วันพุธที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2556

อาญา มาตรา ๑๓๘ - ๑๔๖

มาตรา ๑๓๘ - ๑๔๖

มาตรา 138 ผู้ใดต่อสู้ หรือขัดขวางเจ้าพนักงานหรือผู้ซึ่งต้องช่วยเจ้าพนักงานตามกฎหมาย ในการปฏิบัติการตามหน้าที่ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ถ้าการต่อสู้หรือขัดขวางนั้น ได้กระทำโดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
- กรณีการปฏิบัติการอันมิชอบด้วยหน้าที่
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1041/2506 การที่เจ้าพนักงานตำรวจเข้าจับกุมจำเลยโดยไม่มีหมายจับ และกรณีไม่เข้าข้อยกเว้นตามมาตรา78 (1) ถึง (4) และวรรคสุดท้ายแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญานั้น เป็นการจับกุมโดยไม่มีอำนาจ แม้จำเลยต่อสู้ขัดขวางการจับกุม ก็ไม่มีความผิด
- คำพิพากษาฎีกาที่ 148/2513 ตำรวจเข้าค้นตัวจำเลยในที่เปลี่ยว โดยไม่ได้แต่งเครื่องแบบ หรือแสดงหลักฐานว่าเป็นตำรวจ กระทำการตามหน้าที่ และต่างฝ่ายต่างก็ไม่รู้จักกัน แม้จำเลยจะต่อสู้ชกต่อยขัดขวาง ไม่ให้ตำรวจค้นเอาเงินหรือทรัพย์สินของจำเลยไป ก็ไม่มีความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1025/2518 การจับโดยไม่ต้องมีหมายจับ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 78(4) นั้น ถ้าเป็นกรณีจับบุคคลในที่รโหฐาน จะต้องอยู่ในบังคับของมาตรา81(1) ประกอบกับมาตรา 92 ด้วย / จำเลยทำร้ายร่างกาย ดไปแจ้งความต่อผู้ใหญ่บ้านของให้จับ แต่วันนั้นจับไม่ได้ เพราะมืด รุ่งเช้าผู้ใหญ่บ้านพา ดไปแจ้งความต่อผู้บังคับกอง ผู้บังคับกองให้ตำรวจไปกับผู้ใหญ่บ้านเพื่อจับ แต่ไม่พบจึงพากันกลับ ผู้บังคับกองได้สั่งด้วยวาจาว่า ถ้าพบให้จับจำเลยมาดำเนินคดี ตอนเย็นวันนั้นเอง ผู้ใหญ่บ้านกับผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านพากันไปจับจำเลยโดยคนทั้งสองไม่มีหมายจับ พบจำเลยอยู่ใต้ถุนบ้าน ทผู้ใหญ่บ้านแจ้งแก่จำเลยว่า ตำรวจต้องการตัวเรื่องทำร้ายร่างกาย ดจำเลยไม่ยอมให้จับและต่อสู้ขัดขวาง การเข้าไปจับจำเลยถึงใต้ถุนบ้าน ทอันเป็นที่รโหฐานเช่นนี้ เป็นกรณีซึ่งอยู่ในบังคับของมาตรา 81 (1)ประกอบกับมาตรา 92 ด้วย เมื่อกรณีไม่เข้าด้วยข้อยกเว้นดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 92 การเข้าไปจับนั้นจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ที่จำเลยขัดขวางการจับกุมจึงไม่เป็นความผิดฐานต่อสู้หรือขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่
- คำพิพากษาฎีกาที่ 3743/2529 เจ้าพนักงานสรรพสามิตและตำรวจค้นพบของกลาง ซึ่งเป็นภาชนะเครื่องกลั่นสำหรับทำสุรา ที่บริเวณบ้านจำเลย และสอบถามแล้ว จำเลยรับว่าเป็นของตน ดังนี้ ไม่ใช่ความผิดซึ่งเจ้าพนักงานเห็นจำเลยกำลังกระทำ หรือพบในอาการซึ่งแทบจะไม่มีความสงสัยเลยว่าจำเลยกระทำผิดมาแล้วสดๆ จึงไม่ใช่ความผิดซึ่งหน้าที่พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจจะจับจำเลยได้ โดยไม่มีหมายจับ เมื่อเป็นการจับกุมโดยไม่มีอำนาจ เพราะไม่มีหมายจับ แม้จำเลยจะต่อสู้ขัดขวางการจับกุม ก็ไม่มีความผิด
- คำพิพากษาฎีกาที่ 2608/2535 เจ้าพนักงานตำรวจไม่ได้แต่งเครื่องแบบ และไม่ได้แสดงตนว่าเป็นเจ้าพนักงานตำรวจเข้าจับกุมกลุ่มเด็กวัยรุ่น โดยไม่แจ้งข้อหาแก่เด็กวัยรุ่นคนใดว่าเป็นผู้ดูหมิ่นตนและจะต้องถูกจับ กลับสั่งให้คนขับรถที่เด็กวัยรุ่นโดยสารมาขับรถไปสถานีตำรวจ จึงถือไม่ได้ว่ามีการจับกุมในข้อหาดูหมิ่นเจ้าพนักงานโดยชอบ ผู้ต่อสู้ขัดขวางมิให้จับกุมไม่มีความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานซึ่งกระทำตามหน้าที่
- คำพิพากษาฎีกาที่ 3178/2540 ผู้เสียหายได้พบจำเลย ในขณะที่จำเลยซึ่งมีอาการเมาสุรานั่งคร่อมอยู่บนรถจักรยานยนต์ โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยได้กระทำความผิด และผู้เสียหายมิได้เข้าทำการจับกุมจำเลย อันเนื่องมาจากการกระทำความผิดของจำเลยแต่อย่างใด อีกทั้งการที่ ส. แจ้งต่อผู้เสียหายก็ระบุแต่เพียงว่าอาจมีเรื่องกันบริเวณปากซอยให้ไปช่วยคนหน่อย จึงฟังไม่ได้ว่ามีการกระทำความผิดเกิดขึ้นโดยจำเลยเป็นผู้ก่อเหตุ หรือกระทำความผิดอย่างใด การที่ผู้เสียหายปฏิบัติภารกิจอื่นแล้วเข้าไปยังที่เกิดเหตุโดยยังมิได้มีเหตุการณ์วิวาทเกิดขึ้นแต่ผู้เสียหายกลับไปมีเรื่องกับจำเลยเป็นส่วนตัว โดยถูกจำเลยพูดว่ากล่าวและผลักอก จึงไม่ใช่เรื่องที่ผู้เสียหายกำลังปฏิบัติการตามหน้าที่ในการเข้าระงับเหตุทะเลาะวิวาท หรือจับกุมผู้กระทำความผิด การกระทำของจำเลยมิใช่เป็นการต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติตามหน้าที่ ตาม ป.อ. มาตรา 138 แต่อย่างใด
- คำพิพากษาฎีกาที่ 7985/2540 การกระทำที่จะเป็นความผิดฐานต่อสู้ หรือขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่ตาม ป.อ.มาตรา 138 นั้น จะต้องเป็นการกระทำต่อเจ้าพนักงาน ที่มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย โดยได้รับการแต่งตั้งตามวิธีการที่กฎหมายให้อำนาจและกำหนดไว้สำหรับ พ.ร.บ.กองอาสารักษาดินแดน พ.ศ. 2497 มาตรา 16 (2) กำหนดให้กองอาสารักษาดินแดนมีหน้าที่ทำหน้าที่ตรวจรักษาความสงบภายในท้องที่ ร่วมกับพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ และมาตรา 29 ระบุว่าเจ้าหน้าที่หรือสมาชิกกองอาสารักษาดินแดนในระหว่างทำการตามหน้าที่ให้ถือว่าเป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมายลักษณะอาญา ตามบทบัญญัติดังกล่าวกำหนดให้ผู้เสียหายทำงานร่วมกับพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ จึงจะมีอำนาจตามกฎหมาย และให้ถือว่าผู้เสียหายเป็นเจ้าพนักงาน แต่ผู้เสียหายมีหน้าที่เพียงสกัดกั้นผู้กระทำความผิดต่อกฎหมาย ไม่มีหน้าที่จับกุม หากจะจับกุมจะต้องมีเจ้าพนักงานตำรวจและปลัดอำเภอร่วมด้วยดังนั้น เมื่อไม่ปรากฏว่ามีเจ้าพนักงานตำรวจ หรือเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองร่วมกับผู้เสียหายในการจับกุมจำเลย ผู้เสียหายย่อมไม่เป็นเจ้าพนักงานซึ่งปฏิบัติการตามหน้าที่ จำเลยจึงไม่มีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 138
- ประเด็นการต่อสู้ขัดขวาง
- คำพิพากษาฎีกาที่ 618/2504 เจ้าพนักงานมีคำสั่งตามอำนาจหน้าที่ ให้จัดการรื้อรั้วไซมาน และจ้างคนให้ทำการรื้อ โดยอยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงานโดยใกล้ชิด จำเลยทราบแล้วยังขัดขืน เข้าผลักคนรื้อเพื่อขัดขวางการรื้อ ย่อมมีความผิดฐานขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่
- คำพิพากษาฎีกาที่ 984/2514 คืนเกิดเหตุ ตำรวจกับพวกเจ้าทรัพย์ติดตามไปเอาเรือของเจ้าทรัพย์ที่ถูกคนร้ายชิงไป พบจำเลยทั้งสองอยู่ในเรือลำหนึ่ง ตำรวจซึ่งแต่งเครื่องแบบร้องบอกว่า "นี่ตำรวจ นั่นเรืออะไร เข้ามานี่ก่อน" จำเลยเบนหัวเรือหนี เรือตำรวจไล่ตามไปได้ 5-6 วา จำเลยก็ยิงปืนมา 1 นัด กระสุนปืนถูกพวกเจ้าทรัพย์ที่อยู่ในเรือตำรวจ เมื่อเรือตำรวจไล่ไปจะทันเรือจำเลย จำเลยทั้งสองก็กระโดดน้ำหนีไปพร้อมกัน ดังนี้ถือได้ว่าจำเลยได้ร่วมกันกระทำความผิดฐานใช้ปืนเป็นอาวุธต่อสู้ขัดขวาง และฐานพยายามฆ่าเจ้าพนักงาน
- คำพิพากษาฎีกาที่ 501/2537 เมื่อผู้เสียหายจับกุมจำเลยในข้อหาดูหมิ่นเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ จำเลยดิ้นรนขัดขืนและชกหน้าผู้เสียหาย 1 ครั้ง จนฟันผู้เสียหายหัก และมีโลหิตไหลออกจากปาก จำเลยจึงมีความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่โดยใช้กำลังประทุษร้ายตาม ป.อ.มาตรา138 วรรคสองและทำร้ายร่างกายเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ตาม ป.อ.มาตรา 296 อีกกระทงหนึ่ง
- คำพิพากษาฎีกาที่ 9212/2539 (สบฎ เน 18) จำเลยเอามือกดปืนที่เอวของตน เพื่อไม่ให้ตำรวจดึงไป เป็นการขัดขวางเจ้าพนักงานโดยใช้กำลังประทุษร้าย มาตรา 138 วรรค 2
- กรณีไม่เป็นการต่อสู้ขัดขวาง
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1318/2506 (อ จิตติ 2/167) ผู้เล่นการพนัน กลัวถูกจับ จึงดำไฟฟ้าในขณะเจ้าพนักงานเข้าจับ แม้ทำให้เกิดความไม่สะดวก ก็ยังไม่ถึงกับเป็นการขัดขวางตาม มาตรา 138
- คำพิพากษาฎีกาที่ 223/2531 จำเลยขับรถยนต์สิบล้อไปถึงด่านตรวจ ได้รับสัญญาณให้หยุดรถจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ ซึ่งยื่นอยู่ริมถนนบริเวณด่านตรวจนั้นแล้วไม่ปฏิบัติตาม โดยจำเลยขับรถผ่านเลยไป เมื่อไม่ได้ความว่าจำเลยกระทำการอื่นใดนอกเหนือไปจากนี้ การกระทำของจำเลยจึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นความผิดฐานขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่
- คำพิพากษาฎีกาที่ 2220/2540 ประจักษ์พยานโจทก์ที่นำสืบทั้งสองปากเป็นเจ้าพนักงานตำรวจผู้จับกุมนั้น มิได้แต่งเครื่องแบบเหตุที่เข้าจับกุมจำเลย ก็สืบเนื่องจากเหตุวิวาทส่วนตัวระหว่างจำเลยกับผู้จับกุม ถึงขั้นลงมือทำร้ายกัน ก่อนที่พยานโจทก์อ้างว่าได้แสดงตัวเป็นเจ้าพนักงานตำรวจ จึงเห็นได้ชัดว่าลักษณะการปฏิบัติหน้าที่ของพยานผู้จับกุม เป็นผลสืบเนื่องจากการวิวาทส่วนตัว น้ำหนักความเป็นกลางของพยานผู้จับกุมจึงน้อย ไม่อาจจะรับฟังเชื่อถือได้มั่นคงดังนี้ เมื่อพิเคราะห์ถึงข้อเท็จจริงที่มีประจักษ์พยานบุคคลอื่นซึ่งเป็นประชาชน แต่โจทก์หาได้นำสืบประกอบเพื่อสนับสนุนให้คำเบิกความของพยานผู้จับกุมมีน้ำหนักดีขึ้นแต่ประการใดไม่ พยานหลักฐานโจทก์ที่นำสืบจึงไม่พอรับฟังลงโทษจำเลยโดยปราศจากข้อสงสัย ต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย
- คำพิพากษาฎีกาที่ 5980/2540 เจ้าพนักงานตำรวจจับจำเลยที่ ในข้อหาลักทรัพย์และควบคุมตัวจำเลยที่ ไปที่รถโดยสิบตำรวจโท ศ. กับนาบดาบตำรวจ อ. เดินขนาบข้างคล้องแขนจำเลยที่ไว้คนละข้าง ระหว่างทางจำเลยที่ กับพวกประมาณ 10 ถึง 15 คน เข้ามาแย่งตัวจำเลยที่ 1โดยจำเลยที่ เข้ามาดึงตัวจำเลยที่ ออกไป และถีบสิบตำรวจโท ศ. กับนายดาบตำรวจ อ.ส่วนจำเลยที่ ได้พยายามดิ้นรนเพื่อให้พ้นจากการถูกควบคุมตัว ซึ่งแม้ว่าในการดิ้นรนของจำเลยที่ จะเป็นเหตุให้เท้าของจำเลยที่ ไปโดนสิบตำรวจโท ศ. กับ นายดาบตำรวจ อ. ก็ตาม แต่การกระทำของจำเลยที่ ดังกล่าว ก็ยังไม่ถึงขั้นที่จะเป็นการต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 140
- คำพิพากษาฎีกาที่ 2410/2545 จำเลยขับรถยนต์กระบะมาถึงด่านตรวจ เจ้าพนักงานตำรวจได้ให้สัญญาณให้หยุดรถเพื่อตรวจ จำเลยไม่ยอมหยุด และได้ขับรถเลยไป จนต้องมีการไล่ติดตามเพื่อสกัดจับ การที่จำเลยขับรถเลยไป ไม่ยอมหยุดให้ตรวจค้นก็ดี การที่จำเลยดิ้นรนเพื่อให้หลุดพ้นจากการจับกุมก็ดี เป็นเพียงขั้นตอนหนึ่งของการจะหลบหนี จึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นความผิดฐานต่อสู้ หรือขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่
- ประเด็นเรื่องเจตนาต่อสู้ขัดขวาง
- คำพิพากษาฎีกาที่ 3231/2531 จำเลยไม่ยอมให้ค้น เนื่องจากเกรงว่าตำรวจจะกลั่นแกล้ง เพราะเหตุที่เคยมีสาเหตุกับตำรวจนั้นมาก่อน ในที่สุดจำเลยยอมให้ค้น เห็นได้ว่าจำเลยขาดเจตนาต่อสู้หรือขัดขวางเจ้าพนักงาน ไม่ผิด ม 138

- มาตรา 138 วรรคสอง
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1166/2499 แม้จำเลยไม่ได้ใช้วาจาขู่เข็ญ แต่ได้ใช้มีดเงื้อจะทำร้ายเจ้าพนักงานก็ย่อมถือได้แล้วว่าเป็นการขู่เข็ญจะทำร้ายโดยประสงค์จะต่อสู้หรือขัดขวางเจ้าพนักงาน
- คำพิพากษาฎีกาที่ 984/2514 คืนเกิดเหตุ ตำรวจกับพวกตามหาเรือของเจ้าทรัพย์ที่ถูกคนร้ายชิงไป พบจำเลยทั้งสองอยู่ในเรือลำหนึ่ง ตำรวจซึ่งอยู่ในเครื่องแบบ แสดงตัวและบอกให้จำเลยเข้ามาหา จำเลยทั้งสองรู้ว่าเป็นตำรวจ แต่ขัดขืน และได้ยิงปืนมาที่เรือตำรวจ 1 นัด กระสุนปืนถูกผู้ช่วยเหลือเจ้าพนักงานที่ขา แล้วจำเลยทั้งสองโดดน้ำหนีพร้อมกัน ดังนี้ จำเลยทั้งสองร่วมกันกระทำผิดฐานต่อสู้ขัดขวางและพยายามฆ่าเจ้าพนักงานกับผู้ช่วยเหลือเจ้าพนักงานที่กระทำตามหน้าที่ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 12/2514) (ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยทั้งสองมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 138, 140, 288, 289, 80,83 ให้ลงโทษตามมาตรา 289, 80, 83 ซึ่งเป็นบทหนักที่สุด / ศาลฎีกาพิพากษาว่า พิพากษากลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ให้บังคับคดีสำหรับจำเลยที่ 2 ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ส่วนจำเลยที่ 1 นั้นมีความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 138, 140, 288, 289, 80, 83 ให้ลงโทษตามมาตรา 289, 80ซึ่งเป็นบทหนักที่สุด)
- คำพิพากษาฎีกาที่ 2564/2517 ก่อนเกิดเหตุคดีนี้ประมาณ 1 เดือน จำเลยถูกกล่าวหาว่าร่วมกันฆ่าผู้อื่น วันเกิดเหตุตำรวจออกตรวจท้องที่ เห็นจำเลยกับพวกอยู่บนบ้านหลังหนึ่งในสวนยาง ตำรวจเข้าไปในระยะห่าง 1 เส้น ร้องตะโกนว่า อย่าหนี นี่เจ้าหน้าที่ตำรวจ จำเลยกระโดดหนีลงทางหลังบ้าน แล้วใช้ปืนยิงขู่ตำรวจและหลบหนีไปได้ เป็นการต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานผู้ปฏิบัติราชการตามหน้าที่แล้ว เพราะตำรวจเหล่านั้นมีอำนาจจับกุมจำเลยได้ โดยไม่จำเป็นต้องมีหมายจับ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา78 (3) ทั้งตามพฤติการณ์เช่นนี้ตำรวจเหล่านั้นอาจจับจำเลยได้ โดยไม่จำเป็นที่จะต้องขึ้นไปค้นบนบ้านอันเป็นที่รโหฐานแต่ประการใดด้วย / เมื่อการกระทำของจำเลยต้องด้วย มาตรา 140 แล้วก็ไม่ต้องปรับบทด้วย มาตรา 138 อีก
- คำพิพากษาฎีกาที่ 2335/2518 นายร้อยตำรวจทำหน้าที่นายร้อยเวรสอบสวนไปนั่งในร้านอาหาร ยังมีอำนาจหน้าที่ในการจับกุมผู้ทำผิดซึ่งหน้า การชกต่อยต่อสู้ ไม่ยอมให้จับ เป็นความผิดตาม ม.138 วรรค 2, 295 (ฐานทำร้ายร่างกาย ต้องปรับเหตุฉกรรจ์ ม 296)
- คำพิพากษาฎีกาที่ 52/2523 การที่จำเลยที่ 1กอดเอว และจำเลยที่ 2 ดึงเสื้อเจ้าพนักงานตำรวจไว้ เพื่อมิให้จับกุมญาติของตนที่กำลังถูกติดตามจับกุมเป็นการต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานโดยใช้กำลังประทุษร้าย
- คำพิพากษาฎีกาที่ 5479/2536 จำเลยใช้มือผลักหน้าอกร้อยตำรวจโท ป. ในขณะที่จะเข้าตรวจค้นบ้านจำเลยตามหมายค้น ซึ่งเป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย จึงเป็นการขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติหน้าที่โดยใช้กำลังประทุษร้าย และการที่จำเลยพูดด่าร้อยตำรวจโท ป.ร้อยตำรวจโท ส. และร้อยตำรวจตรี ช. กับพวกว่า "ไอ้พวกอันธพาล ไอ้พวกฉิบหาย ไอ้มือปืน" เป็นการดูหมิ่นเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่
- คำพิพากษาฎีกาที่ 176/2543 การที่จำเลยที่ 1 ใช้อาวุธมีดฟันพลตำรวจ ก. ซึ่งแต่งกายเครื่องแบบตำรวจและออกตรวจท้องที่ ในขณะปฏิบัติหน้าที่สามีภริยาทะเลาะวิวาทกัน ไม่ว่าการใช้อาวุธมีดฟันทำร้ายร่างกายพลตำรวจ ก. ดังกล่าวจะมีมูลเหตุมาโดยประการใด หรือไม่เกี่ยวข้องกับการที่พลตำรวจ ก. กับพวกจับกุมจำเลยที่ 1 กับพวก ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ทำร้ายร่างกายพลตำรวจ ก. เจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่ เพราะการที่พลตำรวจ ก. กับพวกกำลังระงับเหตุทะเลาะวิวาทกันดังกล่าว ถือว่าเป็นการปฏิบัติหน้าที่ เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยตามหน้าที่ โดยชอบด้วยกฎหมาย จำเลยที่ 1 ย่อมเป็นความผิด ตาม ป.อ. มาตรา 296 (ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยทั้งสองมีความผิดตาม มาตรา 140 วรรคแรก ประกอบด้วยมาตรา 138 วรรคสอง, มาตรา 83 จำคุกคนละ 6 เดือน และจำเลยที่ 1 มีความผิดตาม มาตรา 296,371 เป็นความผิดหลายกรรม ศาลอุทธรณ์แก้โทษ )
- ความผิดสำเร็จ
- (อ จิตติ 2/167) การต่อสู้ขัดขวาง ไม่จำต้องมีผล ถือว่าความผิดสำเร็จทันที เมื่อมีการต่อสู้ขัดขวาง ไม่ต้องรอให้ผลเกิด แม้การขัดขวางนั้นจะไม่ได้ผลเลย เพราะเจ้าพนักงานยังสามารถกระทำการตามหน้าที่ได้สำเร็จก็ตาม
- คำพิพากษาฎีกาที่ 243/2509 การที่จำเลยยิงปืนขึ้นฟ้า เพื่อขู่ตำรวจมิให้ไล่จับกุมจำเลยต่อไปนั้น เป็นการขัดขวางเจ้าพนักงาน ตาม ม 138 ต้องลงโทษตาม มาตรา 140 (เป็นการ ต่อสู้ขัดขวางโดย ขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย” แต่มีเหตุฉกรรจ์ ตรงที่ใช้อาวุธปืน / แม้ตำรวจไล่ตามจับจำเลยจนได้ ซึ่งหมายถึง การต่อสู้ขัอขวางของจำเลย ไม่เกิดผลให้การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานหยุดชะงัก )
- ผู้เกี่ยวข้องในการกระทำความผิด
- คำพิพากษาฎีกาที่ 3891/2530 จำเลยนั่งดื่มสุราอยู่ในกลุ่มวัยรุ่น 5-6 คน เมาสุราส่งเสียงเอะอะ เจ้าพนักงานเข้าไปตักเตือนห้ามปราม และจะขอจับกุมวัยรุ่นกลุ่มนั้นกลุ้มรุมทำร้ายเจ้าพนักงานตำรวจ จำเลยไม่ได้ลงมือทำร้ายร่างกายด้วย แต่การที่จำเลยยืนดูอยู่ห่างประมาณ 5 เมตร ยกเก้าอี้เหล็กขึ้น เพื่อคอยช่วยเหลือเพื่อนของจำเลยในการต่อสู้ทำร้ายเจ้าพนักงานตำรวจ ถือได้ว่าได้ร่วมกับพวกทำร้ายร่างกายและต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน ในการปฏิบัติการตามหน้าที่แล้ว
- กฎหมายที่เกี่ยวข้อง มาตรา 289 (2) ฆ่าเจ้าพนักงาน / มาตรา 296 ทำร้ายเจ้าพนักงาน / มาตรา298 ทำร้ายร่างกายเจ้าพนักงานถึงสาหัส
- ตัวอย่างประเด็นข้อสอบเก่า มาตรา 138
- (ขส เน 2538/4) พลตำรวจได้รับคำสั่งให้จับกุมผู้ทำผิด แจ้งผู้ทำผิดให้หนีไปก่อนถึงเวลาจับกุม /เมื่อตำรวจอื่นจะเข้าจับ พลตำรวจเข้าไปกั้นเพื่อให้ล่าช้า จนผู้ทำผิดหนีไปได้ พลตำรวจ มีอำนาจสืบสวนและมีหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามคำสั่ง การแจ้งให้หลบหนี และเข้าขัดขวางการจับกุม เป็นการกระทำโดยมิชอบ เพื่อจะช่วยบุคคลไม่ให้ต้องโทษ ถือเป็นการขัดขวางเจ้าพนักงานฯ และเป็นการป้องกัน หรือขัดขวางมิให้การเป็นไปตามคำสั่ง ซึ่งเป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น ผิด ม 138 + 157 + 165 + 200 การแจ้งให้หลบหนี เป็นการช่วยผู้ต้องหาว่ากระทำความผิด ซึ่งมิใช่ความผิดลหุโทษ เพื่อไม่ให้ถูกจับกุม ผิด ม 189 ด้วย
มาตรา 139 ผู้ใดข่มขืนใจเจ้าพนักงาน ให้ปฏิบัติการอันไม่ชอบด้วยหน้าที่ หรือให้ละเว้นการปฏิบัติการตามหน้าที่ โดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสี่ปี หรือปรับไม่เกินแปดพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
- คำพิพากษาฎีกาที่ 920/2508 จำเลยไปพูดขอประกันผู้ต้องหาเป็นการส่วนตัว ขณะพนักงานสอบสวนกำลังกินข้าวที่บ้านพัก จึงไม่ใช่เวลาปฏิบัติราชการตามหน้าที่ ถือไม่ได้ว่าจำเลยดูหมิ่นเจ้าพนักงานเพราะได้กระทำการตามหน้าที่ตามมาตรา 136 / เมื่อพนักงานสอบสวน ไม่ยอมสั่งอนุญาตให้จำเลยประกันตัวผู้ต้องหา เพราะผิดระเบียบ จำเลยพูดขู่เข็ญว่าถ้าไม่สั่งให้ประกัน จำเลยจะจัดการให้พนักงานสอบสวนถูกย้ายไปที่อื่น เช่นที่เคยกระทำได้ผลมาแล้วแก่ผู้บังคับกองคนหนึ่ง แต่โดยที่เรื่องย้ายไม่แน่ ถ้าไม่ให้ประกันจะต้องเอาพนักงานสอบสวนลงหลุมฝังศพเสีย เป็นการข่มขืนใจ ขู่เข็ญพนักงานให้ถึงแก่ชีวิต ด้วยการใช้กำลังประทุษร้าย ตามความหมายของถ้อยคำ เพื่อให้เจ้าพนักงานปฏิบัติการสั่งประกันเสียเองอันมิชอบด้วยหน้าที่ เป็นความผิดตาม มาตรา 139
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1266/2530 ตำรวจจะเข้าจับกุมเจ้าของรถเข็นในข้อหานำรถที่ไม่ได้เสียภาษีมาใช้ในทางและกีดขวางทางจราจร จำเลยพูดว่า 'ถ้าจับ มีเรื่องแน่พร้อมกับชี้มือในลักษณะของการข่มขู่ และพวกจำเลยประมาณ 30-40 คนได้เดินเข้าไปหาตำรวจ ทำให้ตำรวจกลัวว่าจำเลยและพวกจะทำร้าย จึงพากันถอยออกไป การกระทำของจำเลยกับพวกดังกล่าว แสดงให้เห็นว่ามีเจตนาที่จะข่มขืนใจไม่ให้เจ้าพนักงานปฏิบัติตามหน้าที่หรือละเว้นการปฏิบัติการตามหน้าที่จำเลยจึงมีความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 139 และเมื่อการกระทำต้องด้วยมาตรา140 ก็ไม่ต้องปรับบทด้วยมาตรา 139 อีก
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1266/2530 เจ้าพนักงานตำรวจจะจับกุมเจ้าของรถเข็น ในข้อหานำรถที่ไม่ได้เสียภาษีมาใช้ในทาง และกีดขวางทางจราจร จำเลยได้พูดว่าถ้าจับไปน่าดู วันนี้มีเรื่องแน่พร้อมกับชี้มือในลักษณะของการข่มขู่ และพวกของจำเลยอีกประมาณ 30-40 คน ก็เดินเข้าไปหาเจ้าพนักงานตำรวจ เจ้าพนักงานตำรวจเกรงว่าจะถูกทำร้ายจึงต้องถอยออกไป การกระทำของจำเลยกับพวก จึงเป็นการข่มขืนใจเจ้าพนักงานให้ละเว้นการปฏิบัติการตามหน้าที่ โดยขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย เป็นความผิดตาม มาตรา 140 / เมื่อการกระทำของจำเลยต้องด้วยบทบัญญัติ มาตรา 140 แล้ว กรณีไม่จำต้องปรับบทลงโทษตามมาตรา 139 อีก
- ประเด็นความผิดสำเร็จ
- คำพิพากษาฎีกาที่ 2989/2537 การที่จำเลยพูดขู่เข็ญจะฆ่าผู้เสียหายซึ่งเป็นเจ้าพนักงานป่าไม้หากไม่ปล่อยไม้ที่ยึด เป็นการข่มขืนใจผู้เสียหายซึ่งเป็นเจ้าพนักงานให้ปฏิบัติการอันมิชอบด้วยหน้าที่หรือให้ละเว้นการปฏิบัติการตามหน้าที่ เป็นการลงมือกระทำความผิดครบองค์ประกอบความผิดแล้ว แต่การกระทำนั้น ไม่บรรลุผล เพราะผู้เสียหายไม่เกรงกลัว ไม่ยินยอมปล่อยไม้ที่ยึด ผู้เสียหายจึงไม่ได้ปฏิบัติการอันมิชอบด้วยกฎหมายหรือละเว้นการปฏิบัติการตามหน้าที่ที่จำเลยข่มขืนใจ จำเลยจึงมีความผิดขั้นพยายามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 139 ประกอบมาตรา 80
- กฎหมายที่เกี่ยวข้อง มาตรา 289 (2) ฆ่าเจ้าพนักงาน มาตรา 296 ทำร้ายเจ้าพนักงาน มาตรา309 ความผิดต่อเสรีภาพ

มาตรา 140 ถ้าความผิดตามมาตรา 138 วรรคสอง หรือมาตรา 139 ได้กระทำโดยมีหรือใช้อาวุธหรือโดยร่วมกระทำความผิดด้วยกันตั้งแต่สามคนขึ้นไป ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ถ้ากระทำโดยอ้างอำนาจอั้งยี่หรือซ่องโจร ไม่ว่าอั้งยี่หรือซ่องโจรนั้นจะมีอยู่หรือไม่ ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่สี่พันบาทถึงสองหมื่นบาท
ถ้าความผิดตามมาตรานี้ ได้กระทำโดยมีหรือใช้อาวุธปืนหรือวัตถุระเบิด ผู้กระทำต้องระวางโทษหนักกว่าโทษที่กฎหมายบัญญัติไว้ในสองวรรคก่อนกึ่งหนึ่ง
- คำพิพากษาฎีกาที่ 243/2509 การที่จำเลยยิงปืนขึ้นฟ้าเพื่อขู่ตำรวจมิให้ไล่จับกุมจำเลยต่อไปนั้น เป็นการขัดขวางเจ้าพนักงานมิให้จับกุมจำเลย หรือมิให้ปฏิบัติการตามหน้าที่ ตาม มาตรา 138 บัญญัติเป็นความผิดแล้ว ต้องลงโทษตามมาตรา 140
- คำพิพากษาฎีกาที่ 319,320/2521 นายสิบตำรวจจับผู้ที่กำลังยิงคน ผู้นั้นไม่ยอมให้จับเกิดปล้ำกัน เป็นกรณีจับผู้กระทำผิดซึ่งหน้า ไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องแจ้งว่าจะจับตาม ป.ว.อ. ม.82 วรรคแรก การต่อสู้เป็นความผิดตาม ป.อ. ม.140
- คำพิพากษาฎีกาที่ 2780/2527 จำเลยจ้องปืนมาทางจ่าสิบตำรวจ นกับพวกแล้วก็มี เสียงปืนดังขึ้นนัด จากทางด้านจำเลย ซึ่งจำเลยจะ ต้องเป็นผู้ยิงเพราะพวกของจำเลยไม่มีปืน แม้กระสุนปืนที่จำเลยยิงจะไม่ถูกใคร แต่การที่จำเลยยิงปืนมาทางจ่าสิบตำรวจ นกับพวก จำเลยย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำนั้นได้ว่าอาจเป็นเหตุให้จ่าสิบตำรวจ นกับพวกคนใดคนหนึ่งหรือ หลายคนถึงแก่ความตาย จำเลยจึงมีความผิดฐานพยายามฆ่าเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1266/2530 ตำรวจจะเข้าจับกุมเจ้าของรถเข็นในข้อหานำรถที่ไม่ได้เสียภาษีมาใช้ในทางและกีดขวางทางจราจร จำเลยพูดว่า 'ถ้าจับ มีเรื่องแน่พร้อมกับชี้มือในลักษณะของการข่มขู่ และพวกจำเลยประมาณ 30-40 คนได้เดินเข้าไปหาตำรวจ ทำให้ตำรวจกลัวว่าจำเลยและพวกจะทำร้าย จึงพากันถอยออกไป การกระทำของจำเลยกับพวกดังกล่าว แสดงให้เห็นว่ามีเจตนาที่จะข่มขืนใจไม่ให้เจ้าพนักงานปฏิบัติตามหน้าที่หรือละเว้นการปฏิบัติการตามหน้าที่จำเลยจึงมีความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 139 และเมื่อการกระทำต้องด้วยมาตรา140 ก็ไม่ต้องปรับบทด้วยมาตรา 139 อีก
- คำพิพากษาฎีกาที่ 5980/2540 เจ้าพนักงานตำรวจจับจำเลยที่ 1 ในข้อหาลักทรัพย์ และควบคุมตัวจำเลยที่ 1 ไปที่รถ โดยสิบตำรวจโท ศ. กับนายดาบตำรวจ อ.เดินขนาบข้าง คล้องแขนจำเลยที่ 1 ไว้คนละข้าง ระหว่างทางจำเลยที่ 2 กับพวกประมาณ 10 ถึง 15 คน เข้ามาแย่งตัวจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 เข้ามาดึงตัวจำเลยที่ 1 ออกไป และถีบสิบตำรวจโท ศ. กับนายดาบตำรวจ อ. ส่วนจำเลยที่ 1 ได้พยายามดิ้นรน เพื่อให้พ้นจากการถูกควบคุมตัว ซึ่งแม้ว่าในการดิ้นรนของจำเลยที่ 1 จะเป็นเหตุให้เท้าของจำเลยที่ 1 ไปโดนสิบตำรวจโท ศ. กับนายดาบตำรวจ อ. ก็ตาม แต่การกระทำของจำเลยที่ 1 ดังกล่าว ก็ยังไม่ถึงขั้นที่จะเป็นการต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานตาม ป.อ. มาตรา 140
- กฎหมายที่เกี่ยวข้อง มาตรา 289 (2) ฆ่าเจ้าพนักงาน / มาตรา 290 วรรคสอง ไม่เจตนาฆ่า แต่ทำร้ายเจ้าพนักงานถึงตาย / มาตรา 296 ทำร้ายเจ้าพนักงาน / มาตรา 298 ทำร้ายเจ้าพนักงานสาหัส /
- ตัวอย่างประเด็นข้อสอบเก่า มาตรา 140
- (ขส พ 2528/ 8) จำเลยที่ 1 ชักปืนเจตนายิงตำรวจ แต่ขณะกระชากลูกเลื่อนถูกขัดขวาง ยังไม่ถึงขั้นลงมือ ไม่ผิด ม 80, 288 แต่ผิด ม 140 ว ท้าย ฎ 1120/2517 จำเลยที่ 2 นำกระสุนด้านมาใช้ยิง กระสุนด้านอีก เป็นเหตุบังเอิญ หาใช่แน่แท้ว่าจะไม่ทำให้เกิดอันตราย ผิด ม 140 ว ท้าย และผิด ม 80,289 ฎ 783/2513 เหตุเกิดกระทันหัน ไม่มีพฤติการณ์เป็นตัวการ จำเลยที่ 1 ไม่ต้องรับผิดตามจำเลยที่ 2

มาตรา 141 ผู้ใดถอน ทำให้เสียหาย ทำลาย หรือทำให้ไร้ประโยชน์ ซึ่ง ตราหรือเครื่องหมาย อันเจ้าพนักงานได้ประทับหรือหมายไว้ที่สิ่งใด ๆ ในการปฏิบัติการตามหน้าที่ เพื่อเป็นหลักฐานในการยึด อายัด หรือรักษาสิ่งนั้น ๆ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
- คำพิพากษาฎีกาที่ 17/2506 เจ้าพนักงานที่ดินผู้ไปทำแผนที่พิพาทตามคำสั่งศาลในคดีแพ่ง ไม่ใช่พนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 1 และ 67 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน เพราะมิได้ปฏิบัติการตามประมวลกฎหมายที่ดิน เป็นแต่ศาลขอร้องในฐานผู้ชำนาญ หรือมีความรู้ในทางนี้ ทั้งไม่ใช่เจ้าพนักงานผู้ปฏิบัติการตามหน้าที่ เพื่อเป็นหลักฐานในการยึด อายัดหรือรักษาสิ่งใด ๆ ตาม มาตรา 141 ด้วย เมื่อเจ้าพนักงานที่ดินไปทำแผนที่พิพาทตามคำสั่งศาล และปักหลักเครื่องหมายเขตที่ดินไว้ จำเลยถอน จึงไม่มีความผิดตามฟ้อง
มาตรา 142 ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย ซ่อนเร้น เอาไปเสีย หรือทำให้สูญหายหรือไร้ประโยชน์ ซึ่งทรัพย์สินหรือเอกสาร” ใด ๆ อันเจ้าพนักงานได้ยึด รักษาไว้ หรือสั่งให้ส่ง เพื่อเป็นพยานหลักฐาน หรือเพื่อบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมาย ไม่ว่าเจ้าพนักงานจะรักษาทรัพย์หรือเอกสารนั้นไว้เอง หรือสั่งให้ผู้นั้นหรือผู้อื่น ส่งหรือรักษาไว้ก็ตาม ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1746/2494 จำเลยต้องหาว่าลักกระบือ เจ้าพนักงานสงสัยว่าจำเลยเอากระบือที่ลักไปขายเสียแล้ว ซื้อสิ่งของอื่นมา จึงจับจำเลยและสิ่งของอื่นนั้นมาเป็นของกลาง นำส่งปลัดอำเภอ ปลัดอำเภอรับตัวจำเลยจากตำรวจพร้อมทั้งของกลางได้ทำบันทึกการยึดและแจ้งให้จำเลยทราบด้วย ดังนี้ ถือได้ว่าได้ยึดสิ่งของที่จับมาเป็นของกลางโดยชอบตาม ป..วิ.อาญามาตรา 85 แล้ว เมื่อจำเลยลักเอาสิ่งของที่ถูกยึดนั้นไป ก็ย่อมมีความผิดฐานลักทรัพย์ตาม ก..ลักษณะอาญามาตรา290
- คำพิพากษาฎีกาที่ 665/2517 ฮ.ใช้ปืนยิง ป. และ ว. ตาย จ่าสิบตำรวจ ส. ได้รับแจ้งความแล้วไปยังที่เกิดเหตุ ในระหว่างทางพบจำเลยที่ 1 และ 2 และ ฮ. จึงถามจำเลยที่ 1 ว่าปืนที่ ฮ.ใช้ยิง ป. และ ว. นั้นอยู่กับใคร จำเลยที่ 1 ว่าอยู่กับ จำเลยที่ 3 จ่าสิบตำรวจ ส. บอกจำเลยที่ 1 ให้เก็บปืนไว้ด้วย เมื่อจ่าสิบตำรวจ ส. มอบตัว ฮ. ที่สถานีตำรวจแล้วกลับไปที่เกิดเหตุ เพื่อยึดปืนของกลาง จ่าสิบตำรวจ ส. ถามจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 3 ว่า เมื่อได้รับปืนจากจำเลยที่ 2 แล้วได้เอาไปวางไว้ที่กล่องเบียร์แล้วหายไป จ่าสิบตำรวจ ส. จึงไม่ได้ปืนนั้นมาเป็นของกลาง ดังนี้บุตรของ ป. กับ ว. และมารดาของ ว. ไม่ใช่ผู้เสียหายที่จะมีอำนาจฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม มาตรา 142
- คำพิพากษาฎีกาที่ 3854/2525 สถานีรถไฟปาดังเบซาร์อยู่ในประเทศมาเลเซีย ห่างเขตแดนประเทศไทย 500 เมตร ภายในสถานีมีด่านศุลกากรของไทยและมาเลเซีย เมื่อเวลา 8 นาฬิกา นายตรวจศุลกากรประจำด่านของไทยยึดเห็ดหอม ไม่ปรากฏเจ้าของมาจากที่ทำงานพนักงานตรวจรถไฟ ซึ่งอยู่ติดสถานีเพื่อเก็บในด่านศุลกากร ขณะรอคนเปิดประตูห้อง จำเลยเข้ามาแสดงตัวเป็นเจ้าของขอคืน แล้วเกิดทำร้ายกันขึ้น เมื่อเป็นความผิดตามกฎหมายภาษีศุลกากรกับความผิดซึ่งเกี่ยวเนื่องกัน คือต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน และเอาของกลางไป ดังนี้ ศาลไทยมีอำนาจพิจารณาพิพากษาได้ / จำเลยนำเห็ดหอมไปวาง ณ ที่ทำการพนักงานตรวจรถไฟ ยังไม่เป็นความผิดฐานนำสินค้าต่างประเทศเข้ามาในราชอาณาจักรตาม พ.ร.บ.ศุลกากรฯ ม.27 แม้เพียงขั้นพยายามกระทำผิด และเมื่อไปนำกลับคืนมา จึงไม่มีความผิดตาม ป.อ. ม.142
- ตัวอย่างประเด็นข้อสอบเก่า มาตรา 142

มาตรา 143 ผู้ใดเรียก รับ หรือยอมจะรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด สำหรับตนเองหรือผู้อื่นเป็นการตอบแทนในการที่จะจูงใจหรือได้จูงใจเจ้าพนักงาน สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งรัฐ สมาชิกสภาจังหวัด หรือสมาชิกสภาเทศบาล โดยวิธีการอันทุจริต หรือผิดกฎหมาย หรือโดยอิทธิพลของตน ให้กระทำการ หรือไม่กระทำการในหน้าที่ อันเป็นคุณหรือเป็นโทษแก่บุคคลใด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
- คำพิพากษาฎีกาที่ 971/2508 พนักงานอัยการ ย่อมมีสิทธิดำเนินคดีขอให้ลงโทษจำเลย ตาม มาตรา 143 อันเป็นความผิดต่ออาญาแผ่นดินได้ / บุตรผู้เสียหายต้องหาว่าลักทรัพย์บุคคลอื่น จำเลยซึ่งเป็นผู้ใหญ่บ้านรับจะช่วยเหลือให้หลุดพ้น แต่ต้องให้เงินแก่จำเลยเพื่อเอาไปให้พนักงานสอบสวนผู้เสียหายหลงเชื่อจึงให้เงินแก่จำเลย โดยประสงค์ที่จะให้บุตรของตนไม่ต้องรับโทษนั้น เข้าลักษณะเป็นการที่ผู้เสียหายใช้ให้จำเลยไปกระทำผิด จึงมิใช่ผู้เสียหายที่จะมีสิทธิร้องทุกข์ให้เจ้าพนักงาน นำคดีขึ้นว่ากล่าวในความผิดฐานฉ้อโกง อันเป็นความผิดต่อส่วนตัวได้
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1123/2509 โจทก์ร่วมจ่ายเงินให้จำเลยรับไปแล้วห้าแสนบาท จำเลยตั้งข้อเรียกร้องเอาเงินค่าวิ่งเต้นให้โจทก์ร่วมจ่ายเพิ่มอีก โดยพูดขู่ด้วยวาจาและลายลักษณ์อักษรว่า ถ้าไม่ตกลงจ่ายเงินตามที่จำเลยเรียกร้อง ก็ให้เตรียมตัวเข้าคุก เป็นการข่มขืนใจให้โจทก์ร่วมยอมจะจ่ายเงินเพิ่มให้อีก จนโจทก์ร่วมผู้ถูกข่มขืนใจ ยอมจะให้เพิ่มขึ้นตามคำขู่ของจำเลย เพราะเกรงว่าถ้าไม่ยอมทำตามจะต้องได้รับโทษจำคุก ซึ่งเป็นอันตรายต่อเสรีภาย ชื่อเสียงของโจทก์ร่วมเป็นความผิดตามมาตรา 337
- คำพิพากษาฎีกาที่ 511/2516 การที่เจ้าพนักงานตำรวจผู้จับกุมผู้กระทำความผิด มีหน้าที่ต้องเบิกความต่อศาลตามความสัตย์จริง ในฐานะเป็นพยาน ในคดีที่ผู้กระทำความผิดถูกฟ้องนั้น เป็นหน้าที่อย่างเดียวกับประชาชน ทั่ว ๆ ไป หาใช่เป็นหน้าที่โดยตรงอันสืบเนื่องมาจาก การที่เป็นเจ้าพนักงานผู้จับกุมผู้กระทำความผิดไม่ แม้จำเลยจะเรียก และรับเงินจากผู้อื่นเพื่อจูงใจเจ้าพนักงานดังกล่าว ให้เบิกความผิดไปจากความจริง ก็ไม่เป็นความผิดตาม มาตรา 143
- คำพิพากษาฎีกาที่ 423/2522 จำเลยเรียกเงินจากร้านค้าที่จำเลยรับจ้างทำบัญชีอ้างว่า จะเอาไปให้ ป.ผู้ช่วยสรรพากรไม่ให้มาตรวจบัญชีที่ทำผิดแต่ ป.ทำหน้าที่ธุรการไม่มีหน้าที่ตรวจสอบบัญชี การกระทำของจำเลยไม่ผิดตาม ม.143
- คำพิพากษาฎีกาที่ 2345/2522 (สบฎ เน 5881) เรียกและรับเงินจากผู้ต้องหา อ้างว่าจะเอาไปให้พนักงานสอบสวน เพื่อช่วยให้พ้นคดีที่ต้องหา เป็นความผิด ตาม ม 143
- คำพิพากษาฎีกาที่ 537/2523 เรียกทรัพย์ว่าจะนำไปให้ผู้พิพากษาตัดสินยกฟ้อง แม้ผู้เรียกไม่ตั้งใจจะเอาทรัพย์ที่เรียกไปให้เจ้าพนักงานนั้นเลย ก็เป็นการกระทำที่ครบองค์ความผิดตาม ป.อ. มาตรา 143 แล้ว
- คำพิพากษาฎีกาที่ 334/2526 จำเลยเรียกเงินโดยอ้างว่าจะนำไปให้ผู้พิพากษาเพื่อให้พิพากษาฟ้องคดีอาญา ซึ่งญาติของ ป. กับพวกเป็นจำเลย วันต่อมาจำเลยจึงได้รับเงินจาก ป. กับพวก ดังนี้ เห็นได้ว่าจำเลยมีเจตนาที่จะเรียกและรับเงิน ซึ่งเป็นเจตนาอันเดียวกันมาตั้งแต่แรก และเป็นการกระทำต่อเนื่องในคราวเดียวกัน ถือได้ว่าเป็นการกระทำกรรมเดียว
- คำพิพากษาฎีกาที่ 4586/2531 การที่จำเลยเรียกและรับเงินจาก ท. กับพวกโดยอ้างว่าจะเอาไปให้ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ เพื่อให้พิพากษายกฟ้องในคดีที่ ท. กับพวกเป็นจำเลยดังนี้ ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ที่จำเลยอ้างดังกล่าว ย่อมหมายถึงผู้พิพากษาผู้มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีในศาลอุทธรณ์ ได้ตามกฎหมาย แม้จะมิได้เป็นเจ้าของสำนวนหรือองค์คณะที่พิจารณาพิพากษาคดีนั้นก็ตาม ก็ถือว่าเป็นเจ้าพนักงานที่จำเลยจะจูงใจ ให้กระทำการในหน้าที่อันเป็นคุณหรือเป็นโทษแก่ ท. กับพวกแล้วการกระทำของจำเลย จึงเป็นความผิดตาม มาตรา 143
- คำพิพากษาฎีกาที่ 5174/2533 จ.สามี ล.ที่จำเลยที่ 2 พา น.ไปติดต่อ เพื่อจะขอให้ช่วยวิ่งเต้นให้ น. ชนะคดีในชั้นอุทธรณ์ ไม่ได้เป็นผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ จ.จึงไม่ใช่เจ้าพนักงานที่ ล. หรือจำเลยคนหนึ่งคนใด จะพึงจูงใจให้กระทำการ หรือไม่กระทำการในหน้าที่ โดยพิพากษาคดีในชั้นอุทธรณ์ให้เป็นคุณ หรือเป็นโทษแก่บุคคลใด อันเป็นองค์ประกอบของความผิดตามมาตรา 143 ได้
- คำพิพากษาฎีกาที่ 4846/2536 การที่จำเลยที่ 1 เรียกและรับเงินจำนวน 1,000,000 บาท ไป จากผู้เสียหายเป็นการตอบแทนในการที่จะจูงใจเจ้าพนักงานในตำแหน่งผู้พิพากษาศาลฎีกาโดยวิธีอันทุจริต ให้กระทำการในหน้าที่โดยพิพากษาคดีให้เป็นคุณแก่ผู้เสียหายให้ผู้เสียหายชนะคดีในชั้นศาลฎีกานั้น ครบองค์ประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 143 แล้ว จำเลยที่ 1 จะได้ไปจูงใจเจ้าพนักงานในตำแหน่งผู้พิพากษาศาลฎีกาให้กระทำการในหน้าที่ให้เป็นคุณแก่ผู้เสียหายหรือไม่ หาใช่องค์ประกอบของความผิดไม่ ดังนั้นแม้ศาลชั้นต้นจะได้อ่านคำพิพากษาศาลฎีกาไปก่อนที่จำเลยที่ 1 จะได้เรียกและรับเงินจากผู้เสียหาย จำเลยที่ 1 ย่อมไม่สามารถจะจูงใจเจ้าพนักงานในตำแหน่งผู้พิพากษาศาลฎีกา ให้ปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นคุณแก่ผู้เสียหายได้ทันก็ตาม ก็ไม่ทำให้การกระทำของจำเลยที่ 1 ไม่เป็นความผิด
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1332/2537 โจทก์กล่าวหาว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันเรียกและรับเงินจากผู้เสียหาย โดยอ้างว่าจะนำไปให้ ก. ซึ่งเป็นเจ้าพนักงาน ผู้มีอำนาจออกใบอนุญาตให้ก่อสร้างอาคารแก่ผู้เสียหาย เพื่อจูงใจให้เจ้าพนักงานกระทำการในหน้าที่ อันเป็นคุณแก่ผู้เสียหายโดยวิธีอันทุจริตผิดกฎหมาย ตาม ป.อ. มาตรา 143 นั้น มิได้อยู่ที่เจ้าพนักงานได้กระทำการในหน้าที่แล้วหรือไม่ แม้จะออกใบอนุญาตแล้ว ก. ก็ยังคงเป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมาย การออกใบอนุญาตไปแล้วมิได้ทำให้ฟ้องโจทก์ขาดองค์ประกอบความผิด
- คำพิพากษาฎีกาที่ 7695/2543 การที่จำเลยที่ 2 ร่วมเรียกและรับเงินไปจาก น. เป็นการตอบแทน “โดยอ้างว่าจะนำไปใช้จูงใจเจ้าพนักงาน” ในตำแหน่งผู้พิพากษา โดยวิธีการอันทุจริตให้กระทำการในหน้าที่พิพากษาคดี โดยรอการลงโทษจำคุกให้แก่ น. ในคดีอาญาที่ น. ถูกฟ้องนั้น ครบองค์ประกอบตามผิดตาม ป.อ. มาตรา 143 แล้ว แม้จำเลยทั้งสองไม่ได้ไปจูงใจผู้พิพากษา ในการกระทำการในหน้าที่ให้คุณแก่ น. ก็ยังครบองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 143 แม้คำเบิกความของ น. ไม่ได้ระบุชื่อผู้พิพากษาซึ่งมีหน้าที่พิจารณาคดีอาญาที่ น. ถูกฟ้อง ก็ไม่ทำให้การกระทำของจำเลยที่ 2 ไม่เป็นความผิด เพราะขาดองค์ประกอบความผิดไปแต่อย่างใด
- "เจ้าพนักงาน"
- คำพิพากษาฎีกาที่ 423/2522 (สบฎ เน 5881) จำเลยเรียกเงินจากร้านค้า ที่จำเลยรับจ้างทำบัญชี อ้างว่าจะเอาไปให้ ป ผู้ช่วยสรรพากร ไม่ให้มาตรวจบัญชีที่ทำผิด แต่ ป ทำหน้าที่ธุรการ ไม่มีหน้าที่ตรวจสอบบัญชี จำเลยไม่ผิด ม 143
- ความผิดสำเร็จ
- คำพิพากษาฎีกาที่ 2715/2531 แม้ผู้เสียหายไม่หลงเชื่อ และไม่มีเจตนาจะมอบทรัพย์สินให้ โดยได้แจ้งความไว้แล้ว นำเงินของเจ้าพนักงานตำรวจมาให้จำเลยรับไว้ เพื่อเป็นหลักฐานในการจับกุม การกระทำดังกล่าวครบองค์ประกอบความผิด มาตรา 143 แล้ว (ไม่ต้องเป็นการมอบให้โดยหลงเชื่อ ความผิดสำเร็จ ตั้งแต่เมื่อเรียกสินบน โดยมีเจตนาพิเศษ)
- ตัวอย่างประเด็นข้อสอบเก่า มาตรา 143
- (ขส อ 2541/ 5) น้องอธิบดี เรียกเงินให้ภรรยาอธิบดี เพื่อขออธิบดีให้ข้าราชการเลื่อนขั้น น้องไม่ผิด ม 143 เพราะภรรยาอธิบดี ไม่ใช่เจ้าพนักงาน ภรรยาไม่ยอมรับเงิน ไม่ผิด ม 143 / อธิบดีเก็บเงินไว้ เป็นการรับตาม ม 149

มาตรา 144 ผู้ใดให้ ขอให้ หรือรับว่าจะให้ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดแก่เจ้าพนักงาน สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งรัฐ สมาชิกสภาจังหวัด หรือสมาชิกสภาเทศบาล เพื่อจูงใจให้กระทำการ ไม่กระทำการ หรือประวิงการกระทำอันมิชอบด้วยหน้าที่ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
- เจ้าพนักงาน สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งรัฐ สมาชิกสภาจังหวัด หรือสมาชิกสภาเทศบาล
- คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8181/2547 คำว่า "พนักงานสอบสวน" ตาม ป.อ. มาตรา 167 มีความหมายว่า ต้องเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบในคดีนั้นเท่านั้น ดังนั้น การให้เงินแก่เจ้าพนักงานตำรวจซึ่งไม่ได้เป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบในคดีนั้นเพื่อให้ช่วยเหลือไม่ดำเนินคดี จึงมิใช่เป็นการให้ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดแก่พนักงานสอบสวนตามความหมายของบทบัญญัติดังกล่าว จึงไม่มีความผิดตามมาตรานี้ คงมีความผิดตามมาตรา 144 เท่านั้น
- เพื่อจูงใจให้กระทำการ ไม่กระทำการ หรือประวิงการกระทำอันมิชอบด้วยหน้าที่
- คำพิพากษาฎีกาที่ 439/2469 (อ พิพัฒน์ อาญา 2542 / 259) จำเลยให้สินบนแก่ตำรวจผู้จับกุม เพื่อให้ เบิกความ ผิดไปจากความจริง” ซึ่งเป็นการนอกหน้าที่ของตำรวจ ไม่ผิด มาตรา 144
- คำพิพากษาฎีกาที่ 342/2506 กำนันรายงานกล่าวโทษจำเลยไปอำเภอ และอำเภอเรียกพยานทำการสอบสวนไปแล้ว พ้นอำนาจหน้าที่ของกำนันแล้ว จำเลยจึงให้เงินแก่กำนัน เพื่อให้ช่วยไปติดต่อกับเจ้าพนักงานอำเภอ หรือพนักงานสอบสวนให้กระทำให้คดีเสร็จไปในชั้นอำเภอ อย่าให้ถึงฟ้องศาล การกระทำของจำเลยเช่นนี้ไม่เป็นความผิดตาม มาตรา 144
- คำพิพากษาฎีกาที่ 3700/2529 บิดาของผู้ต้องหาคดีการพนันขอให้จำเลยช่วยเหลือจำเลยเขียนจดหมายถึง ร.ต.ท. บ.พนักงานสอบสวน ว่า คดีการพนันน้ำเต้าปูปลา ถึงแม้จะเสียศาลหรือเสียที่โรงพักก็มีค่าเท่ากัน คนละไม่กี่ร้อยบาทจึงขอความกรุณาใช้ดุลพินิจแบบปรัชญาทางเศรษฐกิจ เพื่อไม่ให้เสียเวลาทั้งสองฝ่ายทั้งหมด 6 คน คนละ 300 = 2,000 บาท เป็นค่าบำรุงโรงพักฯ ดังนี้ เป็นเพียงขอร้องให้ช่วยเหลือเปรียบเทียบให้คดีเสร็จไปในชั้นสถานีตำรวจ โดยไม่ต้องให้คดีถึงศาลเท่านั้น จำเลยไม่มีความผิดตาม ป.อ. ม.144, 167
- การปรับบทความผิดของราษฎร กับเจ้าพนักงาน ในเรื่องการให้และรับสินบน
- คำพิพากษาฎีกาที่ 435/2520 ราษฎรให้สินบนเจ้าพนักงานเพื่อ ทำการอันมิชอบด้วยหน้าที่ เจ้าพนักงานรับไว้ ราษฎรมีความผิดตาม ป.อ. ม.144 เจ้าพนักงานผิด มาตรา 144 ราษฎรไม่มีความผิดฐานสนับสนุนเจ้าพนักงานรับสินบน ตามมาตรา 149 อีก
- ตัวอย่างประเด็นข้อสอบเก่า มาตรา 144
- (ขส เน 2510/ 5) ...กล้า จับกุมนายเก่งเจ้ามือสลากกินรวบ ส่งตัวผู้ต้องหาให้พนักงานสอบสวนแล้ว ...กล้า รับเงินจากนายเก่ง เพื่อช่วยพูดกับพนักงานสอบสวน เพื่อให้ทำเรื่องไม่ให้ถึงฟ้องศาล / นายเก่งไม่ผิด ม 144 เพราะ ส...กล้า ไม่มีตำแหน่งหน้าที่ในการช่วยพูดกับพนักงานสอบสวน (ไม่ผิด ม 143 เพราะไม่มีข้อเท็จจริงว่า ตำรวจผู้จับเรียกเงิน เป็นการตอบแทนการจูงใจเจ้าพนักงานโดย ใช้วิธีการอันทุจริต” เช่น จะนำเงินไปแบ่งให้พนักงานสอบสวน ใช้วิธีอันผิดกฎหมาย” เช่น จะไปข่มขู่ทำร้ายพนักงานสอบสวน หรือ โดยใช้อิทธิพลของตน” เช่น จะใช้อำนาจในฐานะมียศตำแหน่งใหญ่กว่าข่มขู่เรื่องงาน)
- (ขส พ 2513/ 6) นายอาทิตย์ซึ่งเป็นนายตรวจสรรสามิต และตำรวจ ไปพบนายสุดกำลังเล่นพนัน จึงเข้าจับกุม นายอาทิตย์พูดให้นายสุดเอาเงินให้ตำรวจ นายสุดไม่มีเงิน ระหว่างควบคุมตัวนายสุด นายเสาร์ให้สร้อยแก่ตำรวจเพื่อให้ปล่อยนายสุด ตำรวจจึงปล่อยตัว แล้วขายสร้อยแบ่งเงินให้อาทิตย์ ปรากฏว่าเป็นสร้อยทองปลอม จึงนำไปคืนและจับนายสุดดำเนินคดี อาทิตย์เป็นนายตรวจสรรพสามิต ไม่มีหน้าที่จับกุมผู้เล่นการพนัน แต่ร่วมกับตำรวจรับสินบน จึงเป็นผู้สนับสนุนการรับสินบน ตาม ม 149 และ 86 ไม่ผิดฐานกรรโชก ม 337 ตำรวจผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานรับสินบน ม 149 นายเสาร์ผิดฐานให้สินบนเจ้าพนักงาน ม 144 นายสุดไม่มีความผิด
- (ขส อ 2523/ 7) กลัวสอบรับราชการ จึงให้เงินกรรมการ ว่าถ้าช่วยได้ให้ สองแสน ต่อมาสอบได้โดยไม่มีการช่วย แต่นำเงินไปให้ กรรมการรับไว้ คนให้ผิด ม 144 คนรับผิด ม 149 การที่ไม่ช่วยก็ไม่ทำให้ความผิดเปลี่ยน เพราะผิดสำเร็จตั้งแต่ตกลงจะรับเงิน

มาตรา 145 ผู้ใดแสดงตนเป็นเจ้าพนักงาน และกระทำการเป็นเจ้าพนักงาน โดยตนเองมิได้เป็นเจ้าพนักงานที่มีอำนาจกระทำการนั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
เจ้าพนักงานผู้ใดได้รับคำสั่งมิให้ปฏิบัติการตามตำแหน่งหน้าที่ต่อไปแล้ว ยังฝ่าฝืนกระทำการใด ๆ ในตำแหน่งหน้าที่นั้น ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในวรรคแรกดุจกัน
- การแสดงตนเป็นเจ้าพนักงาน และกระทำการเป็นเจ้าพนักงาน
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1077/2505 ป. ส. ไปหลอกลวงผู้เสียหายว่าเป็นเจ้าพนักงาน ขอค้นบ้าน และค้นได้แป้งเชื้อสุราแล้วคุมตัวผู้เสียหายไปมอบให้ ค. ที่บ้านของ ป. ค.แสดงตนว่าเป็นเจ้าพนักงานสรรพสามิตบอกให้ผู้เสียหายเสียค่าปรับ ถ้าไม่เสียจะจับส่งอำเภอ แล้วผู้เสียหายถูกคุมตัวไปหายืมเงินพบ ช. ซึ่งเป็นกำนันได้เล่าเรื่องให้ฟัง ช. พูดส่งเสริมให้ผู้เสียหายเสียเงินให้ที่นั่น ผู้เสียหายเอาเงินให้ ช. รับเงินไว้แล้วบอกให้ผู้เสียหายกลับได้ วันนั้นเอง ช. ไปร่วมรับประทานอาหารและแบ่งเงินให้ ป.ส. และ ค. ดังนี้ ป.ส.ค.มีความผิดฐานแสดงตนเป็นเจ้าพนักงานตาม มาตรา 145 ฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังตามมาตรา 310 และฐานกรรโชกตามมาตรา 337 ส่วน ช. เป็นเพียงสนับสนุนการกระทำผิดฐานกรรโชก ไม่ใช่เรื่องหลอกลวงฉ้อโกง
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1208/2508 จำเลยไม่ได้เป็นเจ้าพนักงาน แต่แสดงตนเป็นเจ้าพนักงาน และกระทำการเป็นเจ้าพนักงานจับกุมควบคุมตัวผู้เสียหายไป และเตะทำร้ายผู้เสียหายมีบาดเจ็บ รักษาประมาณ 15 วันหาย เป็นความผิดฐานแสดงตนเป็นเจ้าพนักงาน และกระทำการเป็นเจ้าพนักงานหน่วงเหนี่ยวผู้อื่นให้ปราศจากเสรีภาพในร่างกายและทำร้ายร่างกายด้วย
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1394/2514 จำเลยเป็นพนักงานตีตราไม้ ซึ่งมิใช่เป็นเจ้าพนักงานป่าไม้ ผู้มีอำนาจจับกุมผู้กระทำความผิด พรบ ป่าไม้ แต่จำเลยได้แสดงตัวว่าเป็นเจ้าพนักงานป่าไม้เข้าซักถาม และทำบันทึกจับกุมผู้เสียหาย หาว่ากระทำผิด พรบ ป่าไม้ ผิด มาตรา 145
- คำพิพากษาฎีกาที่ 5096/2540 ครั้งแรก จำเลยและ ถ.ไปบ้านผู้เสียหาย ถ.บอกผู้เสียหายว่าจำเลยเป็นเจ้าพนักงานตำรวจ จำเลยได้ยินคำพูดของ ถ. แต่ก็นิ่งเฉยและมิได้ปฏิเสธเท่ากับจำเลยต้องการให้ผูเสียหายหายเชื่อหรือเข้าใจตามที่ ถ. บอก ทั้งจำเลยได้เรียกเงินจำนวน 2,000 บาท จากผู้เสียหาย มิฉะนั้นจะจับผู้เสียหาย พฤติการณ์เช่นนี้ถือได้ว่าจำเลยได้แสดงตนเป็นเจ้าพนักงานและกระทำการเป็นเจ้าพนักงานแล้ว ส่วนการเรียกรับเงินครั้งที่สอง แม้จำเลยไม่ได้บอกหรืออ้างว่าเป็นเจ้าพนักงานตำรวจ แต่จำเลยเคยไปหาผู้เสียหายและมีพฤติการณ์แสดงให้ผู้เสียหายเชื่อว่าจำเลยเป็นเจ้าพนักงานตำรวจจริง ทั้งผู้เสียหายเคยให้เงินแก่จำเลยเพื่อมิให้ถูกจับมาก่อน การที่จำเลยไปเรียกเงินจากผู้เสียหายอีกโดยขู่ว่าหากไม่ให้จะจับผู้เสียหาย จนผู้เสียหายยอมให้เงินจำนวน 2 ,000 บาท แก่จำเลยเช่นนี้ ถือได้ว่าจำเลยได้แสดงตนเป็นเจ้าพนักงานและกระทำการเป็นเจ้าพนักงานโดยจำเลยมิได้เป็นเจ้าพนักงานที่มีอำนาจกระทำการนั้น และมีความผิดฐานกรรโชกทรัพย์ผู้เสียหาย ตามประมวลกฎหมายอาญา. มาตรา 145, 337
- การแสดงตนเป็นเจ้าพนักงาน แต่ไม่ได้กระทำการเป็นเจ้าพนักงาน
- คำพิพากษาฎีกาที่ 382/2508 การกระทำที่จะเป็นความผิด ตามมาตรา 145 ต้องได้ความว่านอกจากได้แสดงตนเป็นเจ้าพนักงานแล้ว ต้องกระทำการเป็นเจ้าพนักงานโดยตนเองมิได้เป็นเจ้าพนักงานที่มีอำนาจกระทำการนั้นด้วย / จำเลยมิได้เป็นตำรวจสันติบาล ได้แสดงตัวเป็นตำรวจสันติบาลได้ถามถึงเรื่องคนร้าย แล้วจดชื่อลงในสมุดพก โดยจำเลยมิได้มีเจตนาที่จะทำการสืบสวนหาตัวคนร้ายอย่างจริงจัง ดังนี้การกระทำของจำเลย ย่อมไม่ผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 145
- คำพิพากษาฎีกาที่ 406/2520 จำเลยพูดว่า "อั๊วเป็นนายร้อยตำรวจตรี ค้นไม่ได้" ไม่ยอมให้ตำรวจค้นรถที่จำเลยขับมา ยังไม่เป็นการกระทำเป็นเจ้าพนักงาน ไม่เป็นความผิดตาม ป.อ. ม.145
- คำพิพากษาฎีกาที่ 810/2520 จำเลยบอกผู้เสียหายว่าเป็นตำรวจ ขอค้นบ้านและเข้าไปในบ้าน แล้วขู่เอาทรัพย์ไป ดังนี้ จำเลยยังไม่ได้ทำการเป็นเจ้าพนักงาน ไม่เป็นความผิดตาม มาตรา145 (ขอค้น แต่เข้าไปขู่เอาทรัพย์เลย ไม่ทำการค้นด้วย)
- ตัวอย่างประเด็นข้อสอบเก่า มาตรา 145
- (ขส พ 2517/ 8) แดงดำ หลอกขาวว่าเป็นตำรวจขอค้นบ้าน และค้นได้แป้งสุรา คุมตัวไปมอบให้เขียว เขียวอ้างว่าเป็นเจ้าพนักงานสรรสามิต ทำบันทึกให้ขาวยอมรับ และแจ้งให้นำเงินค่าปรับมาชำระ ขาวบอกไม่มีเงิน แดงดำคุมตัวขาวไปหายืมเงิน ม่วงเป็นกำนัน แนะนำให้เสียค่าปรับ แล้วทุกคนแบ่งเงินกัน แดง ดำ เขียว ผิด ม 145 และ ม 310 และ ม 337 ประกอบ ม 83 ส่วนม่วงผิด ม 86 , 337 และ ม 157 ฎ 1077/2505
- (ขส อ 2533/ 4) แต่งกายคล้ายตำรวจ ไม่ถือเป็นการสวมเครื่องแบบเจ้าพนักงาน แต่การอ้างเป็นนายดาบ เป็นการใช้ยศโดยไม่มีสิทธิ ผิด ม 146 / การเรียกให้หยุดรถและขอเงิน ยังไม่มีการกระทำการเป็นเจ้าพนักงาน ไม่ผิด ม 145 / การได้เงินไป ไม่ปรากฏว่าขู่เข็ญ ไม่ผิด ม 337

มาตรา 146 ผู้ใดไม่มีสิทธิที่จะสวมเครื่องแบบ หรือประดับเครื่องหมายของเจ้าพนักงาน สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งรัฐ สมาชิกสภาจังหวัด หรือสมาชิกสภาเทศบาล หรือไม่มีสิทธิใช้ยศ ตำแหน่ง เครื่องราชอิสริยาภรณ์ หรือสิ่งที่หมายถึงเครื่องราชอิสริยาภรณ์ กระทำการเช่นนั้น เพื่อให้บุคคลอื่นเชื่อว่าตนมีสิทธิ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
- คำพิพากษาฎีกาที่ 2752/2519 จำเลยสมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้แทนราษฎร กรอกใบสมัครรับเลือกตั้ง และแจ้งต่อผู้ว่าราชการจังหวัดให้จดข้อความเท็จ เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 137 กับแจ้งให้พนักงานจดข้อความเท็จตาม มาตรา 267 เป็น 2 กระทง
- ตัวอย่างประเด็นข้อสอบเก่า มาตรา 146
- (ขส อ 2526/ 1) ผู้สมัคร สส กรอกใบสมัครเท็จว่ามียศร้อยโทและแต่งชุดถ่ายรูป ยื่นต่อผู้ว่า ผิด มาตรา 137+267+146 ฎ 2752/2519
- (ขส อ 2533/ 4) แต่งกายคล้ายตำรวจ ไม่ถือเป็นการสวมเครื่องแบบเจ้าพนักงาน แต่การอ้างเป็นนายดาบ เป็นการใช้ยศโดยไม่มีสิทธิ ผิด มาตรา 146 / การเรียกให้หยุดรถและขอเงิน ยังไม่มีการกระทำการเป็นเจ้าพนักงาน ไม่ผิด มาตรา 145 / การได้เงินไป ไม่ปรากฏว่าขู่เข็ญ ไม่ผิด มาตรา 337

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

slide