อาญา มาตรา ๑๗๕ - ๑๘๓
มาตรา 175 ผู้ใดเอาความอันเป็นเท็จฟ้องผู้อื่นต่อศาลว่ากระทำความผิดอาญา หรือว่ากระทำความผิดอาญาแรงกว่าที่เป็นความจริง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี และปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
- กรณีขาดเจตนา
- คำพิพากษาฎีกาที่ 426/2512 จำเลยที่ 2 เรียงคำฟ้องและรับว่าความในหน้าที่ของทนายความ ข้อความที่ปรากฏในคำฟ้อง เป็นข้อความที่ได้จากคำบอกเล่าของจำเลยที่ 1(ซึ่งเป็นลูกความ)
และจะเป็นความเท็จหรือหรือความจริง จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นทนายความย่อมไม่มีโอกาสจะทราบได้ นอกจากจะปรากฏตามหลักฐานที่นำสืบ หากในเวลาภายหน้าความปรากฏขึ้น ว่าคำฟ้องมีข้อความอันเป็นเท็จผู้ที่จะต้องรับผิดชอบ ก็คือจำเลยที่ 1 หาใช่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นแต่ผู้เรียงคำฟ้อง ตามคำบอกเล่าในหน้าที่ของทนายความไม่
และจะเป็นความเท็จหรือหรือความจริง จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นทนายความย่อมไม่มีโอกาสจะทราบได้ นอกจากจะปรากฏตามหลักฐานที่นำสืบ หากในเวลาภายหน้าความปรากฏขึ้น ว่าคำฟ้องมีข้อความอันเป็นเท็จผู้ที่จะต้องรับผิดชอบ ก็คือจำเลยที่ 1 หาใช่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นแต่ผู้เรียงคำฟ้อง ตามคำบอกเล่าในหน้าที่ของทนายความไม่
- คำพิพากษาฎีกาที่ 389/2542 แม้จะได้ความตามคำเบิกความของ ส. พยานโจทก์และคำวินิจฉัยของศาลล่างว่า พฤติการณ์ของโจทก์ทั้งสองขาดเจตนากระทำความผิดดังที่จำเลยฟ้อง แต่จำเลยก็ฟ้องโจทก์ทั้งสองเป็นคดีอาญาไปตามความเข้าใจของจำเลยตามที่พบเห็นมา จึงเป็นการขาดเจตนากระทำผิดฐานฟ้องเท็จ การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานฟ้องเท็จ คดีโจทก์ไม่มีมูล
- ประเด็นเรื่อง ข้อความอันเป็นเท็จ
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1460/2522 ความผิดฐานฟ้องเท็จตาม ป.อ.ม.175 ต้องเป็นเท็จในองค์ประกอบของการกระทำความผิด ซึ่งในคดีออกเช็คไม่มีเงินได้แก่โจทก์ออกเช็คและธนาคารปฏิเสธไม่ใช้เงิน ผู้ใดนำเช็คไปเข้าบัญชี ไม่ใช่องค์ประกอบความผิด จำเลยฟ้องและเบิกความว่าจำเลยนำเช็คไปเข้าบัญชี แต่ความจริงจำเลยขายเช็คแก่ธนาคารไปแล้ว ไม่เป็นฟ้องเท็จ แต่ผู้นำเช็คเข้าบัญชีเป็นผู้ทรง และเป็นผู้เสียหายที่จะฟ้องคดีได้ ข้อนี้จึงเป็นข้อสำคัญในความผิดฐานเบิกความเท็จ
- คำพิพากษาฎีกาที่ 2843/2523 โจทก์ฟ้องอ้างว่าจำเลยกระทำผิดฐานฟ้องเท็จด้วยเหตุสองประการ คือคดีที่จำเลยฟ้องโจทก์ข้อหาหมิ่นประมาท จำเลยระบุสถานที่เกิดเหตุเป็นเท็จประการหนึ่ง กับอ้างกฎหมายขอให้ลงโทษโจทก์แรงกว่าที่เป็นความจริงอีกประการหนึ่ง เหตุทั้งสองประการนี้ มิใช่เนื้อหาแห่งการกระทำอันเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานฟ้องเท็จตาม ป.อ.ม.175
- กรณีที่ยังไม่อาจรับฟังได้ว่าข้อความที่ฟ้องนั้นเป็นเท็จ
- คำพิพากษาฎีกาที่ 606/2537 เมื่อข้อเท็จจริงยังฟังไม่ได้โดยแจ้งชัด ว่าจำเลยมอบเงินจำนวน 60,000 บาท ให้โจทก์เพื่อการซื้อหวาย หรือเพื่อการลงทุนเข้าหุ้นส่วนทำไม้กันแน่ คงฟังได้แต่เพียงว่า โจทก์ได้รับเงินจากจำเลย และจำเลยยังไม่ได้รับเงินคืน การที่จำเลยใช้สิทธิทางศาลฟ้องโจทก์ฐานฉ้อโกง จึงไม่เป็นฟ้องเท็จ
- ประเด็นเรื่อง การฟ้องผู้อื่นต่อศาล
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1274/2513 การเอาความเท็จมาฟ้องในคดีแพ่ง หรือการที่จำเลยในคดีแพ่งยื่นคำให้การเท็จ ไม่ผิด ม 137 เพราะมิได้เป็นการแจ้งต่อเจ้าพนักงาน การที่โจทก์หรือจำเลยในคดีแพ่งตกลงให้ศาลจดข้อความอันเป็นเท็จลงในสำนวน ไม่ผิด ม 267 จำเลยแถลงต่อศาลในการดำเนินคดี เพื่อที่จะให้ศาลจับกุมโจทก์ โดยอ้างว่าโจทก์เป็นบริวารของผู้ถูกฟ้องขับไล่ การที่ศาลจดคำแถลงดังกล่าวไว้ในรายงานกระบวนพิจารณานั้น ไม่ใช่เป็นเอกสารที่จะใช้เป็นพยานหลักฐาน ไม่ผิด ม 267
- กรณีเป็นความผิด
- คำพิพากษาฎีกาที่ 586-600/2504 จำเลยจ้างโจทก์ทำการก่อสร้างอาคาร และจ่ายเงินให้โจทก์นำไปใช้ในก่อสร้าง โดยให้โจทก์ออกเช็คไว้ให้เป็นประกันการก่อสร้าง โดยเป็นที่เข้าใจกันว่าจะบังคับให้มีการจ่ายเงินตามเช็คได้ ต่อเมื่อได้คิดบัญชีหักทอนกันก่อน แต่ต่อมาโจทก์จำเลยผิดใจกันจำเลยนำเช็คที่โจทก์ออกให้ไปเข้าบัญชีธนาคาร ๆปฏิเสธการจ่ายเงินจำเลยจึงไปแจ้งความแก่ตำรวจหาว่า โจทก์ทำผิดอาญาฐานใช้เช็คโดยไม่มีเงินพอจ่าย ดังนี้ เป็นการแจ้งความเพื่อให้เจ้าพนักงานเข้าใจว่าเช็คที่โจทก์ออกให้แก่จำเลย เป็นการออกให้ในการยืมเงินตามธรรมดาและเช็คถึงกำหนดการชำระแล้ว จึงเป็นความเท็จ ส่วนความจริงเป็นเรื่องโจทก์ออกเช็คเพื่อประกันการที่จำเลยจ่ายเงินค่าก่อสร้างให้แก่โจทก์และเช็คนั้นยังไม่ถึงกำหนดตามตกลงกัน จำเลยจึงมีความผิดฐานแจ้งความเท็จ ส่วนโจทก์ยังไม่มีความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค
- คำพิพากษาฎีกาที่ 3887/2533 จำเลยเข้ามาเป็นโจทก์ร่วม ในคดีซึ่งพนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องโจทก์ในคดีนี้เป็นจำเลย ในข้อหาปลอมและใช้เอกสารปลอม เมื่อเอกสารที่ฟ้อง ไม่ใช่เอกสารปลอม ฟ้องดังกล่าวจึงเป็นเท็จ จำเลยย่อมมีความผิดฐานเอาความอันเป็นเท็จ ฟ้องโจทก์ต่อศาลว่ากระทำผิดอาญา
- คำพิพากษาฎีกาที่ 3963/43 การที่โจทก์ออกเช็คสั่งจ่ายเงินจำนวน 500,000บาทให้แก่จำเลยนั้นเป็นการออกเช็คเพื่อค้ำประกันเงินกู้ที่โจทก์กู้ไปจากจำเลยจำนวน 120,000 บาท เมื่อจำเลยนำเช็คพิพาทฉบับดังกล่าวไปฟ้อง กล่าวว่าโจทก์ออกเช็คให้แก่จำเลยเพื่อชำระหนี้เงินกู้โดยเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 4 จึงเป็นการฟ้องคดีอาญาต่อศาลว่าโจทก์กระทำความผิด การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานฟ้องเท็จ / จำเลยเบิกความในการพิจารณาคดีอาญาของศาลชั้นต้นยืนยันตามฟ้องว่าเช็คพิพาทตามที่จำเลยฟ้องเป็นเช็คที่โจทก์ออกเพื่อชำระหนี้เงินกู้ให้จำเลย เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์ออกเช็คพิพาทให้จำเลยยืดถือไว้เพื่อเป็นประกันหนี้เงินกู้ที่โจทก์มีอยู่ต่อจำเลย คำเบิกความของจำเลยย่อมเป็นความเท็จและเป็นข้อสาระสำคัญในคดี เพระถ้าศาลชั้นต้นฟังว่าเช็คคำพิพาทโจทก์ออกให้จำเลยเพื่อเป็นการชำระหนี้เงินกู้ ศาลชั้นต้นก็อาจพิพากษาลงโทษจำคุกโจทก์ได้ดังนั้น จำเลยย่อมมีความผิดฐานเบิกความเท็จ
- ประเด็นเรื่องความผิดสำเร็จ
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1815/2537 ความผิดฐานฟ้องเท็จย่อมเกิดขึ้นทันทีที่ฟ้องคดี หาใช่ว่าต้องรอให้คดีนั้นถึงที่สุด หรือต้องฟังว่าผู้เสียหายได้รับความ เสียหายหรือไม่ก่อนแต่อย่างใด
- ตัวอย่างประเด็นข้อสอบเก่า มาตรา 175
- (ขส พ 2515/ 9) นายสายฟ้องหย่าภรรยา อ้างว่าเป็นชู้กับนายศักดิ์ และลอบนำเงินให้นายศักดิ์ใช้ ศาลพิพากษายกฟ้อง เพราะนายสายขาดนัดพิจารณา นายศักดิ์ปรึกษาทนายจะฟ้องนายสายฐานหมิ่นประมาทและฟ้องเท็จ / การกระทำของนายสาย เป็นการใช้สิทธิทางศาล จำเป็นต้องกล่าวให้ชัดเจน ถือว่าข้อความที่กล่าวในฟ้อง เป็นข้อความในกระบวนพิจารณาคดีในศาลของคู่ความ เพื่อประโยชน์แก่คดีของตน (ตามมาตรา 331) ไม่ผิด ม 326 และแม้ข้อความจะเท็จ ก็ไม่ใช่การฟ้องว่ากระทำผิดอาญา ตาม ม 175 ฎ 1055/2514 (ฎ 1055/2514 จำเลยฟ้องขอหย่าภรรยาจำเลย โดยกล่าวในฟ้องว่าภรรยาจำเลยเป็นชู้กับโจทก์ ซึ่งจำเลยมีความจำเป็นที่จะต้องกล่าวเพื่อมิให้เป็นฟ้องเคลือบคลุม ถือว่าข้อความที่จำเลยกล่าวในฟ้องนั้น เป็นข้อความในกระบวนพิจารณาคดีในศาลเพื่อประโยชน์แก่คดีของตน จำเลยไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท)
มาตรา 176 ผู้ใดกระทำความผิดตามมาตรา 175 แล้วลุแก่โทษต่อศาล และขอถอนฟ้องหรือแก้ฟ้อง ก่อนมีคำพิพากษา ให้ศาลลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ หรือศาลจะไม่ลงโทษเลยก็ได้
- คำพิพากษาฎีกาที่ 5/2508 จำเลยฟ้องโจทก์เป็นคดีอาญาว่าโจทก์ปลอมและใช้เอกสารสัญญากู้ แม้จำเลยจะถอนฟ้องคดีอาญาเสีย ระหว่างไต่สวนมูลฟ้อง ก่อนศาลสั่งประทับฟ้องก็ดี หากข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ฟ้องที่จำเลยกล่าวหาโจทก์เป็นฟ้องเท็จเสีย จำเลยก็ย่อมมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 175, 176
มาตรา 177 ผู้ใดเบิกความอันเป็นเท็จในการพิจารณาคดีต่อศาล ถ้าความเท็จนั้นเป็นข้อสำคัญในคดี ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ถ้าความผิดดังกล่าวในวรรคแรก ได้กระทำในการพิจารณาคดีอาญา ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี และปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นสี่พันบาท
- การเบิกความเท็จ
- คำพิพากษาฎีกาที่ 561/2508 การเบิกความเท็จในการพิจารณาคดีอาญา ไม่ใช่เรื่องแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความ แต่เป็นเรื่องเบิกความ ซึ่งศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจจดข้อความตอนใดหรือไม่จดก็ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ การจดจึงเป็นเรื่องของศาล ไม่ใช่เรื่องของพยานที่จะแจ้งให้ศาลจดข้อความอันเป็นเท็จ ซึ่งเป็นความผิดตาม มาตรา 267 / จำเลยไม่ใช่นายช่วง แต่มาอ้างต่อศาลว่าเป็นนายช่วง และข้อเท็จจริงที่จำเลยเบิกความว่าได้รู้เห็นเหตุการณ์ จำเลยก็มิได้รู้เห็นจริงกับจำเลยได้ลงชื่อปลอมว่านายช่วงในคำเบิกความที่ศาลจำไว้อีกด้วย ความผิดฐานเบิกความเท็จสำเร็จได้ โดยไม่ต้องอาศัยการลงชื่อปลอม การลงชื่อปลอมของจำเลย จึงเป็นความจริงฐานปลอมเอกสารตาม มาตรา 264 อีกด้วย แต่จำเลยหามีความผิดฐานปลอมเอกสารราชการตาม มาตรา 265 อีกมาตราหนึ่งไม่ / คำว่า ระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 181 (1) หมายถึงว่าอัตราโทษขั้นต่ำของความผิดนั้นจะต้องมีระวางโทษจำคุก 3 ปีเป็นอย่างน้อยที่สุด
- คำพิพากษาฎีกาที่ 2054/2517 การเบิกความเท็จต่อศาลในการพิจารณาคดี มิใช่เรื่องแจ้งความต่อเจ้าพนักงาน เพราะศาลทำหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานในการยุติธรรมในการพิจารณาคดี ซึ่งมีบทบัญญัติไว้โดยเฉพาะตามมาตรา 177 มิได้ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะเป็นเจ้าพนักงานอย่างเจ้าพนักงานทั่วไป จึงไม่เป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จ / คำเบิกความของจำเลย ซึ่งเท้าความไปถึงเรื่องระหองระแหงต่าง ๆ ระหว่างโจทก์กับจำเลย ในคดีอาญาที่ศาลได้พิพากษาลงโทษจำเลยฐานทำร้ายร่างกายโจทก์นั้น แม้จะเป็นความเท็จ ก็หาใช่ข้อสำคัญในคดีดังกล่าวไม่ / ฟ้องโจทก์มิได้บรรยายว่า การแจ้งความของจำเลยอาจทำให้โจทก์เสียหายเป็นแต่กล่าวว่า อาจทำให้ผู้อื่นเสียหาย โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหาย ไม่มีอำนาจฟ้องในข้อหาฐานนี้
- การลงมือกระทำความผิด และความผิดสำเร็จ
- คำพิพากษาฎีกาที่ 424/2512 (สบฎ เน 2097) ม 177 กฎหมายมิได้บัญญัติว่า พยานต้องสาบานตัวก่อนเบิกความจึงจะผิด
- คำพิพากษาฎีกาที่ 126-127/2523 ในคดีแพ่งศาลกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ได้มอบอำนาจให้โจทก์ (ซึ่งเป็นจำเลยร่วมในคดีแพ่งดังกล่าว)ขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์หรือไม่ อันเป็นประเด็นสำคัญชี้ขาดข้อแพ้ชนะในคดีนั้น เนื่องด้วยจำเลยให้การต่อสู้ว่าไม่ต้องรับผิดในการขายที่ดินพิพาท เพราะไม่ได้มอบอำนาจให้จำเลยร่วมเป็นผู้ดำเนินการขายที่ดินให้แก่โจทก์ ฉะนั้นที่จำเลยทั้งสองเบิกความในข้อที่ว่าไม่ได้มอบอำนาจให้จำเลยร่วม ไปจำหน่ายหรือขายที่ดินให้คนอื่น จึงเป็นข้อความสำคัญในคดี จำเลยที่ 1 เป็นจำเลยในคดีแพ่ง เบิกความในฐานะพยาน แม้คดีแพ่งเสร็จเด็ดขาดลง ด้วยการประนีประนอมยอมความกัน ก็ไม่ลบล้างความผิดของจำเลยที่สำเร็จแล้ว
- คำพิพากษาฎีกาที่ 2971/2524 การฟ้องกล่าวหาจำเลยเบิกความเท็จ หาจำต้องรอให้ศาลพิพากษาคดีที่จำเลยเบิกความเท็จเสียก่อนไม่ เพราะความผิดเกิดตั้งแต่จำเลยเบิกความอันเป็นเท็จในการพิจารณาคดีต่อศาลในคดีนั้นแล้ว การกระทำของจำเลยจะมีมูลเป็นความผิดตามฟ้องหรือไม่ ต้องไต่สวนมูลฟ้องเสียก่อน ที่ศาลชั้นต้นงดไต่สวนมูลฟ้อง โดยวินิจฉัยว่าคดีที่จำเลยเบิกความศาลยังไม่ได้พิพากษา คดีจึงไม่มีมูลนั้น ไม่ถูกต้อง
- คำพิพากษาฎีกาที่ 3091/2533 การฟ้องกล่าวหาว่า จำเลยเบิกความเท็จ หาจำต้องให้ศาลพิพากษาคดีที่จำเลยเบิกความเท็จเสียก่อนไม่ เพราะความผิดเกิดตั้งแต่จำเลยเบิกความอันเป็นเท็จในการพิจารณาคดีต่อศาลในคดีนั้นแล้ว
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1815/2537 ความผิดฐานฟ้องเท็จย่อมเกิดขึ้นทันทีที่ฟ้องคดี หาใช่ว่าต้องรอให้คดีนั้นถึงที่สุด หรือต้องฟังว่าผู้เสียหายได้รับความเสียหายหรือไม่ก่อนแต่อย่างใด
- เอกสิทธิ์ในฐานะผู้ต้องหา ไม่ใช้กับจำเลยซึ่งอ้างตนเองเข้าเบิกความในฐานะพยาน
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1062-5/2512 (สบฎ เน 2098) กรณีผู้ใดถูกฟ้องว่า เบิกความเท็จ แม้ในที่สุดศาลยอมรับฟังโดยเชื่อตามที่ผู้นั้นเบิกความไว้ ก็ไม่ผูกมัดคดีใหม่ ว่าข้อความที่เบิกความไว้นั้น จะต้องถือยุติว่าเป็นความจริง เพราะหากเผอิญศาลรับฟังคำเบิกความผู้ใดเป็นยุติไว้ในคดีใด ผู้นั้นก็ไม่อาจมีโทษฐานเบิกความเท็จได้เลย ทั้งที่เป็นเท็จและพิสูจน์ได้ในคดีหลัง / แม้ว่าในคดีนี้จำเลยที่ถูกฟ้องหาว่าเบิกความเท็จนั้น ได้เป็นตัวจำเลยอยู่ในคดีเดิมนั้น ที่มีการเบิกความดังกล่าวนั้นเอง แต่จำเลยได้เข้าเบิกความในคดีนั้น ในฐานะพยานซึ่งเป็นอีกฐานะหนึ่ง ต่างหากจากการเป็นตัวจำเลย เมื่อจำเลยถูกฟ้องหาว่าเบิกความเท็จ ก็จะยกเอาข้อยุติในฐานะเป็นจำเลยของคดีนั้น มาใช้บังคับด้วยหาได้ไม่
- คำพิพากษาฎีกาที่ 224/2532 (สบฎ เน 59) (จำเลยเป็นผู้ต้องหา ในชั้นพิจารณาเข้าเบิกความ ในฐานะ “พยาน” ผิด ม 177 ได้) แม้จำเลยจะมีสิทธิในการต่อสู้คดีและจะให้การอย่างไร หรือไม่ยอมให้การในคดีก่อนก็ได้ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 172 ก็ตาม แต่ในชั้นพิจารณาคดีดังกล่าว ตัวจำเลยได้เข้าเบิกความในคดี ในฐานะพยานซึ่งเป็นอีกฐานะหนึ่ง ต่างหากจากการเป็นตัวจำเลย หากเป็นเท็จ ก็ผิดฐานเบิกความเท็จ จะยกเอาสิทธิในการต่อสู้คดีของจำเลยมาอ้าง เพื่อยกเว้นความรับผิดฐานเบิกความเท็จหาได้ไม่
- คำพิพากษาฎีกาที่ 5558/2534 คดีก่อนโจทก์เข้าร่วมกับพนักงานอัยการฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 188 จำเลยที่ 2 เบิกความเท็จต่อศาล ศาลพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 โดยไม่ได้หยิบยกเอาคำเบิกความของจำเลยที่ 2 ขึ้นวินิจฉัยหากแต่ได้วินิจฉัยกับพยานหลักฐานอื่นแล้วเชื่อว่าจำเลยที่ 1 กระทำผิดจริง คำเบิกความของจำเลยที่ 2 จึงไม่เป็นข้อสำคัญในคดี จำเลยที่ 2 ไม่มีความผิดฐานเบิกความเท็จ ส่วนจำเลยที่ 1 เข้าเบิกความในฐานะพยานซึ่งเป็นอีกฐานะหนึ่งต่างหากจากการเป็นตัวจำเลย จะยกเอาสิทธิในการต่อสู้คดีของจำเลยมาอ้าง เพื่อยกเว้นความรับผิดฐานเบิกความเท็จไม่ได้ และคำเบิกความของจำเลยที่ 1 ในคดีดังกล่าวที่ว่าจำเลยที่ 1 เพียงแต่หยิบเอาภาพถ่ายใบหย่าไป ไม่ได้หยิบเช็คตามฟ้องนั้น เป็นการแสดงว่าจำเลยที่ 1 ไม่ได้ฉีกเช็คของโจทก์อันเป็นข้อสำคัญในคดีอาญาดังกล่าวซึ่งจำเลยที่ 1 ถูกฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ฉีกเช็คที่จำเลยที่ 1 สั่งจ่ายชำระหนี้ให้แก่โจทก์ จำเลยที่ 1 จึงมีความผิดฐานเบิกความเท็จ คดีหลัง จำเลยที่ 1 ฟ้องโจทก์ในข้อหาลักทรัพย์ ปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 1 นำความเท็จมาฟ้องและเบิกความเท็จว่า โจทก์ลักเอาทรัพย์ของจำเลยที่ 1 ไปอันเป็นองค์ประกอบของความผิดฐานลักทรัพย์ โดยจำเลยที่ 1 รู้อยู่แล้วว่าข้อความตามฟ้องและที่เบิกความนั้นเป็นเท็จ แม้ศาลได้พิพากษายกฟ้องในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง และโจทก์ในคดีดังกล่าวยังไม่อยู่ในฐานะเป็นจำเลย จำเลยที่ 1 ยังมีความผิดฐานฟ้องเท็จและเบิกความเท็จ กฎหมายมิได้บัญญัติว่าเป็นความผิดต่อเมื่อศาลได้ประทับฟ้องใช้แล้ว
- กรณีไม่ยืนยันข้อเท็จจริง
- คำพิพากษาฎีกาที่ 697/2508 ในคดีอาญาฐานวางเพลิงที่โจทก์ถูกฟ้อง ข้อสำคัญในคดีก็คือโจทก์วางเพลิงหรือไม่ จำเลยเบิกความโดยนำข้อความที่ตนได้ยินจากคำพูดบุตรสาวโจทก์ที่พูดว่าโจทก์ ซึ่งข้อความที่บุตรสาวโจทก์พูดนั้น จะเป็นความจริงหรือไม่ จำเลยไม่ได้ยืนยัน ถือไม่ได้ว่าจำเลยทำผิดฐานเบิกความเท็จ
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1861/2526 ชั้นสอบสวนจำเลยให้การว่าจำคนร้ายได้ ตามพฤติการณ์ที่จำเลยเห็นคนร้ายครั้งแรก ในลักษณะที่จำเลยขับขี่รถจักรยานยนต์ผ่านมา ไม่ได้คิดมาก่อนว่าจะถูกปล้นทรัพย์ เมื่อรถคนร้ายแซงปาดหน้าจำเลย หักรถกลับหนีไปตามทางเดิม จึงเห็นคนร้ายในระยะสั้นมาก และอยู่ในอาการรีบร้อน ดังนั้นที่จำเลยเบิกความต่อศาลว่า จำคนร้ายได้คลับคล้ายคลับคลา จึงเชื่อว่าเป็นความจริง จำเลยไม่มีความผิดฐานเบิกความเท็จตาม ป.อ.ม.177
- คำพิพากษาฎีกาที่ 2722/2541 เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้โดยชัดแจ้งว่า จำเลยทราบสิ่งที่เบิกความในคดีเดิมจากคำบอกเล่าของ จ. ข้อความที่ จ. เล่าให้จำเลยฟังนั้นจะเป็นความจริงหรือไม่ จำเลยไม่ได้ยืนยัน ดังนี้ ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยได้กระทำความผิดฐานเบิกความเท็จ คดีโจทก์ไม่มีมูลความผิดดังฟ้อง ที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง โดยมิได้ไต่สวนมูลฟ้องก่อนจึงชอบแล้ว
- ข้อสำคัญในคดี
- คำพิพากษาฎีกาที่ 700/2506 (สบฎ เน 25) คำเบิกความของจำเลย เป็นข้อสำคัญในคดีหรือไม่“เป็นข้อกฎหมาย” คู่ความจะนำสืบโต้เถียงกันว่าเสียเองว่าสำคัญหรือไม่ หาได้ไม่
- คำพิพากษาฎีกาที่ 649/2509 จำเลยที่ 2 เบิกความอันเป็นเท็จเพื่อแสดงว่าโจทก์ได้กู้เงินจำเลยที่ 1 และยังได้เบิกความเท็จอีกว่าโจทก์ได้พักอยู่กับจำเลยที่ 2 โจทก์ได้บอกจำเลยที่2 ว่าไปบ้านยางสินไชยได้เงินมา 1,000 บาท เพื่อส่งเสริมให้น่าเชื่อว่าโจทก์ได้กู้เงินจำเลยที่ 1 จริง ข้อความที่จำเลยที่ 2 เบิกความต่อศาลในการพิจารณานั้น จึงเป็นข้อสำคัญในคดีที่จำเลยที่ 1 ฟ้องเรียกเงินจากโจทก์ตามสัญญากู้
- คำพิพากษาฎีกาที่ 424/2512 จำเลยเป็นผู้จัดการห้างหุ้นส่วนจำกัด ฟ้องขอให้โจทก์ชำระหนี้ค่าวัสดุก่อสร้างพร้อมทั้งดอกเบี้ย โจทก์ให้การต่อสู้ว่าได้จ่ายเช็คเงินสดชำระหนี้ค่าสิ่งของให้แก่ห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้น แล้วแต่เช็คของโจทก์หลายฉบับรับเงินไม่ได้ จำเลยจึงมอบให้นายวินัยนำเช็คไปแจ้งความ ร้อยตำรวจโทรชัยชาญพนักงานสอบสวนได้ให้โจทก์ชำระหนี้จำเลย โดยจำเลยและผู้แทนจำเลยมอบให้ร้อยตำรวจโทชัยชาญเป็นคนกลางรับชำระหนี้แทน โจทก์ได้ชำระหนี้ให้จำเลยเป็นเงินสด และนางสาวพยุงบุตรสาวโจทก์ได้จ่ายเช็คให้อีก 6 ฉบับ จำเลยหรือผู้แทนจำเลยได้รับเงินไปตามเช็คที่ถึงกำหนดแล้วบางฉบับ จำเลยได้เข้าเบิกความเป็นพยานต่อศาลว่า โจทก์ไม่เคยออกเช็คชำระหนี้ให้จำเลย จำเลยไม่เคยรู้จักนายวินัย ไม่เคยมอบให้นายวินัยไปแจ้งความเรื่องโจทก์ออกเช็ค โจทก์ไม่เคยเอาเช็คของนางสาวพยุงชำระหนี้ จำเลยไม่เคยรับเช็คจากร้อยตำรวจโทชัยชาญ ไม่รู้จักร้อยตำรวจโทชัยชาญ และไม่เคยพิพาทเรื่องเช็คกับโจทก์ ซึ่งข้อความที่จำเลยเบิกความเป็นพยานนี้เป็นความเท็จ หากศาลหลงเชื่อตามคำเบิกความของจำเลย ก็อาจทำให้ศาลไม่เชื่อข้อต่อสู้ของโจทก์ว่าได้ชำระหนี้บางส่วนให้จำเลยแล้ว ย่อมจะตัดสินใจให้โจทก์แพ้คดี ฉะนั้นคำเบิกความเท็จของจำเลยดังกล่าวจึงเป็นข้อสำคัญในคดี จำเลยต้องมีความผิดฐานเบิกความเท็จ / การฟ้องคดีฐานเบิกความเท็จตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา177 นั้นกฎหมายมิได้บัญญัติว่า พยานจะต้องสาบานตัวก่อนเบิกความจึงจะเป็นความผิด
- คำพิพากษาฎีกาที่ 404/2513 ข้อสำคัญในคดีมีว่า ท.ได้ใช้ปืนยิงจำเลยกับพวกจริงหรือไม่ จำเลยเห็น 1. เป็นคนใช้ปืนกระหน่ำยิงมาทางจำเลย แต่เบิกความว่าได้ยินเสียงปืนดังประมาณ 10 นัด เข้าใจว่าเป็นเสียงปืนที่ยิงพวกจำเลย เป็นเหตุให้ศาลยกฟ้องปล่อย ท.ดังนี้ จำเลยต้องมีความผิดฐานเบิกความเท็จ
- คำพิพากษาฎีกาที่ 556/2514 คดีแพ่งที่โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากห้องเช่า และจำเลยให้การต่อสู้ว่าได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดิน พ.ศ.2504 นั้น ระยะเวลาแห่งการเริ่มการเช่าของจำเลย ย่อมเป็นข้อสำคัญในคดี / การที่จำเลยในคดีนี้ เข้าเบิกความเป็นพยานในคดีแพ่งดังกล่าว เกี่ยวกับระยะเวลาแห่งการเริ่มเช่าของจำเลย (โจทก์ในคดีนี้) ซึ่งเป็นความเท็จ โดยเจตนาจงใจ เพื่อให้จำเลยในคดีแพ่ง ไม่ได้รับความคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติควบคุมการเช่า จำเลยย่อมต้องมีความผิดฐานเบิกความเท็จ
- คำพิพากษาฎีกาที่ 3702/2526 ความสำคัญของคดีแจ้งความเท็จ อยู่ที่ว่าจำเลยเห็นเหตุการณ์การกระทำผิดของผู้อื่น ตามที่ให้การต่อพนักงานสอบสวนหรือไม่ ไม่ได้อยู่ที่ว่าผู้อื่นกระทำผิดหรือไม่ เพราะแม้ผู้อื่นกระทำผิดจริง แต่ถ้าจำเลยไม่เห็นการกระทำผิด แล้วบังอาจให้การว่าเห็น ก็มีความผิดฐานแจ้งความเท็จ การที่จำเลยให้การเท็จว่าเห็นเหตุการณ์ แล้วขอถอนคำให้การอ้างว่าที่ให้ไว้เพราะได้รับการเสี้ยมสอน จำเลยก็มีความผิดฐานแจ้งความเท็จตาม ป.อ.ม.172,174
- คำพิพากษาฎีกาที่ 898/2527 พี่ชายโจทก์ซื้อที่ดินและลำรางจากจำเลย เมื่อพี่ชายโจทก์ถึงแก่กรรม โจทก์กับพวกได้รับมรดกที่ดินและลำรางดังกล่าว ต่อมาปรากฏว่าลำรางที่ซื้อจากจำเลยเป็นลำรางสาธารณะ โจทก์กับพวกจึงฟ้องเรียกราคาลำรางและค่าเสียหายจากจำเลย จำเลยเบิกความเท็จต่อศาลในคดีดังกล่าว ว่าไม่ได้ขายลำราง ดังนี้ โจทก์ย่อมเป็นผู้รับความเสียหาย เนื่องจากการที่จำเลยเบิกความเท็จตาม ป.ว.อ.ม.2 (4) โจทก์จึงเป็นผู้เสียหายมีอำนาจฟ้องจำเลยฐานเบิกความเท็จได้
- คำพิพากษาฎีกาที่ 2721/2528 การร้องขอให้ศาลมีคำสั่งว่า ที่ดินเป็นกรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์นั้น การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์และระยะเวลาแห่งการครอบครอง ย่อมเป็นข้อสำคัญในคดี การที่จำเลยเบิกความในคดีแพ่งที่จำเลยร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินมีโฉนดว่า เจ้าของที่ดินยกที่ดินให้จำเลยพร้อมกับมอบโฉนดให้ และจำเลยครอบครองทำประโยชน์ติดต่อกันมาอย่างเป็นเจ้าของประมาณ 15 ปีแล้ว ซึ่งเป็นความเท็จ ย่อมเป็นการเบิกความอันเป็นเท็จและข้อสำคัญในคดี จำเลยจึงมีความผิดตาม ป.อ. ม.177
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1338/2529 จำเลยรู้เห็นว่าใครเป็นคนตัดต้น จากในที่เกิดเหตุของโจทก์เมื่อผู้ใหญ่บ้าน และโจทก์มาสอบถามจำเลยก็ได้บอกไปตามที่ตนรู้เห็นว่าใครเป็นคนตัด จำเลยมาเบิกความในคดีอาญาข้อหาบุกรุกทำให้เสียทรัพย์ ว่าในวันเกิดเหตุไม่เห็นใครเป็นคนตัดต้นจาก และเมื่อผู้ใหญ่บ้านมาสอบถาม จำเลยได้บอกไปว่าไม่เห็นนั้น จึงเป็นการเบิกความเท็จในการพิจารณาคดีต่อศาล และข้อเท็จจริงนั้นเป็นข้อสำคัญในคดี เป็นเหตุให้ศาลยกฟ้องโจทก์ ผิดตาม ป.อ. ม.177
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1673/2529 โจทก์ถูกฟ้องด้วยข้อหายักยอก ซึ่งเป็นความผิดอันยอมความกันได้ ถ้าผู้เสียหายมิได้ร้องทุกข์ภายใน 3 เดือน นับแต่ที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด เป็นอันขาดอายุความ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไป คำเบิกความเท็จของจำเลยซึ่งสนับสนุนข้ออ้างว่าสิทธิที่จะฟ้องร้องโจทก์ ยังมิได้ระงับไปด้วยคดีขาดอายุความ จึงเป็นข้อสำคัญในคดีจำเลยมีความผิดฐานเบิกความเท็จตาม ป.อ. ม.177
- คำพิพากษาฎีกาที่ 4784/2529 ความผิดฐานเบิกความเท็จ ผู้กระทำผิดจะต้องกระทำโดยมีเจตนา คือรู้อยู่แล้วว่าข้อความนั้นเป็นความเท็จ โจทก์มิได้ตัดฟันต้นสาคูซึ่ง ก.ปลูก ไว้ได้รับความเสียหาย การที่จำเลยเบิกความในคดีก่อนว่า โจทก์ได้ตัดฟัน ต้นสาคูของ ก.ได้รับความเสียหาย จึงเป็นการเบิกความเท็จในข้อสำคัญ ในความผิด ม 358 จำเลยผิด ม 177
- คำพิพากษาฎีกาที่ 238/2530 จำเลยฟ้องต่อศาลแรงงานกลางว่า โจทก์เลิกจ้างจำเลยโดยไม่เป็นธรรม แล้วเบิกความว่าจำเลยไม่ได้ใช้ ส. และ พ. พนักงานรักษาความปลอดภัย ลูกจ้างของโจทก์ซึ่งเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาของจำเลยไปธุระส่วนตัวในเวลาทำงาน เพียงแต่เป็นผู้ฝากงานให้ ส. และ พ. ทำนอกเวลาทำงานปกติของโจทก์ เอกสารหมายเลข ล.9 เป็นหนังสือที่จำเลยขอบใจ พ. เกี่ยวกับเรื่องงานที่จำเลยมอบหมายให้ทำและให้เก็บเป็นความลับ ซึ่งในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย ว่าการเลิกจ้างเป็นธรรมหรือไม่นั้น ต้องอาศัยข้อเท็จจริงที่ว่า ส. และ พ. ได้ละทิ้งหน้าที่ เพราะจำเลยใช้ให้ไปทำงานส่วนตัวให้จำเลยหรือไม่โดยตรง ตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏนั้น อาจจะเป็นกรณีที่ถือได้ว่าจำเลยทุจริตต่อหน้าที่ จงใจให้โจทก์เสียหายอันโจทก์ถือเป็นเหตุเลิก
- คำพิพากษาฎีกาที่ 4696/2530 จำเลยที่ 1 ฟ้องโจทก์เป็นคดีแพ่งเรื่องขับไล่ และเรียกค่าเสียหาย ซึ่งมีประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์หรือจำเลยมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทในคดีดังกล่าวจำเลยที่ 1 เบิกความเป็นพยานว่าจำเลยที่ 1 ซื้อที่ดินพิพาทจาก ล. สามี พ. ซึ่งเป็นมารดาโจทก์โดยไม่ได้ทำสัญญาซื้อขายกันจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ต่างก็เบิกความเป็นพยานว่าเห็น ล.ขายที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นความเท็จและเป็นข้อสำคัญในคดี จำเลยจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 177
- คำพิพากษาฎีกาที่ 224/2532 ในคดีก่อนจำเลยถูกฟ้อง ในข้อหาขับรถยนต์โดยประมาทชนรถยนต์ที่ผู้เสียหาย (โจทก์คดีนี้) ขับสวนทางมา เป็นเหตุให้ผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัส และมีบุคคลอื่นถึงแก่ความตายและได้รับอันตรายบาดเจ็บ การที่จำเลยเบิกความในคดีก่อน ว่าผู้เสียหายขับรถยนต์ชนรถยนต์ที่จำเลยขับ ในช่องทางเดินรถของจำเลย มีพวกผู้เสียหายเก็บเศษกระจกและเศษไม้จากช่องทางเดินรถของจำเลยไปไว้ในช่องทางเดินรถของผู้เสียหาย เท่ากับเบิกความว่าเหตุที่รถยนต์ชนกัน เป็นความผิดของผู้เสียหาย มิใช่ความผิดของจำเลยซึ่งเป็นประเด็นโดยตรงของคดีก่อน ที่ว่าจำเลยขับรถยนต์โดยประมาทหรือไม่ ข้อความที่จำเลยเบิกความจึงเป็นข้อสำคัญในคดี
- คำพิพากษาฎีกาที่ 408/2537 ขณะไฟไหม้บ้าน ส. จำเลยไม่เห็นโจทก์ แต่จำเลยเบิกความ ว่าจำเลยมองไปที่บ้านของ ส. เห็นโจทก์วิ่งไปทางตะวันตกแล้วลงคลอง ไปจึงเป็นการเบิกความเท็จทั้งความเท็จ หากศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริง ตามที่จำเลยเบิกความ อาจเป็นผลให้โจทก์ได้รับโทษได้จึงเป็นข้อสำคัญในคดี จำเลยจึงมีความผิดฐานเบิกความเท็จ
- คำพิพากษาฎีกาที่ 4900/2537 (สบฎ เน 20) การเบิกความในการพิจารณาคดีของศาล จะเป็น"ชั้นไต่สวนมูลฟ้อง" หรือ "ชั้นพิจารณา" ก็เป็นการพิจารณาคดีของศาลเช่นเดียวกัน ส่วนคำว่า"ข้อสำคัญในคดี" หมายถึง เนื้อหาหรือสาระของคำเบิกความ หาใช่ขั้นตอนในการเบิกความไม่
- คำพิพากษาฎีกาที่ 2795/2539 (สบฎ เน /22) จำเลยฟ้องหย่าและขอใช้อำนาจปกครองบุตร ข้อเท็จจริงที่ศาลต้องพิจารณาว่าใครเป็นผู้สมควรใช้อำนาจปกครองบุตร มีอยู่หลายประการ คำเบิกความเกี่ยวกับเหตุเหล่านั้นเป็นข้อสำคัญในคดี แม้ศาลมิได้ยกเอามาวินิจฉัย แต่ขณะเบิกความนั้นเป็นข้อสำคัญในคดี เมื่อเป็นความเท็จ ย่อมมีความผิด ม 177 ว 1 ได้
- คำพิพากษาฎีกาที่ 4478/2539 การที่จำเลยทั้งสามเบิกความว่า เจ้าของกรรมสิทธิ์เดิมในที่ดินต่าง มีการแบ่งแยกการครอบครองเป็นส่วนสัด ส่วนของ น. ก. และ อ. อยู่ทางทิศตะวันตกเนื้อที่รวม 8 ไร่ น. ก. และ อ. ถึงแก่ความตายไปประมาณ 10 ปี แล้ว ก่อนถึงแก่ความตายบุคคลทั้งสามยกที่ดินให้แก่จำเลยทั้งสามโดยไม่ได้ทำเป็นหนังสือเพียงแต่มอบโฉนดที่ดินให้แก่จำเลยทั้งสาม หลังจากนั้นจำเลยทั้งสามได้ทำนาในที่ดินตลอดมาโดยการครอบครอง ด้วยความสงบ เปิดเผย และด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเป็นเวลา 10 ปีเศษ ไม่มีผู้ใดโต้แย้งคัดค้านนั้น หากศาลเชื่อว่าเป็นความจริง ดังที่จำเลยทั้งสามเบิกความ ย่อมเป็นเหตุให้ศาลสั่งแสดงว่าที่ดินเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยทั้งสาม ผู้ร้องโดยการครอบครองปรปักษ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 ความเท็จที่จำเลยทั้งสามเบิกความ จึงเป็นข้อสำคัญในคดีที่ร้องขอให้ศาลสั่งแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดิน การกระทำของจำเลยทั้งสามจึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 177 วรรคหนึ่ง
- คำพิพากษาฎีกาที่ 4498/2539 การที่โจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของ ซ. เป็นคดีแพ่งให้ชำระเงินตามเช็คที่ ซ. ได้สั่งจ่ายให้โจทก์ไว้ก่อนถึงแก่กรรม เป็นกรณีที่ศาลจะพิจารณาและวินิจฉัยในประเด็นสำคัญแต่เพียงว่า ซ. เจ้ามรดกนำเช็คพิพาทไปแลกเงินสดจากโจทก์และยังไม่ได้ชำระหนี้ตามเช็ค และ ซ. จะต้องรับผิดชำระหนี้ตามเช็คหรือไม่เท่านั้น ดังนั้น ในส่วนที่เป็นทรัพย์มรดกของ ซ. ที่จะต้องรับผิดต่อโจทก์มีอยู่แค่ไหนเพียงใดย่อมเป็นอีกขั้นตอนหนึ่งในชั้นบังคับคดี แม้ข้อความที่จำเลยเบิกความตอบคำถามค้านของโจทก์เกี่ยวกับทรัพย์มรดกของ ซ. จะเป็นความเท็จหรือไม่ก็ตาม ก็มิได้ทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลงไป และในคดีดังกล่าวศาลก็มิได้หยิบยกเอาคำเบิกความของจำเลยมาวินิจฉัยให้เป็นผลแพ้ชนะคดี คำเบิกความของจำเลยจึงไม่เป็นข้อสำคัญในคดี จำเลยไม่มีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 177
- คำพิพากษาฎีกาที่ 3963/43 การที่โจทก์ออกเช็คสั่งจ่ายเงินจำนวน 500,000บาทให้แก่จำเลยนั้นเป็นการออกเช็คเพื่อค้ำประกันเงินกู้ที่โจทก์กู้ไปจากจำเลยจำนวน 120,000 บาท เมื่อจำเลยนำเช็คพิพาทฉบับดังกล่าวไปฟ้อง กล่าวว่าโจทก์ออกเช็คให้แก่จำเลยเพื่อชำระหนี้เงินกู้โดยเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 4 จึงเป็นการฟ้องคดีอาญาต่อศาลว่าโจทก์กระทำความผิด การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานฟ้องเท็จ / จำเลยเบิกความในการพิจารณาคดีอาญาของศาลชั้นต้นยืนยันตามฟ้องว่าเช็คพิพาทตามที่จำเลยฟ้องเป็นเช็คที่โจทก์ออกเพื่อชำระหนี้เงินกู้ให้จำเลย เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์ออกเช็คพิพาทให้จำเลยยืดถือไว้เพื่อเป็นประกันหนี้เงินกู้ที่โจทก์มีอยู่ต่อจำเลย คำเบิกความของจำเลยย่อมเป็นความเท็จและเป็นข้อสาระสำคัญในคดี เพระถ้าศาลชั้นต้นฟังว่าเช็คคำพิพาทโจทก์ออกให้จำเลยเพื่อเป็นการชำระหนี้เงินกู้ ศาลชั้นต้นก็อาจพิพากษาลงโทษจำคุกโจทก์ได้ดังนั้น จำเลยย่อมมีความผิดฐานเบิกความเท็จ / การที่จำเลยฟ้องเท็จและเบิกความเท็จในคดีอาญา ถึงแม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จะพิพากษายกฟ้อง แต่โจทก์ผู้ถูกฟ้องย่อมได้รับคามเสียหายจากการกระทำของจำเลย โจทก์เป็นผู้เสียหายตามกฎหมาย / การที่โจทก์ออกเช็คพิพาทและเขียนหนังสือประกอบการออกเช็คให้จำเลย มิใช่เพื่อให้จำเลยนำมาฟ้องเท็จและเบิกความเท็จโจทก์จึงมิได้ร่วมกระทำความผิดกับจำเลย / การที่จำเลยนำความเท็จมาฟ้องโจทก์และเบิกความเท็จนั้น ก็โดยเจตนาให้โจทก์ต้องโทษอาญา หากศาลเชื่อว่าเป็นความจริงดังคำฟ้องและคำเบิกความของจำเลยแล้ว โจทก์อาจถูกศาลพิพากษาลงโทษจำคุกได้ ถือว่าเป็นการกระทำที่เป็นภัยร้ายแรงต่อสังคม จึงไม่สมควรรอการลงโทษจำคุก
- กรณีไม่ถือเป็นข้อสำคัญในคดี
- คำพิพากษาฎีกาที่ 563-565/2508 จำเลยเบิกความในคดีที่ พ. ถูกฟ้องคดีอาญาฐานขับรถประมาทชนคนบาดเจ็บว่า พ.ให้การรับสารภาพขั้นสอบสวนเพราะถูกโจทก์ขู่เข็ญนั้น หากคดีดังกล่าวศาลพิพากษายกฟ้อง เพราะเห็นว่าพยานโจทก์ฟังไม่ได้ว่า พ. กระทำผิดดังกล่าว แม้ข้อความที่จำเลยเบิกจะเป็นเท็จ ก็ไม่ใช่เท็จในข้อสำคัญแห่งคดี / การที่จำเลยเบิกความในคดีที่จำเลยถูกฟ้องฐานขับรถประมาทชนคนบาดเจ็บว่า จำเลยให้การรับสารภาพชั้นสอบสวน เพราะถูกโจทก์ขู่เข็ญนั้น เห็นได้ว่าเป็นถ้อยคำของคู่ความในกระบวนพิจารณาคดีในศาล เพื่อประโยชน์แก่คดีของตน ไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท
- คำพิพากษาฎีกาที่ 326/2510 คดีแพ่งจำเลยฟ้องโจทก์ว่าผิดสัญญาเช่าบ้านที่ขายฝากและละเมิดนั้น แม้โจทก์ขายฝากเรือนแก่จำเลย 4,000 บาท แต่จำเลยเบิกความเป็นพยานในคดีแพ่งว่าขายฝากกันราคา 6,400 บาท ก็ไม่มีผลกระทบกระเทือนสัญญาขายฝาก ไม่มีผลเปลี่ยนแปลงสิทธิหน้าที่ หรือความรับผิดระหว่างโจทก์จำเลยในคดี และการรับเงินระหว่างโจทก์จำเลยจะรับกันต่อหน้าเจ้าพนักงานหรือไม่ ก็ไม่สำคัญ คำเบิกความของจำเลยจึงไม่ใช่ข้อสำคัญในคดี คดีโจทก์ไม่มีมูลฐานเบิก ความเท็จตามมาตรา 177
- คำพิพากษาฎีกาที่ 532/2510 โจทก์จ่ายเช็คให้นายหว่องหวั่นหลี เป็นค่าจ้างในการทำรั้วสังกะสี นายหว่องหวั่นหลีไม่ทำรั้วสังกะสีตามสัญญา โจทก์จึงอายัดเช็คไว้ และไม่นำเงินเข้าบัญชีให้พอจ่ายตามเช็ค ภายหลังมีบุคคลที่ 3 อ้างว่าเป็นผู้ทรงเช็คนั้นมาฟ้องอาญาแก่โจทก์ฐานจ่ายเช็คไม่มีเงิน ศาลพิพากษายกฟ้องเรื่องเช็ค โดยเห็นว่าโจทก์อายัดเช็คไว้โดยไม่มีเจตนาทุจริต เพราะนายหว่องหวั่นหลีไม่ทำรั้วให้ตามสัญญา ระหว่างพิจารณาคดีอาญาเรื่องเช็ค จำเลยได้เข้าเบิกความเป็นพยานในคดีอาญาเรื่องเช็คนั้นว่า นายหว่องหวั่นหลีได้นำเช็คนั้นมาแลกเงินสดของจำเลยไป และจำเลยถูกจับเรื่องเล่นการพนันไพ่ร่วมกับนายหว่องหวั่นหลี แต่มิได้ถูกตำรวจยึดเช็คนั้นไปด้วย ดังนี้ แม้ข้อความที่จำเลยเบิกความต่อศาลนั้นจะเป็นเท็จ ก็ไม่ใช่ข้อสำคัญแก่คดีที่จะทำให้โจทก์ต้องรับโทษ ในคดีเรื่องเช็คนั้นแต่อย่างใด การกระทำของจำเลยยังไม่เป็นผิดฐานเบิกความเท็จ
- คำพิพากษาฎีกาที่ 2551/2521 (สบฎ เน 5620) จำเลยเบิกความว่า "ไม่เคยให้การและพิมพ์ลายนิ้วมือในคำให้การชั้นสอบสวนที่ส่งศาล" ไม่ใช่ข้อสำคัญในคดี ข้อสำคัญในคดี คือ คนร้ายที่จำเลยเห็น คือจำเลยในคดีนั้นหรือไม่ แม้เป็นความเท็จ ก็ไม่ผิด ม 177
- คำพิพากษาฎีกาที่ 225/2522 จำเลยเบิกความในข้อที่ว่า โจทก์ชำระหนี้จำนองแล้วหรือไม่ ข้อนี้ไม่ว่าจะเท็จหรือไม่เท็จ ก็ไม่ทำให้สิทธิของโจทก์ที่จะได้รับหรือไม่ได้รับโฉนดคืนในคดีที่โจทก์ฟ้องผันแปรไป จึงไม่ใช่ข้อสำคัญในคดี ไม่มีมูลความผิดฐานเบิกความเท็จ
- คำพิพากษาฎีกาที่ 746/2522 จำเลยเบิกความว่า โจทก์บุกรุกในวันผิด จากที่ฟ้อง ถึงอย่างไรก็ลงโทษโจทก์ไม่ได้ เพราะโจทก์หลงต่อสู้ฐานที่อยู่ คำเบิกความว่าโจทก์บุกรุก จึงไม่ใช่ข้อสำคัญในคดี ไม่เป็นความผิดตาม ม.177
- คำพิพากษาฎีกาที่ 2747/2523 เจ้าพนักงานป่าไม้เบิกความในคดีผิด พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ ว่าเคยจับจำเลยในคดีนั้นฐานทำผิด พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ หลายครั้ง ข้อนี้เป็นแต่พยานแวดล้อม ไม่มีน้ำหนักและเหตุผลพอฟังลงโทษจำเลยในคดีที่เบิกความนั้นได้ จึงไม่ใช่ข้อสำคัญในคดี
- คำพิพากษาฎีกาที่ 505/2525 จำเลยเคยฟ้องโจทก์เป็นคดีอาญาข้อหาฉ้อโกงว่า โจทก์หลอกลวงให้จำเลยเช่าซื้อที่ดินที่โจทก์ไม่อาจจัดการโอนกรรมสิทธิ์ได้ เพราะติดจำนองจำเลยได้เบิกความในคดีดังกล่าวว่า จำเลยชำระค่าเช่าซื้อครบแล้ว แต่โจทก์ยังไม่จัดการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินที่เช่าซื้อให้จำเลย ดังนี้ข้อสำคัญในคดีดังกล่าวมีว่า โจทก์ได้หลอกลวงให้จำเลยหลงเชื่อจึงเช่าซื้อที่ดินโจทก์หรือไม่ คำเบิกความของจำเลยที่ว่าชำระค่าเช่าซื้อครบถ้วนแล้ว ถึงหากจะเป็นความเท็จ ก็มิใช่ข้อสำคัญในคดี การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานเบิกความเท็จ
- คำพิพากษาฎีกาที่ 958/2525 ในคดีแพ่ง และคดีอาญาที่โจทก์ฟ้องกล่าวอ้างเป็นคดีนี้ว่าจำเลยเบิกความเท็จ มีประเด็นข้อพิพาทแต่เพียงว่า การที่โจทก์นำตู้และสิ่งของไปวางไว้บนทางเดินพิพาท เป็นการกระทำละเมิดต่อจำเลยหรือไม่ และมีความผิดฐานบุกรุกหรือไม่ ไม่มีประเด็นว่าโจทก์เช่าห้องเลขที่ 111ของจำเลยหรือไม่แต่อย่างใด ทั้งในคดีดังกล่าว โจทก์ก็ให้การและนำสืบรับว่าโจทก์เช่าห้องเลขที่ 111 ของจำเลยจริง เพียงแต่อ้างว่าเป็นสัญญาต่างตอบแทนพิเศษยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาเท่านั้น สัญญาเช่าจะได้ลงลายมือชื่อโจทก์ไว้หรือไม่ ไม่เป็นเหตุให้การวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทในคดีดังกล่าว มีผลแตกต่างออกไปแต่ประการใด ดังนั้น การที่โจทก์เบิกความในคดีดังกล่าวว่า โจทก์ทำสัญญาเช่าห้องพิพาทจากจำเลยแต่โจทก์ไม่ได้ลงลายมือชื่อในสัญญาเช่าฉบับที่จำเลยยึดถือไว้ จึงไม่ใช่ข้อสำคัญในคดีทั้งสองนั้น จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานเบิกความเท็จ
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1778/2526 จำเลยเบิกความต่อศาลในคดีอาญาซึ่งโจทก์ถูกฟ้องว่าจำเลยไม่เคยทำหนังสือเอกสารหมาย จ.1 ถึงโจทก์ แต่ศาลมิได้หยิบยกเอาคำเบิกความของจำเลย และข้อความในเอกสารหมาย จ.1 ขึ้นวินิจฉัย หากแต่ได้วินิจฉัยถึงพยานหลักฐานอื่น ๆ แล้วพิพากษาลงโทษโจทก์ ส่วนคำเบิกความของจำเลยและเอกสารหมาย จ.1 ไม่มีน้ำหนักในการวินิจฉัยของศาล หรือจะมีผลให้แพ้ชนะคดีกัน ดังนี้ คำเบิกความของจำเลยจึงไม่เป็นข้อสำคัญในคดี จำเลยไม่มีความผิดฐานเบิกความเท็จตาม ป.อ.ม.177
- คำพิพากษาฎีกาที่ 2499/2527 จำเลยเบิกความต่อศาลในคดีฟ้อง ม. ขอหย่าขอแบ่งสินสมรส คือเรือ พ. 4 ว่าเคยเป็นเจ้าของเรือ พ. 1, 2 และ 3 และโจทก์คดีนี้เป็นแม่ค้าปลา ไม่มีฐานพอจะซื้อเรือ พ. 4 ดังนี้ไม่เป็นข้อสำคัญในคดี เพราะไม่ทำให้โจทก์ซึ่งมีกรรมสิทธิ์รวมอยู่ในเรือ พ. 4 ได้รับความเสียหาย จำเลยไม่มีความผิดตาม ป.อ. ม.177
- คำพิพากษาฎีกาที่ 3228/2527 ความผิดตาม ป.อ.ม.149 จำเลยเป็นตำรวจเรียกเงินจากผู้ถูกจับเพื่อตนโดยมิชอบ เพื่อไม่จับกุม ก็เป็นความผิดแล้ว แม้จะยังไม่ได้รับเงินก็ตาม พยานโจทก์เบิกความต่างกันในข้อที่ผู้ถูกจับมอบเงินให้จำเลยหรือยัง จึงไม่ใช่ข้อสำคัญของคดี
- คำพิพากษาฎีกาที่ 3008/2528 จำเลยเบิกความในวันทำการไต่สวนชั้นบังคับคดีแพ่งว่า ไม่เคยเป็นผู้ทรงเช็คฉบับเลขที่ 135887 และทราบว่าขณะนี้ ข.ได้ฟ้องโจทก์ เพื่อให้ชำระเงินตามเช็คฉบับนั้น จำเลยจึงไม่สามารถนำมามอบคืนให้โจทก์ ซึ่งในข้อที่ ข. ฟ้องโจทก์เพื่อให้ชำระเงินตามเช็คก็เป็นความจริง เมื่อตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่ทำไว้ ก็มิได้ระบุว่าจำเลยจะต้องส่งมอบเช็ค 3 ฉบับที่จำเลยเป็นผู้ทรง เพียงแต่มีข้อความระบุว่าจำเลยจะต้องคืนเช็ค 3 ฉบับให้แก่โจทก์การที่จำเลยจะเป็นผู้ทรง หรือเคยเป็นผู้ทรงเช็คฉบับดังกล่าวหรือไม่ จึงไม่ใช่ข้อสำคัญในคดี ซึ่งจะมีผลให้จำเลยพ้นความรับผิด ไม่ต้องส่งมอบเช็คฉบับนั้นให้แก่โจทก์ ตามสัญญาประนีประนอมยอมความได้ จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานเบิกความเท็จตาม ป.อ. ม.177
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1587/2529 ข้อสำคัญในคดีสำหรับความผิดฐานฉ้อโกงตาม ป.อ. ม.341 คือ หลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง และโดยการหลอกลวงดังว่านั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวง การเอาเช็คไปขอแลกเงินสด มิใช่เป็นการหลอกลวงให้ส่งทรัพย์ ถึงโจทก์กระทำตามที่จำเลยเบิกความโจทก์ ก็ไม่มีความผิดฐานฉ้อโกง แม้จำเลยจะรู้ว่าเป็นเช็คที่โจทก์นำมอบให้จำเลยเกี่ยวกับการเล่นการพนันสลากกินรวบ แล้วจำเลยมาเบิกความว่าเป็นเช็คที่โจทก์นำไปขอแลกเงินสดจากจำเลย แม้จะเป็นความเท็จ ก็มิใช่เป็นข้อสำคัญในคดีสำหรับความผิดฐานฉ้อโกง จำเลยไม่มีความผิดฐานฉ้อโกง จำเลยไม่มีความผิดฐานเบิกความเท็จตาม ป.อ. ม.17
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1313/2531 สัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งศาลพิพากษาว่าเป็นโมฆะแล้วนั้น มีผลเท่ากับสัญญาไม่มีผลมาตั้งแต่ต้น ดังนั้น แม้จำเลยทั้งสองจะร่วมกันเติมข้อความลงในช่องว่างที่เว้นไว้ในสัญญาผิดไปจากข้อตกลง และเบิกความยืนยันข้อความนั้นต่อศาล ก็ไม่ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายแต่ประการใด โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย ฐานปลอมเอกสารและเบิกความเท็จ / การที่จำเลยเบิกความเท็จต่อศาลว่า เจ้ามรดกกู้เงินผู้อื่นและจำเลยเป็นผู้ชำระเงินกู้พร้อมดอกเบี้ยแทนเจ้ามรดกนั้น หาใช่เป็นข้อสาระสำคัญในการฟ้องขอแบ่งมรดกแต่ประการใดไม่
- คำพิพากษาฎีกาที่ 3200/2531 คดีเดิม ศาลชั้นต้นยกฟ้อง เพราะโจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้อง และมิได้ระบุมาตราที่ขอให้ลงโทษ ถือได้ว่าข้อหาที่โจทก์นำมาเป็นมูลในการฟ้องคดีนี้ ยังไม่เคยมีการฟ้องต่อศาลมาก่อน คำเบิกความในคดีนั้นของจำเลย จึงไม่เป็นข้อสำคัญในคดี
- คำพิพากษาฎีกาที่ 3504/2531 คดีที่โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลย เพราะครบกำหนดอายุสัญญาเช่า เมื่อจำเลยให้การรับว่าได้ทำสัญญาเช่ากับโจทก์จริง แม้จำเลยจะเบิกความลายมือชื่อผู้เช่าในสัญญาเช่าที่โจทก์นำมา ฟ้องไม่ใช่ลายมือชื่อของจำเลย และสัญญาเช่าปลอม ก็ไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไปแต่อย่างใด จึงไม่ใช่ข้อสำคัญในคดี แม้จะเป็นความเท็จ จำเลยก็ไม่มีความผิด ม177
- คำพิพากษาฎีกาที่ 4745/2531 ในคดีก่อน ฉ.ฟ้องโจทก์เรียกเงินตามสัญญากู้ จำเลยเบิกความเป็นพยานให้ ฉ.ว่า รู้เห็นการกู้ยืมเงิน การรับเงินและลงชื่อเป็นพยานด้วย เมื่อโจทก์เบิกความยอมรับว่าได้กู้เงินไปตามสัญญากู้ในคดีก่อนจริง เพียงแต่อ้างว่าได้ชำระหนี้ไปบางส่วนแล้ว คำเบิกความของจำเลย หากจะเป็นเท็จก็ไม่ใช่ข้อสำคัญในคดี และแม้โจทก์จะมิได้กู้เงินถึงจำนวนตามฟ้อง แต่คำเบิกความของจำเลยในคดีก่อน ก็มิได้ยืนยันว่าโจทก์กู้เงิน ฉ.ไปจำนวนเท่าใด เพราะไม่ได้ร่วมนับเงินที่โจทก์กู้ไปด้วย คำเบิกความของจำเลยในส่วนนี้ จึงมิใช่ข้อสำคัญในคดีเช่นกัน
- คำพิพากษาฎีกาที่ 162/2532 ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าคดีขาดอายุความ การที่จำเลยนำอาวุธปืน มาแสดงต่อศาล จึงไม่ใช่เป็นการแสดงพยานหลักฐานในข้อสำคัญในคดี เพราะแม้เป็นหลักฐานอันเป็นเท็จ หรือไม่ ก็ไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยน แปลงไป
- คำพิพากษาฎีกาที่ 669/2532 คำเบิกความของจำเลย ซึ่งไม่มีน้ำหนักในการวินิจฉัยของศาล หรือจะมีผลให้แพ้ชนะคดีกัน เป็นคำเบิกความที่ไม่เป็นประเด็นสำคัญแห่งคดี แม้คำเบิกความดังกล่าวจะเป็นเท็จ จำเลยก็ไม่มีความผิดฐานเบิกความเท็จ
- คำพิพากษาฎีกาที่ 146/2536 ในคดีอาญาที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 กับพวกในข้อหาโกงเจ้าหนี้นั้น ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาโดยวินิจฉัยว่า การที่ ม.ภริยาจำเลยที่ 1 ไปทำสัญญากู้ยืมเงินโจทก์จำเลยที่ 1 ไม่ได้ร่วมรู้เห็นด้วย การที่จะเป็นความผิดฐานโกงเจ้าหนี้นั้น ต้องได้ความว่า ผู้กระทำรู้ว่าเจ้าหนี้ได้ใช้ หรือจะใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้ชำระหนี้ แต่โจทก์ฟ้อง ม. หลังจากที่จำเลยที่ 1โอนขายบ้านและที่ดินให้แก่ ส. แล้ว และไม่ได้ฟ้องจำเลยที่ 1 ด้วย พยานหลักฐานโจทก์จึงฟังไม่ได้ว่า จำเลยที่ 1 รู้ว่าโจทก์จะใช้หรือได้ใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้ชำระหนี้ พิพากษายกฟ้อง ดังนั้นการที่จำเลยที่ 1 หย่ากับ ม.ภายหลังจากที่จำเลยที่ 1 ได้จดทะเบียนขายบ้านพร้อมที่ดินให้ ส. แล้ว แต่จำเลยที่ 1 กลับเบิกความและนำสืบพยานหลักฐานเท็จ ว่าหย่ากันก่อนที่ ม. กู้ยืมเงินโจทก์ แต่ศาลชั้นต้นก็ไม่ได้หยิบยกข้อความที่ว่าจำเลยที่ 1 หย่ากับ ม. เมื่อใดขึ้นวินิจฉัย ข้อความดังกล่าวจึงมิใช่ข้อแพ้ชนะอันจะเป็นข้อสำคัญในคดี แม้จะฟังว่า ข้อความที่จำเลยที่ 1 เบิกความและนำสืบหรือแสดงพยานหลักฐานเป็นเท็จก็ตาม ก็ลงโทษจำเลยที่ 1 ทั้งสองข้อหาดังกล่าวไม่ได้
- คำพิพากษาฎีกาที่ 2777/2537 ผู้ให้เช่านาจะขายนาที่ให้เช่าได้ ต่อเมื่อได้แจ้งความจำนงจะขายนาให้ผู้เช่านาทราบเป็นหนังสือ เมื่อข้อเท็จจริงในคดีฟังเป็นยุติว่า ช. ผู้ให้เช่านาบอกขายนาให้แก่จำเลยโดยเป็นการบอกขายระหว่างกันเอง มิได้ปฏิบัติตามขั้นตอนตามที่ พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 กำหนดไว้ การที่ ช. ขายนาที่จำเลยเช่าให้แก่โจทก์ จึงไม่ทำให้จำเลยซึ่งเป็นผู้เช่านาหมดสิทธิ์ที่จะซื้อนาแปลงดังกล่าว ข้อความที่จำเลยเบิกความต่อศาลในคดีแพ่ง ที่จำเลยฟ้องโจทก์ขอให้บังคับโจทก์ขายนาแก่จำเลย ในทำนองว่า ช. ไม่เคยบอกขายที่นาให้แก่จำเลย แม้จะเป็นความเท็จ แต่ข้อความดังกล่าว มิใช่ข้อสำคัญในคดีก่อน เพราะไม่อาจทำให้คู่ความแพ้ชนะกันในประเด็นแห่งคดีได้ จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานเบิกความเท็จ
- คำพิพากษาฎีกาที่ 2753/2540 โจทก์ทั้งสองฟ้องว่าจำเลยรู้อยู่แล้วว่าโจทก์ทั้งสองออกเช็คพิพาทให้ ส. ยึดถือไว้แทนสัญญากู้ยืมเงินที่โจทก์ที่ 1 กู้ยืมเงินไปจากส. แต่จำเลยเบิกความเป็นพยานโจทก์ในคดีอาญาที่ ส. ฟ้องโจทก์ทั้งสองเป็นจำเลยในข้อหาความผิดต่อ พ.ร.บ ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2597 ว่าโจทก์ทั้งสองออกเช็คพิพาทแลกเงินสดไปจากจำเลยอันเป็นการออกเช็คพิพาทให้จำเลยเพื่อชำระหนี้ ซึ่งหากข้อเท็จจริงเป็นดังที่โจทก์ทั้งสองฟ้องคำเบิกความของจำเลยย่อมเป็นความเท็จอันเป็นข้อสำคัญในคดีดังกล่าว จำเลยย่อมมีความผิดฐานเบิกความเท็จ แต่เนื่องจากในขณะคดีนี้อยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2597 ซึ่งเป็นกฎหมายในคดีเดิมที่โจทก์ทั้งสองนำมาเป็นมูลในการฟ้องคดีนี้ได้ถูกยกเลิกไปแล้ว มี พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 ออกมาใช้บังคับแทน ปรากฏว่ากฎหมายฉบับใหม่ที่ออกภายหลังการออกเช็คที่จะเป็นความผิดนั้นต้องเป็นการออกเช็ค เพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายแต่กรณีการออกเช็คพิพาทแล้วแลกเงินสดมิใช่เป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2574 มาตรา 4 ดังนี้ คำเบิกความของจำเลยในคดีนั้น จึงไม่เป็นข้อสำคัญในคดีนี้ อันจะเป็นความผิดฐานเบิกความเท็จ การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตามฟ้อง
- ประเด็นเปรียบเทียบ เรื่องการแจ้งจำนวนทายาทในการขอรับมรดก
- คำพิพากษาฎีกาที่ 2141/2532 แจ้งต่อเจ้าพนักงานที่ดิน แสดงจำนวนทายาทเท็จ เพื่อรับมรดก ผิด ม 137 (เทียบ ฎ 3608/2540 (สบฎ สต 356) คำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก แสดงจำนวนทายาทเท็จ เพื่อขอตั้งผู้จัดการมรดก ไม่ผิด ม 177)
- คำพิพากษาฎีกาที่ 3608/2540 (สบฎ สต 356) คดีแพ่งที่จำเลยร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1713 และ 1718 มีประเด็นข้อสำคัญในคดีว่า ผู้ร้องคือจำเลยในคดีนี้เป็นทายาทหรือมีส่วนได้เสีย ที่จะมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งให้จำเลยเป็นผู้จัดการมรดกหรือไม่ มีเหตุจะแต่งตั้งผู้จัดการมรดกหรือไม่ และผู้ร้องเป็นบุคคลต้องห้ามที่จะเป็นผู้จัดการมรดกหรือไม่ เมื่อปรากฏว่าจำเลยเป็นทายาทมีสิทธิได้รับมรดกของผู้ตาย จำเลยเบิกความเกี่ยวกับจำนวนทายาท การให้ความยินยอมของทายาท และแสดงพยานหลักฐานบัญชีเครือญาติ ไม่ตรงต่อความจริง แม้จะเป็นความเท็จ ก็มิใช่เป็นข้อสำคัญในคดีอันอาจทำให้ผลของคดีร้องขอจัดการมรดกเปลี่ยนแปลงไป การกระทำของจำเลยจึงขาดองค์ประกอบของความผิดดังกล่าว
- ประเด็นความผิดเกี่ยวเนื่องกัน
- คำพิพากษาฎีกาที่ 5020/2530 จำเลยกระทำความผิดฐานเบิกความเท็จ ตาม มาตรา 177 พร้อมกันไปกับการกระทำผิดฐานนำสืบ หรือแสดงพยานหลักฐานเท็จ ตาม มาตรา 180 เป็นความผิดกรรมเดียว
- ประเด็นตามกฎหมายวิธีพิจารณาความ เรื่องการบรรยายฟ้อง
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1171/2511 เบิกความในชั้นไต่สวนคำร้องขอให้ยึดทรัพย์ก่อนพิพากษา ก็อาจเป็นเบิกความเท็จได้ บรรยายฟ้องว่าข้อความที่จำเลยเบิกความต่อศาล (ระบุข้อความที่เบิกความ) เป็นเท็จ โดยไม่ได้บรรยายว่าความจริงเป็นเช่นไร ก็ถือเป็นฟ้องที่สมบูรณ์แล้ว
- คำพิพากษาฎีกาที่ 2054/2517 การเบิกความเท็จต่อศาลในการพิจารณาคดี มิใช่เรื่องแจ้งความต่อเจ้าพนักงาน เพราะศาลทำหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานในการยุติธรรมในการพิจารณาคดี ซึ่งมีบทบัญญัติไว้โดยเฉพาะตามมาตรา 177 มิได้ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะเป็นเจ้าพนักงานอย่างเจ้าพนักงานทั่วไป จึงไม่เป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จ / คำเบิกความของจำเลย ซึ่งเท้าความไปถึงเรื่องระหองระแหงต่าง ๆ ระหว่างโจทก์กับจำเลย ในคดีอาญาที่ศาลได้พิพากษาลงโทษจำเลยฐานทำร้ายร่างกายโจทก์นั้น แม้จะเป็นความเท็จ ก็หาใช่ข้อสำคัญในคดีดังกล่าวไม่ / ฟ้องโจทก์มิได้บรรยายว่า การแจ้งความของจำเลยอาจทำให้โจทก์เสียหาย เป็นแต่กล่าวว่า อาจทำให้ผู้อื่นเสียหาย โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหาย ไม่มีอำนาจฟ้องในข้อหาฐานนี้
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1338/2529 แม้โจทก์จะมิได้บรรยายฟ้องระบุถ้อยคำมาให้ชัดแจ้งว่า ข้อที่จำเลยเบิกความเท็จนั้นเป็นข้อสำคัญในคดี แต่โจทก์ได้บรรยายข้อเท็จจริงไว้ด้วยว่าจำเลยเป็นประจักษ์พยานในคดี หากศาลเชื่อตามคำเบิกความอันเป็นเท็จของจำเลยอาจทำให้คดีของโจทก์ขาดประจักษ์พยานโจทก์อาจได้รับความเสียหาย ซึ่งตามข้อความดังกล่าว ย่อมแสดงอยู่ในตัวว่าคำเบิกความอันเป็นเท็จของจำเลยนั้นเป็นข้อสำคัญในคดี ถือไม่ได้ว่าฟ้องโจทก์ขาดองค์ประกอบที่จะเป็นความผิดตาม ป.อ.ม.177
- คำพิพากษาฎีกาที่ 19/2532 โจทก์ไม่ได้บรรยาย ให้เห็นว่าคดีที่จำเลยเบิกความ มีข้อหาและข้อความที่เบิกความเป็นเท็จเป็น ข้อสำคัญในคดีอย่างไร จึงเป็นฟ้องที่ไม่ชอบ ด้วย ปวิอ ม 158 (5)
- คำพิพากษาฎีกาที่ 364/2532 (สบฎ เน 59) โจทก์มิได้บรรยายว่าคดีที่จำเลยเบิกความอันเป็นเท็จนั้นมีข้อหาหรือฐานความผิดอะไร ประเด็นสำคัญของคดีมีว่าอย่างไร และคำเบิกความของจำเลยเป็นข้อสำคัญในคดีอย่างไร เป็นฟ้องที่ไม่ได้ บรรยายถึงการกระทำที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดพอสมควร เท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี จึงเป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 158 (5)
- ประเด็นเกี่ยวกับวิธีพิจารณาความ
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1535/2512 (สบฎ เน 2099) การถอนฟ้องนั้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มิได้บัญญัติถึงคดีที่ผู้เสียหายเป็นโจทก์ว่าให้ถอนคดีได้เสมอไป ไม่ว่าผู้เสียหายหรืออัยการเป็นโจทก์การถอนฟ้อง ต้องเป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 35 ที่ให้ถอนฟ้องให้ก่อนมีคำพิพากษาของศาลชั้นต้น เว้นแต่คดีความผิดต่อส่วนตัวจะถอนฟ้อง หรือยอมความในเวลาใดก่อนคดีถึงที่สุดก็ได้ ในกรณีความผิดฐานเบิกความเท็จตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 177 มิใช่คดีความผิดต่อส่วนตัว เมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว จึงถอนฟ้องไม่ได้
- คำพิพากษาฎีกาที่ 728/2524 ข้อเท็จจริงในคดีก่อนเป็นที่ยุติระหว่างโจทก์กับจำเลยในคดีก่อนเท่านั้น จะนำมาฟังในคดีนี้ว่า การที่จำเลยให้การในชั้นสอบสวนและเบิกความในชั้นพิจารณาของศาล ตรงกันข้ามกับข้อเท็จจริงดังกล่าว เป็นการแจ้งความเท็จและเบิกความเท็จหาได้ไม่ เมื่อโจทก์ไม่มีพยานนำสืบว่า ความจริงเป็นดังที่โจทก์กล่าวในฟ้อง จำเลยก็ไม่มีความผิดตามฟ้อง
- คำพิพากษาฎีกาที่ 533/2527 คำพิพากษาให้ถือว่าผูกพันคู่ความตาม ป.ว.พ. ม.145 นั้น คงผูกพันคู่ความตามความหมายขอ ม.1 (11) หามีผลผูกพันถึงพยานที่ได้เบิกความไว้ในคดีอื่นไม่ คำเบิกความของพยานที่เบิกความไว้ในคดีก่อน จะรับฟังเป็นยุติว่าเป็นความจริง โดยเด็ดขาดหาได้ไม่ แม้ในคดีดังกล่าวศาลจะได้พิพากษาคดีถึงที่สุด โดยเชื่อว่าคำเบิกความของพยานเป็นความจริง คำเบิกความพยานจะเป็นเท็จหรือไม่ เป็นปัญหาที่ต้องมีการพิจารณาวินิจฉัยในเนื้อแท้ของความจริงให้ประจักษ์ มิฉะนั้นแล้ว หากเผอิญศาลเชื่อรับฟังคำเบิกความของผู้ใดอันเป็นเท็จได้เลย ทั้ง ๆ ที่ความจริงของคำเบิกความนั้นเป็นเท็จและอาจพิสูจน์ให้เห็นชัดได้ในคดีที่ถูกฟ้องภายหลัง อีกทั้งไม่มีบทกฎหมายใดที่จะรองรับคำเบิกความของ.พยานในกรณีดังกล่าว ให้ถือเป็นยุติว่าเป็นความจริงไม่เป็นเท็จ
- คำพิพากษาฎีกาที่ 765/2532 คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยข้อหาเบิกความเท็จศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ โจทก์มาฟ้องจำเลยใหม่เป็นคดีหลัง โดยข้อความที่โจทก์กล่าวหาว่าจำเลยเบิกความเท็จในคดีหลังเป็นข้อความในเรื่องเดียวกัน มีเนื้อหาสาระอย่างเดียวกับที่โจทก์เคยฟ้องจำเลยในคดีก่อน แม้การเบิกความดังกล่าวเป็นคนละคราวกัน แต่ข้อความที่เบิกความมีมูลเหตุอันเดียวกัน แลเป็นการกล่าวตามครรลองของเรื่องเท่านั้น การที่โจทก์นำมาฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยเบิกความเท็จซ้ำอีกจึงเป็นฟ้องซ้ำ
มาตรา 178 ผู้ใดซึ่งเจ้าพนักงานในตำแหน่งตุลาการ พนักงานอัยการ ผู้ว่าคดีหรือพนักงานสอบสวน ให้แปลข้อความหรือความหมายใด แปลข้อความหรือความหมายนั้นให้ผิดไปในข้อสำคัญต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 179 ผู้ใดทำพยานหลักฐานอันเป็นเท็จ เพื่อให้พนักงานสอบสวนหรือเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญา เชื่อว่าได้มีความผิดอาญาอย่างใดเกิดขึ้น หรือเชื่อว่าความผิดอาญาที่เกิดขึ้นร้ายแรงกว่าที่เป็นความจริง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
- คำพิพากษาฎีกาที่ 3025/2526 เมื่อตามพฤติการณ์มีเหตุผลควรให้จำเลยเข้าใจได้ว่า โจทก์เป็นคนร้ายที่ลักทรัพย์ของจำเลยไป การที่จำเลยแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนโดยเชื่อว่าเป็นเช่นนั้น จึงไม่เป็นความผิดตาม ป.อ.ม.172 / การที่ผู้ใหญ่บ้านจำเลยที่ 2 ได้รับแจ้งจากจำเลยที่ 1ว่าทรัพย์ของจำเลยที่ 1 ถูกคนร้ายลักไป ได้ทำบันทึกมีข้อความถูกต้องเพียงแต่ทำบันทึกในวันหลัง และลงวันที่ย้อนหลังให้ถูกต้องตรงกับวันที่ที่มีการแจ้งความนั้น เป็นเพียงการทำบันทึกให้ตรงกับความเป็นจริง ว่ามีการแจ้งความในวันใด ไม่เป็นการทำพยานหลักฐานเท็จตาม ม.179
มาตรา 180 ผู้ใดนำสืบหรือแสดงพยานหลักฐานอันเป็นเท็จ ในการพิจารณาคดี ถ้าเป็นพยานหลักฐานในข้อสำคัญในคดีนั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ถ้าความผิดดังกล่าวในวรรคแรก ได้กระทำในการพิจารณาคดีอาญา ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี และปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นสี่พันบาท
- ผู้นำสืบพยานหลักฐาน
- คำพิพากษาฎีกาที่ 305/2508 แม้จำเลยจะมิได้นำสืบ แต่ได้แสดงพยานหลักฐานเท็จต่อศาลแล้ว โดยส่งหลักฐานเอกสารซึ่งเดิมมีอยู่ 2 หลักฐาน จำเลยส่งแสดงว่ามีหลักฐานเดียว ย่อมเป็นการแสดงหลักฐานอันเป็นเท็จต่อศาลตามมาตรา 180 แล้ว / เมื่อปรากฏว่าสัญญากู้เงิน ซึ่งเป็นเอกสารสิทธินั้นมีเรื่องที่แท้จริงรวมกันอยู่ 2 เรื่อง คือมีหนังสือสัญญากู้เงินและบันทึกการชำระหนี้เงินกู้รายนี้บางส่วนจำเลยได้ลบบันทึกดังกล่าวออกเสียเอกสารสิทธินั้นก็จะมีหนังสือสัญญากู้อันเป็นเอกสารที่แท้จริงเหลืออยู่เพียงเรื่องเดียว การที่จำเลยลบบันทึกนั้นออก ก็เพื่อให้โจทก์หรือศาลหลงเชื่อว่าเอกสารสิทธิมีหนังสือสัญญากู้เงินเพียงเรื่องเดียวซึ่งแสดงว่าไม่เคยผ่อนชำระหนี้กันเลย การกระทำเช่นนี้เป็นการตัดทอน หรือแก้ไขด้วยประการใด ๆ ในเอกสารที่แท้จริง เป็นผิดฐานปลอมเอกสารตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 264 / การปลอมเอกสาร ซึ่งอยู่ในความยึดถือของจำเลยนั้นย่อมมีโอกาสทำได้ในที่ลับ เป็นการยากที่จะมีประจักษ์พยาน ฉะนั้นพยานประพฤติเหตุบ่งจำเลยเป็นผู้ปลอมเอกสารไม่ผิดตัวก็ฟังลงโทษจำเลยได้ / จำเลยนำพยานสืบแก้ฟ้องโจทก์ แล้วยังอ้างผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติมเพื่อตรวจพิสูจน์เอกสารที่โจทก์อ้างไว้ว่า มีรอยลอกอากรแสตมป์ และมีรอยลบข้อความบางประการออกหรือไม่ ซึ่งข้อความที่จะนำสืบพยานผู้เชี่ยวชาญนี้ พยานจำเลยไม่ได้เบิกความมาก่อนเลย และโจทก์ก็ไม่รู้ว่าจำเลยจะสืบประเด็นเช่นนี้ ศาลย่อมมีอำนาจให้โจทก์นำสืบแก้ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 89 วรรค 3
- คำพิพากษาฎีกาที่ 986-987/2508 การบรรยายฟ้องว่า จำเลยเบิกความเท็จต่อศาลจังหวัดกาญจนบุรีนั้น ไม่ใช่ข้อกล่าวหาว่าจำเลยแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงาน และแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จตามมาตรา 137, 267 / บรรยายฟ้องว่า 1 จำเลยทั้งสองสมคบกันปลอมสัญญากู้ และจำเลยทั้งสองได้ใช้กลฉ้อฉลทำสัญญาประนีประนอมยอมความ ตามสัญญากู้ด้วยการสมคบกัน เช่นนี้ เห็นได้ชัดว่าได้ฟ้องกล่าวหาถึงจำเลย ตาม มาตรา 180 ด้วย และเมื่อศาลฎีกาต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลอุทธรณ์ฟังมาว่า จำเลยได้ร่วมกระทำในการนำสัญญากู้ ซึ่งเป็นเอกสารเท็จ มาแสดงเป็นพยานหลักฐานในคดี ฉะนั้น ใครจะเป็นผู้นำสัญญากู้มายื่น จึงไม่ใช่ข้อสำคัญที่จำเลยจะอ้างขึ้นเป็นข้อแก้ตัวให้พ้นผิดตามมาตรา 180 ได้
- คำพิพากษาฎีกาที่ 3894/2525 จำเลยกับพวกทำพินัยกรรมปลอมขึ้น แล้วส่งอ้างเป็นพยานต่อศาล แม้ผู้ชำนาญการพิเศษตรวจพิสูจน์ลงความเห็นไม่ได้ ก็มีสภาพเป็นพินัยกรรม เมื่อนำส่งอ้างเป็นพยานต่อศาล ผิดฐานใช้พินัยกรรมปลอมอีกกระทงหนึ่ง ไม่ใช่กรณี มาตรา 81 แม้จำเลยกระทำในฐานะ “ทนายความ” ก็มีความผิดฐานเป็นตัวการร่วมกันใช้พินัยกรรมปลอมตามมาตรา 83
- คำพิพากษาฎีกาที่ 198, 199/2528 ผู้ที่จะนำสืบ หรือแสดงพยานหลักฐานในการพิจารณาคดีของศาลก็คือโจทก์และจำเลยเท่านั้น / คดีอาญาเรื่องก่อนที่โจทก์คดีนี้ถูกฟ้องข้อหาบุกรุกเคหสถานและทำร้ายร่างกายจำเลยที่ 1 คดีนี้ จำเลยทั้งสองในคดีนี้เบิกความในฐานะเป็นพยานโจทก์และจำเลยที่ 2 เป็นผู้ส่งหลักฐานมีดของกลางแก่พนักงานสอบสวน จำเลยทั้งสองมิได้เป็นโจทก์หรือจำเลยในคดีก่อน จึงไม่มีความผิดฐานนำสืบ หรือแสดงพยานหลักฐานอันเป็นเท็จตาม ป.อ. ม.180
- ประเด็นเรื่องการนำสืบ หรือแสดงพยานหลักฐาน
- คำพิพากษาฎีกาที่ 305/2508 แม้จำเลยจะมิได้นำสืบ แต่ได้แสดงพยานหลักฐานเท็จต่อศาลแล้ว โดยส่งหลักฐานเอกสารซึ่งเดิมมีอยู่ 2 หลักฐาน จำเลยส่งแสดงว่ามีหลักฐานเดียว ย่อมเป็นการแสดงหลักฐานอันเป็นเท็จต่อศาลตามมาตรา 180 แล้ว
- คำพิพากษาฎีกาที่ 3066/2527 จำเลยได้อาศัยหนังสือสัญญากู้อันเป็นเท็จ มาฟ้องผู้เสียหายซึ่งเป็นผู้กู้ แล้วมีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในศาล และศาลได้พิพากษาไปตามยอดนั้น ดังนี้ ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการนำสืบ หรือแสดงหลักฐาน อันเป็นเท็จในการพิจารณาคดีของศาล จำเลยไม่มีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 180 (ยังไม่มีการสืบพยาน และไม่ใช่กรณีศาลเรียกพยานหลักฐานมาตรวจดู เพื่อชี้สองสถาน)
- ประเด็นเรื่องข้อสำคัญในคดี
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1193/2510 แต่เดิมจำเลยได้ทำสัญญาว่าจ้าง โจทก์ก็เป็นทนายฟ้องเรียกมรดก ต่อมาจำเลยได้ทำสัญญายอมกับอีกฝ่ายหนึ่ง แล้วจ่ายค่าจ้างว่าความไม่ครบตามสัญญา โจทก์จึงฟ้องคดีแพ่งเรียกค่าจ้างว่าความ จำเลยได้นำเอกสารใบมอบอำนาจซึ่งจำเลยมอบอำนาจให้บุคคลอื่นเป็นตัวแทนในการจ้างว่าความ หากไม่ได้รับความยินยอมจากตัวแทนก็ไม่ผูกมัดจำเลยแสดงต่อศาล ศาลพิพากษาว่าทรัพย์มรดกที่ฟ้องเรียกนั้นมีราคาเพียง 1 ล้านบาท โจทก์ได้ปฏิบัติงานไม่ครบถ้วนตามสัญญา จำเลยได้รับมรดกเพียง 2 แสนบาท ได้จ่ายค่าจ้างทนายเป็นเงิน 27,000บาท พอสมควรแก่การปฏิบัติงานแล้ว โจทก์จึงฟ้องเป็นคดีอาญา ในคดีนี้ว่าจำเลยแสดงพยานหลักฐานเท็จตาม มาตรา 180 ศาลฎีกาเห็นว่าใบมอบอำนาจนั้น ยังถือไม่ได้ว่าเป็นพยานหลักฐานในข้อสำคัญในคดี การกระทำของจำเลยจึงยังไม่เป็นความผิดดังโจทก์ฟ้อง
- คำพิพากษาฎีกาที่ 162/2532 โจทก์ฟ้องจำเลยในข้อหาปลอมเอกสาร และใช้เอกสารปลอม โดยกล่าวอ้างว่าจำเลยเอาอาวุธปืนของโจทก์ ไปขูดลบเปลี่ยนหมายเลขทะเบียนปืน และเลขประจำปืน แล้วนำไปจดทะเบียนในสภาพเป็นอาวุธปืนเถื่อน คดีถึงที่สุดโดยศาลฎีกาวินิจฉัยว่าคดีขาดอายุความ การที่จำเลยนำอาวุธปืนมาแสดงต่อศาล เพื่อพิสูจน์ว่าอาวุธปืนที่จำเลยนำไปจดทะเบียนปืนเถื่อน เป็นอาวุธปืนคนละกระบอกกับอาวุธปืนของโจทก์ ระหว่างพิจารณาคดีดังกล่าวของศาลชั้นต้น จึงไม่ใช่เป็นการแสดงพยานหลักฐานในข้อสำคัญในคดี เพราะอาวุธปืนดังกล่าวจะเป็นพยานหลักฐานอันเป็นเท็จ หรือไม่ก็ไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไป
- ตัวอย่างประเด็นข้อสอบเก่า มาตรา 180
- (ขส พ 2502/ 9 ครั้งที่สอง) นายมาซื้อที่ดินจากนายมี ซึ่งมีนายมิ่งเช่านายมีอยู่ โดยไม่มีสัญญาเช่า /เมื่อนายมาฟ้องขับไล่นายมิ่ง นายมิ่งกับนายมี ทำสัญญาเช่าลงวันที่เท็จ ย้อนไปถึงวันก่อนซื้อขายที่ดิน / แล้วนายมิ่งนำไปอ้างเป็นพยานหลักฐานต่อศาล ทนายของนายมาหลงเชื่อ จึงยอมทำสัญญาประนอมยอมความ / นายมิ่งและนายมี ไม่ผิดฐานปลอมหนังสือ (ม ๒๖๔) แต่ผิดฐานแสดงพยานหลักฐานเท็จ ในการพิจารณาคดี (ม ๑๘๐) ฎ ๑๐๖/๒๔๙๗
- (ขส พ 2522/ 8) เจ้าหนี้ให้กู้ ไม่ได้ทำสัญญา ลูกหนี้ไม่ชำระ เจ้าหนี้จึงทำสำเนาสัญญากู้ ฟ้องศาล อ้างว่าต้นฉบับหาย ลูกหนี้อ้างว่าไม่เคยทำสัญญา เจ้าหนี้นำสำเนาเข้าสืบเป็นพยาน ผิด ปลอมเอกสารสิทธิ เพราะรับรองสำเนาว่าถูกต้อง ทั้งที่ต้นฉบับไม่มี เท่ากับปลอมขึ้นทั้งฉบับ เพื่อให้เห็นว่าคัดมาจากต้นฉบับที่แท้จริง ผิดปลอมเอกสาร ม ๒๖๔,๒๖๕ ฎ ๑๗๓๓/๒๕๑๔ สัญญากู้เป็นเอกสารสิทธิตาม ม ๑ (๙) ฎ ๑๖๗/๒๕๑๗ การนำไปยื่นฟ้อง ผิด ม ๒๖๘ ฎ ๘๒๕/๒๕๐๖ ลงโทษตาม ม ๒๘๖ ว ๒ และผิด ม ๑๘๐ ต่างกรรมกับฐานใช้เอกสารสิทธิปลอม (ม ๑๗๗)
มาตรา 181 ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา 174 มาตรา 175 มาตรา 177 มาตรา 178 หรือมาตรา 180
(1) เป็นการกระทำในกรณีแห่งข้อหาว่า ผู้ใดกระทำความผิดที่มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีขึ้นไป ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงเจ็ดปี และปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงหนึ่งหมื่นสี่พันบาท
(2) เป็นการกระทำในกรณีแห่งข้อหาว่า ผู้ใดกระทำความผิดที่มีระวางโทษถึงประหารชีวิต หรือจำคุกตลอดชีวิต ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสามหมื่นบาท
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1304/2506 ข้อความที่ว่า "ความผิดที่มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีขึ้นไป...." ในมาตรา 181 (1) นั้น หมายความถึงอัตราขั้นต่ำของความผิดนั้น ๆ จะต้องจำคุกสามปีเป็นอย่างน้อยที่สุด
- คำพิพากษาฎีกาที่ 561/2508 การเบิกความเท็จในการพิจารณาคดีอาญา ไม่ใช่เรื่องแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความแต่เป็นเรื่องเบิกความ ซึ่งศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจจดข้อความตอนใดหรือไม่จดก็ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ การจดจึงเป็นเรื่องของศาล ไม่ใช่เรื่องของพยานที่จะแจ้งให้ศาลจดข้อความอันเป็นเท็จ ซึ่งเป็นความผิดตาม มาตรา 267 / จำเลยไม่ใช่นายช่วง แต่มาอ้างต่อศาลว่าเป็นนายช่วง และข้อเท็จจริงที่จำเลยเบิกความว่าได้รู้เห็นเหตุการณ์ จำเลยก็มิได้รู้เห็นจริงกับจำเลยได้ลงชื่อปลอมว่านายช่วงในคำเบิกความที่ศาลจำไว้อีกด้วย ความผิดฐานเบิกความเท็จสำเร็จได้ โดยไม่ต้องอาศัยการลงชื่อปลอม การลงชื่อปลอมของจำเลย จึงเป็นความจริงฐานปลอมเอกสารตาม มาตรา 264 อีกด้วย แต่จำเลยหามีความผิดฐานปลอมเอกสารราชการตาม มาตรา 265 อีกมาตราหนึ่งไม่ / คำว่า ระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 181 (1) หมายถึงว่าอัตราโทษขั้นต่ำของความผิดนั้นจะต้องมีระวางโทษจำคุก 3 ปีเป็นอย่างน้อยที่สุด
- คำพิพากษาฎีกาที่ 3702/2526 การที่จำเลยให้การเท็จว่าเห็นเหตุการณ์ แล้วขอถอนคำให้การอ้างว่าที่ให้ไว้เพราะได้รับการเสี้ยมสอน จำเลยก็มีความผิดฐานแจ้งความเท็จตาม ป.อ.ม.172,174 ป.อ.ม.181 (2) ข้อความที่ว่าเป็นการกระทำในกรณีแห่งข้อหาว่าผู้อื่นกระทำความผิดที่มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีขึ้นไปนั้น หมายถึงอัตราโทษขั้นต่ำตามที่กฎหมายกำหนดไว้
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1294/2536 มาตรา 181 (1) ซึ่งบัญญัติว่า ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา 174 (1) เป็นการกระทำในกรณีแห่งข้อหาว่า ผู้ใดกระทำความผิดที่มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีขึ้นไปนั้น คำว่า "เป็นการกระทำในกรณีแห่งข้อหาว่าผู้ใดกระทำความผิดที่มีระวาง โทษจำคุกตั้งแต่สามปีขึ้นไป"หมายความว่า กรณีแห่งข้อหาว่าผู้ใดกระทำความผิด จะต้องมีอัตราโทษขั้นต่ำของความผิดจำคุกสามปีเป็นอย่างน้อยที่สุด เมื่อกรณีแห่งข้อหาว่าผู้เสียหายกระทำความผิดคือ การที่จำเลยแจ้งความเท็จ ว่าผู้เสียหายมีและพาอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งมีระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี โทษขั้นต่ำไม่ถึงสามปี การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามมาตรา 181 (1)
มาตรา 182 ผู้ใดกระทำความผิดตามมาตรา 177 หรือมาตรา 178 แล้ว ลุแก่โทษ และกลับแจ้งความจริงต่อศาลหรือเจ้าพนักงาน ก่อนจบคำเบิกความ หรือการแปลนั้น ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ
มาตรา 183 ผู้ใดกระทำความผิดตามมาตรา 177 มาตรา 178 หรือมาตรา 180 แล้วลุแก่โทษ และกลับแจ้งความจริงต่อศาลหรือเจ้าพนักงาน ก่อนมีคำพิพากษา และก่อนตนถูกฟ้องในความผิดที่ได้กระทำ ศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น