วันพุธที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2556

อาญา มาตรา ๒ - ๑๗

อาญา มาตรา ๒ - ๑๗

หมวด การใช้กฎหมาย มาตรา 2 - 17
มาตรา 2 บุคคลจักต้อง รับโทษในทางอาญา ต่อเมื่อได้กระทำการ อันกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำนั้น บัญญัติเป็นความผิด และกำหนดโทษไว้ และโทษที่จะลงแก่ผู้กระทำความผิดนั้น ต้องเป็นโทษที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย
ถ้าตามบทบัญญัติของกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง การกระทำเช่นนั้นไม่เป็นความผิดต่อไป ให้ผู้ที่ได้กระทำการนั้นพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิด และถ้าได้มีคำพิพากษา
ถึงที่สุดให้ลงโทษแล้ว ก็ให้ถือว่าผู้นั้นไม่เคยต้องคำพิพากษาว่าได้กระทำความผิดนั้น ถ้ารับโทษอยู่ก็ให้การลงโทษนั้นสิ้นสุดลง
- ความผิดอาญานั้นมี ลักษณะ
- การกระทำจะเป็นความผิดอาญาต้องมีกฎหมายบัญญัติไว้
- การแปล หรือตีความ กฎหมายอาญาต้องทำโดยเคร่งครัด (ไม่ตีความตาม ม.4อย่างแพ่ง)
- กฎหมายที่ใช้ลงโทษต้องเป็นกฎหมายที่ใช้ขณะกระทำความผิด และไม่มีผลย้อนหลัง
- กฎหมายที่ใช้ลงโทษจำเลย ต้องเป็นกฎหมายที่ใช้ขณะกระทำความผิด
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1788/2523 โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำผิดโดยมีวัตถุระเบิด สำหรับใช้เฉพาะแต่ในการสงครามไว้ในความครอบครอง เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2522 อันเป็นเวลาหลังจากที่ พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ ม.55 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 7)พ.ศ. 2522 ม.6 ใช้บังคับแล้ว ซึ่งใน ม.55 ที่แก้ไขแล้ว มิได้บัญญัติถึงวัตถุระเบิดสำหรับแต่เฉพาะในการสงครามว่าเป็นความผิด คงบัญญัติถึงประเภทชนิด และขนาดของวัตถุระเบิดที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ได้หรือไม่เท่านั้นแม้ในวันที่จำเลยกระทำผิด จะมีกฎกระทรวงฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2501) ออกตามความใน พ.ร.บ. อาวุธปืนฯ พ.ศ. 2490 ใช้บังคับอยู่ แต่กฎกระทรวงดังกล่าว ก็มิได้กำหนดว่าวัตถุระเบิดชนิดใดบ้างที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ได้ จึงถือไม่ได้ว่าวัตถุระเบิด ที่จำเลยมีในวันเกิดเหตุ เป็นวัตถุระเบิดที่นายทะเบียนไม่อาจอนุญาตได้ แม้ต่อมาจะมีกฎกระทรวงฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2522) ออกตามความใน พ.ร.บ. อาวุธปืนฯ พ.ศ. 2490 ใช้บังคับ อันจะถือได้ว่าวัตถุหลังโจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิด จึงนำมาใช้บังคับย้อนหลังให้เป็นผลร้ายแก่จำเลยไม่ได้
- คำพิพากษาฎีกาที่ 452/2540 ตาม พ.ร.บ.สุขาภิบาล พ.ศ.2495 ที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำการฝ่าฝืนด้วยการไปใช้สิทธิเลือกตั้งกรรมการสุขาภิบาลพระสมุทรเจดีย์โดยไม่มีสิทธิ มิได้บัญญัติบทกำหนดโทษไว้ในมาตราหนึ่งมาตราใด และตาม พ.ร.บ.สุขาภิบาล (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2528 มาตรา 3 ซึ่งให้ยกเลิกความในมาตรา 7 แห่ง พ.ร.บ.สุขาภิบาล พ.ศ.2495 และให้ใช้ความใหม่แทน ได้บัญญัติได้ในวรรคสุดท้าย ของมาตรา 7 ว่าการเลือกตั้งกรรมการสุขาภิบาลตามความใน (4) ให้ใช้วิธีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลโดยอนุโลม นั่นก็คือให้ใช้วิธีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลโดยอนุโลม ซึ่งต้องตีความโดยเคร่งครัดว่า พ.ร.บ.สุขาภิบาล (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2528 มาตรา 3 ที่เจตนารมณ์เพียงว่าในการเลือกตั้งกรรมการสุขาภิบาล ตามมาตรา 7 (4) ให้นำแต่เฉพาะวิธีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลมาใช้บังคับโดยอนุโลมเท่านั้น มิได้หมายความว่าให้นำบทบัญญัติของ พ.ร.บ.ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลมาใช้บังคับทั้งหมด ดังนั้นจะนำเอาบทกำหนดโทษผู้กระทำความผิดตาม พ.ร.บ. การเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล พ.ศ.2482 มาตรา 72 ซึ่งอยู่ในหมวด 9 อันเป็นเรื่องบทกำหนดโทษโดยเฉพาะมาใช้บังคับโดยอนุโลมหาได้ไม่ ฉะนั้น เมื่อจำเลยไปใช้สิทธิเลือกตั้งกรรมการสุขาภิบาลพระสมุทรเจดีย์ในวันเกิดเหตุ โดยไม่มีสิทธิลงคะแนนเลือกตั้ง ถือว่าการกระทำของจำเลยในขณะนั้นไม่มีกฎหมายบัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ โจทก์ฟ้องและขอให้ลงโทษจำเลยไม่ได้ ทั้งนี้ตาม ป.อ.มาตรา 2 วรรคแรก
- คำวินิจฉัยอนุญาตฟ้องที่ 161/2539 ความผิดฐานเข้ามาในราชอาณาจักร โดยไม่มีหนังสือเดินทาง ตามพระราชบัญญัติ คนเข้าเมือง พ..2522 มาตรา 12 (1) นั้น โดยที่การฝ่าฝืนบทบัญญัติดังกล่าว หาได้มีบทกำหนดโทษไว้ไม่ ดังนั้นการกระทำของผู้ต้องหา จึงไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2 จึงไม่อนุญาตให้ฟ้องผู้ต้องหา ฐานเข้ามาในราชอาณาจักร โดยไม่มีหนังสือเดินทาง ตามพระราชบัญญัติ คนเข้าเมือง พ..2522 มาตรา 12 (1)
- บันทึกสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่องเสร็จที่ ๑๕๖/๒๕๔๙ คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ ๓) ได้พิจารณาข้อหารือของกรมป่าไม้ โดยรับฟังคำชี้แจงจากผู้แทนกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (กรมป่าไม้ และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช) แล้ว เห็นว่า มาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติเลื่อยโซ่ยนต์ พ.ศ. ๒๕๔๕ บัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดมีเลื่อยโซ่ยนต์ไว้ในครอบครอง เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนเลื่อยโซ่ยนต์ และเพื่อมิให้กระทบกระเทือนต่อผู้ที่มีเลื่อยโซ่ยนต์อยู่ในวันที่พระราชบัญญัติเลื่อยโซ่ยนต์ .ศ. ๒๕๔๕ ใช้บังคับ มาตรา ๑๔ [๑] แห่งพระราชบัญญัติเลื่อยโซ่ยนต์ฯ จึงได้บัญญัติให้ผู้ที่มีเลื่อยโซ่ยนต์อยู่ในความครอบครองในวันที่กฎหมายใช้บังคับ มาขอรับใบอนุญาตภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัติเลื่อยโซ่ยนต์ฯ ใช้บังคับ โดยไม่ถือว่าเป็นการฝ่าฝืนมาตรา ๔ [๒] และให้นายทะเบียนเลื่อยโซ่ยนต์พิจารณาออกใบอนุญาตให้มีเลื่อยโซ่ยนต์ต่อไป แต่โดยที่นับแต่วันที่พระราชบัญญัติเลื่อยโซ่ยนต์ฯ มีผลใช้บังคับจนถึงปัจจุบันซึ่งเป็นระยะเวลาเกินเก้าสิบวัน นับแต่วันที่พระราชบัญญัติเลื่อยโซ่ยนต์ฯ ใช้บังคับแล้ว ยังไม่มีการออกกฎกระทรวงกำหนดลักษณะของเลื่อยโซ่ยนต์ ตามบทนิยามคำว่า “เลื่อยโซ่ยนต์” ตามมาตรา ๓ [๓] แห่งพระราชบัญญัติเลื่อยโซ่ยนต์ฯ และกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์การขออนุญาตให้มีเลื่อยโซ่ยนต์ตามมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติเลื่อยโซ่ยนต์ฯ แต่อย่างใด จึงยังไม่มีหลักเกณฑ์เกี่ยวกับความเป็นเลื่อยโซ่ยนต์และหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการยื่นคำขอรับใบอนุญาตมีเลื่อยโซ่ยนต์ ที่จะนำมาดำเนินการยื่นคำขอรับใบอนุญาตมีเลื่อยโซ่ยนต์ตามมาตรา ๑๔ ได้ ดังนั้น การที่ผู้ที่มีเลื่อยโซ่ยนต์อยู่ในความครอบครองในวันที่พระราชบัญญัติเลื่อยโซ่ยนต์ฯ ใช้บังคับ มิได้มาขอรับใบอนุญาตภายในกำหนดเวลาดังกล่าว จึงไม่อาจถือได้ว่ามีความผิดตามมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติเลื่อยโซ่ยนต์ฯ อย่างไรก็ตาม หากต่อมามีการออกกฎกระทรวงกำหนดลักษณะของเลื่อยโซ่ยนต์ และกำหนดหลักเกณฑ์ในการยื่นคำขอรับใบอนุญาตมีเลื่อยโซ่ยนต์แล้ว ผู้ที่มีเลื่อยโซ่ยนต์อยู่ในความครอบครองในวันที่พระราชบัญญัติเลื่อยโซ่ยนต์ฯ ใช้บังคับก็ต้องมาดำเนินการยื่นคำขอรับใบอนุญาตมีเลื่อยโซ่ยนต์ให้ถูกต้อง ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่กฎกระทรวงมีผลใช้บังคับต่อไป
- มาตรา 2 ห้ามลงโทษจำเลย เกินกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้
- คำพิพากษาฎีกาที่ 3/2542 ข้อความที่จำเลยที่ 1 ลงพิมพ์โฆษณาว่าโจทก์เรียกเงิน 5 ล้าน ในการถ่ายภาพนู้ดนั้น จำเลยที่ 1 มิได้อ้างถึงข้อความจริงอันใดเลยในการแสดงความคิดเห็นเช่นนั้น ทั้งไม่มีข้อความที่แสดงให้เห็นเจตนาของจำเลยที่ 1 ที่จะปกป้องโจทก์ แต่กลับเป็นการแสดงเจตนาชัดแจ้งว่า จำเลยที่ 1 มุ่งประสงค์ใส่ความเพื่อทำลายชื่อเสียงของโจทก์ ทำให้ผู้ที่ไม่ทราบความจริงเข้าใจผิด ดูหมิ่น เกลียดชังโจทก์ อันส่งผลกระทบต่อเกียรติยศและสถานะในทางสังคมของโจทก์หาใช่เป็นการติชมด้วยความเป็นธรรมอันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทำไม่ จึงเป็นการใส่ความหมิ่นประมาทโจทก์ จำเลยที่ 1 ไม่ได้รับการยกเว้นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 329 Ø การที่ ป.อ. มาตรา 332 กำหนดให้คดีหมิ่นประมาทซึ่งมีคำพิพากษาว่าจำเลยมีความผิด ศาลอาจสั่ง (2) ให้โฆษณาคำพิพากษาทั้งหมด หรือแต่บางส่วนในหนังสือพิมพ์หนึ่งฉบับหรือหลายฉบับ ครั้งเดียวหรือหลายครั้ง โดยให้จำเลยเป็นผู้ชำระค่าโฆษณานั้นเป็นการให้อำนาจศาลสั่งให้โฆษณาคำพิพากษาเท่านั้น มิได้มีกฎหมายให้อำนาจศาลสั่งให้โฆษณาคำขออภัยด้วย ฉะนั้น การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยที่ 1 โฆษณาคำขออภัยด้วย จึงเป็นการลงโทษจำเลยที่ 1 นอกเหนือจากโทษที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย ต้องห้ามตาม ป.อ.มาตรา 2 วรรคหนึ่ง ทั้งการที่สั่งให้จำเลยที่ 1 โฆษณาคำพิพากษาของศาลทั้งหมดนั้นก็เกินความจำเป็น สมควรให้จำเลยที่ 1 โฆษณาคำพิพากษาของศาลโดยย่อพอได้ใจความ

- ข้อยกเว้น ให้กฎหมายมีผลย้อนได้ในกรณีดังนี้
- กฎหมายที่ใช้ยกเลิกความผิด
- มีกฎหมายยกเลิกโดยตรง หรือ
- มีกฎหมายยกเลิกโดยปริยาย คือกฎหมายใหม่ขัดกับกฎหมายเดิม
- กฎหมายที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิด
- กฎหมายที่ใช้ตีความหรือแปลความหมาย
- กฎหมายกำหนดวิธีการเพื่อความปลอดภัย
- กฎหมายวิธีพิจารณาความ
- ข้อยกเว้น กรณีที่ใช้กฎหมายมีผลย้อนหลัง
- คำพิพากษาฎีกาที่ 3342/2525 (สบฎ เน 1) พ.ร.บ. ควบคุมการก่อสร้างอาคารฯ และ พ.ร.บ. ควบคุมอาคารฯ ในส่วนที่บัญญัติถึงการรื้อถอนและแก้ไขเปลี่ยนแปลงอาคารที่สร้างขึ้นโดยฝ่าฝืนกฎหมาย เป็นวิธีการบังคับคดีในส่วนแพ่งอันเป็นกฎหมายวิธีบัญญัติ / หลักกฎหมายที่ว่า กฎหมายไม่มีผลย้อนหลัง ไม่ใช้กรณีที่เป็นกฎหมายวิธีบัญญัติ
- การใช้กฎหมายเป็นคุณแก่ผู้กระทำผิด
- (อก /23) จารีตประเพณี ยอมให้ครูตีเด็กได้ตามสมควร เพื่อว่ากล่าวสั่งสอน การที่ครูตีเด็กย่อมไม่เป็นความผิด (ดูกฎหมายเรื่องการทำโทษเด็ก ปัจจุบัน ไม่อนุญาตให้ทำโทษโดยการตีเด็ก และห้ามการทำโทษที่มีลักษณะเป็นการประจานเด็ก การทำโทษโดยวิธีอื่นยังอาจกระทำได้ เช่น สั่งให้เด็กที่พูดคุยกัน ออกไปจากห้องเรียน โดยไม่ถือเป็นความผิดต่อเสรีภาพ)
- ทฤษฎีคลาสสิก ทฤษฎีพื้นฐาน ความผิดอาญาต้องมีองค์ประกอบครบ อย่าง
- องค์ประกอบทางกฎหมาย คือมีกฎหมายบัญญัติความผิดและโทษ
- องค์ประกอบทางการกระทำ คือ มีการกระทำ
- องค์ประกอบทางจิตใจ คือ มีสติ และมีเจตนา
- การตีความกฎหมาย
- ตีความตามตัวอักษร
- ตีความตามเจตนารมย์ ตามความมุ่งหมาย
- ตีความโดยเทียบกฎหมายใกล้เคียง
- กฎหมายอาญาใช้การตีความตามตัวอักษร และตามเจตนารมย์ เท่านั้น ไม่ใช้การตีความโดยเทียบกฎหมายใกล้เคียง
- กฎหมายอาญาต้องตีความเคร่งครัด ถือเป็นหลักประกันสิทธิของผู้ต้องหา ตีความเป็นผลร้ายไม่ได้ แต่เป็นผลดีได้
- คำพิพากษาฎีกาที่ 3643/2526 บทบัญญัติ ป.อ. มาตรา 218 เป็นเหตุฉกรรจ์ของ มาตรา 217 โดยให้ผู้กระทำความผิดต่อทรัพย์ที่ระบุไว้ใน ม.218 (1) ถึง (6) ต้องได้รับโทษหนักขึ้นแต่การกระทำที่จะเป็นความผิดตาม มาตรา 217 จะต้องเป็นการวางเพลิงเผาทรัพย์ของผู้อื่น เมื่อบ้านที่ถูกเพลิงไหม้เป็นบ้านที่จำเลยเป็นเจ้าของร่วมกับ ร. สามีจำเลยซึ่งมิได้จดทะเบียนสมรสกัน แม้จะฟังว่าจำเลยเป็นผู้วางเพลิง จำเลยก็ไม่มีความผิดตาม ม.218 เพราะเมื่อ มาตรา 217 บัญญัติว่าการวางเพลิงเผาทรัพย์ของผู้อื่นเป็นความผิด จะตีความคำว่า "ทรัพย์ผู้อื่น" ให้รวมถึงทรัพย์ที่ผู้อื่นมีส่วนเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย หาได้ไม่ เป็นการขัดต่อหลักกฎหมายใน มาตรา 2
- กรณีกฎหมายในภายหลัง บัญญัติว่าไม่เป็นความผิด
- คำพิพากษาฎีกาที่ 394/2516 จำเลยขับรถกีดขวางการจราจร เป็นความผิดต่อพระราชบัญญัติจราจรทางบกฯ มาตรา 64 ซึ่งต่อมามีประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 59 ยกเลิกและใช้ความใหม่แทน ให้อำนาจของคณะปฏิวัติฉบับที่ 59 ยกเลิกและใช้ความใหม่แทน ให้อำนาจเจ้าพนักงานจราจร หรือพนักงานเจ้าหน้าที่จะว่ากล่าวตักเตือนก็ได้ดังนี้ เมื่อจำเลยได้ปฏิบัติตามคำว่ากล่าวตักเตือนของเจ้าพนักงานจราจรแล้ว เห็นได้ว่ากฎหมายไม่ประสงค์เอาโทษแก่จำเลย การกระทำของจำเลยซึ่งเดิมเป็นความผิด ก็ไม่เป็นความผิดอีกต่อไป จำเลยพ้นจากเป็นผู้กระทำผิด ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 2 วรรคสอง อำนาจฟ้องของโจทก์ ซึ่งฟ้องภายหลังที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวใช้บังคับย่อมหมดสิ้นไปในตัว
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1166/2526 โจทก์ฟ้องจำเลยในข้อหาเก็บและจำหน่ายก๊าซเชื้อเพลิงเหลวบิวเตน (ปกติ) ในสถานที่ซึ่งไม่ได้รับอนุญาต ในขณะคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาล ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องกำหนดชนิดของเหลวต่าง ๆ ที่เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการเก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิงฯ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 25 ธันวาคม 2524 ให้ยกเลิกความในลำดับที่ 17 แห่งประกาศฯ ฉบับแรก ดังนี้ บิวเตน (ปกติ) จึงไม่เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงอีกต่อไป การกระทำของจำเลย แม้จะเป็นความผิดดังที่โจทก์กล่าวในฟ้อง จำเลยก็พ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดตาม ป.อ.ม.2 ต้องยกฟ้อง
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1518/2535 (ป) จำเลยออกเช็คพิพาทและเงินสดจาก ว. ต่อมา ซ. นำเช็คดังกล่าวไปแลกเงินสดจากโจทก์ร่วม การออกเช็คแลกเงินสดของจำเลยดังกล่าว มิใช่เป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริง จึงไม่เป็นความผิด พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 ซึ่งเป็นกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังที่จำเลยออกเช็ค จำเลยย่อมพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิด ตาม ป.อ. มาตรา 2 วรรคสอง
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1521-1523/2535 จำเลยออกเช็คพิพาทแล้วแลกเงินสดไปจากโจทก์ การออกเช็คแลกเงินสดดังกล่าวย่อมเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 มาตรา 3 แต่การกระทำดังกล่าว มิใช่เป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายอัน จะเป็นความผิดได้ตามนัยแห่ง พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 ซึ่งเป็นบทบัญญัติของกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังที่จำเลยออกเช็คแลกเงินสด การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดต่อไปจำเลยจึงพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 2 วรรคสอง
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1525/2535 (ป) การออกเช็คแลกเงินสดไม่เป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย อันจะเป็นความผิดตามมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 ซึ่งเป็นบทบัญญัติของกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังที่จำเลยออกเช็คแลกเงินสด การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดต่อไป ตาม ป.อ.มาตรา 2 วรรคสอง
- คำพิพากษาฎีกาที่ 2753/2540 โจทก์ทั้งสองฟ้องว่าจำเลยรู้อยู่แล้วว่าโจทก์ทั้งสองออกเช็คพิพาทให้ ส. ยึดถือไว้แทนสัญญากู้ยืมเงินที่โจทก์ที่ 1 กู้ยืมเงินไปจากส. แต่จำเลยเบิกความเป็นพยานโจทก์ในคดีอาญาที่ ส. ฟ้องโจทก์ทั้งสองเป็นจำเลยในข้อหาความผิดต่อ พ.ร.บ ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2597 ว่าโจทก์ทั้งสองออกเช็คพิพาทแลกเงินสดไปจากจำเลยอันเป็นการออกเช็คพิพาทให้จำเลยเพื่อชำระหนี้ ซึ่งหากข้อเท็จจริงเป็นดังที่โจทก์ทั้งสองฟ้องคำเบิกความของจำเลยย่อมเป็นความเท็จอันเป็นข้อสำคัญในคดีดังกล่าว จำเลยย่อมมีความผิดฐานเบิกความเท็จ แต่เนื่องจากในขณะคดีนี้อยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2597 ซึ่งเป็นกฎหมายในคดีเดิมที่โจทก์ทั้งสองนำมาเป็นมูลในการฟ้องคดีนี้ได้ถูกยกเลิกไปแล้ว มี พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 ออกมาใช้บังคับแทน ปรากฏว่ากฎหมายฉบับใหม่ที่ออกภายหลังการออกเช็คที่จะเป็นความผิดนั้นต้องเป็นการออกเช็ค เพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายแต่กรณีการออกเช็คพิพาทแล้วแลกเงินสดมิใช่เป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2574 มาตรา 4 ดังนี้ คำเบิกความของจำเลยในคดีนั้น จึงไม่เป็นข้อสำคัญในคดีนี้ อันจะเป็นความผิดฐานเบิกความเท็จ การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตามฟ้อง
- กรณีไม่ใช่กฎหมายบัญญัติว่าไม่เป็นความผิด
- คำพิพากษาฎีกาที่ 126/2490 ประกาศที่ออกตามอำนาจในกฎหมาย ต่อมามีประกาศยกเลิกเรื่องตามคำสั่งนั้น ไม่ถือว่าเป็นกฎหมายยกเลิกความผิด / ในกรณีที่เป็นกรรมเดียวกันนั้นเมื่อศาลสูงเห็นว่า ศาลชั้นต้นยกฟ้องบางส่วนไม่ถูกต้อง จะให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ศาลสูงย่อมให้ยกคำพิพากษาทั้งหมด และให้พิพากษาใหม่ทั้งหมด
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1116/2501 มีและจำหน่ายธนบัตรรัฐบาลต่างประเทศปลอมเป็นความผิด แม้ต่อมาก่อนฟ้องรัฐบาลนั้นยกเลิกธนบัตรชนิดนั้น ความผิดก็ไม่ระงับ
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1894/2519 ศาลพิพากษาถึงที่สุดจำคุกจำเลยตาม พ.ร.บ. อาวุธปืนฯ 2 ปี ระหว่างรับโทษมี พ.ร.บ. อาวุธปืน (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2518 ม.5 ให้นำปืนไปมอบแก่นายทะเบียนภายใน 90 วัน แล้วไม่ต้องรับโทษ ดังนี้ ไม่ได้บัญญัติว่าไม่เป็นความผิดต่อไป จึงปล่อยตัวตาม ป.อ. ม. 2 วรรค 2 ไม่ได้
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1486/2520 ก่อสร้าง แผ้วถางป่าสงวนแห่งชาติ เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. ป่าไม้ พ.ศ. 2507 ม.14, 31 หนังสือนายกรัฐมนตรีที่ไม่ให้เอาผิดแก่ราษฎรที่เข้าทำไร่นาอยู่ก่อน เป็นเรื่องของฝ่ายบริหาร ไม่ทำให้พ้นผิด
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1596/2523 ไม้ยางไม่ว่าจะขึ้นอยู่ ณ ที่ใดในราชอาณาจักร ย่อมเป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. ทั้งสิ้น ฉะนั้นการทำไม้ยางที่ขึ้นอยู่ในนาตนเองจึงต้องได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ / การที่กฎหมายฉบับหลังยกเลิกข้อความเดิม แต่ให้ใช้ข้อความใหม่แทนนั้น มิใช่เป็นการยกเลิกกฎหมาย แต่เป็นการแก้ไข กฎหมายมาตราดังกล่าว จึงยังใช้บังคับอยู่ตามข้อความที่แก้ไขใหม่ แม้ศาลจะมิได้กล่าวถึงพระราชบัญญัติที่ให้แก้ไขมาตราดังกล่าว ก็ต้องบังคับตามข้อความที่แก้ไขใหม่นั้น / การตัดฟันทำไม้ แปรรูปไม้ และมีไม้แปรรูปไว้ในความครอบครอง แม้จะกระทำต่อไม้ต้นเดียวกัน ต่อเนื่องกัน และเพื่อวัตถุประสงค์อันเดียวกัน ก็เป็นการกระทำต่างกรรมต่างวาระ จึงเป็นการกระทำอันเป็นความผิดหลายกรรม
- คำพิพากษาฎีกาที่ 2311-2312/2536 ที่ดินสำหรับพลเมืองใช้เป็นทุ่งเลี้ยงสัตว์ร่วมกันมีสภาพเป็นที่ดิน อันเป็นสาธารณประโยชน์ของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304 (2) โดยไม่จำต้องออกเป็นพระราชกฤษฎีกาประกาศเขตที่ดินเพื่อสงวนไว้เป็นที่ดินสาธารณะอีก / เมื่อโจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองเข้าไปยึดถือครอบครอง ก่นสร้างที่ดินของรัฐอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันเป็นการฝ่าฝืนประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 9,108 ทวิ เป็นความผิดอาญา ศาลที่มีอำนาจชำระคดีดังกล่าว ย่อมมีอำนาจที่จะวินิจฉัยว่าที่ดินตามฟ้องเป็นที่ดินของรัฐ อันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันหรือไม่เพราะเป็นองค์ความผิดตามบทมาตราที่โจทก์อ้าง มิใช่เรื่องที่ศาลพิพากษาเกินไปจากที่โจทก์กล่าวในฟ้องอันต้องห้าม ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 / กฎกระทรวงฉบับที่ 26 (พ.ศ. 2516) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497 ข้อ 2 ตอนท้ายที่ระบุว่าถ้ามีผู้คัดค้าน ให้อธิบดีรอการออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงไว้ จนกว่าจะได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดของศาลแสดงว่า ผู้คัดค้านไม่มีสิทธิในที่ดินนั้นมีความหมายว่า การพิสูจน์สิทธิของผู้คัดค้านเป็นเพียงเงื่อนไขในการออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงเท่านั้น มิได้กำหนดว่าจะต้องเสนอเป็นคดีแพ่งเพื่อให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาด การฟ้องจำเลยทั้งสองในคดีอาญาว่า บุกรุกเข้าไปยึดถือครอบครองก่นสร้างที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ประชาชนใช้ร่วมกัน จึงเป็นการพิสูจน์ในที่ดินไปในตัว เท่ากับได้ดำเนินการตามกฎกระทรวงฉบับดังกล่าวแล้ว ทั้งการที่จะดำเนินการตามกฎกระทรวงฉบับดังกล่าวหรือไม่ หาเกี่ยวข้องหรือกระทบต่ออำนาจฟ้องของโจทก์ไม่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง / จำเลยมีความผิดฐานเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินของรัฐ ซึ่งเป็นที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับประชาชนใช้ร่วมกันโดยมิได้รับอนุญาตหรือมีสิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 9, 108 ทวิ วรรคสอง แม้ต่อมาจะมีพระราชกฤษฎีกาถอนสภาพที่ดิน อันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันในท้องที่ดังกล่าว พระราชกฤษฎีกาดังกล่าวเพียงแต่มีผลทำให้ที่ดินที่จำเลยเข้าไปยึดถือครอบครองนั้นไม่มีสภาพเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับประชาชนใช้ร่วมกันอีกต่อไป ตั้งแต่วันที่พระราชกฤษฎีกาดังกล่าวใช้บังคับเท่านั้น มิใช่กฎหมายที่บัญญัติให้การเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินของรัฐ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับประชาชนใช้ร่วมกัน ไม่เป็นความผิดต่อไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2
มาตรา 3 ถ้ากฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิด แตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิด ให้ใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิด ไม่ว่าในทางใด เว้นแต่คดีถึงที่สุดแล้ว แต่ในกรณีที่คดีถึงที่สุดแล้วดังต่อไปนี้
(1) ถ้าผู้กระทำความผิดยังไม่ได้รับโทษ หรือกำลังรับโทษอยู่ และโทษที่กำหนดตามคำพิพากษาหนักกว่าโทษที่กำหนดตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง เมื่อสำนวนความปรากฏแก่ศาล หรือเมื่อผู้กระทำความผิด ผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้นั้น ผู้อนุบาลของผู้นั้น หรือพนักงานอัยการร้องขอ ให้ศาลกำหนดโทษเสียใหม่ตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง ในการที่ศาลจะกำหนดโทษใหม่นี้ ถ้าปรากฏว่า ผู้กระทำความผิดได้รับโทษมาบ้างแล้วเมื่อได้คำนึงถึงโทษตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง หากเห็นเป็นการสมควรศาลจะกำหนดโทษน้อยกว่าโทษขั้นต่ำที่กฎหมายที่บัญญัติในภายหลังกำหนดไว้ ถ้าหากมีก็ได้ หรือถ้าเห็นว่าโทษที่ผู้กระทำความผิดได้รับมาแล้วเป็นการเพียงพอ ศาลจะปล่อยผู้กระทำความผิดไปก็ได้
(2) ถ้าศาลพิพากษาให้ประหารชีวิตผู้กระทำความผิด และตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง โทษที่จะลงแก่ผู้กระทำความผิดไม่ถึงประหารชีวิต ให้งดการประหารชีวิตผู้กระทำความผิดและให้ถือว่าโทษประหารชีวิตตามคำพิพากษาได้เปลี่ยนเป็นโทษสูงสุด ที่จะพึงลงได้ตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง
- การใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลย
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1292/2500 (อพ/2) กฎหมายใหม่และเก่า โทษเท่ากัน ศาลใช้กฎหมายขณะทำผิด
- คำพิพากษาฎีกาที่ 665/2502 ผู้กระทำผิด คนสมคบกันลักทรัพย์ที่ใช้สำหรับราชการ ในเวลาค่ำคืน ขณะใช้กฎหมายลักษณะอาญาอยู่ แต่เมื่อพิจารณาพิพากษาได้ใช้ประมวลกฎหมายอาญาแล้ว และมาตรา 335 มิได้บัญญัติว่าการลักของ ใช้ในราชการเป็นเหตุฉกรรจ์ของการลักทรัพย์ไว้ จึงจะลงโทษจำเลยตาม กฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 294 (4) ไม่ได้ ต้องลงโทษตาม ปอ มาตรา 293 (1) (11)
- คำพิพากษาฎีกาที่ 602/2502 (อพ/2) พรบ ให้ใช้ ป อ ให้ยกเลิกกฎหมายลักษณะอาญา เมื่อใช้ ป อาญา ไม่มุ่งหมายให้พ้นผิด เพราะ ป อาญา ยังบัญญัติเป็นความผิด กฎหมายหมายใหม่ ไม่มีโทษขั้นต่ำ ใช้กฎหมายใหม่
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1303/2503 (อพ/2) กฎหมายเก่า โทษขั้นต่ำตั้งแต่ ปี กฎหมายใหม่ไม่มีโทษขั้นต่ำ ใช้กฎหมายใหม่ เมื่อรับสารภาพ ไม่ต้องสืบพยานประกอบ (ประเด็น ปวิอ)
- คำพิพากษาฎีกาที่ 815/2505 มาตรา 2 วรรค 1 วางหลักให้พิจารณาความผิดของจำเลย และลงโทษตามกฎหมาย ในขณะที่จำเลยกระทำอันถูกกล่าวหานั้น แม้ว่าได้มีการยกเลิกกฎหมายนั้นเสียแล้ว มาตรา 2 วรรค 2 และมาตรา 3 ก็ให้พิจารณาใช้กฎหมายใหม่ เฉพาะแต่เมื่อคุณแก่จำเลยเท่านั้น ถ้ากฎหมายใหม่ ไม่เป็นคุณแก่จำเลย ก็ยังใช้กฎหมายเก่าบังคับคดี / อัยการมีอำนาจ ขอให้ศาลสั่งทำลายต้นยางพาราซึ่งปลูกใหม่โดยมิได้รับอนุญาต และขอให้จำเลยเสียค่าใช้จ่ายในการทำลายนั้นได้ตาม พ.ร.บ.ควบคุมยาง 2481 มาตรา 15 คำขอเช่นว่านี้เป็นคำขอทางอาญา หาใช่คำขอทางแพ่งไม่
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1019-1021/2506 จำเลยปลอมหนังสือในหน้าที่ตน มีความผิดตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 225 มีอัตราโทษอย่างต่ำให้จำคุกตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำผิด แต่เมื่อประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 ให้ใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำผิด จึงต้องใช้ มาตรา 161 เป็นบทลงโทษ และในบทความผิดที่จะใช้แก่จำเลยนี้ไม่มีอัตราโทษจำคุกอย่างต่ำไว้ เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพ ศาลก็ลงโทษจำเลยได้โดยไม่ต้องฟังพยานโจทก์
- คำพิพากษาฎีกาที่ 2064/2520 จำเลยทำผิดก่อนประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 11 ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน 2514 การลดโทษประหารชีวิตตาม ม.52 เดิม ลดลงเป็นจำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่ 16 ปี ถึง 20 ปี เป็นคุณยิ่งกว่าประกาศคณะปฏิวัติ ข้อ 1 ซึ่งให้ลดเป็นโทษจำคุกตลอดชีวิตสถานเดียว ศาลต้องใช้ ม.52 เดิม
- คำพิพากษาฎีกาที่ 2768/2523 จำเลยผิดสัญญาส่งตัวผู้ต้องหาไม่ได้ โจทก์จึงสั่งปรับ แม้ต่อมาจะมี พ..นิรโทษกรรม ออกใช้บังคับ ก็ไม่กระทบถึงสัญญาระหว่างโจทก์จำเลย เพราะนิรโทษกรรมให้เฉพาะความผิดทางอาญา ไม่รวมถึงความรับผิดในส่วน แพ่งไม่
- คำพิพากษาฎีกาที่ 2753/2540 โจทก์ทั้งสองฟ้องว่าจำเลยรู้อยู่แล้วว่าโจทก์ทั้งสองออกเช็คพิพาทให้ ส. ยึดถือไว้แทนสัญญากู้ยืมเงินที่โจทก์ที่ 1 กู้ยืมเงินไปจากส. แต่จำเลยเบิกความเป็นพยานโจทก์ในคดีอาญาที่ ส. ฟ้องโจทก์ทั้งสองเป็นจำเลยในข้อหาความผิดต่อ พ.ร.บ ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2597 ว่าโจทก์ทั้งสองออกเช็คพิพาทแลกเงินสดไปจากจำเลยอันเป็นการออกเช็คพิพาทให้จำเลยเพื่อชำระหนี้ ซึ่งหากข้อเท็จจริงเป็นดังที่โจทก์ทั้งสองฟ้องคำเบิกความของจำเลยย่อมเป็นความเท็จอันเป็นข้อสำคัญในคดีดังกล่าว จำเลยย่อมมีความผิดฐานเบิกความเท็จ แต่เนื่องจากในขณะคดีนี้อยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2597 ซึ่งเป็นกฎหมายในคดีเดิมที่โจทก์ทั้งสองนำมาเป็นมูลในการฟ้องคดีนี้ได้ถูกยกเลิกไปแล้ว มี พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 ออกมาใช้บังคับแทน ปรากฏว่ากฎหมายฉบับใหม่ที่ออกภายหลังการออกเช็คที่จะเป็นความผิดนั้นต้องเป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายแต่กรณีการออกเช็คพิพาทแล้วแลกเงินสดมิใช่เป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2574 มาตรา 4 ดังนี้ คำเบิกความของจำเลยในคดีนั้น จึงไม่เป็นข้อสำคัญในคดีนี้อันจะเป็นความผิดฐานเบิกความเท็จ การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตามฟ้อง
- กรณีไม่ใช่กฎหมายอันเป็นคุณแก่จำเลย
- คำพิพากษาฎีกาที่ 779-780/2540 ทางสำหรับรถยนต์วิ่งเข้าออก ถือว่าเป็นอาคารตามความในมาตรา 4 (4) แห่ง พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 เมื่อใบอนุญาตให้ก่อสร้างอาคารของจำเลยทั้งสาม กำหนดให้อาคารต้องมีทางสำหรับรถยนต์วิ่งเข้าและออกทางเดียว กว้างไม่น้อยกว่า 3.50 เมตร ตามที่ระบุไว้ในกฎกระทรวง ฉบับที่ 7(พ.ศ. 2517) ข้อ 8 ที่ว่า "ทางเข้าออกของรถยนต์ต้องกว้างไม่น้อยกว่า 6 เมตรในกรณีที่จัดให้รถยนต์วิ่งได้ทางเดียว ทางเข้าและทางออกต้องกว้างไม่น้อยกว่า 3.50 เมตร" แต่ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2528) ข้อ (2) (ก) ได้บัญญัติยกเว้นให้ความกว้างของทางสำหรับรถยนต์วิ่งเข้าและออก โดยนับจากตัวอาคารที่ก่อสร้างถึงแนวเขตที่ดินผิดไปจากแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตได้ไม่เกินร้อยละห้าของความกว้าง 3.50 เมตร ซึ่งมีค่าเท่ากับ 0.174 เมตร เมื่อทางที่จำเลยทั้งสามทำไว้สำหรับรถยนต์วิ่ง มีความกว้างส่วนที่น้อยที่สุดเท่ากับ 3.20 เมตร การกระทำของจำเลยทั้งสามจึงขัดต่อกฎกระทรวงดังกล่าว จำเลยทั้งสามย่อมมีความผิด ตาม พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร มาตรา 31(1) จำเลยที่ 1 และที่ 2 ต้องรับโทษตามมาตรา 65 วรรคหนึ่ง ส่วนจำเลยที่ 3 ผู้ดำเนินการให้มีการก่อสร้างอาคารต้องได้รับโทษตามมาตรา 65 วรรคหนึ่ง ส่วนจำเลยที่ 3 ผู้ดำเนินการให้มีการก่อสร้างอาคารต้องได้รับโทษเป็นสองเท่าของโทษตามมาตรา 65 วรรคหนึ่ง ทั้งนี้ตามมาตรา 69 / จำเลยทั้งสามก่อสร้างอาคารผิดแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตมาแต่แรก การกระทำของจำเลยทั้งสามย่อมเป็นความผิดตั้งแต่นั้นมาแล้ว แม้ต่อมาเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะอนุญาตให้จำเลยทั้งสามแก้ไขแบบแปลนได้ก็ตาม คำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นดังกล่าวมิใช่กฎหมาย จำเลยทั้งสามจึงไม่พ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิด / จำเลยทั้งสามทราบคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างอาคารวันที่ 31 ตุลาคม 2534 แต่จำเลยทั้งสามมิได้ปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าว ถือว่าจำเลยทั้งสามฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2534 เป็นต้นไป / ขณะคดีอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น มี พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 ออกใช้บังคับให้ยกเลิกความในมาตรา 65 และ 67 แห่ง พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 และให้ใช้ความใหม่แทน ซึ่งมีระวางโทษแตกต่างจากเดิมอันเป็นกรณีที่กฎหมายซึ่งใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ภายหลังการกระทำความผิดอันมีทั้งคุณและโทษแก่ผู้กระทำความผิดซึ่ง ป.อ.มาตรา 3 ให้ใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิดไม่ว่าในทางใด เมื่อระวางโทษตามมาตรา 65 และ 67 เดิมเป็นคุณแก่จำเลยทั้งสามยิ่งกว่ามาตรา 65 และ 67 ที่แก้ไขใหม่ จึงต้องนำมาตรา 65 และ 67 เดิมมาใช้บังคับ

หลักทั่วไปที่ประเทศต่างใช้ในการพิจารณาความอาญา (คดีอาชญากรสงครามไอค์มัน /112)
1. หลักอาญาเขต พิจารณาอำนาจศาลจากสถานที่เกิดการกระทำผิด
2. หลักสัญชาติ พิจารณาอำนาจศาลจากสัญชาติ หรือลักษณะของสัญชาติบุคคลซึ่งกระทำผิด
3. หลักคุ้มครอง พิจารณาอำนาจศาลจากส่วนได้เสียของชาติ ซึ่งถูกกระทบกระเทือนจากการกระทำผิด
4. หลักสากล พิจารณาอำนาจศาลจากการคุมขังบุคคลซึ่งกระทำความผิด
5. หลักตัวบุคลผู้เสียหาย พิจารณาอำนาจศาลจากสัญชาติ หรือลักษณะของสัญชาติบุคคล ซึ่งได้รับความเสียหายจากการกระทำผิด
- หลักพื้นที่ใช้บังคับกฎหมายอาญา (วรสารอัยการ ศ โกเมนฯ 19)
- หลักดินแดน กฎหมายอาญาใช้บังคับแก่ผู้กระทำความผิดในอาณาจักรของรัฐ ไม่ว่าผู้นั้นจะเป็นคนสัญชาติของรัฐ หรือคนต่างด้าว เพราะความผิดเกิดที่ใด ย่อมกระทบต่อความสงบเรียบร้อยในท้องที่นั้น และพยานหลักฐานย่อมมีอยู่ในที่เกิดการกระทำผิด มากกว่าที่อื่น หลักนี้ เป็นหลักทั่วไป ส่วนหลักอื่นถือเป็นข้อยกเว้น หรือหลักรอง (เทียบกับ มาตรา 4)
- หลักอำนาจเหนือบุคคล บุคคลซึ่งถือสัญชาติของรัฐ (แม้บุคคลนั้นอยู่ในเขตแดนต่างประเทศ และได้รับความคุ้มครองทางการทูตบุคคลนั้นต้องรับผิดต่อรัฐที่ตนถือสัญชาติ เพราะการทำผิดย่อมเสื่อมเสียชื่อเสียงและศักดิ์ศรีของรัฐที่ผู้นั้นถือสัญชาติ และในทางตรงกันข้าม หากบุคคลของรัฐได้รับความเสียหายจากการกระทำผิดอาญา จากผู้อื่นในเขตแดนของรัฐอื่น รัฐก็ถืออำนาจคุ้มครองบุคคลสัญชาติของตน เป็นการใช้อำนาจลงโทษตามตัวบุคคล (เทียบ มาตรา 8 และ 9)
- หลักความร่วมมือระหว่างรัฐ สำหรับความผิดร้ายแรงบางประเภท เช่น โจรสลัด การปลอมแปลงเงินตรา การค้าหญิงและเด็ก และการค้ายาเสพติด ซึ่งเป็นภัยแก่ส่วนรวม รัฐที่ผู้กระทำผิดถูกจับได้ในเขต มีอำนาจลงโทษโดยไม่ต้องคำนึงถึงสัญชาติของผู้ทำผิด หรือผู้เสียหาย และไม่ต้องคำนึงถึงสถานที่ความผิดเกิด (เทียบ มาตรา 7)

โครงสร้างเรื่องเงื่อนไขการลงโทษ 
- กฎหมายที่จะใช้ลงโทษ มาตรา 2 3
- บุคคลที่จะต้องรับโทษ
หลัก หลักดินแดน มาตรา 4
 ขยายหลักดินแดน มาตรา 5 - 6
หลักอื่น หลักป้องกันตน ป้องกันเศรษฐกิจ และความผิดสากล มาตรา 7
 หลักบุคคล มาตรา 8 9
- หลักในการไม่ลงโทษซ้ำซ้อน ในความผิดเดียวกัน มาตรา 10–11
- เงื่อนไขการใช้วิธีการเพื่อความปลอดภัย มาตรา 12–16
- โครงสร้างตัวบท การรับโทษทางอาญาสำหรับความผิดที่กระทำใน และนอกราชอาณาจักร
- กระทำผิดในราชอาณาจักร
- มาตรา 4 วรรคแรก ทำในราชอาณาจักรโดยแท้ รับโทษตามกฎหมาย
- มาตรา 4 วรรคสอง ให้ถือว่ากระทำผิดในราชอาณาจักร กระทำในเรือ-อากาศยานไทย
- มาตรา 5 วรรคแรก ให้ถือว่ากระทำผิดในราชอาณาจักร ส่วนหนึ่งกระทำใน - ผลเกิดในราชอาณาจักร
- มาตรา 5 วรรคสอง ให้ถือว่ากระทำผิดในราชอาณาจักร ตระเตรียม หรือพยายามกระทำผิดที่ผลจะเกิดในราชอาณาจักร
- มาตรา 6 ให้ถือว่ากระทำผิดในราชอาณาจักร ตัวการ , ผู้ใช้ , ผู้สนับสนุน นอกราชอาณาจักร
- มาตรา 11 พิพากษาถึงที่สุดปล่อยตัวแล้ว  พิพากษาลงโทษและพ้นโทษแล้ว ยังลงโทษได้ และลงน้อยหรือไม่ลงโทษก็ได้ เว้นต่รัฐบาลไทยร้องขอ ห้ามลงโทษ หากพิพากษาถึงที่สุดปล่อยตัวแล้ว  พิพากษาลงโทษและพ้นโทษแล้ว
- กระทำผิดนอกราชอาณาจักร
- มาตรา 7 ทำผิดนอกราชอาณาจักร ความผิดสากล
- มาตรา 8 ทำผิดนอกราชอาณาจักร ความผิดเกี่ยวข้องกับคนไทย และผู้เสียหายร้องขอให้ลงโทษ ในข้อหาที่ระบุไว้ใน (1)  (13)
- มาตรา 9 ทำผิดนอกราชอาณาจักร เจ้าพนักงานกระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่
- มาตรา 10 พิพากษาถึงที่สุดปล่อยตัวแล้ว  พิพากษาลงโทษและพ้นโทษแล้ว ยังลงโทษได้ และลงน้อยหรือไม่ลงโทษก็ได้ เว้นต่รัฐบาลไทยร้องขอ ห้ามลงโทษ หากพิพากษาถึงที่สุดปล่อยตัวแล้ว  พิพากษาลงโทษและพ้นโทษแล้ว
- หลักในการกำหนดความผิดที่สามารถลงโทษในราชอาณาจักร ตามประมวลกฎหมายอาญา
- การกระทำความผิดในราชอาณาจักรโดยแท้ มาตรา 4 วรรคแรก
- การกระทำความผิดที่ให้ถือว่ากระทำในราชอาณาจักร มาตรา 4 วรรคสอง , 6
- การกระทำความผิดนอกราชอาณาจักร ที่ต้องรับโทษในราชอาณาจักร มาตรา 7 , 8 , 9

มาตรา 4 ผู้ใดกระทำความผิด ในราชอาณาจักร ต้องรับโทษตามกฎหมาย
การกระทำความผิด ในเรือไทย หรืออากาศยานไทย ไม่ว่าจะอยู่ ณ ที่ใด ให้ถือว่ากระทำความผิดในราชอาณาจักร
- มาตรา วรรค หมายถึง การกระทำทั้งหมดที่เป็นความผิด (การกระทุกส่วนที่เป็นความผิด และไม่มีการกระทำอื่นอีก)
- มาตรา วรรค ไม่รวมถึง ส่วนหนึ่งส่วนใด และไม่รวมผลการกระทำผิด ซึ่งกรณีดังกล่าวจะเข้าหลักเกณฑ์ตามมาตรา 5
- มาตรา วรรค กระทำบางส่วนในเรือ ถือว่าเป็นการทำผิดในเรือ ถ้าไม่ทำในเรือ แต่ผลเกิดในเรือ ไม่เข้าวรรคนี้ (อาจเข้า มาตรา 7 หรือมาตรา ดูข้อหาความผิด และสัญชาติผู้เสียหาย หรือผู้กระทำผิด อีกประเด็นหนึ่ง)
- ราชอาณาจักร” คือ 12 ไมล์ทะเล 
- รวมถึง อ่าวไทย (พรบ. กำหนดเขตจังหวัดในอ่าวไทยตอนใน 2502)
- รวมถึง สถานทูตของรัฐต่างประเทศ ซึ่งตั้งอยู่ในประเทศไทย ถือว่าอยู่ในราชอาณาจักร (แต่อาจได้รับเอกสิทธิ ทางการฑูต)
- ไม่รวมถึง สถานทูตของประเทศไทย ซึ่งตั้งอยู่ในต่างประเทศ (แต่อาจได้รับเอกสิทธิ ทางการฑูต )
- ไม่รวมถึง เขตเศรษฐกิจจำเพาะ 200 ไมล์ทะเล พระบรมราชโองการ กำหนดความกว้างของทะเลอาณาเขต ลงวันที่ ตค 2509 , ประกาศเขตเศรษฐกิจจำเพาะ ลงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2524)
- แดงอยู่ในเขตไทย เล็งปืนไปที่ดำซึ่งอยู่นอกประเทศ แต่ถูกจับก่อน (มาตรา 4 วรรค ผิด มาตรา288+80) การกระทำทั้งหมดทำในประเทศ (อก/33) แต่หากยิงแล้วถูกดำ ใช้ มาตรา วรรค 1 (อก/34)
- ความผิดฐานรับของโจร ทำใน ประเทศ จะลงโทษได้ ต่อเมื่อ ความผิดเดิมสามารถลงโทษใน ประเทศ ได้ ถ้าความผิดฐานรับของโจร ทำนอก ประเทศ ความผิดเดิมเกิดใน ประเทศ ต้องใช้ มาตรา 8
มาตรา 5 ความผิดใดที่ (1) “การกระทำ” แม้แต่ส่วนหนึ่งส่วนใด ได้กระทำในราชอาณาจักรก็ดี (2) “ผลแห่งการกระทำเกิดในราชอาณาจักร โดยผู้กระทำประสงค์ให้ผลนั้นเกิดในราชอาณาจักร หรือโดยลักษณะแห่งการกระทำ ผลที่เกิดขึ้นนั้นควรเกิดในราชอาณาจักร หรือย่อมจะเล็งเห็นได้ว่าผลนั้นจะเกิดในราชอาณาจักรก็ดี ให้ถือว่าความผิดนั้นได้กระทำในราชอาณาจักร
ในกรณีการ ตระเตรียมการ” หรือ พยายาม” กระทำการใดซึ่งกฎหมายบัญญัติเป็นความผิด แม้การกระทำนั้นจะได้กระทำนอกราชอาณาจักร ถ้าหากการกระทำนั้นจะได้กระทำตลอดไปจนถึงขั้นความผิดสำเร็จ ผลจะเกิดขึ้นในราชอาณาจักร” ให้ถือว่าการตระเตรียมการหรือพยายามกระทำความผิดนั้นได้กระทำในราชอาณาจักร
- เปรียบเทียบ ม องค์ประกอบที่ (1) และ (2)
- สรุป (อ เกียรติขจร คำอธิบายกฎหมายอาญา ภาค ..2538)
- ทำผิด บางส่วนนอกประเทศ บางส่วนในประเทศ ใช้ มาตรา วรรค เช่น ยิงเข้า ประเทศ แล้วไม่ถูก หรือถูกแต่ไม่ตาย (อก/36)
- ทำผิด นอกประเทศ ทั้งหมด แต่ ผลจะเกิด” ใน ประเทศ ใช้ มาตรา วรรค เช่น จะยิงเข้า ประเทศ ถูกจับก่อน (อก/36)
- วางยานอกประเทศ ปลดทรัพย์ใน ประเทศ ใช้ มาตรา วรรค ผิด ชิงทรัพย์ ตามมาตรา 339 ใช้ มาตรา วรรค 1 (อก/36)
- พรากในประเทศ ชำเรานอกประเทศ ผิด มาตรา 319 วรรค ใช้ มาตรา วรรค 1 (อก/36)
- มาตรา วรรค 1
- ส่วนหนึ่งส่วนใด ได้กระทำในราชอาณาจักร
- ผลแห่งการกระทำ เกิดในราชอาณาจักร…” คือ ต้องเกิดผลแล้ว เช่น รู้ว่าจะเข้าราชอาณาจักร จึงยิงขณะกำลังเข้าราชอาณาจักร แล้วตายในราชอาณาจักร (อก/36) / ถ้าผลจะเกิด ใช้ มาตราวรรค 2 เช่น ถูกยิงจากนอกราชอาณาจักร เข้ามาในราชอาณาจักร แล้วไม่ตาย (อก/37)
- ประสงค์ให้ผลเกิดใน เรือไทย” ไม่ใช้ มาตรา วรรค 1 (อก/37)
- มาตรา วรรค 2 ผลจะเกิด” ต้องยังไม่เกิด ถ้าผลเกิด ทำในราชอาณาจักร” ใช้ ม 4 “ทำนอกราชอาณาจักร” ใช้ มาตรา วรรค 1 (อก/38)
- รู้ว่าผู้เสียหายจะเข้าราชอาณาจักร ล ให้กินยาพิษ หากผู้เสียหายตายในราชอาณาจักร ใช้ มาตรา 5วรรค หากผู้เสียหาย ไม่กินยาพิษ ใช้ มาตรา วรรค 2 (อก/38)
- ยืนอยู่นอกราชอาณาจักร เล็งปืนมาในราชอาณาจักร ถูกจับก่อนยิง ใช้ มาตรา วรรค 2 ผิด มาตรา80+288 (อก/38)
- มาตรา วรรค ความผิดเกิด เช่น ยิงกันนอกราชอาณาจักร โดยรู้ว่าผู้จะถูกยิงกำลังจะเข้ามาในราชอาณาจักร หากตายในราชอาณาจักร ใช้ มาตรา วรรค 1 หากไม่ตาย ผิด ม 80+288 ใช้ มาตรา 5วรรค 2 (อก/38)
- สรุป (อ เกียรติขจร คำอธิบายกฎหมายอาญา ภาค ..2538 /39)
- หาก การกระทำส่วนหนึ่ง” ในราชอาณาจักร ใช้ มาตรา วรรคแรก ไม่ต้องดูผลว่าเกิดที่ไหน หากไม่ทำในราชอาณาจักรเลย แต่ผลเกิดในราชอาณาจักร ใช้ มาตรา วรรค หากผลไม่เกิด แต่จะเกิดในราชอาณาจักร ใช้ มาตรา วรรค 2
- การตระเตรียมฯ ในราชอาณาจักร เพื่อกระทำผิด นอกราชอาณาจักร” ลงโทษได้เมื่อ (1) การตระเตรียมนั้นเป็นความผิด และ (2) ความผิดนั้นลงโทษได้ แม้ทำนอกราชอาณาจักร (มาตรา 7 - 9) (อก/39)
- การตระเตรียมฯ ในราชอาณาจักร” เพื่อทำผิดตาม มาตรา 218 “นอกราชอาณาจักร” ลงโทษได้เมื่อเข้าหลักเกณฑ์ มาตรา โดยใช้ มาตรา แต่หากไม่เข้า มาตรา ลงโทษไม่ได้ ความเห็น(อก/40)
- การลงมือพยายามกระทำความผิด ในราชอาณาจักร” เพื่อทำผิด นอกราชอาณาจักร” ลงโทษ มาตรา 80 ได้ ใช้ มาตรา ต่างกับ การตระเตรียมทำผิด” ซึ่งไม่ใช่ส่วนหนึ่งของความผิด (อก/40)
- การตระเตรียมการที่กฎหมายบัญญัติเป็นความผิดและมีโทษ มาตรา 107 – 110 , มาตรา 128 , มาตรา 219
- คำพิพากษาฎีกา
- คำพิพากษาฎีกาที่ 3854/2525 สถานีรถไฟปาดังเบซาร์อยู่ในประเทศมาเลเซีย ห่างเขตแดนประเทศไทย 500 เมตร ภายในสถานีมีด่านศุลกากรของไทยและมาเลเซีย เมื่อเวลา 8 นาฬิกา นายตรวจศุลกากรประจำด่านของไทยยึดเห็ดหอม ไม่ปรากฏเจ้าของมาจากที่ทำงานพนักงานตรวจรถไฟ ซึ่งอยู่ติดสถานีเพื่อเก็บในด่านศุลกากร ขณะรอคนเปิดประตูห้อง จำเลยเข้ามาแสดงตัวเป็นเจ้าของขอคืน แล้วเกิดทำร้ายกันขึ้น เมื่อเป็นความผิดตามกฎหมายภาษีศุลกากรกับความผิดซึ่งเกี่ยวเนื่องกัน คือต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน และเอาของกลางไป ดังนี้ ศาลไทยมีอำนาจพิจารณาพิพากษาได้ / จำเลยนำเห็ดหอมไปวาง ณ ที่ทำการพนักงานตรวจรถไฟ ยังไม่เป็นความผิดฐานนำสินค้าต่างประเทศเข้ามาในราชอาณาจักรตาม พ.ร.บ.ศุลกากรฯ มาตรา 27 แม้เพียงขั้นพยายามกระทำผิด และเมื่อไปนำกลับคืนมาจึงไม่มีความผิดตาม ป.อ. ม.142
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1586/2526 จำเลยกับพวกบังคับหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้เสียหายชาวมาเลเซียเพื่อเรียกค่าไถ่ และบังคับให้ผู้เสียหายขับรถไปส่งยังชายแดนประเทศไทยซึ่งน่าจะได้ควบคุมเข้าไปในเขตแดนไทยด้วย เพราะภูมิลำเนาของจำเลยกับพวกอยู่ในราชอาณาจักร จึงเป็นความผิดต่อเนื่อง ทั้งในและนอกราชอาณาจักรพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรกิ่งอำเภอควนโดน จังหวัดสตูล ซึ่งจับจำเลยจึงมีอำนาจสอบสวนดำเนินคดีกับจำเลยได้
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1645/2531 เมื่อการกระทำความผิดฐานพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจาร เริ่มขึ้นตั้งแต่จำเลยพาผู้เสียหายขึ้นรถยนต์ที่ปากซอยหน้าบ้าน ในประเทศไทย แม้จำเลยจะไปร่วมประเวณีกับผู้เสียหายที่ประเทศญี่ปุ่น การกระทำของจำเลยส่วนหนึ่งก็ได้เกิดขึ้นในประเทศไทยแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 5 Ø แม้ผู้เสียหายจะยอมให้ร่วมประเวณีซึ่งถือไม่ได้ว่าเป็นการข่มขืนกระทำชำเราก็ตาม แต่การที่จำเลยพาผู้เสียหายซึ่งมีอายุยังไม่เกิน 18 ปี ไปเสียจากบิดามารดา ก็เป็นการล่วงละเมิดต่ออำนาจปกครองของบิดามารดาขณะเกิดเหตุจำเลยอายุ 38 ปี และมีภริยาอยู่แล้ว ไม่ได้มีเจตนาจะเลี้ยงดูผู้เสียหายเป็นภริยา การกระทำของจำเลยจึงเป็นการพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจาร ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 319 วรรคหนึ่งแล้ว
- คำพิพากษาฎีกา
- คำพิพากษาฎีกาที่ 5103/2528 (ลองตรวจดูฎีกาเต็ม ว่าออกเช็คในประเทศ เป็นเช็คธนาคารไทย สาขาไทเป) การกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ นั้น หากจำเลยออกเช็คในท้องที่เขตลาดกระบัง และอยู่ในเขตท้องที่สถานีตำรวจนครบาลจรเข้น้อยแล้วย่อมต้องถือว่าจำเลยได้กระทำผิดอาญาลงในท้องที่ดังกล่าว ต่อเนื่องกับการกระทำผิดในท้องที่ที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน เมื่อผู้เสียหายได้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลจรเข้น้อยให้สอบสวนดำเนินคดีแก่จำเลย พนักงานสอบสวนดังกล่าวย่อมมีอำนาจสอบสวนคดีนี้ได้ตาม ป.ว.อ. ม.19 (3) เมื่อท้องที่ซึ่งพนักงานสอบสวนคดีนี้อยู่ในเขตอำนาจศาลจังหวัดมีนบุรี ศาลดังกล่าวย่อมมีอำนาจที่จะชำระคดีนี้ได้ตาม ม.22
- ฎ 2070/2542 (ลองตรวจดูฎีกาเต็ม ว่าออกเช็คในประเทศ เป็นเช็คธนาคารไทย สาขาไทเป)
มาตรา 6 ความผิดใดที่ได้กระทำในราชอาณาจักร หรือที่ประมวลกฎหมายนี้ถือว่าได้กระทำในราชอาณาจักร แม้การกระทำของผู้เป็นตัวการด้วยกัน ของผู้สนับสนุน หรือของผู้ใช้ให้กระทำความผิดนั้น จะได้กระทำนอกราชอาณาจักร ก็ให้ถือว่าตัวการ ผู้สนับสนุน หรือผู้ใช้ให้กระทำ ได้กระทำในราชอาณาจักร
- สรุป (อ เกียรติขจร คำอธิบายกฎหมายอาญา ภาค ..2538)
- กระทำ…” อ้าง มาตรา และต้องกระทำแล้ว ถือว่าได้กระทำ…” อ้าง มาตรา 4 วรรคสอง หรือมาตรา 5
- คนต่างชาติ ใช้ คนต่างชาติ นอกราชอาณาจักร ให้กระทำผิด ม 289 (4) ฆ่าคนต่างชาติ ในราชอาณาจักร ผู้ถูกใช้ มาตรา วรรค ผู้ใช้ มาตรา 6 (อก/41)
- ใช้กระทำความผิด มาตรา 84 นอกราชอาณาจักร ให้วางเพลิง มาตรา 218 ในราชอาณาจักร ขณะตระเตรียม นอกราชอาณาจักร ถูกจับ ผู้ถูกใช้ มาตรา วรรค และ ผู้ใช้ มาตรา 6 (อก/41)
- ใช้กระทำความผิด มาตรา 84 นอกราชอาณาจักร ให้ฆ่าคน มาตรา 288 , มาตรา 289 (4) ในราชอาณาจักรเล็งแล้วยังไม่ยิง ถูกจับนอกราชอาณาจักร ผู้ใช้ผิด มาตรา 84+288+80 ผู้ถูกใช้ – มาตรา วรรค ผู้ใช้– มาตรา 6 (อก/41) ยิงแล้ว หลบได้-ไม่ตาย ผิด มาตรา 80+288 ผู้ถูกใช้ – มาตรา วรรค ผู้ใช้ มาตรา 6 (อก/41)
- การ ใช้” นอกประเทศ ให้ ฆ่า” ในประเทศ หากผู้ถูกใช้ไม่ทำ ไม่เข้า มาตรา 4 – 5 ลงโทษผู้ใช้ ตามมาตรา ไม่ได้ (อก/42)
- หากการกระทำตาม มาตรา 83 – 86 ใน ประเทศ เพื่อทำผิด นอก ประเทศ จะลงโทษสำหรับการกระทำตาม มาตรา 83 – 86 ได้เมื่อความผิดนั้นลงโทษใน ประเทศ ได้ ขส อ 2529/1 ลงโทษผู้ใช้ได้ แม้ผู้ถูกใช้จะลงโทษในประเทศไม่ได้ เนื่องจากไม่เข้า มาตรา 8 ) (อก/42)
- ใช้ใน ประเทศ ให้ทำผิดตาม มาตรา 7 (3) ลงโทษผู้ใช้ใน ประเทศ ได้ (อก/43)
- คำว่าผู้ใช้ ตามมาตรา 6 รวมถึงผู้ประกาศหรือโฆษณาให้ผู้อื่นกระทำผิด ตามมาตรา 85 ด้วยหรือไม่
- ข้อสอบคัดเลือก พนักงานอัยการ พ.ศ.2508 ข้อ 8 การกระทำของนายปุย เป็นการโฆษณาหรือประกาศแก่บุคคลทั่วไป ให้กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 85 ไม่ใช่เป็นการใช้ให้กระทำความผิดตามมาตรา 84 กรณีจึงไม่เข้ามาตรา 6 (นายปุยกระทำการนอกราชอาณาจักร ไม่ต้องรับโทษในราชอาณาจักร)
- & การประกาศหรือโฆษณาให้ผู้อื่นกระทำผิด ตามมาตรา 85 เป็นการก่อให้ผู้อื่นกระทำผิด ด้วยวิธีการใดๆ ตามมาตรา 83 อยู่ในตัวเองอยู่แล้ว เพียงแต่มีโทษหนักกว่า องค์ประกอบครบถ้วนตามมาตรา 84 ทั้งมีลักษณะรุนแรง อุกฉกรรจ์ยิ่งกว่าการใช้ตามปกติ ในมาตรา 84 จึงน่าจะลงโทษได้ตามมาตรานี้
- ตัวอย่างประเด็นข้อสอบเก่า มาตรา 6
- ข้อสอบความรู้ ชั้นเนติบัณฑิต สมัยที่ 44 ประจำปี พ.ศ. 2534 ข้อ 1 นายหลีกับนายเหล็งเป็นคนจีนอยู่ที่ฮ่องกง นายหลีจ้างนายเหล็งให้มาฆ่านายฮ้อคนจีนซึ่งอยู่ในประเทศไทย นายเหล็งตกลงพบนายฮ้อจำได้ว่าเป็นเพื่อนกัน จึงกลับใจไม่ฆ่าและบอกเรื่องให้ทราบ นายฮ้อจึงจ้างนายเหล็งให้กลับไปฆ่านายหลี นายเหล็งกลับไปที่ฮ่องกงใช้ปืนยิงนายหลีเพื่อฆ่า กระสุนปืนไม่ถูกนายหลี
- ข้อสอบคัดเลือก พนักงานอัยการ พ.ศ.2508 ข้อ 8 การกระทำของนายปุย เป็นการโฆษณาหรือประกาศแก่บุคคลทั่วไป ให้กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 85 ไม่ใช่เป็นการใช้ให้กระทำความผิดตามมาตรา 84 กรณีจึงไม่เข้ามาตรา 6 (นายปุยกระทำการนอกราชอาณาจักร ไม่ต้องรับโทษในราชอาณาจักร)
- ข้อสอบคัดเลือก พนักงานอัยการ พ.ศ.2529 ข้อ 1 (เหมือนข้อสอบฯ เนติบัณฑิต สมัยที่ 44 ประจำปี พ.ศ. 2534) คนต่างด้าว 1 ใช้คนต่างด้าว 2 นอกประเทศ ให้มาฆ่า คนต่างด้าว 3 "ในประเทศ" ผู้ถูกใช้เข้ามาแล้ว ไม่ฆ่า Ø คนต่างด้าว 1 ผู้ใช้ผิด มาตรา 289 + 84 แต่กระทำ "นอกประเทศ" และไม่เข้ามาตรา 5 - และ มาตรา ที่จะลงโทษได้ ไม่อาจลงโทษได้ Ø คนต่างด้าว 3 ใช้คนต่างด้าว 2 ในไทย ให้ไปฆ่าคนต่างด้าว 1 "นอกประเทศ" Ø คนต่างด้าว 3 ผู้ถูกใช้ ผิด 289+80 แต่ไม่เข้า มาตรา ไม่อาจลงโทษได้ Ø ส่วน คนต่างด้าว 3 ผู้ใช้ "ในประเทศ" รับผิด มาตรา 80+84+289 (+ มาตรา 4) & หากคนต่างด้าว 1 ใช้คนต่างด้าว 2 ในต่างประเทศ ให้มาฆ่า "คนไทย" "ในประเทศ" ผู้ถูกใช้เข้ามาแล้ว ไม่ฆ่า Ø คนต่างด้าว 1 ผู้ใช้ผิด มาตรา 289 + 84 แต่กระทำ "ในต่างประเทศ" และไม่เข้า มาตรา 5 - แต่ ปรับเข้ามาตรา ที่จะลงโทษได้ หากคนไทยผู้เสียหายร้องขอ

มาตรา 7 ผู้ใดกระทำความผิดดังระบุไว้ต่อไปนี้ นอกราชอาณาจักร จะต้องรับโทษในราชอาณาจักร คือ
(1) ความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 107 ถึงมาตรา 129
(1/1) ความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 135/1 มาตรา 135/2 มาตรา 135/3และมาตรา 135/4
(2) ความผิดเกี่ยวกับการปลอมและการแปลง ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 240 ถึงมาตรา 249มาตรา 254 มาตรา 256 มาตรา 257 และมาตรา 266 (3) และ (4)
(2 ทวิความผิดเกี่ยวกับเพศตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 282 และมาตรา 283
(3) ความผิดฐานชิงทรัพย์ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 339 และความผิดฐานปล้นทรัพย์ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 340 ซึ่งได้กระทำในทะเลหลวง
- มาตรา 7 “ข้อหาความผิดที่กฎหมายกำหนด ซึ่งกระทำนอกราชอาณาจักร แต่ต้องรับโทษในราชอาณาจักร” ไม่ใช้กับกรณีดังนี้
- มาตรา วรรค 2 (การกระทำผิด ในเรือไทยหรืออากาศยาน)
- มาตรา 5 (การกระทำส่วนหนึ่ง ในราชอาณาจักร หรือ ผลการกระทำเกิดในราชอาณาจักรฯ การตระเตรียม หรือพยายามกระทำการ ซึ่งกฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิด อันจะเกิดผลในราชอาณาจักรและ
- มาตรา 6 (กระทำของตัวการ ผู้ใช้ หรือผู้สนับสนุน ถึงขั้นกระทำการ หรือถือว่ากระทำในราชอาณาจักร ตามกฎหมาย)
- เพราะ กรณีเหล่านี้ กฎหมาย "ให้ถือว่ากระทำในราชอาณาจักร” สามารถลงโทษผู้กระทำผิด ได้ตาม มาตรา วรรคแรก
- ความผิดที่ระบุไว้ในมาตรา 7
- มาตรา 7 (2 ทวิ) ความผิดตามมาตรา 283 เพื่อสนองความใคร่ผู้อื่นฯ ไม่รวมถึง มาตรา 283 ทวิ การพาบุคคลอายุกว่าสิบห้าปี แต่ไม่เกินสิบแปดปีไป เพื่อการอนาจาร และไม่มีระบุความผิดตามมาตรา 284 การพาผู้อื่นไปเพื่อการอนาจาร
- คำพิพากษาฎีกา มาตรา 7
- คำพิพากษาฎีกาที่ 6516/2537 ความผิดฐานปล้นทรัพย์และฆ่าผู้อื่นเกิดขึ้น ในทะเลหลวงนอกราชอาณาจักร ศาลไทยจะลงโทษผู้กระทำผิดที่เป็นคนไทยในข้อหาความผิดต่อชีวิตตามมาตรา 8 (4) ได้ต่อเมื่อผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษตาม ป.อ.มาตรา 8 (ก) เมื่อไม่ปรากฏว่าผู้ตายซึ่งถือว่าเป็นผู้เสียหายเป็นใคร และไม่ปรากฏว่าจะมีผู้ใดซึ่งสามารถจัดการแทนผู้ตายได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 5 (2) ดำเนินการร้องขอให้ศาลไทยลงโทษ จึงลงโทษจำเลยฐานฆ่าผู้อื่นไม่ได้(จำเลยต้องรับโทษ ในข้อหาปล้นทรัพย์ เป็นเหตุให้ถึงแก่ความตาย ม 340 ว ตาม ม 7 (3))
- ตัวอย่างประเด็นข้อสอบเก่า มาตรา 7
- ข้อสอบความรู้ ชั้นเนติบัณฑิต สมัยที่ 48 ประจำปี พ.ศ. 2538 ข้อ 1 คนเวียดนาม ออกเรือจับปลาในเขตเศรษฐกิจจำเพาะของประเทศไทย พบคนมาเลเซีย จับปลาอยู่ จึงขึ้นเรือซึ่งเป็นของมาเลเซีย จับคนมาเลเซียมัดไว้ แล้วขนปลาไปใส่เรือตน เรือไทยผ่านมาเข้าช่วยคนมาเลเซียและจับกุมคนเวียนนาม (ผิดฐานใด ลงโทษในราชอาณาจักรได้เพียงใด) / ผิดฐานชิงทรัพย์ ตาม ม 339 ในเขตเศรษฐกิจจำเพาะซึ่งอยู่นอกราชอาณาจักร (200 ไมล์ทะเลจึงเป็นการกระทำผิดในทะเลหลวง ต้องรับโทษตาม ม 7 (3)
- ข้อสอบความรู้ ชั้นเนติบัณฑิต สมัยที่ 53 ประจำปี พ.ศ. 2543 ข้อ 1 นางเดือนกระทำความผิดนอกราชอาณาจักรและเป็นความผิดเกี่ยวกับเพศตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 282 ซึ่งเป็นความผิดที่ระบุไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 7 (2 ทวินางเดือนจึงต้องรับโทษในราชอาณาจักรตามมาตรา 7 อนึ่ง แม้ทางการประเทศญี่ปุ่นจะได้แจ้งให้ตำรวจไทยทราบอันถือว่าเป็นการร้องขอให้ลงโทษตามมาตรา 8 () แต่ความผิดที่นางเตือนกระทำนั้นมิใช่ความผิดที่ระบุไว้ในวรรคสองของมาตรา 8 ดังนั้น นางเดือนจึงไม่ต้องรับโทษในราชอาณาจักรตามมาตรา 8
- ข้อสอบคัดเลือก พนักงานอัยการ พ.ศ.2542 ข้อ 1 ปลอมเงินไทย ในจีน ปอ. มาตรา 240 + 7 (2) รับโทษแล้ว ยังไม่ครบ ศาลไทยลงได้ มาตรา 10 วรรค 2 / ปลอมดอลล่าในไทย ม 240+ 247 รับโทษ มาตรา กึ่งหนึ่งของ มาตรา 240

มาตรา 8 ผู้ใดกระทำความผิด นอกราชอาณาจักร และ
(ก) ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นคนไทย และรัฐบาลแห่งประเทศที่ความผิดได้เกิดขึ้น หรือผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ หรือ
(ข) ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นคนต่างด้าว และรัฐบาลไทยหรือคนไทยเป็นผู้เสียหาย และผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ
ถ้าความผิดนั้นเป็นความผิดดังระบุไว้ต่อไปนี้ จะต้องรับโทษภายในราชอาณาจักรคือ
(1) ความผิดเกี่ยวกับการก่อให้เกิดภยันตรายต่อประชาชน ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 217มาตรา 218 มาตรา 221 ถึงมาตรา 223 ทั้งนี้เว้นแต่กรณีเกี่ยวกับมาตรา 220 วรรคแรก และมาตรา 224 มาตรา 226 มาตรา 228 ถึงมาตรา 232 มาตรา 237 และมาตรา 233 ถึงมาตรา 236 ทั้งนี้เฉพาะเมื่อเป็นกรณีต้องระวางโทษตามมาตรา 238
(2) ความผิดเกี่ยวกับเอกสาร ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 264 มาตรา 265 มาตรา 266 (1) และ (2)มาตรา 268 ทั้งนี้เว้นแต่กรณีเกี่ยวกับมาตรา 267 และ มาตรา 269
(3) ความผิดเกี่ยวกับเพศ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 276 มาตรา 280 และมาตรา 285 ทั้งนี้เฉพาะที่เกี่ยวกับมาตรา 276
(4) ความผิดต่อชีวิต ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 288 ถึงมาตรา 290
(5) ความผิดต่อร่างกาย ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 295 ถึงมาตรา 298
(6) ความผิดฐานทอดทิ้งเด็ก คนป่วยเจ็บหรือคนชรา ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 306 ถึงมาตรา308
(7) ความผิดต่อเสรีภาพ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 309 มาตรา 310 มาตรา 312 ถึงมาตรา 315 และมาตรา 317 ถึงมาตรา 320
(8) ความผิดฐานลักทรัพย์และวิ่งราวทรัพย์ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 334 ถึงมาตรา 336
(9) ความผิดฐานกรรโชก รีดเอาทรัพย์ ชิงทรัพย์ และปล้นทรัพย์ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา337 ถึงมาตรา 340
(10) ความผิดฐานฉ้อโกง ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 341 ถึงมาตรา 344 มาตรา 346 และมาตรา 347
(11) ความผิดฐานยักยอก ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 352 ถึงมาตรา 354
(12) ความผิดฐานรับของโจร ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 357
(13) ความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 358 ถึงมาตรา 360
- สรุป (อ เกียรติขจร คำอธิบายกฎหมายอาญา ภาค ..2538)
- มาตรา ต้องมีการร้องขอ แม้เป็นความผิดอาญาแผ่นดิน (อ เกียรติขจร /45)
- แม้ในประเทศที่มีการทำผิดจะไม่ถือว่าเป็นความผิด ก็ขอให้ลงโทษได้ (อ เกียรติขจร /45)
- โจทก์ไม่ต้องสืบว่าเป็นความผิดในประเทศที่ทำผิด ฎ 458/2503 (อ เกียรติขจร /46)
- มาตรา ไม่ใช้กับกรณีเข้า มาตรา วรรค 2 (อ เกียรติขจร /45)
- มาตรา ใช้กับ ทุกกรณี ของมาตรา 83 - 87 (ตัวการ – ผู้ใช้ – ผู้สนับสนุนซึ่งกระทำนอกราชอาณาจักรเช่น คนไทย อยู่นอกประเทศ ใช้ผู้อื่น ให้ฆ่าคนไทยในประเทศ (มาตรา 289 (4)) & หากผู้ถูกใช้ยังไม่ได้ทำ ลงโทษตาม มาตรา ไม่ได้ แต่ขอให้ลงโทษผู้ใช้ตาม มาตรา 8 ซึ่งกระทำการ "ก่อให้ผู้อื่นกระทำผิด" "ในต่างประเทศ" ได้ (เพราะ มาตรา ใช้เมื่อการกระทำของตัวการ ผู้ใช้ หรือผู้สนับสนุน ถึงขั้นกระทำการ หรือถือว่ากระทำในราชอาณาจักร ตามกฎหมายแล้ว และหากเข้าเงื่อนไขดังกล่าว ก็ใช้มาตรา 6 ลงโทษผู้กระทำผิดที่อยู่นอกราชอาณาจักรได้โดยตรง ซึ่งต่างกับมาตรา ตรงที่ มาตรา ผู้กระทำผิดต้องรับโทษ แม้ไม่มีผู้เสียหายร้องขอให้ลงโทษ)
- การลงโทษในความผิดฐานรับของโจร หากความผิดเดิม ทำนอกประเทศ แต่ความผิดฐานรับของโจร ทำ ในประเทศ ลงโทษ มาตรา 357 ใน ประเทศ ได้ตาม มาตรา วรรค เฉพาะความผิดเดิม ลงโทษใน ประเทศ ได้ (ความเห็น อก/48) หากความผิดเดิมทำใน ประเทศ แต่ ความผิดฐานรับของโจร ทำนอกประเทศ ลงโทษฐานรับของโจร ในประเทศ ได้ตามเงื่อนไข มาตรา 8 (ความเห็น อก/49) แต่คำพิพากษาฎีกาที่ 3795-3796/2538 วินิจฉัยว่าลงโทษข้อหารับของโจร ในราชอาณาจักรได้
- ความผิดที่ระบุไว้ในมาตรา 8
- ความผิดที่ระบุไว้ในมาตรา 8 ไม่มีข้อหาความผิดต่อเจ้าพนักงาน และตำแหน่งหน้าที่ราชการ ฯลฯ ตั้งแต่มาตรา 107 - 135 , 136 - 216
- ความผิดที่ระบุไว้ในมาตรา 8 ไม่มีข้อหาความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท
- ความผิดที่ระบุไว้ในมาตรา 8 ข้อหาชิงทรัพย์ ตามมาตรา 339 และปล้นทรัพย์ ตามมาตรา 340 ไม่รวมเหตุฉกรรจ์ มาตรา 340 ตรี
- ความผิดที่ระบุไว้ในมาตรา 8 ไม่มีข้อหาโกงเจ้าหนี้
- ความผิดที่ระบุไว้ในมาตรา 8 รวมถึงการกระทำที่เป็นความผิดสำเร็จ และการพยายามกระทำความผิด และรวมถึงตัวการ ผู้ใช้ และผู้สนับสนุนด้วย
- การร้องขอให้ลงโทษผู้กระทำผิด ตามมาตรา 8
- ข้อสอบความรู้ ชั้นเนติบัณฑิต สมัยที่ 53 ประจำปี พ.ศ. 2543 ข้อ 1 นางเดือนกระทำความผิดนอกราชอาณาจักรและเป็นความผิดเกี่ยวกับเพศตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 282 ซึ่งเป็นความผิดที่ระบุไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 7 (2 ทวินางเดือนจึงต้องรับโทษในราชอาณาจักรตามมาตรา 7 อนึ่ง แม้ทางการประเทศญี่ปุ่นจะได้แจ้งให้ตำรวจไทยทราบอันถือว่าเป็นการร้องขอให้ลงโทษตามมาตรา 8 () แต่ความผิดที่นางเตือนกระทำนั้นมิใช่ความผิดที่ระบุไว้ในวรรคสองของมาตรา 8 ดังนั้น นางเดือนจึงไม่ต้องรับโทษในราชอาณาจักรตามมาตรา 8
- คำพิพากษาฎีกา มาตรา 8
- คำพิพากษาฎีกาที่ 801/2505 คดีที่จำเลยเป็นคนสัญชาติไทย การกระทำผิดฐานปล้นทรัพย์นอกราชอาณาจักร ซึ่งผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษจำเลยภายในราชอาณาจักรตาม มาตรา 8 นั้น โจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องนำสืบ แสดงว่าไม่มีข้อห้ามมิให้ลงโทษจำเลยตามมาตรา 10 อีก เว้นแต่จำเลยจะโต้เถียง
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1289/2521 ผู้จัดการธนาคารไทยสาขาไทเป มอบเงินให้จำเลย ซึ่งเป็นคนไทยและเป็นผู้ช่วยผู้จัดการ และรักษาการผู้ช่วยสมุห์บัญชีนำเงินของธนาคารไปฝากธนาคารอื่น จำเลยเป็นผู้ครอบครองเงินนั้น จำเลยถอนเงินไปโดยทุจริต มีความผิดตาม ม.354 ซึ่งเป็นธุรกิจที่ไว้วางใจของประชาชน ธนาคารเป็นผู้เสียหายร้องทุกข์ได้และลงโทษในศาลไทยได้
- คำพิพากษาฎีกาที่ 6516/2537 ความผิดฐานปล้นทรัพย์และฆ่าผู้อื่นเกิดขึ้น ในทะเลหลวงนอกราชอาณาจักรศาลไทย จะลงโทษผู้กระทำผิดที่เป็นคนไทยในข้อหาความผิดต่อชีวิตตามมาตรา 8 (4) ได้ต่อเมื่อผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษตาม ป.อ.มาตรา 8 (ก) เมื่อไม่ปรากฏว่าผู้ตายซึ่งถือว่าเป็นผู้เสียหายเป็นใคร และไม่ปรากฏว่าจะมีผู้ใดซึ่งสามารถจัดการแทนผู้ตายได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 5 (2) ดำเนินการร้องขอให้ศาลไทยลงโทษ จึงลงโทษจำเลยฐานฆ่าผู้อื่นไม่ได้& คดีนี้มีผู้เสียหายบางส่วน ที่ยังไม่เสียชีวิต ร้องขอให้ลงโทษในคดีเดียวกัน เป็นข้อหาปล้นทรัพย์และพยายามฆ่าผู้เสียหายทั้งสี่ได้ (&จำเลยต้องรับโทษ ในข้อหาปล้นทรัพย์ เป็นเหตุให้ถึงแก่ความตาย ตามมาตรา 340 วรรค ตาม มาตรา 7 (3) แต่โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องในเหตุฉกรรจ์ ว่าการปล้นทรัพย์ เป็นเหตุให้ถึงแก่ความตาย ตามมาตรา 340 วรรค 5 คดีนี้ ลงโทษได้เพียง ข้อหาปล้นทรัพย์ มาตรา 340 & ความผิดที่ระบุไว้ในมาตรา 8 ข้อหาชิงทรัพย์ ตามมาตรา 339 และปล้นทรัพย์ ตามมาตรา 340 ไม่รวมเหตุฉกรรจ์ มาตรา 340 ตรี )
- คำพิพากษาฎีกาที่ 3795-3796/2538 (คำบรรยายเนติบัณฑิตย์ ครั้ง 3) ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 1 รู้อยู่แล้ว ว่าเงินที่ได้รับมาจาก ก. เป็นทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำผิดฐานฉ้อโกง ในประเทศญี่ปุ่น ความผิดฐานฉ้อโกงและความผิดฐานรับของโจร ตามประมวลกฎหมายอาญาของประเทศญี่ปุ่น มีหลักเช่นเดียวกับความผิดฐานฉ้อโกง และรับของโจร ตามประมวลกฎหมายอาญาของไทย ดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 ซึ่งอยู่ในประเทศไทย รับเอาทรัพย์สินอันได้มาด้วยการกระทำผิดฐานฉ้อโกง ที่เกิดในประเทศญี่ปุ่น จำเลยที่ 1 ก็ย่อมมีความผิดตามฐานรับของโจร ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 357
- คำวินิจฉัยข้อหารือ /2516 (ประมวลข้อหารือและคำสั่ง เล่ม 2 รตท.ไชยยันฯคนไทยข้ามไปงานเทศกาลฝั่งลาว ทางด้านจังหวัดหนองคาย ทหารลาวยิงปืนขึ้นฟ้าในงานเทศกาล ถูกคนไทยตาย พนักงานสอบสวน อำเภอบึงกาฬ ขออนุญาตอธิบดีกรมอัยการ ทำการสอบสวน ตาม ปวิอ มาตรา 22 ความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291 ที่กระทำนอกราชอาณาจักร หาต้องรับโทษภายในราชอาณาจักร ตาม มาตรา 7 , 8 ไม่ จึงไม่อยู่ในอำนาจที่อธิบดีกรมอัยการจะเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ
- ตัวอย่างประเด็นข้อสอบเก่า มาตรา 8
- ข้อสอบคัดเลือก ผู้พิพากษา พ.ศ.2524 ข้อ 10 นายโซ๊ะ เลาะ และคนไทยสามคน สมคบกันลักทรัพย์ในเวลากลางคืน โดยเข้าช่องทางฯ ผิด มาตรา 210 แม้โซ๊ะ เลาะ เป็นคนต่างด้าว แต่ทำผิดในประเทศไทย ต้องรับโทษในไทยตาม มาตรา 4 คนไทยสามคนผิด มาตรา 334 วรรค 2 แม้ทำผิดนอกประเทศ ต้องรับโทษในไทย เพราะรัฐบาลมาเลร้องขอ ตาม มาตรา 8 รับโทษ ตาม มาตรา 335 วรรค 2 ในไทย Ø นายเลาะคนต่างด้าว ผิดฐานสนับสนุนลักทรัพย์ แต่เป็นการทำผิดนอกประเทศ คนไทยหรือรัฐบาลไทยไม่ใช่ผู้เสียหาย นายเลาะไม่ต้องรับโทษตาม มาตรา 8 Øนายโซ๊ะ แม้ไม่มีส่วนลักทรัพย์ แต่อยู่ในที่ประชุมซ่องโจรและไม่คัดค้านต้องรับโทษตาม มาตรา 335 วรรค 2 ตาม มาตรา 213 ส่วนนายเลาะ เป็นผู้สนับสนุนแล้ว ไม่อยู่ในความประสงค์ของ มาตรา 213 ที่จะต้องรับผิดตาม มาตรานี้อีก
- ข้อสอบคัดเลือก ผู้พิพากษา พ.ศ.2531 ข้อ 1 คนไทย อยู่บนเรือในพม่า กำลังจะเข้าไทย ถูกพม่ายิงตาย น้องชายแจ้งความที่ตาก ลงโทษพม่า Ø มาตรา ว 2 (4) ต้องรับโทษในราชอาณาจักร มาตรา 8 (แต่น้องชายไม่ใช่ผู้เสียหาย ไม่อาจลงโทษได้จนกว่าผู้เสียหายหรือรัฐบาลไทยร้องขอ
- & คนไทย ถูกคนต่างด้าวทำร้าย ที่นอกประเทศ แล้วคนไทยเข้ามาร้องทุกข์แจ้งความเท็จ ให้ดำเนินคดีกับคนต่างด้าวในประเทศ (เช่น ถูกทำร้าย แจ้งความว่าถูกปล้นทรัพย์ แม้เป็นแจ้งความเท็จ มาตรา 173 + 174 + 181 ก็เป็นการร้องขอให้ลงโทษผู้กระทำผิด ตามมาตรา 8 แล้ว)
มาตรา 9 เจ้าพนักงานของรัฐบาลไทยกระทำความผิดตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 147 ถึงมาตรา 166และมาตรา 200 ถึงมาตรา 205 นอกราชอาณาจักร จะต้องรับโทษในราชอาณาจักร
- เจ้าพนักงานของรัฐบาลไทย ไม่มีสัญชาติไทยก็ลงโทษได้ (อ เกียรติขจร /46)
- หากไม่ใช่เจ้าพนักงาน แต่ เป็นผู้สนับสนุน เจ้าพนักงาน ลงโทษในประเทศ ไม่ได้ เช่น เจ้าพนักงาน รับสินบน นอกประเทศ แม้ ร เป็น ผู้สนับสนุนเจ้าพนักงาน ลงโทษตาม มาตรา ไม่ได้ เพราะ มาตรา ไม่มี มาตรา 149 และ ร ไม่ใช่เจ้าพนักงาน แต่ลงโทษเจ้าพนักงานได้ ตาม มาตรา 9 (อ เกียรติขจร /47)
- มาตรา เรื่องเจ้าพนักงานกระทำความผิดนอกราชอาณาจักร ไม่ใช้กับกรณีเข้า มาตรา วรรค 2(การกระทำผิด ในเรือไทยหรืออากาศยาน) , มาตรา (การกระทำส่วนหนึ่ง ในราชอาณาจักร หรือ ผลการกระทำเกิดในราชอาณาจักรฯ การตระเตรียมหรือพยายามกระทำการ ซึ่งกฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิด อันจะเกิดผลในราชอาณาจักรและ มาตรา (กระทำของตัวการ ผู้ใช้ หรือผู้สนับสนุน ถึงขั้นกระทำการ หรือถือว่ากระทำในราชอาณาจักร ตามกฎหมายเพราะ กรณีเหล่านี้ กฎหมาย "ให้ถือว่ากระทำในราชอาณาจักร” สามารถลงโทษผู้กระทำผิด ได้ตาม มาตรา วรรคแรกโดยตรง
- ตัวอย่างประเด็นข้อสอบเก่า มาตรา 9
- & เจ้าพนักงานไทย ยักยอกทรัพย์ของเอกชน ที่ "นอกประเทศ" เป็นความผิดตาม มาตรา 147 และ 352 ต่อมาถูกตั้งกรรมการสอบสวนวินัย ที่ "นอกประเทศ" จึงจ่ายเงินสินบนแก่กรรมการสอบสวนวินัย "นอกประเทศ" ให้แจ้งทำรายงานการสอบสวนวินัยเป็นเท็จ เสนอหน่วยงานต้นสังกัด "ในประเทศ" กรรมการสอบสวนวินัยจึงทำรายงานเท็จ Ø ความผิดตามมาตรา 147 ลงโทษ "ในประเทศ" ได้ตามมาตรา 9 Ø ส่วนความผิดตามมาตรา 352 ลงโทษ "ในประเทศ" ได้ตามเงื่อนไข มาตรา 8 คือ เอกชนผู้เสียหายร้องขอให้ลงโทษ Ø ความผิดตามมาตรา 144 กระทำ "นอกประเทศ" ลงโทษ "ในประเทศ" ไม่ได้ ไม่เข้ามาตรา 8 เพราะไม่ใช่ข้อหาที่ระบุไว้ และไม่เข้ามาตรา 9 เพราะไม่ใช่ข้อหาที่ระบุไว้Ø ความผิดตามมาตรา 137 + 161 ข้อหาเป็นผู้ใช้ให้แจ้งข้อความเท็จ และเป็นผู้สนับสนุนให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จ ลงโทษเจ้าพนักงานไทย ผู้ให้สินบน "ในประเทศ" ได้ ตามมาตรา 6 เพราะมีการกระทำของกรรมการสอบสวนวินัย "ในประเทศ" หากกรรมการสอบสวนวินัย ไม่ยอมทำรายงานเท็จ ไม่เข้ามาตรา 6

มาตรา 10 ผู้ใดกระทำการ นอกราชอาณาจักร ซึ่งเป็นความผิดตามมาตราต่างๆ ที่ระบุไว้ในมาตรา 7 (2) และ (3) มาตรา และมาตรา ห้ามมิให้ลงโทษผู้นั้นในราชอาณาจักรเพราะการกระทำนั้นอีก ถ้า
(1) ได้มีคำพิพากษาของศาลในต่างประเทศอันถึงที่สุดให้ปล่อยตัวผู้นั้น หรือ
(2) ศาลในต่างประเทศพิพากษาให้ลงโทษ และผู้นั้นได้พ้นโทษแล้ว
ถ้าผู้ต้องคำพิพากษา ได้รับโทษสำหรับการกระทำนั้น ตามคำพิพากษาของศาลในต่างประเทศมาแล้ว แต่ยังไม่พ้นโทษ ศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้ หรือจะไม่ลงโทษเลยก็ได้ ทั้งนี้โดยคำนึงถึงโทษที่ผู้นั้นได้รับมาแล้ว
- หลักกฎหมาย Not twice for the same / Non bis in idem / double jeopardy
- ความผิดที่ระบุไว้ในมาตรา 10
- ความผิดที่ระบุไว้ในมาตรา 10 ไม่รวมถึง มาตรา 7 (1) (1/1) และ (2) ทวิ
- ตัวอย่างประเด็นข้อสอบเก่า มาตรา 10
- ข้อสอบความรู้ ชั้นเนติบัณฑิต สมัยที่ 00 ประจำปี พ.ศ. 0000 ข้อ 0
- ข้อสอบคัดเลือก ผู้พิพากษา พ.ศ.2511 ข้อ 9 การนัดหยุดงานในประเทศฝรั่งเศส แดงคนไทย ร่วมกับกรรมกรฝรั่งเศส ถอดเบรกรถยนต์โดยสาร ทำให้รถยนต์อยู่ในลักษณะที่จะเกิดอันตราย เป็นเหตุให้รถยนต์เหล่านั้นเกิดอุบัติเหตุ รถชน มีคนได้รับบาดเจ็บ ศาลฝรั่งเศสพิพากษาจำคุกนายแดง 6 เดือน นายแดงรับโทษได้ 3 เดือน ก็หนีกลับประเทศไทย รัฐบาลฝรั่งเศสร้องขอให้รัฐบาลไทยฟ้อง ศาลไทยจะให้นายแดงรับโทษ ในราชอาณาจักร เพราะเหตุการกระทำผิดนอกราชอาณาจักรอีก ได้หรือไม่ เพียงใด Ø ศาลไทยพิพากษาให้นายแดงรับโทษในราชอาณาจักรได้ ตาม มาตรา 8 ก เพราะเป็นความผิดตาม ป.อาญา มาตรา 232 (2และลงโทษได้ตาม มาตรา 10 วรรคท้าย เพราะนายแดงยังไม่พ้นโทษ แต่ศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ เพียงใดก็ได้ หรือจะไม่ลงโทษเลยก็ได้ โดยคำนึงถึงโทษที่นายแดงได้รับมาแล้ว
- ข้อสอบคัดเลือก พนักงานอัยการ พ.ศ.2526 ข้อ 6 จอนแอบเอาเอกสารเกี่ยวกับความมั่นคง ที่สถานทูตไทยในสหรัฐ ไป รับโทษครบแล้ว เข้ามาไทย ผิด มาตรา 123 ศาลลงโทษได้อีก มาตรา10 ไม่คลุมถึง มาตรา 7 (1) ด้วย (ถ้ายังไม่รับโทษ มาตรา 188 ลงโทษในไทยไม่ได้ ตาม มาตรา 4 - 8ส่วน มาตรา 334 ต้องอาศัย มาตรา 8)
- ข้อสอบคัดเลือก พนักงานอัยการ พ.ศ.2536 ข้อ 4 คนไทยตีเพื่อนบ้านฟันหัก ฟันที่เหลือเคี้ยวอาหารไม่ได้ เหตุเกิดที่สหรัฐ รับโทษบางส่วนแล้วหนีมาไทย สหรัฐขอให้ลงโทษ Ø ผิด มาตรา297 (3) รับโทษในประเทศได้ตาม มาตรา 8 (1) รับโทษแล้วบางส่วน ศาลลงโทษน้อยหรือไม่ลงเลยได้ มาตรา 10 วรรค ท้าย
- ข้อสอบคัดเลือก พนักงานอัยการ พ.ศ.2542 ข้อ 1 ปลอมเงินไทย ในจีน ปอ มาตรา 240 + มาตรา 7 (2)รับโทษแล้วยังไม่ครบ ศาลไทยลงได้ มาตรา 10 วรรค 2Ø ปลอมดอลล่าในไทย มาตรา 240 + 247รับโทษ มาตรา กึ่งหนึ่งของ มาตรา 240
มาตรา 11 ผู้ใดกระทำความผิด ในราชอาณาจักร” หรือกระทำความผิดที่ประมวลกฎหมายนี้ ถือว่าได้กระทำในราชอาณาจักร ถ้าผู้นั้นได้รับโทษสำหรับการกระทำนั้น ตามคำพิพากษาของศาลในต่างประเทศมาแล้วทั้งหมด หรือแต่บางส่วน ศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้ หรือจะไม่ลงโทษเลยก็ได้ ทั้งนี้โดยคำนึงถึงโทษที่ผู้นั้นได้รับมาแล้ว
ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดในราชอาณาจักร หรือกระทำความผิดที่ประมวลกฎหมายนี้ ถือว่าได้กระทำในราชอาณาจักร ได้ถูกฟ้องต่อศาลในต่างประเทศโดยรัฐบาลไทยร้องขอห้ามมิให้ลงโทษผู้นั้นในราชอาณาจักรเพราะการกระทำนั้นอีก ถ้า
(1) ได้มีคำพิพากษาของศาลในต่างประเทศอันถึงที่สุด ให้ปล่อยตัวผู้นั้น หรือ
(2) ศาลในต่างประเทศพิพากษาในลงโทษ และผู้นั้นได้พ้นโทษแล้ว

- มาตรา 12 - มาตรา 16
- หลักในการใช้บังคับวิธีการเพื่อความปลอดภัย
- ต้องมีกฎหมายกำหนดเงื่อนไขให้ใช้วิธีการเพื่อความปลอดภัยได้
- กฎหมายดังกล่าว ต้องเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับขณะที่ศาลพิพากษา
- ต่างกับกฎหมายที่ใช้ลงโทษ ซึ่งให้ใช้กฎหมายขณะกระทำผิด
- กฎหมายกำหนดเงื่อนไขให้ใช้วิธีการเพื่อความปลอดภัย จึงมีลักษณะบัญญัติให้ใช้บังคับกับการกระทำที่เกิดก่อนที่จะมีกฎหมายบัญญัติให้ใช้วิธีการเพื่อความปลอดภัยได้
มาตรา 12 วิธีการเพื่อความปลอดภัยจะใช้บังคับแก่บุคคลใดได้ ก็ต่อเมื่อมีบทบัญญัติแห่งกฎหมายให้ใช้บังคับได้เท่านั้น และกฎหมายที่จะใช้บังคับนั้นให้ใช้กฎหมายในขณะที่ศาลพิพากษา
มาตรา 13 ถ้าตามบทบัญญัติของกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง ได้มีการยกเลิกวิธีการเพื่อความปลอดภัยใด และถ้าผู้ใดถูกใช้บังคับวิธีการเพื่อความปลอดภัยนั้นอยู่ ก็ให้ศาลสั่งระงับการใช้บังคับวิธีการเพื่อความปลอดภัยนั้นเสีย เมื่อสำนวนความปรากฏแก่ศาล หรือเมื่อผู้นั้น ผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้นั้น ผู้อนุบาลของผู้นั้นหรือพนักงานอัยการร้องขอ
มาตรา 14 ในกรณีที่มีผู้ถูกใช้บังคับวิธีการเพื่อความปลอดภัยใดอยู่ และได้มีบทบัญญัติของกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง เปลี่ยนแปลงเงื่อนไขที่จะสั่งให้มีการใช้บังคับวิธีการเพื่อความปลอดภัยนั้นไป ซึ่งเป็นผลอันไม่อาจนำมาใช้บังคับแก่กรณีของผู้นั้นได้ หรือนำมาใช้บังคับได้แต่การใช้ แต่การใช้บังคับวิธีการเพื่อความปลอดภัยตามบทบัญญัติของกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง เป็นคุณแก่ผู้นั้นยิ่งกว่า เมื่อสำนวนความปรากฏแก่ศาล หรือเมื่อผู้นั้น ผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้นั้น ผู้อนุบาลของผู้นั้น หรือพนักงานอัยการร้องขอต่อศาล ให้ยกเลิกการใช้บังคับวิธีการเพื่อความปลอดภัย หรือร้องขอรับผลตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายนั้น แล้วแต่กรณี ให้ศาลมีอำนาจสั่งตามที่เห็นสมควร
มาตรา 15 ถ้าตามบทบัญญัติของกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง โทษใดได้เปลี่ยนลักษณะมาเป็นวิธีการเพื่อความปลอดภัย และได้มีคำพิพากษาลงโทษนั้นแก่บุคคลไว้ ก็ให้ถือว่าโทษที่ลงนั้นเป็นวิธีการเพื่อความปลอดภัยด้วย
ในกรณีดังกล่าวในวรรคแรก ถ้ายังไม่ได้ลงโทษผู้นั้น หรือผู้นั้นยังรับโทษอยู่ ก็ให้ใช้บังคับวิธีการเพื่อความปลอดภัยแก่ผู้นั้นต่อไป และถ้าหากว่าตามบทบัญญัติของกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง มีเงื่อนไขที่จะสั่งให้มีการใช้บังคับวิธีการเพื่อความปลอดภัยอันไม่อาจนำมาใช้บังคับแก่กรณีของผู้นั้น หรือนำมาใช้บังคับได้แต่การใช้บังคับวิธีการเพื่อความปลอดภัย ตามบทบัญญัติของกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง เป็นคุณแก่ผู้นั้นยิ่งกว่า เมื่อสำนวนความปรากฏแก่ศาล หรือเมื่อผู้นั้น ผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้นั้น ผู้อนุบาลของผู้นั้น หรือพนักงานอัยการร้องขอต่อศาล ให้ยกเลิกการใช้บังคับวิธีการเพื่อความปลอดภัย หรือร้องขอรับผลตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายนั้นแล้วแต่กรณี ให้ศาลมีอำนาจสั่งตามที่เห็นสมควร
มาตรา 16 เมื่อศาลได้พิพากษาให้ใช้บังคับวิธีการเพื่อความปลอดภัยแก่ผู้ใดแล้ว ถ้าภายหลังความปรากฏแก่ศาลตามคำเสนอของผู้ร้องนั้นเอง ผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้นั้น ผู้อนุบาลของผู้นั้นหรือพนักงานอัยการว่า พฤติการณ์เกี่ยวกับการใช้บังคับนั้นได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ศาลจะสั่งเพิกถอนหรืองดการใช้บังคับวิธีการเพื่อความปลอดภัยแก่ผู้นั้นไว้ชั่วคราว ตามที่เห็นสมควรก็ได้

มาตรา 17 บทบัญญัติในภาค แห่งประมวลกฎหมายนี้ ให้ใช้ในกรณีแห่งความผิดตามกฎหมายอื่นด้วย เว้นแต่กฎหมายนั้น ๆ จะได้บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น
- มาตรา 17 การใช้ประมวลกฎหมายอาญา กับกฎหมายอื่น เกี่ยวกับการริบทรัพย์
- คำพิพากษาฎีกาที่ 485/2493 ฟ้องคดีอาญานั้น กฎหมายบังคับให้อ้างมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่า การกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดเท่านั้น หาได้บัญญัติให้อ้างบทมาตราที่บัญญัติให้ริบของกลางด้วยไม่ ฉะนั้นแม้จะไม่ได้อ้างมา ศาลก็มีอำนาจริบได้ในเมื่อโจทก์มีคำขอไว้แล้ว þ...มาตราชั่วตวงวัด ได้มีบทบัญญัติในเรื่องการริบและการยึดไว้แล้ว ดังจะเห็นได้ตามมาตรา24 และ 38 ย่อมเห็นเจตนารมย์ของ พ...นี้ได้ว่า ไม่ประสงค์ที่จะให้นำมาตรา 27, 28 แห่งก..ลักษณะอาญามาใช้บังคับแก่กระทำผิดใด ๆ ตาม พ...นี้อีก ในเมื่อการกระทำนั้น ๆ ไม่เป็นผิดตาม ก..ลักษณะอาญาด้วย
- คำพิพากษาฎีกาที่ 176/2506 การสั่งริบไม้ของกลางในความผิดต่อ พ.ร.บ. ป่าไม้ฯ ต้องเป็นไปตาม พ.ร.บ. ป่าไม้ ฯ ซึ่งบัญญัติไว้เป็นพิเศษต่างหากจากประมวลกฎหมายอาญา / ขนไม้ท่อนอันเป็นไม้หวงห้าม ไม่มีรอยตราที่กฎหมายระบุไว้บรรทุกรถยนต์มาจากป่า อันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. ป่าไม้ฯ มาตรา 69 รถยนต์ที่ใช้ขนไม้ ย่อมเป็นยานพาหนะ ซึ่งได้ใช้เป็นอุปกรณ์ให้ได้รับผลในการกระทำความผิดต้องริบตาม มาตรา 74 ทวิ.
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1810/2517 þ พ.ร.บ.ป่าไม้ มิได้มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการขอคืนของกลางที่ศาลสั่งริบ จึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายอาญา บุคคลภายนอกคดีย่อมใช้สิทธิตาม มาตรา 36 ขอให้ศาลสั่งคืนของกลางที่ถูกริบตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ได้
- คำพิพากษาฎีกาที่ 3118/2528 þ แม้ตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ จะมีบทบัญญัติเกี่ยวแก่การริบทรัพย์ไว้เป็นพิเศษแล้ว ศาลก็นำ ป.อ. ม.33 มาใช้บังคับในการที่จะริบทรัพย์ที่จำเลยใช้ในการกระทำความผิดได้ ตาม ป.อ. ม.17 ซึ่งตาม ม.33 เป็นเรื่องอยู่ในดุลพินิจของศาล เมื่อบรรทุกเกินปริมาณที่กฎหมายอนุญาตเพียงเล็กน้อย จึงไม่ควรริบรถยนต์ของกลาง / รถยนต์ของกลางที่จำเลยใช้บรรทุกไม้ฟืน ซึ่งเป็นของป่าหวงห้ามเกินประมาณที่กฎหมายอนุญาตให้มีไว้ในครอบครอง อันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ ม.29 ทวิ ศาลจะสั่งให้ริบตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ ม.74 ทวิ ไม่ได้ เพราะ ม.74 ทวิ ไม่มีบทบัญญัติให้ริบทรัพย์ซึ่งบุคคลได้ใช้ในการกระทำความผิดตาม ม.29 ทวิ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

slide