อาญา มาตรา ๖๑ - ๖๒
มาตรา 61 ผู้ใดเจตนาจะกระทำต่อบุคคลหนึ่ง แต่ได้กระทำต่ออีกบุคคลหนึ่ง “โดยสำคัญผิด” ผู้นั้นจะยกเอาความสำคัญผิดเป็นข้อแก้ตัวว่ามิได้กระทำโดยเจตนาหาได้ไม่
(1) “เจตนาจะกระทำต่อบุคคลหนึ่ง” (สังเกตตัวบทใช้คำว่า “ผู้ใดมีเจตนากระทำ”)
- เจตนาแรก เป็นเจตนาประสงค์ต่อผล หรือย่อมเล็งเห็นผลก็ได้
- ไม่ใช้กรณีที่กฎหมายบัญญัติให้ต้องรับผิดเมื่อได้กระทำโดยประมาท
(2) ได้กระทำต่ออีกบุคคลหนึ่ง “โดยสำคัญผิด” / มาตรา 61 มีผู้เกี่ยวข้องในการกระทำอยู่ 3 ฝ่าย (1) บุคคลผู้กระทำผิด (2) บุคคลที่ผู้กระทำผิด เจตนาจะทำกระทำ และ (3) บุคคลที่รับผลร้ายจากการกระทำ โดยสำคัญผิด
- บุคคลที่รับผลร้ายจากการกระทำ จะต้องได้รับผลร้ายนั้นแล้ว (จะถึงขั้นเป็นความผิดสำเร็จ หรือพยายามก็ได้)
- ใช้กับ “วัตถุที่มุ่งหมายกระทำต่อ” อันเป็นประเภทเดียวกันเท่านั้น (ชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียง หรือทรัพย์สิน)
- กรณีวัตถุที่มุ่งหมายกระทำต่อนั้น ต่างประเภทกับวัตถุที่ถูกกระทำ ต้องพิจารณาเรื่องการไม่รู้ข้อเท็จจริง อันเป็นองค์ประกอบความผิด ตามมาตรา 59 วรรคสาม , ความสำคัญผิดในข้อเท็จจริง ตามมาตรา 62 วรรคแรก และหลักเกณฑ์ตามมาตรา 62 วรรคสอง คือ กรณีเหตุตามมาตรา 59 วรรคสาม หรือมาตรา 62 วรรคแรก เกิดขึ้นโดยประมาท ผู้กระทำต้องรับผิด กรณีที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะว่า การกระทำนั้นผู้กระทำจะต้องรับโทษ แม้กระทำโดยประมาท
(3) ผู้นั้นจะยกเอาความสำคัญผิดเป็นข้อแก้ตัวว่ามิได้กระทำโดยเจตนาหาได้ไม่
- เจตนาประสงค์ต่อผลโดยตรง รับผิดตามเจตนาที่มีอยู่เดิม แม้สำคัญผิดในตัวบุคคล
- เจตนาแรก (ฆ่า , ทำร้ายร่างกาย , ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์) โอนไปยังผู้ถูกกระทำโดยสำคัญผิด หรือผู้ที่รับผลร้าย
- เจตนาแรก ประกอบด้วยเจตนาพิเศษ (ป้องกัน , จำเป็น , บันดาลโทสะ , ฆ่าโดยไตร่ตรอง ฯลฯ) โอนไปยังผู้ถูกกระทำโดยสำคัญผิด หรือผู้ที่รับผลร้าย
- ผู้กระทำรู้องค์ประกอบภายนอกเท่าไร รับผิดเท่านั้น
- หากไม่รู้ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบความผิด ถือว่าไม่มีเจตนาตามมาตรา 59 วรรคสาม ผู้กระทำไม่ต้องรับผิด
- หากไม่รู้ข้อเท็จจริง อันทำให้ต้องรับโทษหนักขึ้น ผู้กระทำไม่ต้องรับโทษหนักขึ้น ตามมาตรา 62 วรรคท้าย)
- ผู้กระทำรับผิดไม่เกินข้อเท็จจริง อันเป็นองค์ประกอบความผิดนั้น
- ผู้กระทำไม่ต้องรับผิดต่อ “บุคคลที่ผู้กระทำผิด เจตนาจะทำกระทำ” อีก (ไม่ต้องปรับบทเรื่องการพยายามกระทำผิด โดยไม่อาจบรรลุผลได้อย่างแน่แท้ ตามมาตรา 81) ผู้กระทำต้องรับผิดต่อผู้รับผลร้ายฝ่ายเดียว
- มาตรา 61 แม้การกระทำนั้น มีเจตนาโดยสำคัญผิด ซึ่งเกิดขึ้นโดยประมาท มาตรา 59 วรรคสี่ ไม่ต้องปรับประมาทอีก เพราะต้องรับผิดในส่วนของ “เจตนา” ตาม มาตรา 59 วรรค 2 ต่อผู้รับผลร้ายอยู่แล้ว
- ถือว่าประสงค์ต่อผลแล้ว แม้ผิดตัว
- (ดูอ้างอิง ขส อ 2533 (1) (อ เกียรติขจรฯ 8/177) ให้ยกตัวอย่างกรณีของ ม 61 ในความผิดฐานฆ่าผู้อื่น 1 ตัวอย่าง (2) หากไม่มีมาตรา 61 ผลการวินิจฉัยตัวอย่างที่ยกมานั้น จะเปลี่ยนไปหรือไม่ อย่างไร)
- ดำ ประสงค์จะฆ่าขาว เมื่อแดงเดินมา ดำยิงแดง โดยเข้าใจว่ายิงขาว ดำผิด มาตรา 288 + 59 ว 2 + 61 / แม้ไม่มีมาตรา 61 การเข้าใจผิดของดำ ก็ยังครบองค์ประกอบภายในตาม มาตรา 288 คือ รู้ว่า “การยิง เป็นการฆ่า” + “รู้ว่าแดง เป็นผู้อื่น” และเมื่อเข้าองค์ประกอบภายนอก คือ มีการฆ่า และฆ่าผู้อื่น ครบโครงสร้างความรับผิด จึงต้องรับผิดตามกฎหมายเหมือนเดิม
- อย่าตอบว่าเจตนาต่อผู้เสียหายโดยตรง เพราะเป็นเรื่องกฎหมายปิดปากเท่านั้น (อก/130)
- การกระทำโดยสำคัญผิดต่อบุคคลตาม ม 61 นี้ ผู้กระทำไม่ต้องรับผิดต่อ “บุคคลที่ตนตั้งใจ จะกระทำจริง” อีก (ต่างกับ การกระทำโดยพลาด ตาม ม 60 ซึ่งต้องรับผิดต่อบุคคลที่มุ่งหมายจะกระทำต่อ และรับผิดต่อบุคคลที่รับผลร้ายจากการกระทำโดยพลาดนั้นด้วย)
- การกระทำโดยสำคัญผิด ตาม ม 61 ต้องเกิดผลแก่บุคคลที่สาม
- เมื่อเจตนาโอนแล้ว ไม่ต้องรับผิด ม 80-81 ต่อความประสงค์เดิม เว้นแต่ ม 61 แล้วมีการกระทำ“โดยพลาด” ตาม ม 60 ด้วย (ม 60 รับผิดต่อเจตนาแรกด้วย) (อก/130)
- ม 61 ใช้กับ “วัตถุที่มุ่งหมายกระทำต่อ” อันเป็นประเภทเดียวกันเท่านั้น (ชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียง หรือทรัพย์สิน)
- จะยิง ก.แต่เข้าใจผิด ยิงตอไม้แล้วไปถูก ข. (รับผิด ต่อ ก.ม.288+59+81 รับผิดต่อ ข.288 + 59 + 60 ไม่ใช่ 61) (อก/130)
- จะยิงสัตว์ของ ก.ยิงไปที่พุ่มไม้กลายเป็น ข.แล้ว ข.ตาย (รับผิดต่อ ก.ปรับ ม 358+81 ส่วนรับผิดต่อ ข.ด้านเจตนานั้น ปรับ ม 59 ว 3 ไม่ต้องรับผิด ด้านประมาทนั้นขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริง) (อก/130)
- มาตรา 365 (3) บุกรุกที่ดินของดำ เข้าใจว่าบุกรุกที่ดินของขาว (อก/131)
- การกระทำโดยสำคัญผิด ตาม ม 61 “แต่วัตถุที่กระทำ ไม่ตรงกับความเข้าใจ” ต้องรับผิด ม 81 ต่อความประสงค์แรก
- จะยิงสุนัขของดำ แต่ยิงนายแดงในพุ่มไม้
- รับผิดต่อดำ ตามมาตรา 358+81
- รับผิดต่อแดง ตามมาตรา 291+59 ว 4+62 ว 2 ขึ้นอยู่กับ ประมาท ตามมาตรา 59 ว 4 หรือไม่ ถือว่าไม่เจตนาต่อแดง (อก/132)
- ตั้งใจจะยิง “สุนัขของดำ” แต่ยิง “นายแดง” ซึ่งในพุ่มไม้ โดยไม่ดูให้ดีเสียก่อน (ประมาท) สุนัขของดำมีอยู่จริง แต่ไม่อยู่บริเวณนั้น
- มีเจตนาทำให้เสียทรัพย์ ตาม ม 59 ว 3 และองค์ประกอบภายนอกครบ ม 358 (สุนัขของดำมีอยู่จริง) แต่การกระทำไม่บรรลุผลแน่แท้ เพราะสุนัขของดำไม่อยู่บริเวณนั้น ในขณะนั้น ปรับ ม 81
- เจตนาฆ่า นั้นไม่มี เพราะไม่รู้ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบความผิด ตาม มาตรา 59 วรรค 2 , 3 ไม่ผิด มาตรา 288
- แต่การไม่รู้ข้อเท็จจริงนั้น เกิดขึ้นด้วยความประมาท ตามมาตรา 59 ว 4 ซึ่ง ตามมาตรา 62 วรรค 2 ให้ต้องรับผิดเมื่อมีกฎหมายบัญญัติให้ผู้กระทำต้องรับโทษ แม้ได้กระทำโดยประมาท ซึ่งกรณีความผิดต่อชีวิต ที่กฎหมายให้รับผิดแม้กระทำโดยประมาท ได้แก่ ม 291 / ความสำคัญผิดเกิดโดยประมาท + ความตาย จึงต้องรับผิดตามมาตรา 291
- ตั้งใจจะยิง “นายดำ” แต่ยิง “สุนัขของแดง” ซึ่งในพุ่มไม้ โดยไม่ดูให้ดีเสียก่อน (ประมาท)
- มีเจตนาฆ่า ตามมาตรา 59 ว 3 และองค์ประกอบภายนอกครบ ตามมาตรา 288 (นายดำมีชีวิตอยู่) แต่การกระทำไม่บรรลุผลแน่แท้ เพราะนายดำไม่อยู่บริเวณนั้น ในขณะนั้น ปรับบทผิดพยายามโดยไม่บรรลุผลได้อย่างแน่แท้ ตามมาตรา 81
- เจตนาทำให้เสียทรัพย์ นั้นไม่มี เพราะไม่รู้ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบความผิด ตามมาตรา 59 ว 2 , 3 ไม่ผิด ตามมาตรา 358
- แต่การไม่รู้ข้อเท็จจริงนั้น เกิดขึ้นด้วยความประมาท ตามมาตรา 59 ว 4 ซึ่งตามมาตรา 62 ว 1 ให้ต้องรับผิดเมื่อมีกฎหมายบัญญัติให้รับผิด แม้ได้กระทำโดยประมาท ซึ่งกรณีความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์นั้น ไม่มีกฎหมายให้รับผิด เมื่อกระทำโดยประมาท จึงไม่ต้องรับผิด ตามมาตรา 59 ว 1
- กรณีไม่เกิดผลสำเร็จ ต่อผู้ที่รับผลร้าย ผู้กระทำรับผิดฐานพยายามกระทำความผิด ตาม มาตรา 80
- ตั้งใจจะยิงดำ แต่ยิงขาวไม่ถูก หรือไม่ตาย โดยสำคัญผิดในตัวบุคคล (อก/131)
- การกระทำโดยสำคัญผิด ตาม ม 61 อาจเกี่ยวกับ ม 62 ว 1
- จะลักทรัพย์ของภรรยา แต่ลักทรัพย์ของคนอื่น ปรับบท เข้ามาตรา 61 + 62 ว 1 + 334 ไม่ต้องรับโทษตาม ตามมาตรา 71
- เจตนาประสงค์ต่อผลโดยตรง รับผิดตามเจตนาที่มีอยู่เดิม แม้สำคัญผิดในตัวบุคคล (รู้องค์ประกอบภายนอกเท่าไร รับผิดเท่านั้น)
- จะฆ่าเจ้าพนักงาน ม 289 (4) ต่อนายดำตำรวจ แต่ทำกับนายขาวซึ่งเป็นตำรวจ (อก/133)
- คำพิพากษาฎีกาที่ 90/2531 จำเลยให้พวกมาร้องเรียก พ. ให้ออกมาจากบ้าน โดยจำเลยแอบซุ่มยิงอยู่ แม้บังเอิญผู้ตายลุกขึ้นมาเปิดประตูบ้านลงบันได เพื่อจะไปถ่ายปัสสาวะข้างล่าง แล้วถูกจำเลยใช้อาวุธปืนยิงโดยสำคัญผิดว่าเป็น พ.ก็ตาม การกระทำของจำเลยก็เป็นการฆ่าผู้ตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อน
- เจตนาประสงค์ต่อผลโดยตรง รับผิดตามเจตนาที่มีอยู่เดิม แต่รับผิดไม่เกินจริง
- จะฆ่าเจ้าพนักงาน ม 289 (2) แต่ฆ่าคนธรรมดา รับผิด ม 288
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1906/2528 จำเลยโกรธแค้นพวกที่รุมทำร้ายจำเลย ตั้งใจจะไปฆ่าเพื่อเป็นการล้างแค้น เมื่อพบผู้ตาย จำเลยเข้าใจว่าผู้ตายเป็นพวกที่รุมทำร้ายตน จึงใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายทันที ดังนี้ เป็นการฆ่าผู้ตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อน
- แม้จะการกระทำโดยสำคัญผิด ตาม ม 61 เกิดขึ้นโดยประมาท ม 59 ว 4 ไม่ต้องปรับประมาทอีกเพราะต้องรับผิดในส่วนของ “เจตนา” ตาม ม 59 ว 2 ต่อผู้รับผลร้ายอยู่แล้ว
- แต่หากเป็น การสำคัญผิดในข้อเท็จจริง ตามมาตรา 62 ว 1 โดยประมาทตามมาตรา 59 ว 4ต้องปรับ ตามมาตรา 62 ว 2 ด้วย (อก/134)
- เจตนาแรกต้องถึงขั้นลงมือทำผิด
- ตัวบทใช้คำว่า “ผู้ใดมีเจตนากระทำ” ดังนั้น หากดักรอเพื่อฆ่านายดำ ขณะนั่งเช็ดปืนอยู่ นายแดงผู้ตายเดินมา บังเอิญกระสุนลั่นไปถูกนายแดงตาย / การนั่งขัดปืน แล้วกระสุนลั่นไป ไม่ใช่กระทำโดยเจตนา ไม่ต้องรับผิดตามมาตรา 289 (4) เพราะยังไม่มีการกระทำโดยเจตนา และเมื่อยังไม่มีเจตนากระทำ จึงไม่ปรับ มาตรา 61 / แต่หากปืนลั่น เพราะประมาท ก็รับผิดตามมาตรา 291 + 59 ว 4 ซึ่งกรณีประมาท ไม่ใช้มาตรา 61 มาปรับความรับผิดเช่นกัน
- ตัวอย่างประเด็นข้อสอบเก่า มาตรา 61
- (ขส อ 2520/ 6) กลมจ้างเบี้ยวไปฆ่าเหลี่ยม บิดาของกลม / เบี้ยวไม่รู้ไปถามเหลี่ยม เหลี่ยมชี้แบน จึงยิงแบนตาย / กลมผิด ม 289 (4) + 84 (สังเกต ม 289 (1)) / เบี้ยว ผิด ม 289 (4) + 61 /เหลี่ยม ไม่ผิดสนับสนุน เพราะไม่มีเจตนาให้ความสะดวกหรือช่วยเหลือ และไม่ผิดผู้ใช้ เพราะไม่ได้ก่อให้เบี้ยวตัดสินใจ
- กรณีของเหลี่ยม การชี้ไปที่ผู้อื่น ไม่ได้มีเจตนาร่วมกับมือปืน จึงไม่ต้องรับผิดในการกระทำของมือปืน แม้เล็งเห็นผลได้ว่า มือปืนจะยิงผู้อื่นนั้น แต่ผู้ชี้ไม่มีการกระทำ อันเป็นการฆ่า และไม่ต้องรับผิดในการกระทำของมือปืน เพราะไม่มีเจตนาร่วมกับมือปืน ไม่ผ่านโครงสร้างเรื่องการกระทำ และเจตนา ผู้ชี้ไม่ต้องรับผิด จึงไม่ต้องอ้างจำเป็น หรือป้องกัน
- ต่างกับกรณีที่เป็นผู้สนับสนุน ชี้ให้มือปืนรู้ว่า คนที่ต้องการจะฆ่าเป็นผู้ใด
- (ขส อ 2523/ 5) ใหญ่ไปแอบซุ่มยิง แต่ยิงผิดคนโดยสำคัญผิด ถูกนายโต เป็นรอยไหม้ แล้วเลยไปถูกบิดานายใหญ่ สาหัส / ต่อโต ผิด ม 289 (4) + 80 + 61 ฎ 70/2493 / ต่อบิดา ผิด ม 289 (4) + 60 + 61 ไม่รับผิด ม 289 (1) / เป็นกรรมเดียว จะโทษพยายามฆ่าโต หรือบิดาก็ได้ โทษเท่ากัน ฎ 241-2/2504
- (ขส อ 2529/ 5) ดักยิงขโมย แต่ยิงเงาต้นไม้ โดยสำคัญผิด พลาดไปถูกม้าแดงตาย และแดงตกม้าสาหัส / ซุ่มยิง ผิด ม 289 (4) + 81 ไม่เป็นป้องกัน ม 68 / ถูกม้าแดงตาย ไม่มีเจตนา ม 358 ไม่ผิด (และไม่ใช่พลาด ม 60 ต่างเจตนา) / แดงสาหัส ผิด ม 300
มาตรา 62 ข้อเท็จจริงใดถ้ามีอยู่จริง จะทำให้การกระทำไม่เป็นความผิด หรือทำให้ผู้กระทำไม่ต้องรับโทษ หรือได้รับโทษน้อยลง แม้ข้อเท็จจริงนั้นจะไม่มีอยู่จริง แต่ผู้กระทำ “สำคัญผิด” ว่ามีอยู่จริง ผู้กระทำย่อมไม่มีความผิด หรือได้รับยกเว้นโทษ หรือได้รับโทษน้อยลง แล้วแต่กรณี
ถ้าความไม่รู้ข้อเท็จจริงตามความในวรรคสามแห่ง มาตรา 59 หรือความสำคัญผิดว่ามีอยู่จริงตามความในวรรคแรก ได้ “เกิดขึ้นด้วยความประมาท” ของผู้กระทำความผิด ให้ผู้กระทำรับผิดฐานกระทำโดยประมาท ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะว่า การกระทำนั้นผู้กระทำจะต้องรับโทษ แม้กระทำโดยประมาท
บุคคลจะต้องรับ “โทษหนักขึ้น โดยอาศัยข้อเท็จจริงใด” บุคคลนั้นจะต้องได้รู้ข้อเท็จจริงนั้น
- มาตรา 62 วรรค 1 ต้องมีเจตนา (ประสงค์ต่อผล , ย่อมเล็งเห็นผล หรือเจตนาโดยพลาด) ก่อน หากขาดเจตนา ตามมาตรา 59 วรรค 3 ปรับ มาตรา 59 วรรค 3 ไม่ใช่ มาตรา 63 วรรค 1
- เงื่อนไข ให้ดูองค์ประกอบภายนอกก่อน หากขาดองค์ประกอบภายนอก ปรับไม่ผิด (ข้อสอบคัดเลือกผู้ช่วยผู้พิพากษา) หรือ ปรับ ม 81 พยายามไม่อาจบรรลุผล (ข้อสอบคัดเลือกอัยการผู้ช่วย)หากไม่รู้ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบความผิด พิจารณา “ประมาท” ต่อตามมาตรา 59 วรรค 3+มาตรา 62 วรรค 2(อก/151)
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1660/2511 มีผู้นำช้างไปล่ามไว้ใกล้กับสวนของจำเลยโดยจำเลยไม่รู้ กลางคืนช้างหลุดพังรั้วเข้าไปในสวนของจำเลย จำเลยพบช้างอยู่กลางไร่ข้าวโพดห่างประมาณ 4 วา และช้างเดินเข้าหาจำเลย จำเลยเข้าใจว่าเป็นช้างป่าจึงยิงไป 2 นัด เป็นการกระทำโดยจำเป็น จำเลยไม่ต้องรับโทษฐานทำให้เสียทรัพย์ (ความสำคัญผิดของจำเลย ถึงขั้นขาดองค์ประกอบภายนอก ตามมาตรา 59 ว 3 เนื่องจากจำเลยไม่รู้ว่าเป็นทรัพย์มีเจ้าของ จำเลยจึงไม่มีเจตนาทำให้เสียทรัพย์ “ผู้อื่น” จำเลยไม่ต้องรับผิด ตามโครงสร้างความรับผิด และแม้ความเข้าใจผิด เกิดจากความประมาท ก็ไม่มีความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์โดยประมาท จึงไม่ต้องรับผิด)
- คำพิพากษาฎีกาที่ 89/2519 จำเลยเข้าใจว่าเสารั้วของโจทก์ที่ขุดหลุมปักไว้อยู่ในที่ดินของจำเลย จำเลยจึงถอนออก โดยเจตนาใช้สิทธิตาม ป.พ.พ. มาตรา1336, 1337 ไม่เป็นความผิดตามมาตรา 358 (อ จิตติ เห็นว่าครบองค์ประกอบภายนอก แต่สำคัญผิดในสิทธิตามกฎหมายแพ่งว่า“ตนมีสิทธิถอนเสาออกไปได้” ตามมาตรา 62 ทำให้ไม่เป็นความผิด/ หากเข้าใจว่า “เป็นเสาของตน” ความสำคัญผิดนั้น ถึงขั้นไม่รู้ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบภายนอก ถือว่าไม่มีเจตนา ตามมาตรา 59 ว 3)
- สำคัญผิดในข้อเท็จจริง ที่หากมีอยู่จริง จะทำให้การกระทำไม่เป็นความผิด หรือสำคัญผิดให้ต้องป้องกัน
- คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1954/2546 ผู้เสียหายที่ 1 สวมกางเกงขายาวสีกากี สวมเสื้อยืดคอกลมสีขาวเข้าไปขอตรวจค้นตัวจำเลยโดยแจ้งว่าเป็นเจ้าพนักงานตำรวจ แต่ไม่ได้แต่งเครื่องแบบตำรวจหรือแสดงหลักฐานให้เห็นว่าตนเป็นเจ้าพนักงานตำรวจผู้ทำการตามหน้าที่ กรณีอาจทำให้จำเลยเข้าใจผิดไปได้ แม้จำเลยจะต่อสู้ชกต่อยหรือใช้มีดแทงผู้เสียหายที่ 1 เพื่อขัดขวางไม่ให้ผู้เสียหายที่ 1 ตรวจค้นและจับกุม จำเลยก็หามีความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่และพยายามฆ่าเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ไม่ แม้ในชั้นสอบสวนจำเลยจะให้การรับสารภาพฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่ แต่บันทึกคำให้การชั้นสอบสวนเป็นเพียงพยานบอกเล่า โดยลำพังไม่มีน้ำหนักเพียงพอให้รับฟังเพื่อลงโทษจำเลยได้
- คำพิพากษาฎีกาที่ 3869/2546 ในช่วงเวลาเกิดเหตุในละแวกบ้านจำเลยมีโจรผู้ร้ายชุกชุม และก่อนเกิดเหตุจำเลยเคยถูกคนร้ายเข้ามาลักทรัพย์ในบ้าน คืนเกิดเหตุผู้ตายได้ปีนเข้าบ้านจำเลยทางช่องลมโดยปราศจากเหตุสมควร ย่อมทำให้จำเลยสำคัญผิดว่าผู้ตายเป็นคนร้ายและในขณะนั้นจำเลยย่อมไม่อาจรู้ได้ว่าผู้ตายจะมีอาวุธหรือไม่ เพราะในห้องที่เกิดเหตุมืดและเป็นเวลากะทันหัน ถ้าเป็นคนร้ายซึ่งจะมาทำร้ายจำเลยจริงแล้ว การที่จะให้จำเลยรออยู่จนกว่าคนร้ายจะแสดงกิริยาทำร้ายแล้ว จำเลยก็อาจได้รับอันตรายก่อนที่จะทำการป้องกันได้ทันท่วงที และจำเลยก็ยิงผู้ตายไปเพียง 1 นัด เมื่อผู้ตายล้มลงจำเลยก็มิได้ซ้ำแต่อย่างใด การกระทำของจำเลยจึงพอสมควรแก่เหตุ เป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย โดยสำคัญผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 68 ประกอบด้วยมาตรา 62 วรรคแรก
- กรณีไม่รู้ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 59 วรรค 3 และการสำคัญผิดในข้อเท็จจริงตาม มาตรา 62 วรรค 1 ให้พิจารณาและตอบถึงเรื่องประมาทต่อไป ตามมาตรา 62 วรรค 2
- คำพิพากษาฎีกาที่ 2483/2528 จำเลยใช้อาวุธปืนขู่ผู้ตาย มิให้เอาถ่านมาป้ายหน้าจำเลย โดยจำเลยไม่รู้ว่าอาวุธปืนนั้นมีกระสุนปืนบรรจุอยู่ ฟังไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้ตาย จำเลยไม่มีความผิดฐานฆ่าผู้อื่นตามที่โจทก์ฟ้อง แต่การที่จำเลยใช้อาวุธปืนซึ่งเป็นอาวุธร้ายแรงออกมาขู่ผู้ตาย โดยจำเลยไม่ดูเสียให้ดีก่อนว่ามีกระสุนบรรจุอยู่หรือไม่ เป็นเหตุให้กระสุนปืนลั่นไปถูกผู้ตายถึงแก่ความตาย ดังนี้จำเลยมีความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย (จำเลยไม่รู้ว่าปืนมีกระสุนบรรจุ ถือว่าไม่มีเจตนาฆ่าตามมาตรา 59 วรรคสาม แต่เป็นการกระทำโดยประมาท “ประมาท” + ความตาย ตามมาตรา 62 ว 2 + มาตรา 59 ว 4 + มาตรา 291)
- การป้องกันตาม ม 68 โดยสำคัญผิดตาม มาตรา 61 อาจรับผิดฐานประมาท ตาม มาตรา 62 ว 2(อก/139)
- การกระทำเพื่อป้องกัน โดยเกิดจากสำคัญผิด
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1094/2501 ยิงคนตายในที่มืด โดยเล็งไปทางที่คนเห็น เพราะเข้าใจว่าเป็นคนร้ายมาแย่งชิงทรัพย์ ไม่พิจารณาให้รอบคอบ เป็นความผิดฐานฆ่าคนโดยเจตนา โดยป้องกันทรัพย์เกินกว่าเหตุ
- คำพิพากษาฎีกาที่ 872/2510 (อพ 63) จำเลยใช้ปืนยิงเด็ก ซึ่งส่องไฟหากที่ริมรั้วบ้านจำเลยถึงแก่ความตาย โดยจำเลยสำคัญผิดว่าเป็นคนร้ายจะมาฆ่าพี่จำเลย เป็นการป้องกันเกินกว่ากรณีแห่งการจำต้องกระทำเพื่อป้องกัน มีความผิดตาม มาตรา 288,69 (สำคัญผิดว่ามีอันตรายต้องป้องกัน เข้ามาตรา 62 ส่วน มาตรา 61 เป็นเรื่องสำคัญผิดตัว)
- ส่วนของเจตนา เกิดจากการสำคัญผิด
- ยิงโดยคิดว่าเป็นคนร้าย + มีพฤติการณ์เกินกว่ากรณีแห่งการจำต้องกระทำเพื่อป้องกัน ผิด ตามมาตรา 288 + 69 + 62
- ตามมาตรา 62 ให้ต้องรับผิดหากมีกฎหมายบัญญัติให้รับผิดเมื่อได้กระทำโดยประมาท จึงวินิจฉัยด้านประมาทต่อไป
- ส่วนของประมาท
- ความสำคัญผิดเกิดขึ้นโดยประมาท ตามมาตรา 62 + ความตาย ผิด ตามมาตรา 291 กรรมเดียว ตามมาตรา 90 ลงโทษตามส่วนเจตนา ซึ่งเป็นบทหนัก
- คำพิพากษาฎีกาที่ 155/2512 เจ้าหน้าที่ตำรวจมีหมายค้นและหมายจับไปจับกุมจำเลยที่บ้านในเวลาวิกาล โดยได้ปีนบ้านและรื้อฝาบ้านจำเลยเข้าไปจำเลยสำคัญผิดคิดว่าโจรเข้าปล้น เพราะจำเลยเคยถูกปล้นโดยคนร้ายปลอมเป็นตำรวจมาแล้ว จึงใช้ปืนยิงตำรวจบาดเจ็บ พฤติการณ์ของจำเลย จึงมีลักษณะเป็นการป้องกันสิทธิของตนและของผู้อื่น และป้องกันทรัพย์ของจำเลยให้พ้นจากภยันตรายอันเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมาย และเป็นการป้องกันพอสมควรแก่เหตุ เป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ไม่มีความผิด
- คำพิพากษาฎีกาที่ 253/2512 ผู้ตายได้บุกรุกเข้าไปในห้องนอน อันเป็นเคหสถานของจำเลยยามวิกาล อันเป็นการละเมิดกฎหมายทำให้จำเลยสำคัญผิดว่าผู้ตายเป็นขโมยหรือคนร้าย เข้าไปทำการประทุษร้ายต่อทรัพย์ หรือร่างกายภริยา จำเลยจึงใช้ดุ้นฟืนตีผู้ตายไป 1 ที การที่จำเลยใช้ดุ้นฟืน ซึ่งโดยสภาพไม่ใช่อาวุธร้ายแรงตีผู้ตายไปในขณะนั้นเพียงทีเดียวโดยไม่เจาะจง เป็นลักษณะที่กระทำพอสมควรแก่เหตุ ถือได้ว่าการกระทำของจำเลยเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 68 ประกอบกับมาตรา 62 ด้วย จำเลยไม่มีความผิด
- คำพิพากษาฎีกาที่ 266/2514 ข้อเท็จจริงได้ความว่าผู้ตายกับจำเลยเคยมีสาเหตุกัน ผู้ตายเคยพกปืนและเคยทำท่าจะไล่ยิงจำเลย คืนเกิดเหตุ ผู้ตายเข้าใจว่าจำเลยแกล้งขว้างผู้ตาย ผู้ตายหันหลังกลับเข้าหาจำเลยในท่านั่งยองๆ ห่างกัน 2 วา พร้อมกับเอามือล้วงกระเป๋ากางเกงทำท่าจะล้วงอะไรออกมา และพูดทำนองจะฆ่าจำเลย ทั้งตรงที่เกิดเหตุมีแสงสว่างเพียงสลัว ๆ และจำเลยก็อายุเพียง 17 ปี พฤติการณ์เช่นนี้ ย่อมมีเหตุอันสมควรให้จำเลยสำคัญผิดเข้าใจว่าผู้ตายมีปืน และล้วงลงไปเพื่อยิงจำเลย อันนับได้ว่าเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง จำเลยจึงชอบที่จะใช้สิทธิกระทำเพื่อป้องกันตนได้ และการที่จำเลยใช้ปืนยิงผู้ตายเพื่อป้องกันตนไปทันทีเพียง 1 นัด ย่อมถือได้ว่าเป็นการป้องกันชีวิตของตนพอสมควรแก่เหตุ จำเลยจึงไม่มีความผิด
- คำพิพากษาฎีกาที่ 2716/2535 โจทก์ร่วมทั้งสองเดินผ่านสวนของจำเลย ไปทางหน้าบ้านจำเลยในเวลากลางคืน โดยไม่ได้ร้องบอกว่าขออาศัยเดินผ่าน เป็นเหตุให้จำเลยสำคัญผิด ว่าเป็นคนร้ายที่เข้ามาลักทรัพย์ จำเลยยิงโจทก์ร่วมทั้งสอง ขณะเดินห่างจากประตูรั้วหน้าบ้านไปแล้ว เป็นการป้องกันทรัพย์สิน โดยสำคัญผิด ซึ่งเกินสมควรแก่เหตุ และที่จำเลยยิงโจทก์ร่วมทั้งสอง ในระยะไกลประมาณ 35 เมตร กระสุนปืนถูกที่ขาด้านหลังทั้งสองข้างของโจทก์ร่วมที่ 1 แสดงว่าจำเลยเล็งยิงระดับต่ำ เพื่อให้ถูกเพียงขาของคนร้ายได้รับอันตรายแก่กายเท่านั้น มิได้เจตนาที่จะฆ่าให้ตาย จำเลยผิดเพียงฐานทำร้ายร่างกาย ตาม ป.อ. มาตรา 295 + มาตรา 62, 69
- การกระทำโดยสำคัญผิด ตามมาตรา 62 ว่ามีเหตุ ตามมาตรา 305 แพทย์ทำแท้ง ต้องใช้ มาตรา62 (อก/139)
- การกระทำโดยสำคัญผิดว่าผู้เสียหายยินยอม
- ความยินยอมในความผิดบางข้อหา ถือว่าขาดองค์ประกอบภายนอก เช่นข้อหา ข่มขืน ตามมาตรา 276 ผู้ใด “ข่มขืนหญิงอื่น” หากมีการยินยอม ก็ไม่เป็นการข่มขืน ความสำคัญผิดในเรื่องยินยอมนี้ ถือว่าขาดองค์ประกอบภายนอก ซึ่งตามแนว อ เกียรติขจร ต้องปรับด้วยมาตรา 59 วรรคสาม
- ความยินยอมในความผิดบางข้อหา ไม่ขาดองค์ประกอบภายนอก แต่ถือว่าไม่มีเจตนากระทำผิด กรณี ม 362 / 358 / 350 / 334
- “ความยินยอมอันบริสุทธิ์ ไม่ขัดศีลธรรม และมีอยู่จนถึงขณะกระทำ เป็นข้อยกเว้นให้ไม่เป็นความผิดได้” ฎ 1403/2508
- การกระทำโดยสำคัญผิด ตาม ม 62 ว่ามีอำนาจตามกฎหมายแพ่ง เช่น เสาของคนอื่นมาปักในที่ดินเรา รู้ว่าเป็นของคนอื่นแต่คิดว่ามีสิทธิถอนทิ้งได้ อ้าง มาตรา 62 วรรคแรก ไม่รับผิด แต่หากเข้าใจผิดคิดว่าเป็นเสาของตนเอง ปรับ มาตรา 59 วรรค 3 ขาดองค์ประกอบ ไม่ต้องรับผิด(อก/140)
- การกระทำโดยสำคัญผิด ตาม ม 62 ว่ามีอำนาจตาม ป.วิ.อาญา ม.57, 66, 78 เช่น จับโดยสำคัญผิดว่าเป็นผู้ร้าย แต่จับถูกต้องตามเจตนา ไม่ต้องอ้าง มาตรา 62 วรรค 1 แต่หากจับผิดคน อ้าง มาตรา 62 วรรค 1 แล้วพิจารณาเรื่องประมาทต่อไป แม้ไม่ผิด มาตรา 310 โดยอ้าง มาตรา 62วรรค 1 ได้ ก็อาจผิด มาตรา 311 ตาม มาตรา 62 วรรค 2) (อก/140)
- การไม่รู้กฎหมายแพ่ง ถือเป็นการสำคัญผิดในข้อเท็จจริง ตาม ม 62 ได้ (การไม่รู้กฎหมายอาญา ปรับ ม 64 (อก/144))
- ไม่ได้จดทะเบียนสมรส แต่เข้าใจโดยสุจริต ไม่ผิด ม.276, 284, 310 ฎ 142 430/2532 อาจผิด ม 310 ได้ แต่อ้าง ม 62 ได้
- บังคับชำระหนี้โดยตนเอง ไม่ได้ดำเนินการทางศาลเพื่อหักหนี้ หากไม่เกินจำนวนหนี้เท่ากับคิดว่าเป็นประโยชน์ที่ควรได้โดยชอบ ไม่ “ทุจริต” แต่ อ เกียรติขจรเห็นว่าเป็น กรณี ม 62 ว 1สำคัญผิดเกี่ยวกับสิทธิทางกฎหมาย ฎ 2278/2515 ฎ 251/2513 (อก/144) อาจผิด ม 309ได้ ขู่เอาเงินที่ถูกเล่นพนันโกงคืน ฎ 1018/2529 (อก/145) เอาเครื่องสูบน้ำไป เพื่อให้จ่ายค่าแรง ราคาทรัพย์มากกว่าหนี้ ผิด ม 334 ฎ 2549/2532 (อก/146-7)
- จับลูกสาวไป ให้แม่โอนที่ดินชำระหนี้ ของแม่จำเลย โดยเชื่อว่าทำได้ ไม่ถือเป็นค่าไถ่ ไม่ผิด ม 313 ฎ 5255/2534 (อก/137)
- การป้องกันเกินกว่าเหตุ ตาม ม 69 โดยสำคัญผิดในข้อเท็จจริงตาม ม 62 เพราะประมาท / ส่วนของเจตนารับผิด ม 288 + ม 69 + ม 62 ว 1 + ม 62 ว 2 / ส่วนของประมาท รับผิด ม 291 ปรับ ม 90ลง ม 288 + มาตรา 69 (อก/151 ฎ 872/2510)
- เรื่องขาดองค์ประกอบภายนอก ตาม ม 59 ว 3 และสำคัญผิดตาม ม 62 ว 1 และข้อสังเกต(อก/151-4)
- ประเด็นเปรียบเทียบ กรณีความสำคัญผิดเกิดขึ้นโดยประมาท แต่มีเหตุยกเว้นความผิด กับมีบรรเทาโทษ
- อ เกียรติขจร (เน 51/6/1) เห็นว่า การกระทำโดยประมาท ต้องไม่ใช่การกระทำโดยมีเจตนา เพราะตัวบทใช้คำว่า การกระทำโดยประมาท ได้แก่การกระทำความผิดมิใช่โดยเจตนา ซึ่งกรณีนี้ “ความสำคัญผิดที่เกิดขึ้นก่อนการลงมือยิง” นั้น เป็นความสำคัญผิดโดยประมาท ต้องวินิจฉัยในประเด็นนี้ตาม ม 62 วรรคสองด้วย ส่วนตอนที่ “ลงมือยิง” นั้น เป็นการกระทำโดยเจตนา วินิจฉัยในประเด็นนี้ไปตามปกติ
- กรณีแรก เจตนาฆ่า โดยมีเหตุป้องกัน แต่เกินสมควรแก่เหตุ เกิดจากความประมาททำให้สำคัญผิด
- “เจตนา” เจตนาฆ่า โดยมีเหตุป้องกัน แต่เกินสมควรแก่เหตุ เกิดจากสำคัญผิด รับผิดมาตรา 59 ว 2 + 288 / 68 + 69 + 62 ว 1 (ศาลลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดเพียงใดก็ได้) ความสำคัญผิดเกิดจากประมาท พิจารณาเรื่องประมาทต่อ ตาม ม 62 ว 2
- “ประมาท” + ความตาย มาตรา 62 ว 2 + มาตรา 59 ว 4 + 291
- กรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท ปรับ มาตรา 90 รับผิดในส่วนของเจตนา มาตรา 59 ว 2 + 288 / 68 + 69
- กรณีที่สอง เจตนาฆ่า โดยมีเหตุป้องกันไม่เกินสมควรแก่เหตุ เกิดจากความประมาททำให้สำคัญผิด
- “เจตนา” เจตนาฆ่า โดยมีเหตุป้องกัน เกิดจากสำคัญผิด รับผิด มาตรา 59 ว 2 + 288 / 68 + 62 ว 1 (การกระทำส่วนนี้ ไม่มีความผิด) แต่ความสำคัญผิดเกิดจากประมาท พิจารณาเรื่องประมาทต่อ ตาม ม 62 ว 2
- “ประมาท” + ความตาย มาตรา 62 ว 2 + มาตรา 59 ว 4 + 291
- กรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท ปรับ มาตรา 90 รับผิดในส่วนของประมาท มาตรา 59 ว 4 + 291
- กรณีไม่น่าเชื่อว่าจำเลยจะสำคัญผิดในข้อเท็จจริง
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1717/2543 จำเลยมีอาชีพรับราชการ ได้พบปะผู้คนมีประสบการณ์ในชีวิตพอสมควร พอประมาณการได้ว่าเด็ก หรือเยาวชนนั้นมีอายุประมาณเท่าใด จำเลยรู้จักกับผู้เสียหายมาก่อนเกิดเหตุเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 3 สัปดาห์ เพราะรับสอนผู้เสียหายขับรถยนต์ กรณีจะเป็นเรื่องสำคัญผิดในข้อเท็จจริง อันเป็นองค์ประกอบของความผิดตาม ป.อ. มาตรา 62 วรรคแรก จะต้องมีพฤติการณ์หรือเหตุจูงใจให้สำคัญผิดโดยสุจริต มิใช่คาดคะเนเอาเอง ดังที่จำเลยเบิกความ เมื่อจำเลยกระทำชำเราเด็กหญิงอายุไม่เกิน 15 ปี ซึ่งมิใช่ภริยาของตนโดยเด็กหญิงนั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม มีความผิดตาม มาตรา 227 วรรคแรก และการที่จำเลยพาผู้เสียหายไปกระทำชำเราที่ห้องของโรงแรมที่เกิดเหตุ เป็นการล่วงอำนาจปกครองของมารดาผู้เสียหายโดยปราศจากเหตุอันสมควรเพื่อการอนาจาร เป็นความผิดฐานพรากเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี ไปเสียจากบิดามารดาตาม มาตรา 317 วรรคสาม
- คำพิพากษาฎีกา มาตรา 62
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1074/2525 จำเลยได้รับใบอนุญาต ให้ก่อสร้างอาคารจากเทศบาลแล้ว เมื่อฝ่าฝืนต่อเติมอาคารผิดไปจากที่ได้รับอนุญาต จะอ้างความเข้าใจโดยสุจริตว่า พ.ร.บ.ควบคุมอาคารฯ ยังไม่ได้ประกาศใช้ในเขตเทศบาลที่อนุญาต เพื่อไม่ต้องรับโทษหรือรับโทษน้อยลงตาม ป.อ.ม.62 ไม่ได้
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1199/2530 กรณีมีเหตุอันอาจทำให้เข้าใจว่ายุ้งข้าวที่จำเลยรื้อ เป็นของบิดามารดาจำเลย ทั้งปรากฏว่าจำเลยจัดการให้รื้อในเวลากลางวัน ต่อหน้าบุคคลหลายคน อันเป็นการกระทำโดยเปิดเผย เมื่อพนักงานสอบสวนไปถึงที่เกิดเหตุ จำเลยก็แสดงตัวยอมรับว่าเป็นผู้รื้อ โดยอ้างว่ายุ้งข้าวดังกล่าวเป็นของบิดามารดาจำเลยดังนี้ แสดงให้เห็นความบริสุทธิ์ใจของจำเลย ว่าจำเลยมิได้กระทำโดยทุจริต จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานลักทรัพย์
- คำพิพากษาฎีกาที่ 430/2532 จำเลยกับผู้เสียหายแต่งงานกันตามลัทธิศาสนาอิสลาม มีบุตรด้วยกัน 1 คน ต่อมา แยกกันอยู่ แต่มิได้หย่าขาดจากการ เป็นสามีภริยากัน การที่จำเลยพาผู้เสียหายไปกักขัง เพื่อกระทำอนาจารและข่มขืนกระทำชำเรา จึงอาจกระทำไป โดยเข้าใจว่าจำเลยมีสิทธิกระทำได้ อันเสมือนกับทำโดยวิสาสะ ย่อมไม่เข้าลักษณะกระทำ โดยมีเจตนาร้าย ไม่เป็นความผิดฐานพาหญิงไปเพื่อการอนาจาร หน่วงเหนี่ยวกักขัง และข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหาย
- มาตรา 62 วรรคท้าย
- คำพิพากษาฎีกาที่ 980/2519 แม้ผู้ที่ร่วมในการปล้น ไม่รู้ว่าพวกของตนมีอาวุธ ก็เป็นความผิดตามมาตรา 340 วรรคสอง (การมีอาวุธในการปล้น ถือเป็นข้อเท็จจริงที่ทำให้ผู้กระทำผิดต้องรับโทษหนักขึ้นตาม ม 62 ว ท้าย ซึ่งหากจะต้องรับโทษหนักขึ้น ผู้กระทำต้องรู้ด้วย การรู้หรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริง / หากข้อเท็จจริงยุติว่า ไม่รู้ ก็ไม่น่าจะต้องรับโทษหนักขึ้น)
- ตัวอย่างประเด็นข้อสอบเก่า มาตรา 62
- (ขส เน 2517/ 5) วัยรุ่นเมาโห่ร้อง นายแม่นไม่ดูให้ดี คิดว่าพวกปล้น ยิง 5 นัด ถึงตาย / นายแม่น ผิดฐานฆ่าผู้อื่น แต่เป็นการป้องกันเกินสมควรแก่เหตุ ม 288 + 68 + 69 (+ ซึ่งเกิดจากการสำคัญผิด ตาม ม 62 ว 1) และผิดฐานทำให้คนตายโดยประมาท ม 291 + 62 ว 2 (เนื่องจากความสำคัญผิด เกิดจากความประมาท ไม่ดูให้ดี จึงต้องรับผิดเมื่อการกระทำนั้น มีกฎหมายบัญญัติให้รับโทษ แม้กระทำโดยประมาท ตาม ม 62 ว 2 ) ฎ 872/2510 เป็นกรรมเดียว ม 90 ลงโทษ ม288 + 69
- (ขส อ 2522/ 9) นายศักดิ์ประกันตัวต่อศาลแล้ว ไปท้านายสม นายสมนำสำเนาหมายจับเดิมไปให้ตำรวจจับอีก ไม่ได้อยู่ในดุลพินิจของตำรวจ นายสมผิด ม 310 ฎ 2060/2521 / นายศักดิ์ท้าให้จับไม่ผิด ตำรวจจับตามหมายโดยสำคัญผิด ไม่ผิด ม 62
- (ขส อ 2530/ 5) ก จับ ข ลักทรัพย์ ส่งตำรวจ นาย ค คิดว่า ก เป็นตำรวจ เข้าช่วยให้ ข หลบหนี / ก มีอำนาจจับตาม ปวิอ ม 79 ไม่ผิด / ค ผิด ม 191+81 (อ เกียรติขจร ถือว่าขาดองค์ประกอบภายนอก แล้วไม่ผิดพยายาม)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น