่ใช่เอกสารราชการ จำเลยกรอกข้อความเพิ่มเติมลงไป แม้จะเป็นความจริง ก็เป็นปลอมเอกสาร ตาม ม 264 วรรค 2 (เทียบ ฎ 4766/2538)
- คำพิพากษาฎีกาที่ 5466/2533 คำว่า เอกสารราชการ ตามมาตรา 1 (8) หรือมาตรา 265 หมายถึง เอกสารของราชการไทยเท่านั้น หนังสือเดินทางคดีนี้เป็น หนังสือเดินทางของประเทศอังกฤษ” จำเลยทั้งสองจึงมีความผิดเพียงฐานใช้เอกสารปลอมตามมาตรา 268, 264 / การที่จำเลยนำหนังสือเดินทางปลอม และเช็คเดินทางปลอมไปแสดงต่อพนักงานจ่ายเงิน และรับแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศของธนาคารในคราวเดียวกันเพื่อขอแลกเงินตามเช็คเดินทางปลอมนั้น เป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องใช้กฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดลงโทษ
- คำพิพากษาฎีกาที่ 2664/2536 เอกสารมรณะบัตรปลอม ที่จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้นั้น เป็นภาพถ่ายเอกสาร ซึ่งมิใช่เอกสารที่เจ้าพนักงานได้ทำขึ้นหรือรับรองในหน้าที่ จึงไม่เป็นเอกสารราชการปลอม การกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นความผิดฐานใช้เอกสารปลอม
- คำพิพากษาฎีกาที่ 2328/2541 แม้คำว่าเอกสารราชการตาม ป.อ.มาตรา 1 (8) และมาตรา 265 จะหมายถึงเอกสารของทางราชการไทยเท่านั้น ก็ตาม แต่การที่จำเลยประทับตราปลอมของด่านตรวจคนเข้าเมืองหาดใหญ่ ที่อนุญาตให้ผู้ถือหนังสือเดินทางนั้นผ่านออก ก็เป็นการปลอมเอกสารราชการของเจ้าพนักงานตรวจคนเข้าเมือง ตาม ป.อ.มาตรา 265 แล้ว
- คำพิพากษาฎีกาที่ 6288/2545 ใบรับรองการตรวจสภาพรถเป็นเอกสารที่กรมการขนส่งทางบกมอบให้บริษัท ต. จำกัด ซึ่งได้รับอนุญาตให้จัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ ออกและรับรองการตรวจสภาพรถเพื่อเป็นหลักฐานว่ารถยนต์ได้ผ่านการตรวจสภาพแล้ว พนักงานของบริษัท ต. จำกัด ซึ่งมีหน้าที่ออกใบรับรองการตรวจสภาพรถไม่ใช่เจ้าพนักงานตามกฎหมาย ดังนั้น ใบรับรองการตรวจสภาพรถที่ออกโดยพนักงานของบริษัทดังกล่าว จึงไม่อาจถือว่าเป็นเอกสารราชการตาม ป.อ. มาตรา 1 (8) การที่จำเลยปลอมใบรับรองการตรวจสภาพรถ จึงไม่เป็นความผิดฐานปลอมเอกสารราชการตาม ป.อ. มาตรา 265 แต่เป็นความผิดฐานปลอมเอกสารตาม ป.อ. 264
มาตรา 1 (9) “เอกสารสิทธิ หมายความว่า เอกสารที่เป็นหลักฐานแห่งการก่อ เปลี่ยน แปลง โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ
- มาตรา 1 (9) เอกสารสิทธิ
- คำพิพากษาฎีกาที่ 285/2507 “..1.” เป็นแบบแจ้งการครอบครองที่ดินเพื่อยึดถือเอาที่ดินเป็นของตน จึงเป็นเอกสารสิทธิที่ทำเป็นหลักฐานว่าผู้แจ้งคงมีสิทธิครอบครองอยู่ จึงตรงกับคำว่า สงวนซึ่งสิทธิ” ตามมาตรา 1 (9) ..1. จึงเป็นเอกสารสิทธิ / จำเลยแก้ไขเพิ่มเติมและตัดทอนข้อความในหนังสือ ส.ค. 1 และนำไปใช้ เป็นความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิและใช้เอกสารสิทธิปลอม แต่ลงโทษฐานใช้เอกสารสิทธิปลอมกระทงเดียว
- คำพิพากษาฎีกาที่ 584/2508 การซื้อเชื่อสินค้าต่าง ๆ เมื่อผู้ขายนำส่งสิ่งของที่ผู้ซื้อสั่งซื้อนั้น ผู้นำส่งได้เขียนกรอกรายการสิ่งของที่นำส่ง และราคาลงในบิลด้วย เมื่อฝ่ายผู้ซื้อตรวจสอบสิ่งของและราคา ถูกต้องกับจำนวนที่ฝ่ายผู้ขายนำส่งแล้ว ก็ลงชื่อลายมือชื่อผู้รับในบิลนั้น มอบให้แก่ผู้นำส่งสิ่งของไป บิลซื้อเชื่อสินค้าต่าง ๆ รายนี้ จึงเป็นหลักฐานแห่งการก่อหนี้สิน และสิทธิเรียกร้อง จึงเป็นเอกสารสิทธิ
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1104/2510 จำเลยนำเอาสลากการกุศล ที่มีการขูดลบแก้ตัวเลยไปขอรับรางวัล โดยรู้ว่าเป็นสลากปลอม จึงมีความผิดตาม มาตรา 268 ,265
- คำพิพากษาฎีกาที่ 863/2513 จำเลยที่ 1,ที่ 2 สมคบกันหลอกลวงโจทก์ว่าจำเลยที่ 2 เป็นนายเชวง เจ้าของที่ดินตาม น.ส.3 จนโจทก์หลงเชื่อและทำหนังสือรับรองหลักทรัพย์กับยื่นขอประกันตัว ก.ต่อศาล ถือว่าจำเลยกระทำโดยทุจริต มาตรา 1 (9) หมายถึงเอกสารที่เป็นหลักฐานแห่งการก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวนหรือระงับ “ซึ่งสิทธิ หรือหนี้สินทุกอย่าง” หนังสือที่โจทก์รับรองว่าทรัพย์ตามบัญชีเป็นของผู้ขอประกัน หากผู้ขอประกันผิดสัญญาประกัน และศาลบังคับเอาแก่นายประกันไม่ได้หรือไม่ครบ โจทก์ยอมรับผิดใช้ให้ เป็นหลักฐานแห่งการก่อตั้งสิทธิ เพราะศาลมีสิทธิที่จะบังคับให้โจทก์รับผิดใช้เงินได้ เท่ากับเป็นสัญญาค้ำประกันนายประกันอีกชั้นหนึ่ง
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1731-1732/2514 สำเนาบันทึกข้อตกลงเรื่องกรรมสิทธิ์รวม ที่พิมพ์ลงในแบบพิมพ์ ท.ด.70 ของสำนักงานที่ดิน ซึ่งไม่มีเจ้าพนักงานรับรองสำเนาถูกต้อง และมิได้มีอะไรแสดงให้เห็นว่าเป็นเอกสารที่เจ้าพนักงานได้ทำขึ้นหรือรับรองในหน้าที่ ย่อมไม่เป็นเอกสารราชการ แต่โดยที่เป็นเอกสารซึ่งแสดงถึงการมีกรรมสิทธิ์รวมในที่ดิน จึงเป็นเอกสารสิทธิ
- คำพิพากษาฎีกาที่ 709/2516 เอกสารมีข้อความว่าจำเลยที่ 1 ซื้อที่ดินโดยลงชื่อโจทก์เป็นผู้แทนซื้อ จำเลยที่ 1 ต้องการที่ดินใด โจทก์จะโอนโฉนดคืนให้นั้น เป็นหลักฐานแห่งการเปลี่ยนแปลงสิทธิของโจทก์ในที่ดิน จึงเป็นเอกสารสิทธิ จำเลยที่ 1 นำสืบเอกสารปลอมที่มีสารสำคัญว่า โจทก์ทำเป็นหลักฐานว่าจำเลยที่ 1 ซื้อที่ดินสร้างตึกพิพาท แล้วลงชื่อโจทก์เป็นผู้ซื้อแทน จำเลยที่ 1 ต้องการที่ดินเมื่อใด โจทก์จะโอนโฉนดให้ ข้อความดังกล่าวเป็นหลักฐานแห่งการเปลี่ยนแปลงสิทธิของโจทก์ เอกสารดังกล่าวจึงเป็นเอกสารสิทธิ และเป็นเอกสารที่มีความสำคัญเกี่ยวไปถึงการสร้างตึกแถวพิพาท และการทำสัญญาเช่าตึกแถว ทำให้โจทก์เสียหาย เป็นความผิด ฐานใช้เอกสารสิทธิปลอมตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 268
- คำพิพากษาฎีกาที่ 2748/2528 สมุดคู่ฝากบัญชีออมทรัพย์มีข้อความแสดงว่า ผู้ฝากได้ฝากเงินไว้กับธนาคาร ย่อมเป็นหลักฐานแห่งการก่อตั้งสิทธิแก่ผู้ฝากที่จะเรียกถอนเงินฝากคืน หาใช่เพียงแต่เป็นหลักฐานแสดงฐานะของผู้ฝากไม่ การที่มิได้ทำขึ้นเพื่อใช้ถอนเงินฝากนั้นก็ไม่ทำให้ลักษณะของเอกสารเปลี่ยนแปลงไป จึงเป็นเอกสารสิทธิ
- คำพิพากษาฎีกาที่ 3348/2541 (สบฎ สต 3) โจทก์บรรยายฟ้องว่า บิลเงินสดเป็นเอกสารสิทธิ จึงไม่จำต้องบรรยายซ้ำลงในคำฟ้องอีกว่าเป็นเอกสารที่ก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิเมื่อคำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้กระทำผิด ข้อเท็จจริงและรายละเอียดเกี่ยวกับเวลาและสถานที่ซึ่งเกิดการกระทำนั้น อีกทั้งบุคคลหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องด้วยพอสมควรที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 เข้าใจข้อหาได้แล้ว คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นฟ้องที่สมบูรณ์
- คำพิพากษาฎีกาที่ 6303/2541 (สบฎ สต 3) หนังสือหลักฐานการได้รับเงินและสละสิทธิในที่ดินมรดก เป็นเอกสารที่เป็นหลักฐานแก่การก่อ เปลี่ยนแปลง โอนหรือระงับซึ่งสิทธิในที่ดินมรดก จึงเป็นเอกสารสิทธิตาม ป.อ.มาตรา 1 (9)
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1705/2546 การที่จำเลยนำแบบพิมพ์ใบคำขอถอนเงินของธนาคารมากรอกข้อความพร้อมกับลงลายมือชื่อปลอมของ ก. ในช่องผู้ขอถอนเงินและช่องผู้รับเงิน แล้วนำไปยื่นต่อพนักงานของธนาคารดังกล่าว ซึ่งหลงเชื่อว่าเป็นใบคำขอถอนเงินที่แท้จริงจึงจ่ายเงินให้จำเลยไปนั้น ใบคำขอถอนเงินจึงเป็นหลักฐานแสดงว่า ก. ได้ขอถอนเงินจากบัญชีออมทรัพย์ของตนย่อมเป็นเอกสารอันก่อให้เกิดสิทธิในการรับเงินจากธนาคาร เอกสารดังกล่าวจึงเป็นเอกสารสิทธิตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 1 (9) การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265และฐานใช้เอกสารสิทธิปลอมตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 268 วรรคแรกประกอบมาตรา 265
- คำพิพากษาฎีกาที่ 6965-6966/2546 จำเลยเป็นลูกจ้างประจำของกรมการศาสนา เป็นผู้ติดต่อกับผู้เช่าที่ดินวัดร้าง การที่จำเลยนำใบเสร็จรับเงินค่าเช่าที่ดินวัดร้างที่จำเลยทำปลอมขึ้นไปเก็บเงินจากผู้เช่า ต้องถือว่าจำเลยรับเงินไว้แทนกรมการศาสนา มิใช่รับไว้แทนผู้เช่าเพื่อนำไปมอบให้กรมการศาสนา เมื่อจำเลยนำเงินดังกล่าวไปใช้ประโยชน์ส่วนตัว ย่อมเป็นการยักยอกเงินของกรมการศาสนา กรมการศาสนาจึงเป็นผู้เสียหายมีอำนาจร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยในความผิดฐานยักยอกได้ การที่จำเลยอ้างถึงการเอาเงินของกรมการศาสนาไปเพราะต้องการนำไปใช้รักษาบิดามารดาว่าเป็นการกระทำความผิดด้วยความจำเป็นนั้น เห็นได้ว่า กรณีมิใช่จำเลยอยู่ในที่บังคับหรือภายได้อำนาจซึ่งไม่สามารถหลีกเลี่ยงหรือขัดขืนได้ และมิใช่กรณีมีภยันตรายที่ใกล้จะถึงแต่อย่างใด การกระทำของจำเลยจึงหาใช่การกระทำความผิดด้วยความจำเป็น อันจะได้รับการยกเว้นโทษตาม ป.อ. มาตรา 67 ไม่ ใบเสร็จรับเงินค่าเช่า เป็นหลักฐานแห่งการระงับสิทธิของผู้ให้เช่า ในการเรียกเก็บเงินค่าเช่าจากผู้เช่า จึงเป็นเอกสารสิทธิตาม ป.อ. มาตรา 1 (9) มิใช่เอกสารราชการตามมาตรา 1 (8) เพราะไม่ใช่เอกสารซึ่งเจ้าพนักงานได้ทำขึ้นหรือรับรองในหน้าที่
- คำพิพากษาฎีกาที่ 10385/2546 ใบถอนเงินที่จำเลยทำปลอมขึ้นและนำไปใช้ถอนเงินจากบัญชีเงินฝากของผู้เสียหาย เป็นหลักฐานที่ใช้แสดงว่าผู้เสียหายได้ถอนเงินจากบัญชีเงินฝากธนาคารไปแล้ว เป็นเอกสารอันก่อให้เกิดสิทธิในการรับเงินจากธนาคาร จึงเป็นเอกสารสิทธิตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 1 (9) การที่จำเลยนำแบบพิมพ์ใบถอนเงินของธนาคารมาเขียนชื่อ ศ. ในช่องชื่อบัญชี เขียนเลขที่บัญชี จำนวนเงิน และลงลายมือชื่อปลอมของ ศ. ในช่องผู้รับเงินและในช่องผู้ถอนเงิน แล้วนำไปยื่นต่อพนักงานของธนาคาร ซึ่งหลงเชื่อว่าเป็นใบถอนเงินที่แท้จริง จึงจ่ายเงินให้จำเลยไป เป็นการทำเอกสารสิทธิปลอมขึ้นทั้งฉบับ จึงเป็นการปลอมเอกสารสิทธิและใช้เอกสารสิทธิปลอมทั้งสองฉบับ
- มาตรา 1 (9) กรณีไม่ใช่เอกสารสิทธิ
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1182/2487 “ใบอนุญาตเล่นการพนัน” เป็นแต่เพียงใบอนุญาต ไม่ใช่เอกสารสิทธิ
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1666/2494 จำเลยทำ สัญญากู้ไว้ แทนเงินที่ชนะพนัน” ดังนี้ ไม่มีหนี้ตามกฎหมาย จึงไม่ใช่เอกสารสิทธิ
- คำพิพากษาฎีกาที่ 928/2506 คำร้องทุกข์ของผู้เสียหาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ไม่ใช่เอกสารสิทธิตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายอาญา มาตรา1 (9) ฉะนั้นแม้จะได้ความว่าจำเลยเจตนาทุจริต หลอกลวงให้ผู้เสียหายถอนคำร้องทุกข์ก็ดี ก็ลงโทษจำเลยฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 ไม่ได้
- คำพิพากษาฎีกาที่ 40/2507 ใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ ไม่เป็นเอกสารสิทธิ แต่เป็นเอกสารราชการ
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1107/2509 ใบแต่งทนายในคดีแพ่ง ที่ไม่มีข้อความนอกเหนือไปจากแบบพิมพ์ ไม่ใช่เอกสารสิทธิ เพราะเป็นเรื่องแต่งตั้งให้มีอำนาจว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาแทนคู่ความ ไม่ใช่หลักฐานแห่งการก่อตั้งสิทธิ
- คำพิพากษาฎีกาที่ 554/2514 แบบสำรวจที่บริษัทการค้ามอบให้ลูกจ้างของบริษัท จำเลยกรอกจำนวนผงซักฟอกเกินความจริง และยักยอกส่วนที่เกิน ดังนี้ เอกสารดังกล่าวเป็นหลักฐานว่า ส.ได้จ่ายผงซักฟอกไปเท่าใด ไม่ใช่ก่อเปลี่ยนแปลงสิทธิ จึงไม่ใช่เอกสารสิทธิ
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1538/2516 “คำฟ้องคดีแพ่ง” เป็นหลักฐานแห่งการสงวนสิทธิ แต่ก็ไม่ใช่แสดงเจตนาต่อบุคคลทำนิติกรรม เป็นการมีคำขอต่อศาลเพื่อบังคับตามสิทธิที่มีการโต้แย้ง การหลอกให้ถอนฟ้องในคดีล้มละลาย ไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกง เพราะไม่ใช่เอกสารสิทธิ
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1636-1650/2518 บัตรอนุญาตของเจ้าหน้าที่ให้ขึ้นเข้าศูนย์ได้ ซึ่งเป็นเขตหวงห้าม ตามประกาศของผู้อำนวยการป้องกันการกระทำอันเป็นคอมมูนิสต์ เป็นเอกสารราชการ ไม่ใช่เอกสารสิทธิ
- คำพิพากษาฎีกาที่ 3287/2522 “ใบรับรองของผู้ขอรับเงินช่วยค่ารักษาพยาบาล” เป็นคำชี้แจง ไม่ใช่เอกสารสิทธิ บันทึกของเจ้าหน้าที่ที่ตรวจถูกต้องอนุมัติให้จ่ายได้ บัญชีหน้างบ สมุดคู่มือ วางฎีกา ไม่ใช่เอกสารสิทธิ เป็นแต่เอกสารราชการ
- คำพิพากษาฎีกาที่ 2178/2524 สำเนาใบเบิกพัสดุที่ผู้ขอเบิกพัสดุนำมาขอเบิก และรับพัสดุไปจากจำเลยตามรายการที่ขอเบิก และมอบให้จำเลยเก็บรักษาไว้เป็นหลักฐานการที่จำเลยแก้ไขเปลี่ยนแปลงจำนวนรายการ ขอเพิ่มขึ้นนอกเหนือก็เพื่อให้เอกสารที่ทำปลอมขึ้นนี้ เพื่อยักยอกเอาพัสดุของโจทก์ร่วม ซึ่งอยู่ในความดูแลรักษารับผิดชอบของจำเลยไปเป็นประโยชน์ของตนหรือผู้อื่น เป็นเพียงแต่การใช้เพื่ออำพรางความผิดของตน หาใช่เป็นหลักฐานแห่งการก่อ เปลี่ยนแปลงโอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิตามความหมายแห่ง ป.อ.ม.1 (9) ไม่สำเนาใบเบิกพัสดุจึงไม่ใช่เอกสารสิทธิ
- คำพิพากษาฎีกาที่ 2567/2526 สำเนาใบเสร็จรับเงิน เป็นเพียงหลักฐานแสดงว่าได้มีการออกต้นฉบับใบเสร็จรับเงิน มีข้อความตรงกับสำเนาใบเสร็จเท่านั้น ไม่ใช่เป็นหลักฐานแห่งการก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ อันจะถือว่าเป็นเอกสารสิทธิ ตาม ม. 1 (9)
- คำพิพากษาฎีกาที่ 587/2527 “ใบมอบฉันทะ” ให้จดทะเบียนแก้โฉนดและทำนิติกรรมแทน ไม่เป็นเอกสารสิทธิ
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1892/2532 คำขอเอาประกันชีวิตแบบออมทรัพย์สงเคราะห์ มีสาระสำคัญว่าผู้เอาประกันมีความประสงค์ที่จะเอาประกันชีวิต ตามรายละเอียดที่ระบุไว้ในคำขอ มีลักษณะเป็นเพียงคำเสนอขอทำสัญญาประกันชีวิตเท่านั้น ยังไม่แน่ว่าอีกฝ่ายหนึ่งจะตกลงรับประกันหรือไม่ และบันทึกปากคำผู้เอาประกัน ก็เป็นเพียงเอกสารซึ่งผู้ขอเอาประกันชีวิตตอบคำถาม ตามที่บริษัทผู้รับประกันต้องการ ทราบ ในเรื่องความเกี่ยวพันระหว่างผู้เอาประกัน ชีวิตกับผู้รับประโยชน์ ตลอดจนรายละเอียดในการชำระเบี้ยประกัน เอกสารดังกล่าวมิใช่หลักฐาน แห่งการก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ จึงมิใช่เอกสารสิทธิตาม ป.อ. มาตรา 1 (9)
- คำพิพากษาฎีกาที่ 2718/2532 แบบฟอร์มรับหนังสือเชิญประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นบริษัท และรายชื่อผู้ถือหุ้นที่เข้าร่วมประชุมวิสามัญ ไม่เป็นหลักฐานแห่งการก่อ เปลี่ยนแปลง โอนสงวนหรือระงับซึ่งสิทธิจึงไม่ใช่เอกสารสิทธิ
- คำพิพากษาฎีกาที่ 2720/2535 (สบฎ เน 3) “คำร้องทุกข์” ไม่ใช่ เอกสารสิทธิ ไม่ว่าจำเลยจะมีเจตนาทุจริต หลอกลวงผู้เสียหายให้ถอนคำร้องทุกข์หรือไม่ ก็ไม่มีความผิดฐานฉ้อโกง ตาม ม 341
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1367/2536 ประกาศนียบัตรนักศึกษาโรงเรียนผู้ใหญ่ ตามหลักสูตรการศึกษาผู้ใหญ่แบบเบ็ดเสร็จขั้นพื้นฐาน เพียงแสดงว่าผู้ได้รับประกาศนียบัตรดังกล่าวจบการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เท่านั้น ไม่ได้เป็นหลักฐานแห่งการก่อเปลี่ยนแปลง โอน สงวนหรือระงับซึ่งสิทธิ จึงมิใช่เอกสารสิทธิ
- คำพิพากษาฎีกาที่ 3972/2536 ใบอนุญาตให้นำหรือเคลื่อนย้ายสัตว์ เป็นเพียงเอกสารที่ทางราชการออกให้แสดงว่าได้อนุญาตให้เคลื่อนย้ายสัตว์ได้เท่านั้น หาใช่เอกสารที่เป็นหลักฐานแห่งการก่อเปลี่ยนแปลง โอน สงวนหรือระงับซึ่งสิทธิไม่ จึงไม่ใช่เอกสารสิทธิ
- คำพิพากษาฎีกาที่ 3512/2537 ใบเสนอราคาดังกล่าว จึงมิใช่เอกสารที่เป็นหลักฐานแห่งการก่อสิทธิ มิใช่เอกสารสิทธิตามความในมาตรา 1 (9)
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1120/2539 ( สบฎ เน 1 ) “หนังสือมอบอำนาจ” เป็นเอกสารธรรมดา ไม่เป็นหลักฐานแห่งการก่อตั้งสิทธิ ไม่เป็นเอกสารสิทธิ
- คำพิพากษาฎีกาที่ 2570/2541 หนังสือคู่มือจดทะเบียนรถหรือใบคู่มือจดทะเบียนรถ เป็นเพียงเอกสารซึ่งควบคุมการใช้รถยนต์และการจัดเก็บภาษีประจำปีตาม พ.ร.บ.รถยนต์เท่านั้น มิได้เป็นเอกสารที่เป็นหลักฐานแห่งการก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวนหรือระงับซึ่งสิทธิแต่อย่างใด ใบคู่มือจดทะเบียนรถจึงเป็นเพียงเอกสารราชการ หาได้เป็นเอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการไม่
- คำพิพากษาฎีกาที่ 4830/2542 บันทึกที่มีข้อความว่า โจทก์ไม่ได้รู้เห็นข้อเท็จจริงในการซื้อขายที่ดิน ไม่เป็นเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ เพราะไม่ใช่หลักฐานที่แสดงถึงการเปลี่ยนแปลงแห่งสิทธิ จึงไม่เป็นเอกสารสิทธิตาม ป.อ. มาตรา 1 (9) / โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยข่มขืนใจโจทก์ ให้ทำลายสัญญาซื้อขายที่ดินระหว่าง ศ. กับ ส. ซึ่งเป็นเอกสารสิทธิ คำฟ้องของโจทก์จึงไม่ครบองค์ประกอบความผิดตาม ป.อ. มาตรา 309 วรรคสอง
- คำพิพากษาฎีกาที่ 37/2543 จำเลยที่ 1 ได้ปลอมข้อความในใบบันทึกการขาย โดยปลอมหมายเลขผู้ถือบัตรเครดิต วันหมดอายุบัตร ชื่อผู้ถือบัตร และลายมือชื่อผู้ถือบัตร แม้ยังไม่อาจนำไปเรียกเก็บเงินได้ เพราะจะต้องนำไปลงข้อมูลของร้านค้า จำนวนเงิน รหัสอนุมัติวงเงิน วันที่ทำรายการและหมายเลขหนังสือเดินทางก่อน ก็น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้ถือบัตรดังกล่าวแล้ว จึงเป็นการกระทำความผิดสำเร็จ ใบบันทึกการขายดังกล่าวยังมิได้ลงข้อมูล ยังไม่สามารถนำไปเรียกเก็บเงินได้ จึงมิใช่เอกสารสิทธิ
- มาตรา 1 (9) เรื่องใบมอบฉันทะนี้ คำพิพากษาฎีกาแต่เดิมมา เคยวินิจฉัยว่า เป็นเอกสารสิทธิ เช่น ฎ96/2458, 737/2465, 102/2472, 92–93/2457, 352/2478, 761/2463 ต่อมามีคำพิพากษาฎีกาที่ 1143/2482 วินิจฉัยว่า ใบมอบฉันทะให้รับของกลางคืนจากอำเภอ” ไม่เป็นเอกสารสิทธิ
- คำพิพากษาฎีกาที่ 587/2527 หนังสือมีข้อความว่า โจทก์มอบให้จำเลยเป็นผู้มีอำนาจจัดการให้กรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ในฐานะตนเองและเป็นตัวแทนอีกฝ่ายหนึ่งได้ เป็นเพียงเอกสารที่โจทก์มอบอำนาจให้จำเลยมีอำนาจทำนิติกรรมแทนโจทก์เท่านั้น ไม่เป็นเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการก่อสร้างสิทธิ จึงไม่เป็นเอกสารสิทธิตาม ป.อ.ม. 1 (9) แม้จำเลยกรอกข้อความในหนังสือมอบอำนาจที่มีลายมือชื่อโจทก์โดยโจทก์ไม่ยอนยอม ก็ไม่มีความผิดตาม ม.265
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1120/2539 ( สบฎ เน 1 ) “หนังสือมอบอำนาจ” เป็นเอกสารธรรมดา ไม่เป็นหลักฐานแห่งการก่อตั้งสิทธิ ไม่เป็นเอกสารสิทธิ (ความเห็น ใบมอบฉันทะ หรือหนังสือมอบอำนาจ ควรถือเป็นเอกสารสิทธิ เพราะเป็นหลักฐานแห่งการตั้งตัวแทน อันเป็นการหลักฐานแห่งการ ก่อสิทธิให้แก่ตัวแทน มีอำนาจทำการแทนตัวการ และเป็นการ โอน” สิทธิของตัวการให้แก่ตัวแทน เพื่อทำการแทน จึงเป็นหลักฐานการโอนสิทธิที่จะมีผลให้ ตัวการ” ต้องผูกพันในกิจการที่ตัวแทน” กระทำ ตาม ปพพ ม 820 ปกรณ์)
- คำพิพากษาฎีกาที่ 4381/2541 หนังสือมอบอำนาจเป็นเอกสารธรรมดาซึ่งบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่าผู้มอบอำนาจ มอบหมายให้บุคคลอีกคนหนึ่ง มีอำนาจจัดการทำนิติกรรมแทนผู้มอบอำนาจเท่านั้น ไม่เป็นเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการก่อตั้งสิทธิแต่อย่างใด จึงไม่เป็นเอกสารสิทธิ การที่จำเลยปลอมหนังสือมอบอำนาจ จึงเป็นความผิดฐานปลอมเอกสาร และใช้หรืออ้างเอกสารปลอมตาม ป.อ.มาตรา 264 วรรคแรก, 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 264 วรรคแรก เท่านั้น
- มาตรา 1 (9) เอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการ
- คำพิพากษาฎีกาที่ 778/2506 บัญชีเงินต่าง ๆ ของทางราชการ มีช่องที่ผู้รับเงินจะต้องลงชื่อ เมื่อลงแล้ว และรับเงินไปแล้ว ย่อมเป็นหลักฐานแห่งการระงับไปซึ่งสิทธิ ทำให้ผู้นั้นหมดสิทธิจะเรียกร้องเอาเงินจากทางราชการอีก เป็นเอกสารสิทธิของทางราชการตามมาตรา 266
- คำพิพากษาฎีกาที่ 2266-2278/2519 ใบเสร็จรับเงินค่าภาษีรถยนต์ที่ทางราชการออกให้ ย่อมเป็นหลักฐานแสดงว่าทางราชการได้รับชำระค่าภาษีรถยนต์ไว้แล้ว มีผลทำให้การเก็บภาษีรถยนต์ของรัฐเป็นอันเสร็จสิ้นไป จึงเป็นเอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการ
- คำพิพากษาฎีกาที่ 2716/2522 เอกสารที่จ่าสิบตำรวจขอกู้เงินและสัญญากู้ ซึ่งประกอบด้วย ความเห็นของผู้บังคับบัญชาว่า เดือดร้อนจริง และบันทึกผู้บังคับบัญชาค้ำประกัน เป็นเอกสารสิทธิและเอกสารราชการ
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1772/2539 เอกสารที่ใช้ประกอบเป็นรายงานการเดินทางไปราชการ เพื่อเบิกเงินจาก และเอกสารการรับเงินเพื่อแสดงว่า ได้มีการจ่ายเงินไปถูกต้องแล้ว เป็นหลักฐานแห่งการก่อและระงับสิทธิ เป็นเอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการ
- คำพิพากษาฎีกาที่ 5132/2539 หนังสือรับรองการทำประโยชน์เป็นเอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการ ซึ่งเจ้าพนักงานได้ออกให้เพื่อแสดงว่าผู้มีชื่อในหนังสือรับรองการทำประโยชน์ได้ครอบครองและได้ทำประโยชน์ในที่ดินดังกล่าว ถือได้ว่าเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่ได้จดไว้ในทะเบียนที่ดิน
- มาตรา 1 (9) ตัวอย่างข้อสอบเก่า เรื่องเกี่ยวกับเอกสาร
- (ขส พ 2516/ 9) เอกจ้างทนายแก้ต่างให้ลูกจ้าง โดยพานายเบญจแนะนำทนายอ้างว่าเป็นนายจัตวา และนำ นส ๓ ชื่อนายจัตวา ให้ทนายยื่นคำร้องประกันตัว ทนายเชื่อจึงยื่นขอประกันตัวต่อศาล ต่อมาทนายฟ้องว่าเอกและเบญจฉ้อโกง เอกและเบญจ ไม่ผิดฐานฉ้อโกง ตาม ม 341,342 แม้มีเจตนาทุจริต และทำให้ทนายทำหนังสือรับรองหลักทรัพย์ก็ตาม แต่หนังสือดังกล่าว ไม่ใช่เอกสารสิทธิตาม ม 1 (9เพราะเป็นเพียงรับรองว่าเป็นหลักทรัพย์ของจัตวาจริงเท่านั้น ไม่ได้รับรองว่าถ้าบังคับไม่ได้แล้ว ทนายจะต้องรับผิด จึงไม่ผิด ม 341 และเมื่อไม่ผิด ม 341 จึงไม่ผิด ม 342 เพราะจะต้องเข้าองค์ประกอบ ม 341 ก่อน ฎ 863/2513 (เทียบ ขส พ 2523/ 7 คำตอบว่าผิดฉ้อโกง เพราะเป็นการหลอกลวง และได้ประโยชน์จากการใช้หนังสือรับรองหลักทรัพย์ หนังสือรับรองหลักทรัพย์ มีข้อความรับใช้เงินส่วนที่ขาดจนครบ เป็นเอกสารสิทธิ ม 341 , 342 (1) )
- (ขส พ 2522/ 8) เจ้าหนี้ให้กู้ ไม่ได้ทำสัญญา ลูกหนี้ไม่ชำระ เจ้าหนี้จึงทำสำเนาสัญญากู้ ฟ้องศาล อ้างว่าต้นฉบับหาย ลูกหนี้อ้างว่าไม่เคยทำสัญญา เจ้าหน้านำสำเนาเข้าสืบเป็นพยาน ผิด ปลอมเอกสารสิทธิ เพราะรับรองสำเนาว่าถูกต้อง ทั้งที่ต้นฉบับไม่มี เท่ากับปลอมขึ้นทั้งฉบับ เพื่อให้เห็นว่าคัดมาจากต้นฉบับที่แท้จริง ผิดปลอมเอกสาร ม 264,265 ฎ 1733/2514 สัญญากู้เป็นเอกสารสิทธิตาม ม 1 (9) ฎ 167/2517 การนำไปยื่นฟ้อง ผิด ม 268 ฎ 825/2506 ลงโทษตาม ม 286 ว 2 และผิด ม 180 ต่างกรรมกับฐานใช้เอกสารสิทธิปลอม (ม 177)
- (ขส อ 2541/ 3) แดงนำบัตรประชาชนคนอื่น มาใส่ภาพถ่ายแดง เขียวเข้าใจว่าเป็นบัตรแดง เอามาใส่ภาพถ่ายเขียว เขียวแฟกซ์ไปสมัครงาน แล้วยื่นสำเนาที่ตนทำขึ้น ผิด ม 1 (8) + 265 ส่งแฟกซ์ ผิด ม 268 (ในฐานใช้เอกสารธรรมดา เพราะลักษณะการส่ง ไม่ใช่เอกสารที่เจ้าพนักงานทำขึ้นวันต่อมายื่น ผิด ม 268 เอกสารราชการ ผิด ม 90 (ปลอมเอกสารราชการ ใช้เอกสารปลอม และ ใช้เอกสารราชการปลอม อีกกระทง)

มาตรา 1 (10) “ลายมือชื่อ หมายความรวมถึง ลายพิมพ์นิ้วมือ และเครื่องหมายซึ่งบุคคลลงไว้แทนลายมือชื่อของตน
- มาตรา 1 (10) ลายมือชื่อ
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1526/2525 กรณีเกี่ยวกับลายมือชื่อ ไม่มีกฎหมายให้อำนาจลงลายมือชื่อแทนกันได้ แม้เจ้าของลายมือชื่ออนุญาต หรือให้ความยินยอม ก็ลงลายมือชื่อแทนกันไม่ได้ การที่จำเลยทำหนังสือโดยใช้ชื่อโจทก์ หรือลงลายมือชื่อโจทก์ถึงผู้จัดการสหกรณ์ แจ้งให้ทราบถึงการที่ ศ. ลาออกจากสมาชิกของสหกรณ์ จึงเป็นการลงลายมือชื่อปลอมในเอกสารตาม ป.อ.ม.264 แต่เมื่อได้ความว่าจำเลยทำหนังสือดังกล่าวโดยความยินยอมของโจทก์ โจทก์จึงไม่อยู่ในฐานะที่จะได้รับความเสียหาย ศ.และสหกรณ์ ก็ไม่ได้รับความเสียหาย จำเลยจึงไม่มีความผิดตาม ม.264
มาตรา 1 (11) “กลางคืน หมายความว่า เวลาระหว่างพระอาทิตย์ตก และพระอาทิตย์ขึ้น
- มาตรา 1 (11) กลางคืน
- คำพิพากษาฎีกาที่ 530/2487 (เน 51/10/76พระอาทิตย์ขึ้นนั้น หมายความว่าพระอาทิตย์ขึ้นพ้นขอบฟ้าแล้ว เวลาเกิดเหตุมีแสงอาทิตย์แล้ว แต่ดวงอาทิตย์ยังไม่ขึ้นจากขอบฟ้งดังนี้ ถือว่าเปนเวลากลางคืน
- คำพิพากษาฎีกาที่ 512/2516 เวลา 16 นาฬิกา ของเดือนมีนาคม เป็นที่รู้กันทั่วไปว่าพระอาทิตย์ยังไม่ตก เป็นเวลากลางวัน
- คำพิพากษาฎีกาที่ 3145/2527 โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2525 เวลากลางคืนหลังเที่ยง ดังนั้น ตาม ป.อ. ม.1 (10) เวลาเกิดเหตุตามฟ้องของโจทก์ ก็คือตั้งแต่เวลาพระอาทิตย์ตกของวันที่ 9 มิถุนายน 2525 ถึงเวลา 24.00 นาฬิกาของวันเดียวกัน เป็นระยะเวลานาน 6 ชั่วโมงตามฟ้องนั้น เข้าใจได้ว่าจำเลยได้รู้อยู่ว่าธนบัตร ดังกล่าวเป็นเงินตราซึ่งมีผู้ทำปลอมขึ้นไม่สามารถใช้ได้ตามกฎหมาย แต่จำเลยได้ขืนนำออกใช้เมื่อเวลาระหว่างพระอาทิตย์ตกของวันที่ 9 มิถุนายน 2525 จนถึงเวลา24.00 นาฬิกาของวันเดียวกัน อันเป็นระยะเวลาหลังจากจำเลยได้มาซึ่งเงินตราที่มีผู้ทำปลอมขึ้น ฟ้องโจทก์จึงมีรายละเอียดที่เกี่ยวกับเวลาซึ่งเกิดการกระทำผิดตาม ป.ว.อ. ม. 158 (5) แล้ว
มาตรา 1 (12) “คุมขัง หมายความว่า คุมตัว ควบคุม ขัง กักขัง หรือจำคุก
- มาตรา 1 (12) คุมขัง
- คำพิพากษาฎีกาที่ 3243/2528 ขณะที่ร้อยตำรวจตรี ควบคุมตัว ผู้ต้องหา ใน ข้อหาไม่ยืนทำความเคารพเพลงสรรเสริญพระบารมี ซึ่งเป็นความผิดมีโทษตามพระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ พุทธศักราช 2485 จะนำขึ้นรถยนต์ไปสถานีตำรวจเพื่อดำเนินคดีจำเลยได้เข้าโอบกอด จับตัว ร้อยตำรวจตรี ไว้ และพวกของจำเลยอีกสองคนได้ช่วยกันยื้อแย่งเอาตัว ขึ้นรถยนต์หลบหนีไปถือว่า ถูกคุมขังอยู่ตามอำนาจของเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญา ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 1 (12), 191 แล้ว การกระทำของ จำเลยจึงเป็นความผิดตามมาตรา 138, 140, 191
มาตรา 1 (13) “ค่าไถ่ หมายความว่า ทรัพย์สิน หรือประโยชน์ที่เรียกเอา หรือให้ เพื่อแลกเปลี่ยนเสรีภาพ ของผู้ถูกเอาตัวไป ผู้ถูกหน่วงเหนี่ยว หรือผู้ถูกกักขัง
- มาตรา 1 (13) ค่าไถ่
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1061/2504 จำเลยถูกสลากกินรวบแล้วไปเอาเงินที่ผู้เสียหายซึ่งเป็นเจ้ามือ แต่ผู้เสียหายไม่ให้ จำเลยกับพวกตามไปพบผู้เสียหายแล้วพาผู้เสียหายขึ้นรถไปด้วยกัน จำเลยได้ให้ผู้เสียหายเขียนหนังสือถึงภริยาให้จ่ายเงินแก่ผู้ถือ และได้ให้ผู้เสียหายทำสัญญากู้เงินจำเลย ตามจำนวนที่ถูกสลากกินรวบไว้แล้ว ให้ผู้เสียหายไป ดังนี้ เจตนาของจำเลยเป็นเพียงแต่ทวงเอาเงินซึ่งจำเลย เชื่อว่าควรจะได้ เงินประเภทนี้จึงไม่ใช่สินไถ่หรือค่าไถ่ตามประมวลกฎหมาย อาญา มาตรา 313 การกระทำของจำเลยขาดเจตนาเพื่อค่าไถ่อันเป็นองค์ ความผิดประการสำคัญ ตามมาตรา 313 จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานจับคน เพื่อค่าไถ่ตามมาตรา 313
- คำพิพากษาฎีกาที่ 5255/2534 การที่จำเลยจับโจทก์ร่วมไปหน่วงเหนี่ยวกักขัง แล้วบังคับให้เขียนจดหมายถึงมารดาโจทก์ร่วม ให้โอนที่ดินจำนองเพื่อชำระหนี้แก่แม่ยายจำเลยหรือจำเลยนั้น จำเลยมีเจตนาเพียงเพื่อจะบังคับให้มารดาโจทก์ร่วมชำระหนี้ โดยจำเลยเชื่อว่ากระทำได้ ดังนั้น ประโยชน์ที่จำเลยเรียกร้องเอาจึงไม่ใช่ค่าไถ่ ตาม ป.อ. มาตรา 1 (13)
- คำพิพากษาฎีกาที่ 7742/2542 การที่จำเลยทั้งสองร่วมกันหน่วงเหนี่ยวกักขังตัวผู้เสียหาย ก็เพื่อให้ผู้เสียหายชำระหนี้ให้แก่จำเลยที่ 1 โดยจำเลยทั้งสองเชื่อว่าสามารถกระทำได้ ดังนั้นประโยชน์ที่จำเลยที่ 1 เรียกร้องให้ผู้เสียหายชำระหนี้ จึงไม่ใช่ค่าไถ่ตามความหมายในบทนิยามคำว่า "ค่าไถ่" ตาม ป.อ. มาตรา 1 (13) การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงไม่เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 313 วรรคสอง
- O ตัวอย่างประเด็นข้อสอบเก่า เรื่องค่าไถ่
- (ขส เน 2514/ 5) ผู้กู้ เอาตัวบุตรอายุ 13 ปีของผู้ให้กู้ไปกักขังไว้ แล้วส่งจดหมายขู่ให้คืนสัญญากู้เพื่อทำลาย ถึงเวลานัดผู้ให้กู้นำสัญญาไปด้วย แต่ผู้กู้ถูกตำรวจจับก่อน ผู้กู้ผิด ม 313 เพราะเอาตัวเด็กฯ ไปกักขัง เพื่อให้ได้มาซึ่งค่าไถ่ คือสัญญากู้ อันเป็นทรัพย์สินฯ ที่เรียกเอาเพื่อแลกเปลี่ยนเสรีภาพของเด็ก ผิด ม 317 + เป็นกรรมเดียว ตาม ม 90 (เพิ่ม ม 337+80+309)
- (ขส พ 2519/ 8) เจ้ามือหวยแพ้พนัน แล้วไม่จ่ายเงิน ผู้ถูกรางวัลนำไปกักขัง บังคับให้เขียนจดหมายถึงภรรยา ภรรยาหาเงินมาจ่ายบางส่วน จึงปล้ำเอาสร้อยคอเจ้ามือ แล้วปล่อยไป เจ้ามือใช้ปืนยิงน่องคนที่กักขัง 1 นัด รักษา 5 วันหาย (กรรมการไม่ทำธง)
มาตรา 1 (14) บัตรอิเล็กทรอนิกส์” หมายความว่า
(ก) เอกสารหรือวัตถุอื่นใด ไม่ว่าจะมีรูปลักษณะใดที่ผู้ออก ได้ออกให้แก่ผู้มีสิทธิใช้ซึ่งจะระบุชื่อหรือไม่ก็ตาม โดยบันทึกข้อมูลหรือรหัสไว้ด้วยการประยุกต์ใช้วิธีการทางอิเล็กตรอน ไฟฟ้า คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือวิธีอื่นใดในลักษณะคล้ายกัน ซึ่งรวมถึงการประยุกต์ใช้วิธีการทางแสง หรือวิธีการทางแม่เหล็กให้ปรากฏความหมายด้วยตัวอักษร ตัวเลข รหัส หมายเลขบัตร หรือสัญลักษณ์อื่นใด ทั้งที่สามารถมองเห็นและมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า
(ข) ข้อมูล รหัส หมายเลขบัญชี หมายเลขชุดทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือเครื่องมือทางตัวเลขใด ๆ ที่ผู้ออกได้ออกให้แก่ผู้มีสิทธิใช้ โดยมิได้มีการออกเอกสาร หรือวัตถุอื่นใดให้ แต่มีวิธีการใช้ในทำนองเดียวกับ (ก) หรือ
(ค) สิ่งอื่นใดที่ใช้ประกอบกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อแสดงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อระบุตัวบุคคลผู้เป็นเจ้าของ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

slide