อาญา มาตรา ๓๒ - ๓๘
มาตรา 32 ทรัพย์สินใดที่กฎหมายบัญญัติไว้ว่า ผู้ใดทำหรือมีไว้เป็นความผิด ให้ริบเสียทั้งสิ้น ไม่ว่าเป็นของผู้กระทำความผิด และมีผู้ถูกลงโทษตามคำพิพากษาหรือไม่
- โทษ “ริบ” มุ่งตัวทรัพย์เป็นสำคัญ แม้จำเลยไม่ต้องรับโทษ เช่นอายุไม่เกิน 14 ปี ศาลก็ริบได้(อก /536) แต่ อ โกเมน แย้งว่าโทษหลัก (จำคุก) ยังลงไม่ได้ โทษรอง (คือการ “ริบทรัพย์”) ก็ไม่น่าจะลงโทษได้ (เน 47/12/9)
- ลักษณะของโทษริบทรัพย์
- หมายเหตุ คำพิพากษาฎีกาที่ 121/2541 โดย กรกันยา กันยะพงศ์ / การริบทรัพย์สินเป็นโทษอย่างหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งเฉพาะแต่ทรัพย์ที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดเท่านั้นที่จะพึงรับได้ มิใช่จะริบทรัพย์สินของผู้กระทำความผิดทั้งหมด การริบทรัพย์สิน มีลักษณะเป็นทั้งการลงโทษและวิธีการเพื่อความปลอดภัย (จิตติ ติงศภัทิย์, กฎหมายอาญาภาค 1, สำนักอบรมศึกษากฎหมาย แห่งเนติบัณฑิตยสภา, 2529, หน้า 1033) กล่าวคือ การริบทรัพย์สิน ซึ่งบุคคลได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด เป็นลักษณะของวิธีการเพื่อความปลอดภัย ส่วนการริบทรัพย์สินซึ่งบุคคลได้มาโดยได้ กระทำความผิดนั้นเป็นลักษณะของการลงโทษ เพื่อมิให้ผู้กระทำความผิดได้รับประโยชน์จากการกระทำผิดของตน
- คำพิพากษาฎีกาที่ 751/2507 โพยสลากกินรวบของกลางเป็นทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำผิด แม้ศาลจะพิพากษายกฟ้อง ปล่อยตัวจำเลยพ้นข้อหาไป ก็ตาม ก็ยังอยู่ในดุลพินิจของศาลที่จะสั่งริบเสียได้
- คำพิพากษาฎีกาที่ 246/2516 การริบทรัพย์สิน แม้ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 18 บัญญัติว่าเป็นโทษสถานหนึ่ง แต่ก็เป็นโทษที่มุ่งถึงตัวทรัพย์เป็นสำคัญ ต่างกับโทษสถานอื่น แม้จำเลยซึ่งเป็นผู้กระทำผิดจะไม่ต้องรับโทษ เพราะมีอายุไม่เกิน 14 ปี ก็ตาม ศาลก็ชอบที่จะสั่งริบทรัพย์สินของกลางได้
- คำพิพากษาฎีกาที่ 714/2542 การริบทรัพย์สินนี้แม้ ป.อ. มาตรา 18 จะบัญญัติว่าเป็นโทษสถานหนึ่ง แต่เป็นโทษที่มุ่งถึงตัวทรัพย์เป็นสำคัญต่างกับโทษสถานอื่น ศาลฎีกาจึงมีอำนาจสั่งริบของกลางได้ มิใช่เป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลย
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1768/2543 การริบทรัพย์สิน เป็นโทษตาม ป.อ. มาตรา 18 (5) จึงต้องมีการฟ้องจำเลยในความผิดดังกล่าว และพิสูจน์ความผิดของจำเลยต่อศาลเสียก่อน เมื่อโจทก์มิได้ฟ้องจำเลยถึงการกระทำดังกล่าวในครั้งก่อนโดยตรง เพียงแต่กล่าวพาดพิงว่าเงินจำนวนดังกล่าว เป็นทรัพย์สินที่จำเลยได้มาจากการขายเมทแอมเฟตามีนเท่านั้น จึงยังไม่เป็นการเพียงพอ ศาลไม่อาจริบเงิน 30,000 บาท ตาม ป.อ.มาตรา 33 (2) ได้
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1814/2543 โจทก์ขอให้ริบทรัพย์ของกลางที่ จำเลยได้มาจากการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน ก่อนหน้าคดีนี้ เมื่อปรากฏว่าของกลางดังกล่าวไม่ใช่เครื่องมือ เครื่องใช้ ยานพาหนะ หรือวัตถุอื่นซึ่งได้ใช้ในการกระทำความผิด เกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 102 และไม่ใช่ทรัพย์สินที่กฎหมายบัญญัติไว้ว่าผู้ใดทำ หรือมีไว้เป็นความผิด หรือได้มาโดยกระทำความผิด ซึ่งหมายถึงเฉพาะความผิดที่กระทำในคดีนี้ตาม ป.อ. มาตรา 32, 33 (2) จึงไม่อาจริบได้
- การนำบทบัญญัติเกี่ยวกับการริบทรัพย์ และการร้องขอคืนทรัพย์ ไปใช้กับกฎหมายพิเศษอื่น
- คำพิพากษาฎีกาที่ 3118/2528 þ แม้ตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ จะมีบทบัญญัติเกี่ยวแก่การริบทรัพย์ไว้เป็นพิเศษแล้ว ศาลก็นำ ป.อ. ม.33 มาใช้บังคับในการที่จะริบทรัพย์ที่จำเลยใช้ในการกระทำความผิดได้ ตาม ป.อ. ม.17 ซึ่งตาม ม.33 เป็นเรื่องอยู่ในดุลพินิจของศาล เมื่อบรรทุกเกินปริมาณที่กฎหมายอนุญาตเพียงเล็กน้อย จึงไม่ควรริบรถยนต์ของกลาง / รถยนต์ของกลางที่จำเลยใช้บรรทุกไม้ฟืน ซึ่งเป็นของป่าหวงห้ามเกินประมาณที่กฎหมายอนุญาตให้มีไว้ในครอบครอง อันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ ม.29 ทวิ ศาลจะสั่งให้ริบตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ ม.74 ทวิ ไม่ได้ เพราะ ม.74 ทวิ ไม่มีบทบัญญัติให้ริบทรัพย์ซึ่งบุคคลได้ใช้ในการกระทำความผิดตาม ม.29 ทวิ / เปรียบเทียบ þ คำพิพากษาฎีกาที่ 485/2493 ฟ้องคดีอาญานั้น กฎหมายบังคับให้อ้างมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่า การกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดเท่านั้น หาได้บัญญัติให้อ้างบทมาตราที่บัญญัติให้ริบของกลางด้วยไม่ ฉะนั้นแม้จะไม่ได้อ้างมา ศาลก็มีอำนาจริบได้ในเมื่อโจทก์มีคำขอไว้แล้ว พ.ร.บ.มาตราชั่วตวงวัด ได้มีบทบัญญัติในเรื่องการริบและการยึดไว้แล้ว ดังจะเห็นได้ตามมาตรา 24 และ 38 ย่อมเห็นเจตนารมย์ของ พ.ร.บ.นี้ได้ว่า ไม่ประสงค์ที่จะให้นำมาตรา 27, 28 แห่งก.ม.ลักษณะอาญามาใช้บังคับแก่กระทำผิดใด ๆ ตาม พ.ร.บ.นี้อีก ในเมื่อการกระทำนั้น ๆ ไม่เป็นผิดตาม ก.ม.ลักษณะอาญาด้วย และ þ คำพิพากษาฎีกาที่ 1810/2517พ.ร.บ.ป่าไม้ มิได้มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการขอคืนของกลางที่ศาลสั่งริบ จึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายอาญา บุคคลภายนอกคดีย่อมใช้สิทธิตาม มาตรา 36 ขอให้ศาลสั่งคืนของกลางที่ถูกริบตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ได้
- การคำพิพากษา เกี่ยวกับวิธีพิจารณาความอาญา และคำขอริบทรัพย์
- คำพิพากษาฎีกาที่ 892/2497 โจทก์ฟ้องหาว่าจำเลยมีอาวุธปืนไม่มีทะเบียนไว้ในความครอบครอง และขอให้ศาลสั่งคืนของกลางแก่เจ้าของ ศาลจะสั่งคืนตามคำขอไม่ได้ เพราะปืนของกลางไม่มีทะเบียน ใครครอบครองย่อมมีความผิด การสั่งคืนแก่เจ้าของย่อมเป็นการขัดต่อกฎหมายในตัวและศาลจะสั่งริบก็มิได้ เพราะโจทก์มิได้ขอไว้เป็นการเกินคำขอ (ปพพ ม 1327)
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1285/2503 แม้ฟ้องของโจทก์ไม่ได้เน้นความไว้ว่า ของกลางที่จับได้พร้อมกับจำเลย เป็นของที่จำเลยใช้ในการกระทำผิดก็ดี ก็ย่อมต้องเข้าใจว่าเป็นสิ่งของที่แสดงถึงความผิด หรือพิรุธของจำเลยอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งอาจเป็นของที่จำเลยใช้ในการกระทำผิดก็ได้ เมื่อโจทก์ขอให้ริบของกลางทั้งหมด และจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ศาลต้องพิจารณาข้อเท็จจริง ประกอบกับสภาพของกลางว่า รายการใดพออนุมานได้ว่า จำเลยได้ใช้กระทำผิด อันเป็นของควรริบ ก็ให้ริบ จะไม่ริบ ก็เฉพาะแต่รายการที่ไม่พอจะอนุมานได้เท่านั้น
- คำพิพากษาฎีกาที่ 2808/2516 โจทก์ฟ้องว่า จำเลยใช้ปืนยิงพยายามฆ่าผู้เสียหาย เจ้าพนักงานจับจำเลยได้ และได้ปืน ลูกกระสุนปืน และปลอกกระสุนปืนที่จำเลยใช้ในการกระทำผิดเป็นของกลาง ขอให้ลงโทษโดยมิได้ขอให้ริบของกลางด้วย เมื่อศาลพิพากษาลงโทษจำเลย แม้จำเลยจะได้เบิกความรับว่าปืนของกลางเป็นปืนที่ไม่มีเครื่องทะเบียน และจำเลยมีไว้โดยไม่ได้รับอนุญาต ศาลก็สั่งริบของกลางไม่ได้ เพราะตามคำฟ้องไม่มีคำขอให้ริบของกลาง
- คำพิพากษาฎีกาที่ 620/2518 จำเลยให้การรับสารภาพตลอดข้อหา ซึ่งบรรยายว่าของกลางคือ โต๊ะเครื่องเล่นไฟฟ้าจักรกลสปริง (บิลเลียดไฟฟ้า)ฯ อันเป็นอุปกรณ์ใช้ในการเล่นพนันสล๊อตแมซีนจับได้ในขณะเล่นพนัน จึงต้องริบของกลางนี้
- คำพิพากษาฎีกาที่ 885/2518 จำเลยยิงคนถึงตาย ฟ้องไม่ได้บรรยายว่ามีปลอกกระสุนปืนในที่เกิดเหตุ กับหัวกระสุนปืนจากบาดแผลของผู้ตาย เป็นของกลาง ไม่มีคำขอให้ริบ ศาลริบไม่ได้
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1950/2521 รถไถของกลางซึ่งริบได้ตาม ป.อ.ม. 33 หรือต้องริบตาม ม.35 พ.ร.บ. ป่าสงวนแห่งชาติ แต่โจทก์มิได้ขอให้ริบ ศาลริบไม่ได้ เกินคำขอในฟ้อง
- คำพิพากษาฎีกาที่ 4225/2528 เสื้อของกลางคนร้าย มิได้ใช้ในการกระทำความผิดฐานชิงทรัพย์ ส่วนการถอดเสื้อของกลางทิ้ง โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าเป็นการพรางตาให้พ้นจากการจับกุม หรือเพื่อสะดวกแก่การเอาทรัพย์ไป จึงมิใช่เป็นทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิด ศาลจึงสั่งริบไม่ได้
- คำพิพากษาฎีกาที่ 5595/2530 แม้ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยมีและพาอาวุธปืนไม่มีทะเบียนกับกระสุนปืนของกลาง โดยไม่ได้รับอนุญาต แต่เมื่อโจทก์มิได้ขอให้ศาลสั่งริบของกลางดังกล่าวมาในฟ้อง ศาลย่อมริบของกลางนั้นไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคแรก
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1707/2531 ศาลจะสั่งริบทรัพย์สินที่จำเลยมีไว้ เพื่อใช้ในการกระทำความผิดได้ ก็ต่อเมื่อมีการกระทำความผิดนั้นและโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดนั้นด้วย เมื่อไม่ปรากฏว่ามีความผิดฐานเสพกัญชาเกิดขึ้น และโจทก์มิได้ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานเสพกัญชา โจทก์จะขอให้ศาลสั่งริบบ้องกัญชาและมีดสำหรับหั่นกัญชา ที่จำเลยมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดฐานเสพกัญชาหาได้ไม่ แม้จำเลยจะรับสารภาพว่ามีทรัพย์ดังกล่าวไว้ เพื่อใช้ในการกระทำความผิดฐานเสพกัญชา ศาลก็ไม่มีอำนาจสั่งริบ ศาลสั่งคืนให้แก่เจ้าของ
- คำพิพากษาฎีกาที่ 3021/2533 วัตถุระเบิดของกลาง เป็นวัตถุระเบิดนอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2522) ซึ่งนายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ผู้ใดมีไว้ในครอบครองได้ วัตถุระเบิดของกลางดังกล่าวจึงเป็นของที่มีไว้เป็นความผิดอยู่ในตัว จำเลยมีไว้ในครอบครองต้องมีความผิด ซึ่งตาม มาตรา 32 บัญญัติไว้ว่าให้ริบเสียทั้งสิ้น การที่ศาลไม่สั่งริบของกลางตามคำขอของโจทก์เป็นการไม่ชอบด้วย มาตรา 32 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 186 (9) แม้โจทก์ไม่ยกขึ้นว่ากันในชั้นอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจทำคำวินิจฉัยในเรื่องของกลางได้
- คำพิพากษาฎีกาที่ 828/2534 โจทก์ไม่จำต้องอ้างมาตราที่ขอให้ริบของกลาง เพราะไม่ใช่มาตราซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิด ตามมาตรา 158 (6) ก็ตาม แต่การที่ศาลจะริบของกลาง โจทก์ต้องมีคำขอด้วย มิฉะนั้น จะริบของกลางไม่ได้
- คำพิพากษาฎีกาที่ 3595/2540 แม้ “เครื่องมือในการกระทำความผิด” ตาม พรบ ป่าไม้ เป็น“ทรัพย์ที่กฎหมายบัญญัติให้ริบโดยเด็ดขาด” แต่ โจทก์ต้องมีคำขอให้ริบด้วย มิฉะนั้น ศาลไม่อาจสั่งให้ริบได้ เพราะเกินคำขอ ขัดต่อ ปวิอ ม 192 ว 1
- คำพิพากษาฎีกาที่ 6590/2541 การริบวัตถุที่ออกฤทธิ์ให้แก่กระทรวงสาธารณสุข ตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 มาตรา 116 นั้น จะต้องเป็นกรณีมีการลงโทษ แต่คดีนี้ศาลพิพากษายกฟ้อง จึงไม่อาจริบเมทแอมเฟตามีนของกลางให้แก่กระทรวงสาธารณสุขได้ แต่ให้ริบตาม ป.อ. มาตรา 32
มาตรา 33 ในการริบทรัพย์สิน นอกจากศาลจะมีอำนาจริบตามกฎหมายที่บัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้ว ให้ศาลมีอำนาจสั่งให้ริบทรัพย์สินดังต่อไปนี้อีกด้วย คือ
(1) ทรัพย์สินซึ่งบุคคลได้ ใช้ หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด หรือ
(2) ทรัพย์สินซึ่งบุคคล ได้มาโดยได้กระทำความผิด
เว้นแต่ทรัพย์สินเหล่านี้เป็นทรัพย์สินของผู้อื่นซึ่งมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิด
- มาตรา 33 (1)
- คำพิพากษาฎีกาที่ 2073/2492 สิ่งของที่จะริบได้ตามมาตรา 27 (1) นั้น จะต้องเป็นของที่เจตนาใช้กระทำผิดหรือมีไว้โดยเจตนาใช้ทำผิด ฉะนั้นจะมีการริบทรัพย์ในความผิดฐานประมาทไม่ได้ (กฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 27 (1) ตรงกับประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 (1))
- (อ.จิตติ ภาค 1/928) “ทรัพย์สินซึ่งบุคคลมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด” คือทรัพย์ที่โดยสภาพ เป็นสิ่งที่ใช้ทำผิด ไม่รวมถึงสิ่งที่ได้ใช้ทำผิดเป็นครั้งคราว เช่น มีดดายหญ้า
- (อ.จิตติ ภาค 1/928) สิ่งที่โดยสภาพ ไม่ใช่ทรัพย์ที่ใช้ทำผิดนั้น จะริบได้เมื่อความผิดได้กระทำถึงขั้นลงมือ หากไม่ถึงขั้นลงมือจะริบตามองค์ประกอบนี้ไม่ได้
- “ทรัพย์สินซึ่งบุคคลได้ใช้ในการกระทำความผิด” ต้องใช้ทำผิดโดยตรง หากผิดที่ไม่ได้ขออนุญาต ไม่เข้า ม.33 ศาลไม่ริบ เช่น ขายยาไม่ได้รับอนุญาต (เน 15/4)
- หากเปลี่ยนสภาพทรัพย์แล้วริบไม่ได้ เช่น ปล้นสิ่งของ นำไปทำอาหาร หรือนำไปจำนำ ตั๋วจำนำไม่ใช่ทรัพย์ (1) , (2) (อก./540)
- ศาลจะสั่งริบได้ทรัพย์สินนั้นต้องมีอยู่ หากถูกทำลายหรือสูญหายแล้ว ริบไม่ได้ และจะใช้วิธีการตาม ม.37 ไม่ได้ (เน 47/12/6)
- มาตรา 33 การริบทรัพย์สิน ตามมาตรา 33 จะต้องผ่านการพิสูจน์ความผิดแล้ว
- คำพิพากษาฎีกาที่ 121/2541 ป.อ. มาตรา 33 (2) ระบุถึงทรัพย์สินที่ศาลจะมีอำนาจสั่งริบได้นั้น ต้องเป็นทรัพย์สินที่ได้มาโดยได้กระทำความผิด ซึ่งหมายถึงว่าจะต้องมีการฟ้องจำเลยในความผิดฐานใดฐานหนึ่ง และได้มีการพิสูจน์ความผิดนั้นแล้ว และศาลพิพากษาว่าจำเลยได้กระทำความผิดจึงจะริบทรัพย์สินนั้นได้ อันถือเป็นการลงโทษอย่างหนึ่งตาม ป.อ. มาตรา 18 (5) เมื่อธนบัตรมิใช่ทรัพย์สินที่มีไว้เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 32 ดังนั้น การที่โจทก์ยังมิได้ฟ้องจำเลยถึงการขายเมทแอมเฟตามีนในครั้งก่อนโดยตรง เพียงแต่กล่าวอ้างพาดพึงถึงว่าเป็นทรัพย์ที่จำเลยได้มาจากการขายเมทแอมเฟตามีนในครั้งก่อน จึงยังไม่เป็นการเพียงพอ ตามเจตนารมณ์ของ ป.อ. มาตรา 18 (5) และ 33 (2) เพื่อลงโทษจำเลยด้วยการริบทรัพย์สิน และแม้ว่าจำเลยจะได้ให้การรับสารภาพ หรือให้ยินยอมในชั้นฎีกาเพื่อให้คดีเสร็จไปจากศาลฎีกาโดยเร็วก็ตาม ศาลก็ไม่อาจสั่งริบธนบัตรของกลางได้
- มาตรา 31 ศาลใช้ดุลพินิจที่จะริบ หรือไม่ริบ ก็ได้
- คำพิพากษาฎีกาที่ 52/2516 บทบัญญัติในเรื่องริบทรัพย์ ไม่ว่าจะเป็นกรณีตามประมวลกฎหมาย มาตรา 32 หรือ มาตรา 33 นั้น มุ่งถึงตัวทรัพย์เป็นสำคัญ จะต่างกันก็แต่ว่าตามมาตรา 32 ศาลจะต้องริบเสียทั้งสิ้น ส่วนมาตรา 33 ให้อยู่ในดุลพินิจของศาล เว้นแต่จะเข้าข้อยกเว้นตามมาตรา 33 วรรคท้ายเท่านั้นที่จะสั่งริบไม่ได้ / โจทก์ฟ้องว่า จำเลยกับพวกมีปืน และสายไฟฟ้าติดตัวร่วมกันปล้นทรัพย์ โดยใช้สายไฟฟ้ารัดคอเจ้าทรัพย์ แม้ศาลจะวินิจฉัยว่า จำเลยมิได้กระทำผิด แต่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า สายไฟฟ้าของกลางเป็นทรัพย์ซึ่งใช้ในการกระทำผิดแล้ว ก็ย่อมริบได้ เพราะอยู่ในดุลพินิจของศาล ตามมาตรา 33
- คำพิพากษาฎีกาที่ 3118/2528 แม้ตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ฯจะมีบทบัญญัติเกี่ยวแก่การริบทรัพย์ไว้เป็นพิเศษแล้ว ศาลก็นำ ป.อ. ม.33 มาใช้บังคับในการที่จะริบทรัพย์ที่จำเลยใช้ในการกระทำความผิดได้ ตาม ป.อ. ม.17 ซึ่งตาม ม.33 เป็นเรื่องอยู่ในดุลพินิจของศาล เมื่อบรรทุกเกินปริมาณที่กฎหมายอนุญาตเพียงเล็กน้อย จึงไม่ควรริบรถยนต์ของกลาง / รถยนต์ของกลางที่จำเลยใช้บรรทุกไม้ฟืน ซึ่งเป็นของป่าหวงห้ามเกินประมาณที่กฎหมายอนุญาตให้มีไว้ในครอบครอง อันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ ม.29 ทวิ ศาลจะสั่งให้ริบตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ ม.74 ทวิ ไม่ได้ เพราะ ม.74 ทวิ ไม่มีบทบัญญัติให้ริบทรัพย์ซึ่งบุคคลได้ใช้ในการกระทำความผิดตาม ม.29ทวิ
- ทรัพย์ที่ใช้ หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด
- คำพิพากษาฎีกาที่ 2091/2530 จำเลยร่วมกับ ม.วางแผนฆ่าผู้เสียหายโดยใช้รถยนต์กระบะไปดักรอผู้เสียหายที่สถานีบริการน้ำมัน และขับรถดังกล่าวตามรถผู้เสียหายไป แล้ว ม.ใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหาย ขณะรถยนต์กระบะกำลังแซงรถของผู้เสียหายขึ้นไปดังนี้ รถยนต์กระบะดังกล่าวจึงเป็นทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำผิด ศาลมีอำนาจสั่งริบได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 / เมื่อศาลปรับบทลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289 แล้ว ไม่จำต้องปรับบทลงโทษตามมาตรา 288 อีก
- คำพิพากษาฎีกาที่ 3688/2531 การที่จำเลยหลอกลวงขอซื้อสร้อยคอทองคำจากผู้เสียหาย โดยนำเงินของกลางออกมาแสดงให้ผู้เสียหายดู แล้วนำไปซุกซ่อนไว้ที่อื่น และบอกผู้เสียหายว่าได้ชำระค่าสร้อยคอทองคำให้แล้วนั้น การแสดงเงินของกลางให้ผู้เสียหายดู ไม่เกี่ยวกับการกล่าวเท็จว่าได้ชำระเงินให้แล้ว ฉะนั้นเงินของกลางดังกล่าว จึงมิใช่ทรัพย์สินที่จำเลยได้ใช้ในการกระทำผิด ตาม มาตรา 33 (1)
- คำพิพากษาฎีกาที่ 7562/2540 ขณะที่จำเลยทั้งสองถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับพร้อมของกลาง คงเหลือเวลาอีกเพียง 3 วันก็จะถึงกำหนดวันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร์จังหวัดบุรีรัมย์นับว่าเป็นระยะเวลาที่ใกล้ชิดกับวันเลือกตั้งมากแล้ว ประกอบลักษณะธนบัตรของกลางที่จำเลยทั้งสองจัดทำขึ้นเป็นชุดพร้อมที่จะนำไปแจกจ่ายหรือให้แก่บรรดาผู้เลือกตั้งที่จำเลยทั้งสองรวบรวมไว้แล้ว แสดงว่าจำเลยทั้งสองมีเจตนาจะให้ทรัพย์สินเพื่อจะจูงใจให้ผู้เลือกตั้งลงคะแนนเลือกตั้งให้แก่ผู้สมัครและจำเลยทั้งสองก็ได้เตรียมจัดหาทรัพย์สินรวมทั้งของกลางต่าง ๆ แล้วจำเลยทั้งสองได้ลงมือดำเนินการตามเจตนาข้างต้นโดยนำธนบัตรมาเย็บติดกันเป็นชุดมัดรวมกัน มัดละ 100 ชุด บรรจุในกล่องกระดาษและถุงทะเลเสร็จพร้อมที่จะนำไปให้แก่บุคคลผู้เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งได้ทันที การกระทำของจำเลยทั้งสองถือได้ว่าเป็นการกระทำที่ล่วงไปถึงขั้นตอนสุดท้ายของการนำธนบัตรของกลางไปแจกจ่ายให้แก่บรรดาผู้เลือกตั้ง เพื่อจะจูงใจให้ผู้เลือกตั้งลงคะแนนเลือกตั้งให้แก่ผู้สมัครที่จำเลยทั้สองให้การสนับสนุน เป็นการกระทำที่ใกล้ชิดต่อความผิดสำเร็จที่จะเกิดขึ้น ถือว่าการกระทำของจำเลยทั้งสองพ้นขั้นตระเตรียมการเข้าสู่การลงมือกระทำความผิดแล้ว หากแต่ไม่สำเร็จเพราะเจ้าพนักงานตำรวจจับจำเลยทั้งสองได้เสียก่อน มิฉะนั้นแล้วจำเลยทั้งสองก็จะกระทำความผิดต่อไปได้สำเร็จ การที่จำเลยทั้สองถูกจับเสียก่อนในขณะที่ลงมือกระทำความผิดแล้วเช่นนี้ ย่อมมีความผิดฐานพยายามให้ทรัพย์สินแก่ผู้เลือกตั้งเพื่อจะจูงใจให้ผู้เลือกตั้งลงคะแนนเลือกตั้งให้แก่ผู้สมัครดังนั้น ธนบัตรของกลางกับของกลางอื่นถือได้ว่าเป็นทรัพย์สินที่มีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด ศาลย่อมมีอำนาจสั่งให้ริบได้ตาม ป.อ. มาตรา 33 (1)
- ประเด็นเรื่องทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำผิดโดยตรง
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1073/2525 จำเลยขับจักรยานยนต์พาพวกมายิงผู้เสียหาย แล้วขับรถคันดังกล่าวหลบหนี รถจักรยานยนต์เป็นเพียงพาหนะที่ใช้ในการไปมาเท่านั้น ไม่ใช่ทรัพย์ที่ใช้ร่วมในการกระทำผิด จึงไม่ใช่ของกลางที่พึงริบตาม ป.อ.ม. 33
- คำพิพากษาฎีกาที่ 3125/2525 จำเลยขนย้ายข้าวเกินจำนวนที่คณะกรรมการฯ กำหนดจากสถานที่อื่นโดยบรรทุกรถยนต์ ดังนี้จะริบรถยนต์ตาม ป.อ.ม.33 ไม่ได้เพราะไม่ใช่เป็นเครื่องมือเครื่องใช้ในการกระทำผิดโดยตรง และ พ.ร.บ. การค้าข้าว พ.ศ. 2489 ม.21 ได้บัญญัติถึงการริบทรัพย์ไว้เป็นอย่างอื่นคือให้ริบเฉพาะข้าว ซึ่งเกี่ยวเนื่องกับความผิด กับสิ่งที่บรรจุเท่านั้น มิได้ให้ริบยานพาหนะที่ใช้ขนย้ายข้าวด้วย
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1717/2527 จำเลยขับรถไล่ตามกลั่นแกล้งโจทก์ โดยขับรถปาดหน้า ทำให้โจทก์ต้องหยุดรถอย่างกระทันหัน แม้โจทก์ขณะขับรถอยู่ ย่อมมีสิทธิเสรีภาพในการขับรถไปตามถนนสาธารณะตามสิทธิที่กฎหมายรับรองได้ จำเลยขับรถปาดหน้า โจทก์กลัวจะชนรถจำเลย โจทก์ก็ต้องหยุดรถ ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยหน่วงเหนี่ยวกักขัง กระทำให้โจทก์ปราศจากเสรีภาพในร่างกายตาม ป.อ.ม.310 แต่มีความผิดตาม ม.309 / รถยนต์คันที่จำเลยขับปาดหน้ารถโจทก์ มิใช่ทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิดโดยตรง จึงริบไม่ได้
- คำพิพากษาฎีกาที่ 5426/2536 จำเลยกระทำความผิดฐานช่วยคนต่างด้าวที่เข้ามาในราชอาณาจักร โดยฝ่าฝืนพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาตรา 64 วรรคแรก เพื่อให้พ้นการจับกุม โดยใช้รถยนต์เป็นพาหนะ ให้คนต่างด้าวนั่งมาในรถยนต์ด้วย ถือไม่ได้ว่ารถยนต์เป็นทรัพย์สินที่จำเลยได้ใช้ในการกระทำความผิดโดยตรง จึงเป็นทรัพย์สินที่ไม่ควรริบ ศาลไม่ริบ
- คำพิพากษาฎีกาที่ 5583/2538 จำเลยที่ 2 ขับรถจักรยานยนต์พาจำเลยที่ 1 ไปและจอดรอ เมื่อจำเลยที่ 1 ยิงผู้ตาย แล้วก็กลับมานั่งซ้อนท้ายแล้วจำเลยที่ 2 ขับรถหลบหนีไป เป็นเพียงการใช้รถจักรยานยนต์ ไปและกลับจากการกระทำความผิด เพื่อให้พ้นจากการจับกุมโดยสะดวกและรวดเร็ว ไม่ได้ใช้รถจักรยานยนต์ ในการกระทำความผิด จึงริบรถจักรยานยนต์ตาม ป.อ. มาตรา 33 (1) ไม่ได้
- คำพิพากษาฎีกาที่ 5363/2542 มีคนร้ายใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายหลายนัด เมื่อมีการตรวจพิสูจน์กลิ่น เสื้อและหมวกของกลาง โดยสุนัขตำรวจ พยานโจทก์เบิกความตอบทนายถามค้านว่า ไม่แน่ใจว่ากลิ่นตัวของคนร้ายจะติดอยู่หรือไม่ เสื้อและหมวกของกลาง มิใช่ทรัพย์สินซึ่งได้ใช้ในการกระทำความผิดโดยตรง จึงริบไม่ได้และต้องคืนให้เจ้าของ
- กรณีไม่ใช่ทรัพย์ที่ใช้ หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด
- คำพิพากษาฎีกาที่ 2118/2529 ฟ้องว่าจำเลยกับพวกอีก 2 คนร่วมปล้นทรัพย์และฆ่าผู้อื่นตาย ปรากฏว่าจำเลยเพียงแต่ช่วยวางแผนให้คนร้าย 2 คนไปกระทำผิดใน สวนยางและขณะคนร้าย 2 คนไปกระทำความผิดตามแผนที่วางแผนไว้ จำเลยยืนอยู่นอกสวนยาง ห่างสวนยางชั่วระยะตะโกนกันได้ยิน ใน ช่วงระยะเวลาที่คนร้าย 2 คนดังกล่าวกระทำความผิด นางสาว อ. บุตรผู้ตายขับรถจักรยานยนต์ผ่านจำเลยเข้าไปในสวนยางที่ เกิดเหตุจำเลยก็มิได้ส่งสัญญาณให้คนร้าย 2 คนดังกล่าวทราบหรือ เข้าช่วยคนร้าย 2 คนนั้น คงยืนอยู่เฉย ๆ เมื่อคนร้าย 2 คน นั้นกระทำความผิดตามที่วางแผนไว้สำเร็จแล้ว คนร้ายคนหนึ่ง หลบหนีไปทางอื่น คนร้ายอีกคนหนึ่งขับรถจักรยานยนต์ของผู้ตาย ผ่านหน้าจำเลยไปแล้ว จำเลยก็กลับบ้าน การกระทำของจำเลย ดังกล่าวยังไม่ถึงขั้นเป็นการร่วมกระทำความผิดด้วยกันกับ คนร้าย 2 คนนั้นโดยแบ่งหน้าที่กันทำ แต่เป็นการช่วยเหลือหรือ ให้ความสะดวกในการที่คนร้าย 2 คนดังกล่าวกระทำความผิด จำเลย จึงเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดของคนร้าย 2 คนดังกล่าว. / เมื่อปรากฏว่าคนร้ายที่เข้าไปลักทรัพย์ของผู้ตายโดยใช้ กำลังประทุษร้ายโดยการยิงผู้ตายโดยเจตนาฆ่าเพื่อความสะดวก แก่การลักทรัพย์และพาเอาทรัพย์ไปจนเป็นเหตุให้เจ้าทรัพย์ ถึงแก่ความตายมี 2 คน การกระทำของคนร้าย 2 คนดังกล่าวจึงเป็น ความผิดฐานชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339 วรรคท้าย. / เสื้อแจกเกตของคนร้ายที่ทิ้งไว้รวมกับบางส่วนของทรัพย์สินของ ผู้ตายที่คนร้ายชิงไปถือไม่ได้ว่าเสื้อตัวนี้เป็นทรัพย์สิน ที่คนร้ายได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด นอกจาก นี้เสื้อดังกล่าวยังมิใช่ทรัพย์สินที่กฎหมายบัญญัติไว้ว่า ผู้ใดทำหรือมีไว้เป็นความผิด ศาลจะริบเสื้อดังกล่าวไม่ได้
- ประเด็นเปรียบเทียบ เรื่องความผิดอันอยู่ที่การไม่ได้ขออนุญาต หรือฝ่าฝืนระเบียบ
- คำพิพากษาฎีกาที่ 495/2500 ( ประชุมใหญ่ ) ของที่วางขายไม่ปิดป้ายหรือแสดงราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ฝ่าฝืน พระราชบัญญัติ ควบคุมโภคภัณฑ์ นั้น ของที่วางขายไม่เกี่ยวกับความผิด ความผิดอยู่ที่ งดเว้นไม่ปิดป้าย จึงริบของที่วางขายไม่ได้
- คำพิพากษาฎีกาที่ 245/2505 ในกรณีที่จำเลยขาดคุณสมบัติและความรู้ ไม่มีทางที่จะขึ้นทะเบียนรับอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะได้ จำเลยยังฝ่าฝืนปรุงยาเพื่อจำหน่ายนั้นได้ชื่อว่าความผิดเกิดจากการกระทำ (คือปรุงยา) ของจำเลย ตัวยาและเครื่องอุปกรณ์ในการปรุงยาเป็นทรัพย์สินที่จำเลยใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด จึงต้องริบ / แต่ในกรณีที่เป็นผู้ได้รับอนุญาตให้ปรุงยาได้แล้ว หากใบอนุญาตขาดอายุยังปรุงยาจำหน่ายต่อไปอีก เช่นนี้ได้ชื่อว่าความผิดเกิด เพราะไม่ได้รับอนุญาต ของกลางจึงไม่ริบ
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1386/2505 จำเลยไม่ความรู้ทางหมอแต่อย่างใด เป็นคนธรรมดา ไม่มีสิทธิจะขออนุญาตเพื่อประกอบโรคศิลปะ ได้บังอาจรับฉีดยาบำบัดโรค เพื่อแสวงหาผลประโยชน์และสินจ้าง การกระทำของจำเลยจึงถือได้ว่าเป็นความผิดอยู่ในตัว มิใช่มีสิทธิจะขออนุญาต แต่ไม่ได้ขอ ซึ่งเพียงความผิดเพราะไม่ได้รับอนุญาตเท่านั้น ฉะนั้น ยาฉีด เข็มฉีดยา ฯลฯ ของกลางที่จำเลยมีไว้ใช้ในการกระทำผิด จึงเป็นของควรริบตาม มาตรา 33
- คำพิพากษาฎีกาที่ 348/2508 ตาม พรบ.ช่วยอาชีพและวิชาชีพ พ.ศ. 2484 ประกอบ พรก.กำหนดอาชีพและวิชาชีพฯ พ.ศ. 2492 นั้น จำเลยซึ่งเป็นบุคคลต่างด้าว ไม่มีสิทธิที่จะประกอบอาชีพตัดผมโดยเด็ดขาด และไม่มีทางที่จะได้รับอนุญาต เพราะทางการได้สงวนให้เป็นอาชีพเฉพาะคนไทยเท่านั้น การที่คนต่างด้าวประกอบอาชีพตัดผม จึงถือได้ว่าเป็นการกระทำความผิด เพราะฝ่าฝืนบทกฎหมายที่ได้กำหนดไว้ในตัว ไม่ใช่เป็นการกระทำเพราะไม่ได้รับอนุญาต เครื่องมือ เครื่องใช้และธนบัตรซึ่งเป็นของกลาง จึงเป็นของที่จำเลยได้ใช้ในการกระทำความผิด และได้มาโดยได้กระทำความผิดตาม ป. อาญา มาตรา 33 จึงให้ริบ
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1170/2533 ความผิดของจำเลยอยู่ที่ การฝ่าฝืนการประกาศของคณะกรรมการกลางกำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาด ฉบับที่ 88 พ.ศ. 2528 น้ำมันหล่อลื่นที่จำเลยได้จำหน่ายไป มิใช่ทรัพย์สินที่ใช้ใน การกระทำความผิดอันจะพึงริบได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 (1)
- คำพิพากษาฎีกาที่ 5299/2533 แม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ว่ามีผู้กระทำผิด ต่อพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. 2527 มาตรา 44 (7) โดยใช้รถยนต์บรรทุกของกลางขนย้ายน้ำตาลทรายดิบที่ผลิตได้ออกนอกบริเวณโรงงาน โดยไม่ปฏิบัติตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนดก็ตาม แต่สาระสำคัญของการกระทำความผิดดังกล่าวอยู่ที่ว่า ขนย้ายน้ำตาลทรายดิบโดยมิได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการ และในการขนย้ายไม่มีหนังสืออนุญาตกำกับการขนย้ายเท่านั้น รถยนต์บรรทุกและน้ำตาลทรายดิบของกลางจึงมิใช่ทรัพย์สินซึ่งบุคคลได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด หรือได้มาโดยการกระทำความผิดอันจะพึงรับตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33
- พาหนะที่ใช้ทำผิด และกรณีตาม ม. 336 ทวิ 340 ตรี ถ้าใช้ขับมา หรือขับกลับก่อนหรือหลังทำผิดไม่ริบ เพราะมิได้ใช้ หรือมีเพื่อใช้ทำผิดโดยตรง แต่หากใช้ขับตาม หรือขับชนในการทำผิดโดยตรงในขณะทำผิดริบ (อก/538)
- คำพิพากษาฎีกาที่ 3388/2516 รถจักรยานยนต์ที่จำเลยใช้เป็นพาหนะในการวิ่งราวทรัพย์นั้น ไม่เรียกว่าเป็นทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำผิด ริบไม่ได้
- คำพิพากษาฎีกาที่ 2663/2522 จำเลยที่ 1 ได้ใช้รถคอยช่วยเหลือพวกที่กำลังปล้น รถยนต์ของกลางจึงเป็นทรัพย์ที่จำเลยที่ 1 กับพวกใช้ในการกระทำผิดฐานปล้นทรัพย์ ศาลมีอำนาจสั่งริบ
- คำพิพากษาฎีกาที่ 2736/2522 ใช้รถยนต์พาผู้เสียหายไปขู่เอาทรัพย์ โดยเป็นแผนการคบคิดกัน ไม่เพียงแต่ใช้เป็นยานพาหนะแต่อย่างเดียว ต้องริบรถตาม ม.33 (1)
- คำพิพากษาฎีกาที่ 3355/2528 จำเลยขับรถยนต์ของกลางชนท้ายรถจี๊ปที่ ร.ต.ต. ส. ขับขี่โดยมีเจตนาทำร้าย เพราะโกรธเคืองที่จับจำเลยมาสถานีตำรวจและไม่ยอมปล่อยจำเลยตามคำขอร้องของจำเลยจน ร.ต.ต. ส.ได้รับบาดเจ็บ จำเลยจึงมีความผิดตาม ป.อ. ม.296 รถยนต์ของกลางจึงเป็นทรัพย์สินซึ่งบุคคลได้ใช้ในการกระทำผิด ศาลมีอำนาจริบเสียได้ตาม ป.อ. ม.33
- คำพิพากษาฎีกาที่ 234/2530 ผู้เสียหายขับรถจักรยานยนต์สวนทางกับจำเลย แล้วผู้เสียหายถูกพวกของจำเลย 2 คนใช้อาวุธปืนจี้บังคับเอาทรัพย์ ขณะที่มีการค้นตัวผู้เสียหาย จำเลยขับรถจักรยานยนต์ย้อนกลับมาจอดห่างผู้เสียหายประมาณ 1 วาแต่มิได้ลงจากรถ เมื่อพวกของจำเลยได้ทรัพย์จากผู้เสียหายแล้ว จำเลยก็ขับรถจักรยานยนต์ออกไป และพวกของจำเลยก็ขับรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายซ้อนท้ายตามไป พฤติการณ์ดังกล่าวยังถือไม่ได้ว่าจำเลยใช้รถจักรยานยนต์เพื่อกระทำผิด แต่การที่จำเลยขับรถจักรยานยนต์ออกไปจากที่เกิดเหตุพร้อมกับพวก เป็นเหตุให้ผู้เสียหายซึ่งออกติดตามพวกของจำเลยไป ไม่สามารถติดตามได้ทัน ถือได้ว่าจำเลยได้ใช้รถจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะหลบหนีไปเพื่อให้พ้นจากการจับกุม เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 ตรี แล้ว / รถจักรยานยนต์ของกลางเป็นยานพาหนะที่จำเลยขับมา และขับออกไปจากที่เกิดเหตุ แม้จะเป็นความผิดตามมาตรา 340ตรี แต่การจะริบหรือไม่ จะต้องเป็นทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำผิดตาม ม.33 (1) เมื่อของกลางไม่ใช่ทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำผิด จึงริบไม่ได้
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1770/2530 เรือไม้และเครื่องยนต์ของกลาง เป็นเพียงยานพาหนะที่จำเลยใช้เดินทางไปยังเกาะที่เกิดเหตุ เพื่อกระทำความผิดลักทรัพย์ แม้จะใช้เป็นยานพาหนะนำทรัพย์ที่ลักกลับจากเกาะนั้นด้วย ก็คงเป็นเพียงยานพาหนะที่ใช้ในการเดินทางไปมาเท่านั้น ไม่ใช่ทรัพย์สินที่ได้ใช้ในการกระทำความผิดอันจะพึงริบตาม มาตรา 33 (1)
- คำพิพากษาฎีกาที่ 2590/2531 ยานพาหนะใดใช้เป็นทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิด ซึ่งศาลจะพึงสั่งริบตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33(1) หรือไม่ ต้องพิจารณาตามพฤติการณ์ของการกระทำความผิดเป็นเรื่อง ๆ ไป จำเลยนำรถยนต์กระบะสองแถวของกลางมา เพื่อใช้เป็นยานพาหนะบรรทุกน้ำมันที่ลักมาหลบหนีไปเท่านั้น จำเลยมิได้ใช้รถยนต์กระบะสองแถวในการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ตามฟ้องแต่อย่างใด รถยนต์กระบะสองแถวของกลางจึงมิใช่ทรัพย์สินอันพึงริบ
- คำพิพากษาฎีกาที่ 5845/2531 เมื่อรถยนต์ของกลางเป็นพาหนะที่จำเลยใช้คุ้มกันช่วยเหลือขณะทำการปล้นทรัพย์ และใช้นำตัวเจ้าทรัพย์ไปทำร้ายร่างกายระหว่างทำการปล้นทรัพย์ด้วย รถยนต์ของกลางดังกล่าวจึงเป็นทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33(1)
- คำพิพากษาฎีกาที่ 2117/2532 จำเลยที่ 3 ขับขี่รถจักรยานยนต์มายังที่เกิดเหตุ แล้วยังขับขี่ติดตามรถยนต์ของผู้เสียหายมา ก็เพื่อวัตถุประสงค์ในการที่จะติดต่อรับเงินจากผู้เสียหาย ในการกระทำความผิดฐานกรรโชกทรัพย์ จึงถือได้ว่าจักรยานยนต์ของกลางเป็นทรัพย์สินที่ได้ใช้ในการกระทำความผิดซึ่งศาลมีอำนาจริบได้
- คำพิพากษาฎีกาที่ 665/2542 จำเลยกับพวกขับรถจักรยานยนต์ของกลาง แล่นตามรถยนต์ผู้เสียหายจนทัน แล้วแซงขึ้นหน้าไปจอดขวางให้หยุด กับขู่เข็ญผู้เสียหายจนยอมมอบเงินแก่จำเลยกับพวก รถจักรยานยนต์ของกลางจึงเป็นเพียงยานพาหนะที่จำเลยกับพวกใช้ก่อนที่จะกระทำความผิดฐานกรรโชก อีกทั้งจำเลยกับพวกก็ร่วมกันขู่เข็ญผู้เสียหายว่า หากไม่ยอมให้เงินจำเลยกับพวกจะทำการระเบิดและพังรถยนต์ของผู้เสียหายเท่านั้น รถจักรยานยนต์ของกลาง จึงหาใช่ทรัพย์ที่จำเลยกับพวกได้ใช้ หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกรรโชกทรัพย์ไม่ ไม่เข้าหลักเกณฑ์ในเรื่องทรัพย์สินที่ศาลมีอำนาจสั่งริบตาม ป.อ. มาตรา 33 (1)
- คำพิพากษาฎีกาที่ 5014/2542 การที่ศาลจะมีอำนาจสั่งริบทรัพย์สิน ซึ่งบุคคลได้ใช้ หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด ตาม ป.อ. มาตรา 33 (1) นั้นมุ่งหมายถึงให้ริบตัวทรัพย์สินฅที่ผู้กระทำความผิดได้ใช้ในการกระทำความผิดนั้น ๆ โดยตรง คือทรัพย์สินนั้นจะต้องเกี่ยวข้องเป็นส่วนหนึ่งของการกระทำความผิดผิด การที่จำเลยใช้รถยนต์กระบะของกลาง เป็นยานพาหนะเพื่อความสะดวกแก่การลักทรัพย์ การพาทรัพย์นั้นไป และเพื่อให้พ้นการจับกุม แต่ก็มิได้ความว่าจำเลยได้ใช้รถยนต์กระบะดังกล่าว เป็นเครื่องมือหรือเป็นส่วนหนึ่งในการลักทรัพย์ อันจะให้ถือได้ว่าเป็นทรัพย์ที่จำเลยได้ใช้กระทำความผิด แม้การกระทำของจำเลยตามฟ้องจะเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 335 (1) วรรคแรก, 336 ทวิ ก็ตาม แต่ตามมาตรา 336 ทวิ ก็เป็นเพียงบทบัญญัติให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานลักทรัพย์ตามมาตรา 335 (1) วรรคสองหนักขึ้น เพราะเหตุที่จำเลยใช้รถยนต์เป็นยานพาหนะ เพื่อความสะดวกแก่การลักทรัพย์ หรือพาเอาทรัพย์ หรือเพื่อให้จำเลยพ้นจากการจับกุมเท่านั้น รถยนต์กระบะของกลาง จึงไม่ใช่ทรัพย์ที่จำเลยได้ใช้ในการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์โดยตรง ศาลริบไม่ได้
- กรณีเกี่ยวกับมาตรา 371 และ พรบ.อาวุธปืน
- คำพิพากษาฎีกาที่ 111/2504 จำเลยยิงขณะผู้เสียหายยกมีดจะฟันจำเลย มีดนั้นขนาดใหญ่ถ้าฟันได้อาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต จำเลยยิงนัดเดียว ดังนี้เป็นการป้องกันชีวิตพอสมควรแก่เหตุ ไม่มีผิด ส่วนปืนที่ใช้ยิงเป็นปืนแก๊ปไม่มีทะเบียน ผู้ใดมีไว้เป็นความผิด จึงเป็นของที่ต้องริบตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 32 แต่อยู่ในระหว่างใช้ พ.ร.บ. อาวุธปืน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2501 ซึ่งมีมาตรา 9 ผ่อนผันให้นำอาวุธปืนไปขออนุญาตได้ดังนี้ จึงจะสั่งริบอาวุธปืนนั้น เพราะเหตุจำเลยมีไว้ยังไม่ได้
- คำพิพากษาฎีกาที่ 81/2505 การที่ผู้ใดพาปืนไปในทางสาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาต และไม่มีเหตุอันสมควร อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 371 นั้นแม้ปืนของกลางจะเป็นปืนมีทะเบียน โดยจำเลยได้รับอนุญาตให้มีไว้ในครอบครองก็ดี ศาลก็ยังมีอำนาจริบได้ตามมาตรานี้
- คำพิพากษาฎีกาที่ 989/2508 อาวุธปืนของกลางเป็นอาวุธปืนที่มีใบอนุญาตแล้ว จึงไม่ใช่วัตถุที่ผิดกฎหมาย อันจะต้องริบตามมาตรา 32 แต่เป็นวัตถุแห่งการกระทำผิด อยู่ในดุลพินิจของศาลที่จะสั่งริบหรือไม่แล้วแต่คดีเป็นเรื่อง ๆ ไป
- คำพิพากษาฎีกาที่ 530/2511 ซื้ออาวุธปืนมีทะเบียนแต่มิได้จัดการโอนทะเบียนให้ถูกต้อง ย่อมมีผิดในส่วนที่ไม่ได้รับอนุญาตให้มีอาวุธปืน แต่ปืนนั้นมิใช่ทรัพย์สินอันมีไว้เป็นความผิด จึงริบมิได้
- คำพิพากษาฎีกาที่ 2400/2522 จำเลย พาอาวุธปืนติดตัวและยิงปืนในหมู่บ้าน ผิดตาม พรบ อาวุธปืน ม 8 ทวิ, 72 และ มาตรา 371, 376 ปืนมีทะเบียน จึงไม่ใช่ทรัพย์อันต้องริบ ตาม มาตรา32 แต่เป็นวัตถุแห่งการกระทำผิด อยู่ในดุลพินิจ (อ จิตติ ติงศภัทิย์ การพาอาวุธไปตาม ม 371อาวุธเป็น “วัตถุแห่งการกระทำผิด” ริบได้ตาม ม 371 ซึ่งบัญญัติให้ริบได้ไว้โดยเฉพาะ แต่อาวุธ ไม่ใช่ “วัตถุที่ใช้กระทำผิด” อันจะริบได้ตาม ม 33)
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1369/2523 ซองปืนซึ่งใช้บรรจุอาวุธปืนไม่มีทะเบียน พกพาไปโดยไม่ได้รับอนุญาต และชักปืนออกจากซองนั้นยิงขึ้นฟ้า ต้องริบตาม ป.อ.ม.33 (1)
- คำพิพากษาฎีกาที่ 2145/2538 ศาลลงโทษตาม พรบ อาวุธปืน บทหนักแล้ว จะริบอาวุธปืน ตาม ปอ ม 371 ไม่ได้ (อ จิตติ การลงโทษบทหนัก ตาม ม 90 ต้องใช้บทหนักทั้งมาตรา ไม่ใช่แยกเป็นส่วน ๆ เฉพาะส่วนที่หนักกว่ามาตราอื่น เมื่อไม่ใช้มาตรา 371 ก็ไม่ใช้ทั้งมาตรา รวมตลอดถึงตอนให้ริบอาวุธด้วย)
- กฎหมายพิเศษ ต่าง ๆ
- คำพิพากษาฎีกาที่ 485/2493 ฟ้องคดีอาญานั้น กฎหมายบังคับให้อ้างมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่า การกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดเท่านั้น หาได้บัญญัติให้อ้างบทมาตราที่บัญญัติให้ริบของกลางด้วยไม่ ฉะนั้นแม้จะไม่ได้อ้างมา ศาลก็มีอำนาจริบได้ในเมื่อโจทก์มีคำขอไว้แล้ว /พ.ร.บ.มาตราชั่วตวงวัดได้มีบทบัญญัติในเรื่องการริบและการยึดไว้แล้ว ดังจะเห็นได้ตามมาตรา24 และ 38 ย่อมเห็นเจตนารมย์ของ พ.ร.บ.นี้ได้ว่า ไม่ประสงค์ที่จะให้นำมาตรา 27,28 แห่งก.ม.ลักษณะอาญามาใช้บังคับแก่กระทำผิดใด ๆ ตาม พ.ร.บ.นี้อีกในเมื่อการกระทำนั้น ๆ ไม่เป็นผิดตาม ก.ม.ลักษณะอาญาด้วย
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1574/2505 เจ้าของเกวียนและโค นำเกวียนและโคของตนไปใช้บรรทุกไม้ท่อน ซึ่งมีผู้ตัดโดยผิดกฎหมาย แล้วชักลากออกจากป่าเพื่อประโยชน์ของผู้ตัดโดยผู้ตัดจะเอาไม้นั้น และเจ้าของเกวียนและโค ก็รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดของผู้ตัด เกวียนและโค ย่อมเป็นยานพาหนะซึ่งได้ใช้เป็นอุปกรณ์ให้ได้รับผลในการกระทำความผิด ต้องรับตามมาตรา 74 ทวิ
- คำพิพากษาฎีกาที่ 563/2509 ความผิดฐานไม่ปิดป้ายหรือแสดงราคาโภคภัณฑ์ที่วางขายนั้น ความผิดของจำเลยอยู่ที่การงดเว้นไม่ปิดป้ายหรือแสดงราคา ตัวโภคภัณฑ์ที่วางขายไม่เกี่ยวข้อกับความผิด จึงริบไม่ได้
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1558/2509 เทวรูปเป็นของแผ่นดิน ตามพระราชบัญญัติโบราณสถานฯ พ.ศ.25074 มาตรา 24 แล้ว ศาลจึงไม่ต้องสั่งริบตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 33 อีก
- คำพิพากษาฎีกาที่ 2791/2516 จำเลยใช้ปืนยิงวัวแดง อันฝ่าฝืน พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2503 มาตรา 9 วรรคสอง แม้ปืนนั้นมีเลขทะเบียน ศาลก็มีอำนาจสั่งริบได้ตามมาตรา 47
- คำพิพากษาฎีกาที่ 3134/2516 พนักงานศุลกากรยึดสิ่งใด ๆ อันจะพึงห้ามตามพระราชบัญญัติศุลกากร ถ้าเจ้าของ หรือผู้มีสิทธิไม่ยื่นคำร้องเรียกเอาภายในกำหนด 60 วัน สำหรับยานพาหนะที่ใช้ในการกระทำผิด 30 วัน สำหรับสิ่งอื่นนับแต่วันที่ยึด ให้ถือว่าเป็นสิ่งไม่มีเจ้าของและให้ตกเป็นของแผ่นดินนั้น หมายถึงกรณีที่ไม่มีการฟ้องคดีอาญาต่อศาล ถ้าเป็นกรณีที่มีการฟ้องคดีต่อศาลแล้ว ย่อมอยู่ในอำนาจของศาลที่จะพิพากษาให้ริบ หรือไม่ริบของกลาง
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1846/2519 เขาสัตว์ป่าซึ่งติดกับรูปหัวสัตว์ทำด้วยไม้เป็นเครื่องประดับ ยังคงมีสภาพเดิม มิได้เปลี่ยนสภาพเป็นวัตถุอย่างอื่น เป็นซากของสัตว์ตามบทนิยาม จำเลยมีไว้โดยไม่ได้รับอนุญาต เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2503 ม.39 ศาลริบแต่เขาสัตว์ ส่วนไม้ที่ประดิษฐ์เป็นหัวสัตว์ ไม่มีกฎหมายให้ริบ
- คำพิพากษาฎีกาที่ 2365/2519 คณะกรรมการป้องกันการค้ากำไรเกินควรประกาศ ระบุเนื้อสุกรเป็นสิ่งควบคุม ห้ามจำหน่ายเกินราคาที่กำหนด จึงประกาศห้ามเคลื่อนย้ายสุกรมีชีวิตเข้าหรือออกนอกเขตอำเภอ การนำสุกรเข้ามาฝ่าฝืนประกาศ จึงเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. ป้องกันการค้ากำไรเกินควร พ.ศ. 2490 ม.17 ไม่ใช่ ม.23, 24 และสุกรไม่ใช่ของที่เกี่ยวกับการค้ากำไรโดยตรงที่จะริบตาม ม.29
- คำพิพากษาฎีกาที่ 414/2522 พ.ร.บ.ควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน พ.ศ.2485 มิได้บัญญัติเรื่องริบเงินของกลาง และธนบัตรไทยของกลางความผิดอยู่ที่จำเลยนำเข้ามาในประเทศเกิน 500 บาท โดยไม่ได้รับอนุญาต มิใช่ทรัพย์สินที่มีไว้เป็นความผิด จึงริบไม่ได้
- คำพิพากษาฎีกาที่ 2555/2522 คำว่า "ข้าวซึ่งเกี่ยวเนื่องกับความผิดให้ริบเสีย" ตามมาตรา 21ทวิ แห่งพระราชบัญญัติการค้าข้าวนั้น จะต้องเป็นข้าวซึ่งเกี่ยวเนื่องกับความผิดโดยตรง จำเลยเป็นผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวโดยชอบแล้ว ความผิดอยู่ที่ละเว้นไม่ทำรายงานการค้าข้าวแสดงปริมาณข้าวในครอบครองเท่านั้น ข้าวของกลางไม่เกี่ยวกับความผิด จึงไม่ใช่ทรัพย์สินที่จะพึงริบ
- คำพิพากษาฎีกาที่ 701/2524 ม้าต่างของกลางเป็นเพียงพาหนะที่จำเลยใช้ในการนำพาของกลางเท่านั้น มิได้ใช้เพื่อให้ได้มาซึ่งการมีฝิ่นของกลางไว้ในความครอบครองแต่อย่างใด จึงไม่เป็นทรัพย์ที่พึงต้องริบตาม พ.ร.บ.ฝิ่น พ.ศ. 2472 ม.69
- คำพิพากษาฎีกาที่ 2226/2524 จำเลยจำหน่ายปูนซิเมนต์ของกลาง เกินกว่าราคาที่กำหนดไว้ตามประกาศคณะกรรมการกลางกำหนดราคาสินค้า และป้องกันการผูกขาดความผิดของจำเลยอยู่ที่การฝ่าฝืนประกาศฯ ปูนซิเมนต์ของกลางซึ่งได้ขายไปแล้ว มิใช่ทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิดอันจะพึงริบได้ตาม ป.อ. ม.33 (1) เงินที่ได้จากการขายของกลางดังกล่าวจึงริบไม่ได้
- คำพิพากษาฎีกาที่ 2503/2527 พ.ร.ก.แก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2516 มิได้มีบทบัญญัติให้ริบน้ำมันในกรณีที่มีผู้ฝ่าฝืนมีน้ำมันเบนซิน โดยไม่มีเหตุต้องใช้หรือไม่มีใบอนุญาตให้เก็บรักษาน้ำมัน ความผิดของจำเลยอยู่ที่การมีน้ำมันโดยไม่มีเหตุต้องใช้ และไม่มีใบอนุญาตให้เก็บรักษาเท่านั้นน้ำมันเบนซินที่จำเลยมิไว้ จึงมิใช่เป็นทรัพย์สินที่จำเลยมีไว้เป็นความผิดซึ่งจะต้องถูกริบ ตาม ป.อ. ม.32
- คำพิพากษาฎีกาที่ 2178/2532 จำเลยกระทำความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งของนายกรัฐมนตรีที่ 3/2529 ตาม พ.ร.ก. แก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2516 ซึ่งระบุว่า "ห้ามมิให้ผู้ใดนำก๊าซที่บรรจุในถังก๊าซหุงต้มไปใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับยานพาหนะ หรือถ่ายก๊าซออกจากถังก๊าซหุงต้ม นอกสถานที่บรรจุก๊าซ ไม่ว่าจะกระทำด้วยวิธีใด ๆ ทั้งสิ้น" อันเป็นคำสั่งที่ห้ามเด็ดขาด ไม่มีข้อยกเว้นให้อนุญาตให้ทำได้ จึงเป็นความผิดอยู่ในตัว มิใช่อยู่ที่ได้รับอนุญาตหรือไม่ดังนั้น เครื่องมือเครื่องใช้ในการถ่ายก๊าซคือ เครื่องสูบก๊าซ ท่อพักก๊าซ ถังเก็บก๊าซและจ่ายก๊าซ ถังก๊าซหุงต้ม เศษเหล็กของถังก๊าซซึ่งระเบิดเสียหาย สายสูบก๊าซพร้อมหัวสูบ เครื่องชั่งน้ำหนัก แท่นรองถังก๊าซและรถยนต์บรรทุกถังก๊าซ ของกลาง จึงเป็นทรัพย์สินที่ได้ใช้ หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด ศาลมีอำนาจริบได้ตาม ป.อ. มาตรา 33
- คำพิพากษาฎีกาที่ 4104/2540 ขณะที่จำเลยถูกจับจำเลยขับรถจักรยานยนต์ของกลาง พร้อมทั้งกัญชาและถุงพลาสติกเล็กไว้ในย่ามออกไปเพื่อจำหน่ายกัญชา ดังนั้น รถจักรยานยนต์ของกลางจึงเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ในการกระทำผิด ศาลจึงมีอำนาจริบรถจักรยานยนต์ของกลางได้
- คำพิพากษาฎีกาที่ 4537-4540/2543 (ประชุมใหญ่) การที่จำเลยที่ 2 และที่ 5 มีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายซึ่งสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมในวันเวลาเดียวกันหรือคราวเดียว โดยแบ่งสินค้าแยกวางเสนอจำหน่ายในสถานที่ต่างกันนั้น ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 5 มีเจตนาเดียวที่จะเสนอจำหน่ายสินค้าจำนวนดังกล่าวในคราวเดียวกัน เพียงแต่แยกวางจำหน่ายในสถานที่ต่างกันเท่านั้น การกระทำของจำเลยที่ 2 และที่ 5 จึงเป็นความผิดกรรมเดียว / จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 และที่ 5 มีสินค้าของกลางไว้เพื่อจำหน่าย ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาให้รับสินค้าของกลางได้ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 115 โดยไม่ต้องคำนึงว่าถึงสินค้าของกลางเป็นสินค้าที่ได้นำเข้ามาในราชอาณาจักร หรือเป็นสินค้าที่ผลิตในราชอาณาจักร þ และไม่จำต้องปรับบทริบทรัพย์สินค้าของกลางตาม ป.อ. อันเป็นบททั่วไปอีก
- กฎหมายพิเศษ พรบ. การพนัน
- คำพิพากษาฎีกาที่ 366/2490 เสื่อที่ใช้ปูเล่นการพะนันถือเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการกระทำผิด ศาลมีอำนาจริบเสื่อของกลางนั้นได้
- คำพิพากษาฎีกาที่ 2839/2516 จำเลยขายสลากกินแบ่งรัฐบาลที่ยังมิได้ออกรางวัลให้แก่ผู้มีชื่อ ครึ่งฉบับ ในราคา 5 บาท 50 สตางค์เกินกว่าราคาที่กำหนดในสลากครึ่งฉบับ 50 สตางค์ เช่นนี้ เงินทั้งจำนวน 5 บาท 50 สตางค์ ย่อมมีส่วนก่อให้เกิดความผิด มิใช่เฉพาะเงินจำนวนส่วนที่เกิน 50 สตางค์ ศาลมีอำนาจริบเงินซึ่งเป็นทรัพย์ที่จำเลยได้มาโดยการกระทำความผิด (ไม่ใช่เฉพาะส่วนที่เกิน)
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1238/2517 เสื่อแม้โดยสภาพจะใช้รองนั่งนอนก็ดี แต่เมื่อจำเลยได้ใช้ปูรองเล่นการพนัน ก็เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการกระทำผิดในวงเล่นการพนัน ถือได้ว่าเป็นทรัพย์ ได้ใช้เป็นเครื่องมือที่ใช้เป็นเครื่องมือประกอบในการกระทำผิด ศาลย่อมมีอำนาจริบได้ ตามพระราชบัญญัติการพนัน พ.ศ. 2478 มาตรา 10 ประกอบกับประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 (1)
- คำพิพากษาฎีกาที่ 2646/2521 เครื่องรับโทรทัศน์เป็นเครื่องรับภาพชกมวยจากสถานีโทรทัศน์ ผู้ดูโทรทัศน์ท้าพนันการชกมวย ไม่ทำให้เครื่องรับโทรทัศน์ เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการเล่นการพนันชกมวยตาม พ.ร.บ. การพนันโดยแท้จริงไม่ ศาลไม่ริบเครื่องโทรทัศน์
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1859/2527 ผู้ร้องเป็นเจ้าของร้านค้า ในวันเสาร์วันอาทิตย์ จะยกเครื่องรับโทรทัศน์ของกลางจากชั้นบน ลงมาเปิดบริการลูกค้าที่ชั้นล่าง เพื่อให้ลูกค้าดูรายการมวย จะฟังว่าเพื่อสนับสนุนให้จำเลยเล่นการพนันกันหาได้ไม่ ผู้ที่ดูมวยโดยไม่เล่นการพนันมีอยู่ไม่น้อย โทรทัศน์ของกลางจึงไม่เป็นเครื่องมือ เครื่องใช้ในการท้าพนันผลการแข่งขันการชกมวย ต้องคืนแก่ผู้ร้อง
- คำพิพากษาฎีกาที่ 2137/2531 เครื่องรับโทรทัศน์ เป็นเครื่องรับภาพการแข่งขันชกมวยจากสถานีโทรทัศน์ ซึ่งเป็นผู้ส่งภาพนั้นมาเท่านั้น การที่จำเลยซึ่งเป็นผู้ดูโทรทัศน์ ท้าพนันผลการแข่งขันชกมวย หาทำให้เครื่องรับ โทรทัศน์ เป็นเครื่องมือเครื่องใช้ ในการเล่นการพนันชกมวย ตามความหมายแห่ง พระราชบัญญัติ การพนัน พ.ศ.2478 โดยแท้จริงไม่
- กฎหมายพิเศษ พรบ. ควบคุมกิจการเทปฯ
- คำพิพากษาฎีกาที่ 2042/2537 เทปหรือวัสดุโทรทัศน์ของกลางจำนวน 100 ม้วน เป็นเทปหรือวัสดุโทรทัศน์ที่ผ่านการตรวจพิจารณา และได้รับความเห็นชอบจากเจ้าพนักงานตามกฎหมายแล้ว จำเลยผู้ประกอบการมีหน้าที่จัดให้มีการแสดงตราหมายเลขรหัส บนเทปหรือวัสดุโทรทัศน์ของกลาง ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 4 (พ.ศ.2531) ออกตามความใน พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ. 2530 แต่เมื่อไม่มีการแสดงตรา หมายเลขรหัสดังกล่าว จำเลยย่อมมีความผิดตาม พ.ร.บ. ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ. 2530 มาตรา 6, 10, 36 และเทปกับวัสดุโทรทัศน์ของกลางดังกล่าว จึงเป็นทรัพย์ที่ถือได้ว่าจำเลยมีไว้เป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 32 ทั้งโจทก์บรรยายคำฟ้องอ้างบทบัญญัติดังกล่าวขอให้ศาลริบ ศาลจึงต้องริบตามคำขอของโจทก์
- คำพิพากษาฎีกาที่ 3040/2541 ความผิดของจำเลยที่เกี่ยวกับวีดีโอเทป 30 ม้วน ที่ไม่ปิดฉลากอยู่ที่การเสนอขาย โดยได้งดเว้นไม่ปิดฉลากที่วีดีโอเทปดังกล่าว วีดีโอเทปของกลาง 30 ม้วนนี้ไม่ใช่ทรัพย์ที่มีไว้เป็นความผิด และไม่ใช่ทรัพย์ที่จำเลยใช้ หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด ที่จะริบได้ตาม ป.อ.มาตรา 32 หรือมาตรา 33
- คำพิพากษาฎีกาที่ 6556/2541 ของกลางวีดีโอเทปที่ไม่มีฉลาก และเทปเพลงที่ไม่มีฉลาก ที่โจทก์ขอให้ศาลสั่งริบนั้น เป็นจำพวกที่ไม่มีฉลาก อันต้องด้วยความผิดตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 ในขณะเดียวกันเฉพาะวีดีโอเทปที่ไม่มีฉลากนั้น ยังเป็นทรัพย์สินที่มิได้มีการแสดงตรา หมายเลขรหัส อันต้องด้วยความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ.2530 อีกด้วย ฉะนั้น การที่โจทก์ขอให้สั่งริบของกลางทั้งสองจำพวกที่ไม่มีฉลาก โดยมิได้ขอให้สั่งริบวีดีโอเทปที่มิได้แสดงตรา หมายเลขรหัสด้วยเช่นนี้ แสดงว่าโจทก์มีเจตนาขอให้สั่งริบของกลางในส่วนความผิดตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค ฯ เท่านั้น คดีนี้เหตุเกิดเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2539 จึงต้องนำบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภคฯ ฉบับเดิมมาใช้บังคับ ซึ่งมิได้บัญญัติเกี่ยวกับการริบของกลางไว้แต่อย่างใด จึงต้องบังคับตามบทบัญญัติแห่ง ป.อ. มาตรา 33 ดังที่โจทก์ขอมา โดยที่ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลากฉบับที่ 58 (พ.ศ.2536) ลงวันที่ 24 พฤษภาคม 2536 กำหนดให้ของกลางทั้งสองจำพวกเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก ประกอบกับบทกำหนดโทษตามมาตรา 52 แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภคฯ บัญญัติให้ลงโทษผู้ขายสินค้าที่ควบคุมฉลากโดยไม่มีฉลาก แสดงว่า กรณีจะเกิดเป็นความผิดตามมาตรา 52 ได้นั้น ก็เพราะเหตุที่สินค้าที่ควบคุมฉลากนั้น ไม่มีฉลากนั่นเอง หาใช่เกิดจากตัวสินค้าโดยตรงไม่ ดังนั้น ของกลางทั้งสองจำพวก จึงมิใช่ทรัพย์สินซึ่งบุคคลได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด อันจะพึงริบได้ตาม ป.อ.มาตรา 33 (1)
- กฎหมายพิเศษ พรบ.ลิขสิทธิ์
- คำพิพากษาฎีกาที่ 4748/2549 จำเลยได้รับอนุญาตจากโจทก์ร่วมให้เผยแพร่งานเพลงอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ร่วมได้ถึงวันที่ 20 เมษายน2547 ดังนั้น ตั้งแต่วันที่ 20 เมษายน 2547 จนถึงวันเกิดเหตุวันที่ 4 มิถุนายน 2547 จำเลยจึงไม่ได้รับอนุญาตให้เผยแพร่ต่อสาธารณชนซึ่งงานเพลงของโจทก์ร่วม การที่จำเลยนำวิดีโอซีดีที่มีผู้ทำซ้ำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ร่วมออกเผยแพร่ต่อสาธารณชน จำเลยจึงมีความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 30 (2) และมาตรา 70 วรรคสอง มิใช่เป็นเพียงผิดสัญญาในทางแพ่งเท่านั้น
- กฎหมายพิเศษ พรบ. ทางหลวง และ พรบ.จราจร
- คำพิพากษาฎีกาที่ 890/2524 จำเลยใช้รถยนต์บรรทุกทราบเกินน้ำหนักอัตราที่กำหนด เป็นการใช้รถยนต์กระทำผิดตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 แม้ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ไม่บัญญัติให้ริบรถยนต์ ก็ริบได้ตาม ป.อ.ม.33 ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นที่ไม่ริบรถยนต์ โดยศาลชั้นต้นเห็นว่าริบไม่ได้ ศาลอุทธรณ์เห็นว่าริบได้ แต่ไม่ควรริบ จำเลยฎีกาได้
- คำพิพากษาฎีกาที่ 3798/2527 จำเลยใช้รถยนต์บรรทุกทรายเกินน้ำหนักที่กำหนดเดินบนทางหลวงแผ่นดิน ศาลชั้นต้นลงโทษปรับ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน โดยวินิจฉัยข้อกฎหมายว่ารถยนต์ของกลางเป็นทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำตาม ป.อ. ม.33 แต่ใช้ดุลพินิจไม่ริบ โจทก์ฎีกาขอให้ริบรถยนต์ของกลาง จึงเป็นปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามฎีกาตาม ป.ว.อ. ม.218 (ศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจได้)
- คำพิพากษาฎีกาที่ 4006/2535 จำเลยขับรถยนต์บรรทุก ซึ่งมีน้ำหนักบรรทุกเกินกว่าที่ทางราชการกำหนดถึง 9,300 กิโลกรัม มาเดินบนทางหลวงแผ่นดิน ให้ริบรถยนต์บรรทุกของกลาง
- คำพิพากษาฎีกาที่ 6674/2538 ในความผิดฐานแข่งรถในทางตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 134 รถจักรยานยนต์ที่ใช้ในการแข่ง ถือเป็นทรัพย์สินซึ่งจำเลยได้ใช้ในการกระทำความผิด หสมควรริบตาม ป.อ. มาตรา 33 (1)
- คำพิพากษาฎีกาที่ 4003/2541 รถจักรยานยนต์ของกลางที่ใช้แข่งขันกันตามถนนหลวงที่คนทั่วไปต้องใช้สัญจรไปมา เป็นทรัพย์สินที่จำเลยทั้งสองได้ใช้ในการกระทำผิดตาม ป.อ.มาตรา 33 (1) จำเลยทั้งสองได้ขับรถจักรยานยนต์ของกลางแข่งขันกัน โดยฝ่าฝืนกฎหมาย และคำสั่งของเจ้าพนักงานจราจร โดยไม่คำนึงถึงความเดือดร้อนรำคาญ และอาจเป็นอันตรายแก่ชีวิตและทรัพย์สินของบุคคลอื่น เป็นพฤติการณ์ที่พึงริบรถจักรยานยนต์ของกลาง แม้รถจักรยานยนต์ของกลางเป็นของบิดาจำเลยที่ 1 ซึ่งมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วย ก็เป็นเรื่องที่เจ้าของแท้จริงจะต้องร้องขอคืนของกลางต่อศาล ไม่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1
- คำพิพากษาฎีกาที่ 2138/2541 จำเลยใช้รถยนต์บรรทุกของกลางมีน้ำหนักบรรทุกรวมน้ำหนักรถเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้ถึง 18,990 กิโลกรัม โดยไม่นำพาว่าจะก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงเพียงใดต่อสภาพทางหลวงแผ่นดิน ซึ่งเป็นสมบัติส่วนรวมและมีไว้เพื่อประโยชน์ของสาธารณชนการกระทำดังกล่าวของจำเลยทำให้ผู้ร่วมใช้เส้นทางสัญจรไปมาต้องเสี่ยงต่ออันตรายจากสภาพถนนที่ชำรุดทรุดโทรมง่ายต่อการเกิดอุบัติเหตุและอันตรายที่เกิดจากสภาพของรถยนต์บรรทุกที่มีน้ำหนักบรรทุกเป็นจำนวนมากจนเกินกว่าที่ผู้ขับขี่จะควบคุมให้แล่นไปได้อย่างปลอดภัยเมื่อจำเลยใช้รถยนต์บรรทุกของกลางในการกระทำความผิดเพื่อมุ่งแต่ประโยชน์สูงสุดในทางเศรษฐกิจของตนเพียงอย่างเดียว ไม่สนใจว่าจะก่อผลกระทบที่เสียหายต่อสังคมอย่างไร ดังนั้นรถยนต์บรรทุกของกลางซึ่งใช้ในการกระทำความผิดจึงเป็นทรัพย์ที่สมควรต้องริบ
- กฎหมายพิเศษ พรบ. ป่าไม้
- คำพิพากษาฎีกาที่ 305/2517 ถ่านไม่มีสภาพเป็นไม้หรือของป่า จึงไม่อาจริบได้ตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 34 แต่อาจริบได้ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 33 ในฐานะเป็นทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำผิดฐานแปรรูปไม้โดยไม่ได้รับอนุญาต
- คำพิพากษาฎีกาที่ 857/2527 จำเลยมีเปลือกไม้สีเสียด อันเป็นของป่าหวงห้ามไว้ในครอบครอง เกินปริมาณที่กฎหมายกำหนด รถยนต์ของกลางซึ่งใช้เป็นยานพาหนะ จึงไม่อยู่ในข่ายอันจะพึงริบตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ ม.74 ทวิ ทั้งจะริบตาม ป.อ. ม.33 ก็ไม่ได้ เพราะมิใช่ทรัพย์ซึ่งจำเลยได้ใช้ หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำผิด ความผิดของจำเลยอยู่ที่การไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่เท่านั้น
- คำพิพากษาฎีกาที่ 3118/2528 þ แม้ตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ จะมีบทบัญญัติเกี่ยวแก่การริบทรัพย์ไว้เป็นพิเศษแล้ว ศาลก็นำ ป.อ. ม.33 มาใช้บังคับในการที่จะริบทรัพย์ที่จำเลยใช้ในการกระทำความผิดได้ ตาม ป.อ. ม.17 ซึ่งตาม ม.33 เป็นเรื่องอยู่ในดุลพินิจของศาล เมื่อบรรทุกเกินปริมาณที่กฎหมายอนุญาตเพียงเล็กน้อย จึงไม่ควรริบรถยนต์ของกลาง / รถยนต์ของกลางที่จำเลยใช้บรรทุกไม้ฟืน ซึ่งเป็นของป่าหวงห้ามเกินประมาณที่กฎหมายอนุญาตให้มีไว้ในครอบครอง อันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ ม.29 ทวิ ศาลจะสั่งให้ริบตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ ม.74 ทวิ ไม่ได้ เพราะ ม.74 ทวิ ไม่มีบทบัญญัติให้ริบทรัพย์ซึ่งบุคคลได้ใช้ในการกระทำความผิดตาม ม.29 ทวิ
- กฎหมายพิเศษ พรบ. ยาเสพติด
- คำพิพากษาฎีกาที่ 5220/2531 จำเลยที่ 3 เตรียมเงินจำนวน 850,000 บาทเพื่อนำมาซื้อยาเสพติดตามที่จำเลยที่ 1 ติดต่อกับผู้ขาย แต่จำเลยที่ 1 สามารถนำยาเสพติดของกลางมามอบให้จำเลยที่ 2 ได้ในปริมาณราคาเพียง 600,000 บาทเท่านั้น เงินที่จำเลยที่ 3 เตรียมมาดังกล่าวจึงยังคงเหลืออีก 250,000 บาท ซึ่งเป็นจำนวนเดียวกันกับเงินที่ได้เตรียมมาซื้อยาเสพติดในตอนแรกนั่นเอง จึงถือได้ว่าเป็นทรัพย์ที่มีไว้เพื่อใช้ในการกระทำผิด ศาลมีอำนาจสั่งริบได้ตาม มาตรา 33 (1)
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1829/2538 ความผิดฐานมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองเป็นความผิดสำเร็จ เมื่อมีไว้ในครอบครอง จำเลยซ่อนเฮโรอีนไว้ในใต้พรมหลังที่นั่งคนขับรถยนต์ ไม่ทำให้รถยนต์เป็นทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิด จึงไม่อาจริบรถยนต์เป็นของกลางได้
- คำพิพากษาฎีกาที่ 589/2542 จำเลยที่ 1 ซุกซ่อนเฮโรอีนที่จำเลยที่ 1 มีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายไว้ในรถยนต์ รถยนต์ดังกล่าวจึงเป็นยานพาหนะที่จำเลยที่ 1 ได้ใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ ต้องริบตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 102
หมายเหตุท้ายคำพิพากษาฎีกาที่
ทรัพย์สินซึ่งบุคคลได้ใช้ในการกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33(1) แบ่งแยกออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
1. ทรัพย์สินซึ่งใช้ในการกระทำความผิดต่อชีวิต ร่างกาย ได้แก่ อาวุธตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 1(5)
2. ทรัพย์สินซึ่งได้ใช้ในทางผิดอื่นนอกจากความผิดต่อชีวิตและ ร่างกาย
ทรัพย์สินซึ่งบุคคลได้ใช้กระทำความผิดต่อชีวิตและร่างกายจะเห็น ได้ชัดเจนไม่มีปัญหาในทางปฏิบัติ แตกต่างจากทรัพย์สินซึ่งได้ใช้ ในการกระทำความผิดอื่นที่มีปัญหาในทางปฏิบัติมาก พิจารณาตามแนว คำพิพากษาศาลฎีกาก็มิได้บัญญัติหลักเกณฑ์ไว้เป็นบรรทัดฐาน ที่สามารถนำมายึดเป็นหลักได้ เนื่องจากมีการวินิจฉัยกลับไปกลับมา
ผู้หมายเหตุเห็นว่าการริบทรัพย์เป็นโทษอย่างหนึ่ง ดังนั้น การพิจารณาว่าทรัพย์สินใดใช้ในทางกระทำความผิดหรือไม่จะต้อง ดูเจตนาของจำเลยหรือผู้ใช้กระทำความผิดด้วยว่ามีเจตนาจะใช้ กระทำความผิดหรือไม่ โดยพิจารณาจากเงื่อนไขต่อไปนี้
1. พิจารณาว่าหากไม่ใช้ทรัพย์สินนั้นแล้ว ไม่สามารถกระทำ ความผิดตามที่มุ่งหมายได้
1.1 ปัจจัยเกี่ยวกับความเร็ว เช่น การปล้นทรัพย์บนรถบรรทุก ขณะขับแล่นตามท้องถนน การที่จะปล้นทรัพย์ดังกล่าวได้จะต้อง ใช้ยานพาหนะขับแล่นตามเพื่อปีนขึ้นไปบนรถบรรทุก ดังนั้น ยานพาหนะ ที่ขับแล่นตามจึงเป็นทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1519/2521 จำเลยกับพวกร่วมกันกระทำ ความผิดฐานพยายามปล้นทรัพย์รถยนต์บรรทุกสิบล้อที่บรรทุกสินค้า โดยพวกจำเลยขับรถยนต์กระบะตามหลังรถบรรทุกที่จะปล้นไปใน ระยะกระชั้นชิด แล้วจำเลยได้ปีนจากรถกระบะขณะแล่นตามหลังรถบรรทุก ขึ้นไปบนรถบรรทุก เห็นได้ว่าจำเลยได้ใช้รถกระบะเป็นยานพาหนะ เพื่อกระทำความผิดฐานพยายามปล้นทรัพย์รายนี้แล้ว และถือได้ว่า รถยนต์กระบะเป็นทรัพย์สินซึ่งจำเลยได้ใช้กระทำความผิด ศาลจึง มีอำนาจสั่งริบเสียได้
1.2 ปัจจัยเกี่ยวกับน้ำหนัก เช่น ลักทรัพย์สินซึ่งมีน้ำหนักมาก ไม่สามารถจะขนย้ายได้ด้วยกำลังคน ต้องใช้ยานพาหนะขน เช่นนี้ ยานพาหนะก็เป็นทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1691/2532 แม้ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 จะมิได้บัญญัติถึง การริบของกลางไว้ แต่ก็มิได้บัญญัติ ถึงเรื่องนี้ไว้เป็นอย่างอื่น ดังนั้น เมื่อจำเลยใช้รถบรรทุกน้ำหนัก เกินอันเป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย รถยนต์บรรทุกจึงเป็นทรัพย์สินที่ จำเลยได้ใช้ในการกระทำความผิด ศาลมีอำนาจริบรถยนต์บรรทุก นั้นได้ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 ประกอบด้วยมาตรา 17
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1712/2521 จำเลยขับรถยนต์บรรทุกโดยสาร ขนาดเล็กไปจอดท้ายรถจี๊ป ของผู้เสียหาย เห็นมีถังน้ำมันอยู่
ท้ายรถ จำเลยกับพวกจึงร่วมกันลักถังน้ำมันจากท้ายรถจี๊ป ดังกล่าว นำมาไว้ที่รถจำเลย ดังนี้ การกระทำของจำเลยเป็นการลักทรัพย์
โดยใช้ยานพาหนะเพื่อสะดวกแก่การพาเอาทรัพย์นั้นไป ต้อง ด้วยเหตุฉกรรจ์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 336 ทวิ
ข้อเท็จจริงในคดีนี้จำเลยลักน้ำมันบรรจุถังจำนวน 20 ลิตร ของผู้เสียหายไปน้ำมันจำนวน 20 ลิตรนี้จำเลยสามารถยกไปได้ด้วยตนเอง ไม่จำเป็นต้องใช้ยานพาหนะดังนั้นรถยนต์บรรทุกที่จำเลยใช้บรรทุกถัง น้ำมันของผู้เสียหายไปจึงมิได้เป็นทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิด แต่ถ้าข้อเท็จจริงฟังได้ว่าถังน้ำมันที่บรรทุกมีขนาดบรรจุ 100 ลิตร ซึ่งจำเลยไม่สามารถที่จะนำไปได้ ดังนั้นหากใช้รถยนต์บรรทุกไป ก็ถือได้ว่าจำเลยได้ใช้รถยนต์ในการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ รถยนต์จึงเป็นทรัพย์สินที่จำเลยใช้ในการกระทำความผิด อย่างไรก็ตาม แนวคำพิพากษาศาลฎีกายังไม่ยอมรับหลักเกณฑ์นี้ คงถือแต่เพียงว่าเป็น ยานพาหนะที่บรรทุกน้ำมันไปเท่านั้น เช่นคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2590/2531, 2712/2532 เป็นต้น
1.3 หลีกเลี่ยงการตรวจจับกุม เช่น หากเข้าออกตามช่องทางปกติ ที่ทางราชการจัดไว้เพื่อตรวจตราจะถูกจับกุม จึงต้องหลบหลีกไปทาง ด้านอื่นแต่ต้องใช้ยานพาหนะ เช่นนี้ยานพาหนะต้องเป็นทรัพย์สิน ใช้ในการกระทำความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1598/2521 จำเลยใช้เรือกาบของกลางเป็น พาหนะพาคนต่างด้าวสัญชาติลาวเข้ามาในราชอาณาจักรไทย ในทางอื่นซึ่งมิใช่ช่องทางที่รัฐบาลได้ประกาศกำหนดให้คนต่างด้าว เข้ามาในราชอาณาจักร และไม่ผ่านการตรวจของพนักงานเจ้าหน้าที่ ด่านตรวจคนเข้าเมืองโดยจำเลยได้รับเงินเป็นค่าจ้างจากคนต่างด้าว จำนวน 2,000 บาท เรือกาบพร้อมด้วยไม้พาย จึงเป็นทรัพย์ที่จำเลย ใช้เพื่อให้รับผลในการกระทำความผิดโดยตรง จึงเป็นของควรริบ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33(1)
จากคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าวหากจำเลยไม่ใช้เรือเป็น พาหนะพาคนต่างด้าวข้ามฝั่งมาแล้ว ก็ไม่สามารถที่จะนำคนต่างด้าว ข้ามฝั่งมาได้ เรือและพาย จึงเป็นทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิด อย่างไรก็ตามมีคำพิพากษาศาลฎีกาที่มีข้อเท็จจริงคล้ายกัน แต่ตัดสิน ไปอีกแนวหนึ่ง คือคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5426/2536 ซึ่งวินิจฉัยว่า การกระทำผิดฐานช่วยคนต่างด้าวที่เข้ามาในราชอาณาจักรไทย โดยฝ่าฝืนพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง มาตรา 64 วรรคแรก เพื่อให้ พ้นการจับกุม โดยใช้รถยนต์ของกลางเป็นพาหนะให้คนต่างด้าว นั่งมาในรถยนต์ของกลางด้วยนั้น ถือไม่ได้ว่ารถยนต์ของกลางเป็น ทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิดดังกล่าวโดยตรง ไม่ริบรถยนต์ ของกลาง
1.4 ใช้เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการกระทำความผิด หากไม่ใช้ก็ ไม่สามารถที่จะกระทำความผิดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2875/2531 โทรทัศน์สีและเครื่องเล่น วีดีโอเทปที่จำเลยใช้เป็นเครื่องมือแพร่ภาพลามก โดยจัดให้มีการ ฉายภาพยนตร์ วีดีโอเทปลามกเพื่อแสดงประชาชนและเรียกเก็บเงิน ประชาชนที่เข้าชม เป็นทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิด
อย่างไรก็ตาม ได้มีคำพิพากษาซึ่งมีข้อเท็จจริงคล้ายกันแต่ ตัดสินแตกต่างไปเช่น คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2792/2538 ซึ่งวินิจฉัยว่า เครื่องรับโทรทัศน์ที่ใช้ดูมวยในวันหยุดเป็นบริการ แก่ลูกค้า ลูกค้าเล่นพนันกันจากรายการมวย เครื่องรับโทรทัศน์นั้น เป็นเพียงเครื่องรับภาพ การแข่งขันชกมวยจากสถานีโทรทัศน์ ซึ่งเป็นผู้ส่งภาพมาเท่านั้น หาทำให้โทรทัศน์ของกลางเป็นเครื่องมือ เครื่องใช้ในการท้าพนันผลการชกมวยไม่ จึงไม่ริบจะเห็นว่า หากเจ้าของโทรทัศน์มีเจตนาให้ลูกค้าพนันชกมวยที่ถ่ายทอดทางโทรทัศน์ โทรทัศน์น่าจะเป็นทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิดเช่นเดียวกับ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2875/2531
2. หากไม่ใช้ทรัพย์สินแล้ว จะไม่กระทำความผิด
2.1 ในการกระทำความผิดต้องมีบุคคลคอยคุ้มกัน หากบุคคล ผู้คุ้มกันใช้ยานพาหนะถือว่ายานพาหนะนั้นเป็นทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำ ความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5845/2531 เมื่อรถยนต์ของกลางเป็น พาหนะที่จำเลยใช้คุ้มกันช่วยเหลือขณะทำการปล้นทรัพย์ และใช้นำตัว เจ้าทรัพย์ไปทำร้ายร่างกายระหว่างทำการปล้นทรัพย์ด้วย รถยนต์ ของกลางดังกล่าวจึงเป็นทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิด
2.2 เมื่อกระทำความผิดแล้วหากไม่ใช้ทรัพย์สินก็ไม่สามารถ ได้รับประโยชน์จากการกระทำความผิดได้ เมื่อใช้จึงเป็นทรัพย์สิน ที่ใช้ในการกระทำความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2356/2530 จำเลยขุดทรายในแม่น้ำซึ่งเป็น สาธารณสมบัติของแผ่นดินโดยไม่ได้รับอนุญาต เป็นการทำลายหรือ ทำให้เสื่อมสภาพที่ทรายอันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดิน และรถยนต์ที่ใช้บรรทุกทรายซึ่งขุดได้จากแม่น้ำถือว่าเป็นยานพาหนะ ที่ได้ใช้เป็นอุปกรณ์ให้ได้รับผลในการกระทำความผิด จึงต้องริบ
2.3 หากไม่ใช้แล้วไม่สามารถจะหลบหนีได้ทัน เมื่อใช้ก็เป็น ทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 393/2530 ม. กระชากสร้อยคอขาดหลุดจากคอ ผู้เสียหาย ผู้เสียหายใช้มือจับยึดสร้อยคอของตนไว้ก่อน ม. จึงแย่ง เอาไปไม่ได้ แล้ว ม.วิ่งไปนั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ของจำเลย ซึ่งติดเครื่องจอดรถรออยู่ตามแผนการที่ร่วมกันวางไว้แล้วหลบหนีไป ดังนี้แม้สร้อยคอยังอยู่ที่มือ ม. ตอนกระชาก เป็นการกระทำใน ขั้นที่มุ่งหมายจะให้สร้อยขาดหลุดจากคอผู้เสียหายเท่านั้น ม. จะยึดถือเอาไปการที่ ม. จะยึดถือเอาสร้อยไปยังไม่บรรลุผล จำเลยซึ่งร่วมกระทำความผิดด้วยจึงมีความผิดฐานพยายามวิ่งราวทรัพย์ โดยใช้ยานพาหนะเพื่อสะดวกแก่การกระทำความผิด
แต่มีคำพิพากษาศาลฎีกาที่วินิจฉัยไปในทางอื่นเช่นคำพิพากษา ศาลฎีกาที่ 234/2530 เป็นต้น
หากข้อเท็จจริงในคดีที่หมายเหตุนี้จำเลยกับพวกต้องการใช้ รถจักรยานยนต์บรรทุกยางแผ่นที่ลักของผู้เสียหายเนื่องจากไม่สามารถ แบกมาได้ หรือแบกมาได้แต่กลัวหนีไม่ทัน รถจักรยานยนต์เป็นทรัพย์สิน ที่ใช้ในการกระทำความผิดได้
ศาลฎีกาได้วินิจฉัยในเรื่องการรับฟังพยานหลักฐานในกรณีที่พยาน เบิกความแตกต่างจากคำให้การในชั้นสอบสวน หรือที่เรียกว่าพยาน กลับคำ หลักในเรื่องการรับฟังคำให้การชั้นสอบสวนยิ่งกว่าคำเบิกความ ในชั้นศาลนี้ ตามแนวคำพิพากษาศาลฎีกาจะต้องปรากฏว่า คำเบิกความ นั้นมีเจตนาจะช่วยจำเลยให้พ้นผิด หรือว่าคำเบิกความชั้นศาล ไร้เหตุผล ตรงกันข้ามกับคำให้การชั้นสอบสวนซึ่งประกอบชอบ ด้วยเหตุผล ในการเขียนคำพิพากษาคดีนี้ท่านผู้พิพากษาต้องหา เหตุผลในการวินิจฉัยหักล้างคำเบิกความของพยาน ต่างจากการฟัง คำเบิกความในชั้นศาลแต่เพียงอย่างเดียว เพราะกรณีหลังนี้จะเขียน คำพิพากษาได้ง่ายกว่าเพียงแต่ให้เหตุผลว่า โจทก์ไม่มีพยานหลักฐาน มายืนยันว่า จำเลยกระทำความผิด ลำพังคำให้การชั้นสอบสวนซึ่งเป็นพยาน บอกเล่าไม่มีน้ำหนักรับฟัง จึงแสดงให้เห็นว่า ท่านผู้พิพากษา ผู้เขียนคำพิพากษามีความมุ่งมั่นที่จะประสาทความยุติธรรม ผู้เขียนหมายเหตุศิริชัย วัฒนโยธิน
มาตรา 34 บรรดาทรัพย์สิน
(1) ซึ่งได้ให้ ตามความในมาตรา 143 มาตรา 144 มาตรา 149 มาตรา 150 มาตรา 167มาตรา 201 หรือ มาตรา 202 หรือ
(2) ซึ่งได้ให้ เพื่อจูงใจบุคคลให้กระทำความผิด หรือเพื่อเป็นรางวัลในการที่บุคคลได้กระทำความผิด
ให้ริบเสียทั้งสิ้น เว้นแต่ทรัพย์สินนั้นเป็นของผู้อื่น ซึ่งมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิด
- ริบตาม มาตรา 34 นี้ต้อง ”ให้” กันแล้ว (อก/535)
- หาก “เตรียมไว้ เพื่อจะให้” ริบตาม มาตรา 33 (1) (อก/539)
มาตรา 35 ทรัพย์สินซึ่งศาลพิพากษาให้ริบให้ตกเป็นของแผ่นดิน แต่ศาลจะพิพากษาให้ทำให้ทรัพย์สินนั้นใช้ไม่ได้ หรือทำลายทรัพย์สินนั้นเสียก็ได้
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1986/2523 ของกลางที่ศาลสั่งริบเป็นเครื่องรับวิทยุ และเสาอากาศเครื่องรับวิทยุสำหรับใช้ติดกับรถยนต์ ซึ่งเป็นของต่างประเทศที่ยังไม่เสียภาษีศุลกากร จำเลยรับจ้างขนของดังกล่าว โดยรู้ว่าเป็นของต่างประเทศที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร โดยหลีกเลี่ยงภาษีอากรเท่านั้น ของกลางที่ศาลสั่งริบจึงเป็นทรัพย์ที่ยังไม่ควรทำลายตาม ป.อ.ม.35
มาตรา 36 ในกรณีที่ศาลสั่งให้ริบทรัพย์สินตามมาตรา 33 หรือมาตรา 34 ไปแล้ว หากปรากฏในภายหลังโดยคำเสนอของเจ้าของแท้จริงว่า ผู้เป็นเจ้าของแท้จริง มิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิด ก็ให้ศาลสั่งให้ “คืนทรัพย์สิน” ถ้าทรัพย์สินนั้นยังคงมีอยู่ในความครอบครองของเจ้าพนักงาน แต่คำเสนอของเจ้าของแท้จริงนั้นจะต้องกระทำต่อศาล ภายในหนึ่งปีนับแต่วันคำพิพากษาถึงที่สุด
- การร้องขอคืนของกลาง
- “รู้เห็นเป็นใจฯ” ไม่ต้องขั้นเป็นผู้สนับสนุน (เน 47/12/3)
- คำพิพากษาฎีกาที่ 660/2508 คดีนี้กับคดีก่อนเป็นกรณีเดียวกัน ทรัพย์สินของกลางศาลพิพากษาริบแล้วในคดีก่อน โจทก์กล่าวถึงทรัพย์สินนั้นมาในฟ้องคดีนี้ให้บริบูรณ์ และมิได้มีคำขออย่างใด ทรัพย์สินนั้นจึงไม่ใช่ของกลางคดีนี้ ดังนี้ ศาลไม่มีอำนาจที่จะพึงสั่งคืนให้จำเลย และจะสั่งคืนได้ก็ต่อเมื่อมีคำเสนอของเจ้าของขอคืนในคดีก่อน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1674/2520 จำเลยเรียกสินบน โจทก์ร่วมผู้ถูกเรียกกับตำรวจวางแผนให้เงินจำเลย แล้วจับพร้อมด้วยเงินของกลาง เป็นการแสวงหาหลักฐานผูกมัดจำเลย ถือเป็นการร่วมมือกระทำผิด หรือสนับสนุนไม่ได้ ไม่เป็นการรู้เห็นเป็นใจในการกระทำผิด จึงขอคืนเงินของกลางได้ โดยไม่ต้องอุทธรณ์คำพิพากษาที่ให้ริบของกลาง
- คำพิพากษาฎีกาที่ 2001/2528 ผู้ร้องเคยยื่นคำร้องขอคืนของกลางมาแล้วครั้งหนึ่ง แต่ได้ขอถอนไป โดยศาลยังมิได้วินิจฉัยสั่งคำร้องนั้น ผู้ร้องจึงยื่นคำร้องขอคืนของกลางรายเดียวกันอีกภายใน 1 ปี นับแต่วันคำพิพากษาถึงที่สุดได้
- คำพิพากษาฎีกาที่ 3242/2531 การที่เจ้าของแท้จริงจะร้องขอให้ศาลสั่งคืนทรัพย์สินตาม มาตรา 36 โดยอ้างว่าตนเองมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดนั้น จะต้องเป็นกรณีที่ได้มีการฟ้องคดีต่อศาลแล้วเท่านั้น เมื่อมิได้มีการฟ้องคดีต่อศาล ผู้ร้องจึงจะมาร้องขอให้ศาลไต่สวน และมีคำสั่งให้คืนรถยนต์ของกลางแก่ผู้ร้องไม่ได้
- องค์ประกอบ “คำร้องขอคืนทรัพย์”
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1686/2516 ศาลพิพากษาลงโทษจำเลยและให้รับของกลางที่จำเลยใช้ในการกระทำความผิด ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งคืนของกลางแก่ผู้ร้อง โดยอ้างแต่เพียงว่าของกลางเป็นของผู้ร้อง ไม่ได้อ้างว่าผู้ร้องมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิด ดังนี้ ไม่ชอบด้วย มาตรา 36 ศาลต้องยกคำร้อง
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1810/2517 คำร้องขอให้สั่งคืนของกลางที่ถูกริบอ้างแต่เพียงว่า ของกลางเป็นของผู้ร้อง มิได้อ้างว่าผู้ร้องไม่ได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำผิด เป็นคำร้องที่มิชอบด้วย มาตรา 36 ศาลต้องสั่งยกคำร้อง
- คำพิพากษาฎีกาที่ 2643/2522 (1.ผู้ร้องเป็นเจ้าของที่แท้จริง และ 2.ไม่รู้เห็นเป็นใจในการทำผิด) คำร้องในการขอคืนทรัพย์สินที่ริบตาม ป.อ.ม.36 นั้น ผู้ร้องต้องอ้างมาในคำร้องด้วยว่าผู้ร้องเป็นเจ้าของที่แท้จริง และมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิด ที่ผู้ร้องบรรยายมาในคำร้องว่าการเคลื่อนย้าย หรือขนแร่ของกลางจากจังหวัดพังงา ไปยังจังหวัดภูเก็ต ก็ได้ดำเนินการโดยถูกต้องตามกฎหมายทุกประการนั้น ไม่อาจถือหรือแปลความหมายได้ว่า ผู้ร้องมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการที่จำเลยกับพวกไปทำผิดกฎหมาย
- คำพิพากษาฎีกาที่ 2596/2528 คำร้องบรรยายว่าอาวุธปืนของกลางเป็นของผู้ร้องขอให้ศาลสั่งคืน แต่ไม่บรรยายว่าผู้ร้องมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำผิดของจำเลย แม้จะอ้างว่ามีผู้อื่นนำของกลางไปฝากไว้ที่บ้านจำเลย ก็ไม่อาจถือหรือแปลความหมายได้ว่าผู้ร้องมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการที่จำเลยกระทำผิด จึงเป็นคำร้องที่ไม่ชอบด้วย ป.อ. ม.36
- คำพิพากษาฎีกาที่ 52/2531 ผู้เป็นเจ้าของทรัพย์สินที่ถูกริบจะต้องมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิด ศาลจึงจะสั่งคืนทรัพย์สินที่ถูกริบให้แก่เจ้าของได้ คำร้องอ้างว่า “มิได้มีส่วนร่วม” ในการกระทำความผิด ซึ่งมีความหมายต่างกับ “มิได้รู้เห็นเป็นใจ” ด้วยในการกระทำความผิด ศาลยกคำร้องขอคืนทรัพย์ได้ โดยไม่จำต้องไต่สวน
- การยื่นขอกันส่วน เท่ากับ ขอคืนทรัพย์ หากไม่มีการฟ้องคดี จะขอคืนทรัพย์ตาม ม.นี้ ไม่ได้(เน 47/15/10)
- ผู้ร้องขอคืนทรัพย์
- จำเลยจะเป็นผู้ขอคืนตาม ม.นี้ไม่ได้ เพราะจำเลยไม่ผิด ศาลก็ไม่ริบ / ทรัพย์ ม.32 แม้จำเลยไม่ผิด ศาลก็ริบ (เน 47/15/8)
- คำพิพากษาฎีกาที่ 169/2506 กระบือที่จำเลยนำเข้ามาในราชอาณาจักร โดยหลีกเลี่ยงภาษีอากรและนอกทางอนุมัติ ซึ่งจะต้องถูกริบตาม พ.ร.บ. ศุลกากรฯ นั้น หากผู้ร้องได้รับโอนไว้ ภายหลังวันที่จำเลยกระทำความผิด ผู้ร้องย่อมมิใช่เป็นเจ้าของกระบือ ซึ่งมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33,34 เพราะในวันที่จำเลยนำกระบือเข้ามา ผู้ร้องไม่มีสิทธิเป็นเจ้าของกระบือ ฉะนั้น แม้ผู้ร้องจะรับโอนไว้โดยสุจริต ก็ไม่เป็นเหตุให้กระบือนั้น พ้นจากการถูกริบนั้นไปได้ (เทียบ ฎ 119/2506 จำเลยโอนทรัพย์ที่ถูกยึดเป็นของกลาง บุคคลภายนอกซื้อไว้โดยสุจริตย่อมได้กรรมสิทธิ์ มีสิทธิขอคืน)
- คำพิพากษาฎีกาที่ 532/2513 ทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิด เมื่อศาลพิพากษาให้ริบแล้วย่อมตกเป็นของแผ่นดิน การโอนให้แก่กันในภายหลัง ผู้รับโอนย่อมไม่ได้ ย่อมไม่ได้กรรมสิทธิ์ ไม่อยู่ในฐานะเจ้าของที่แท้จริงอันจะร้องขอให้สั่งคืนได้
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1786/2517 ตาม มาตรา 36 ผู้ที่จะมีสิทธิยื่นคำร้องขอคืนทรัพย์สินที่ศาลสั่งริบ ต้องเป็นเจ้าของอันแท้จริงในทรัพย์สินนั้น ผู้เช่าซื้อรถยนต์ไม่ใช้เจ้าของแท้จริง จึงไม่มีสิทธิขอให้ศาลสั่งคืนเมื่อรถยนต์ถูกริบ
- คำพิพากษาฎีกาที่ 2690/2518 คำพิพากษาให้ริบไม้ของกลาง จำเลยอุทธรณ์คำพิพากษาได้ แต่ร้องขอของกลางคืนตาม ม.36 ไม่ได้ ม.36 เป็นเรื่องที่คนอื่นผู้อ้างว่าเป็นเจ้าของแท้จริงจะขอคืน
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1892/2523 การที่ศาลจะสั่งคืนของกลางที่ศาลสั่งริบนั้นจะต้องปรากฏว่าผู้ขอเป็นเจ้าของที่แท้จริง และมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิด จำเลยเป็นผู้กระทำความผิดเสียเอง ศาลก็สั่งคืนของกลางให้ไม่ได้
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1790/2527 ตามสัญญาซื้อขาย ผู้ซื้อและผู้ขายได้ตกลงกันว่ากรรมสิทธิ์ในยานยนต์จะตกไปอยู่แก่ผู้ซื้อ ก็ต่อเมื่อผู้ซื้อได้ชำระราคาครบถ้วนแล้ว ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับโอนสิทธิตามสัญญาจากผู้ซื้อเดิมมาอีกทอดหนึ่ง ก็ต้องผูกพันตามสัญญานี้ด้วย เมื่อขณะจำเลยกระทำผิดหรือขณะที่ศาลพิพากษาคดีผู้ร้องยังชำระราคาไม่ครบ กรรมสิทธิ์ในรถยนต์ของกลาง จึงยังไม่โอนมาเป็นของผู้ร้อง ผู้ร้องเพิ่งชำระราคางวดสุดท้ายในภายหลังนั้น จึงไม่มีอำนาจร้องของคืนของกลางได้
- คำสั่งคำร้องที่ 1595/2528 ผู้ร้องขอรับของกลางคืนถึงแก่ความตายภริยาผู้ตาย ย่อมมีสิทธิขอเข้าดำเนินคดีต่างผู้ตายต่อไปได้ตาม ป.ว.อ. ม.29 ในเมื่อคดียังอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลแม้จะขอเข้ามาดำเนินคดีต่างผู้ตายเกินหนึ่งปีก็ตาม เพราะบทกฎหมายดังกล่าวมิได้กำหนดระยะเวลาไว้
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1283/2530 เมื่อผู้ร้องชำระค่าเช่าซื้อครบถ้วนตามสัญญาเช่าซื้อจนผู้ให้เช่าซื้อยกกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ของกลางให้ผู้ร้องแล้ว แม้จะยังไม่ได้โอนทะเบียน กรรมสิทธิ์ในรถยนต์ก็เป็นของผู้ร้อง โดยการแสดงเจตนาของผู้ให้เช่าซื้อ เพราะทะเบียนรถยนต์ไม่ใช่เอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ของรถยนต์แต่เป็นเพียงหลักฐานที่กำหนดขึ้นเพื่อความสะดวกแก่การควบคุมรถยนต์เท่านั้น
- คำพิพากษาฎีกาที่ 64/2531 ศาลสั่งให้คืนทรัพย์ของกลางแก่เจ้าของ หากผู้ร้องเห็นว่าตนเป็นเจ้าของทรัพย์ของกลางที่แท้จริง ก็ชอบที่จะดำเนินการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 48 วรรคท้าย ด้วยการฟ้องเป็นคดีแพ่งต่อศาลที่มีอำนาจชำระ ผู้ร้องจะยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งคืนทรัพย์ของกลางในคดีเดิมตาม มาตรา 36 หาได้ไม่ เพราะไม่ใช่กรณีที่ศาลสั่งริบทรัพย์ของกลาง
- คำพิพากษาฎีกาที่ 3070/2537 เดิมรถจักรยานยนต์ของกลางที่ศาลมีคำสั่งให้ริบเป็นของ ว.ซึ่งจำเลยที่ 1 ไปติดต่อขอเช่าซื้อมา แต่เนื่องจากจำเลยที่ 1 มีเงินไม่พอ จึงไปติดต่อผู้ร้องเพื่อทำสัญญาเช่าซื้อ ผู้ร้องจึงได้ซื้อรถจักรยานยนต์คันดังกล่าวมาจาก ว. และได้ให้จำเลยที่ 1 เช่าซื้ออีกทอดหนึ่ง ดังนี้ กรรมสิทธิ์ในรถจักรยานยนต์จึงตกเป็นของผู้ร้องแล้ว โดยผู้ร้องไม่จำเป็นต้องเอารถจักรยานยนต์เข้ามาอยู่ในความครอบครองของผู้ร้องก่อน และไม่จำต้องโอนใส่ชื่อผู้ร้องในคู่มือการจดทะเบียนด้วย ทั้งการทำสัญญาเช่าซื้อนี้ ก็มิใช่นิติกรรมอำพรางการกู้เงินของจำเลยที่ 1 เพื่อไปซื้อรถจักรยานยนต์ของกลางด้วย เมื่อผู้ร้องมิได้รู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิดของจำเลยที่ 1 จึงต้องคืนรถจักรยานยนต์ของกลางแก่ผู้ร้อง
- คำพิพากษาฎีกาที่ 173/2539 แม้ผู้ร้องเป็นเพียงผู้เช่าซื้อรถยนต์ของกลางขณะจำเลยใช้รถดังกล่าวกระทำความผิด แต่เมื่อผู้ร้องได้ผ่อนชำระค่าเช่าซื้อครบก่อนที่ศาลจะสั่งริบ ผู้ร้องจึงได้กรรมสิทธิ์ ย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องขอคืนรถนั้นได้ และเมื่อผู้ร้องมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิด ก็ต้องคืนรถยนต์ของกลางแก่ผู้ร้อง
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1896/2540 ขณะจำเลยถูกจับกุมและศาลมีคำสั่งให้ริบรถยนต์บรรทุกของกลาง ส. ผู้เช่าซื้อไม่ครบ กรรมสิทธิ์ในรถยนต์บรรทุกของกลางจึงยังเป็นของผู้ร้องอยู่ การที่รถยนต์บรรทุกของกลางถูกศาลสั่งริบ ย่อมทำให้ผู้ร้องได้รับความเสียหายเพราะอาจจะไม่สามารถบังคับชำระหนี้เอาจาก ส. ได้อีก ดังนั้น จะถือว่าการที่ผู้ร้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียร่วมอยู่ด้วย ส่วนการที่ผู้ร้องจะมอบอำนาจให้บุคคลใดเป็นผู้ดำเนินคดีแทนนั้น ก็เป็นสิทธิตามกฎหมายที่จะกระทำได้ และการที่ผู้รับมอบอำนาจจากผู้ร้องจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดของจำเลยอย่างไรนั้น ก็เป็นเรื่องเฉพาะตัวของผู้รับมอบอำนาจเท่านั้น หามีผลถึงผู้ร้องด้วยไม่
- คำพิพากษาฎีกาที่ 3685/2541 ตามบทบัญญัติแห่ง ป.อ. มาตรา 36 แม้จะไม่ปฏิบัติไว้โดยตรง ห้ามจำเลยขอคืนของกลางที่ศาลสั่งริบก็ตาม แต่ก็เห็นได้ว่าเป็นเรื่องให้สิทธิแก่บุคคลภายนอกซึ่งไม่ใช่จำเลยในคดีนั้น เท่านั้นที่จะมีสิทธิขอคืนทรัพย์สินของกลางที่ศาลสั่งริบ โดยอ้างว่าตนเป็นเจ้าของที่แท้จริง และมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดมิใช่ให้สิทธิแก่จำเลยในคดีที่จะใช้สิทธิเช่นนั้นได้ด้วย เพราะหากจำเลยเป็นเจ้าของอันแท้จริงในทรัพย์สินของกลาง และมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิด จำเลยก็ย่อมมีสิทธินำพยานเข้าสืบในชั้นพิจารณาคดีนั้น เพื่อแสดงว่าจำเลยเป็นเจ้าของทรัพย์สินของกลางแท้จริงและมิได้รู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิดและมีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาของศาลที่สั่งริบทรัพย์สินของกลางได้อยู่แล้ว ดังนั้น เมื่อผู้ร้องเป็นจำเลยที่ 1 ในคดีที่ศาลมีคำสั่งริบอาวุธปืนของกลางและคดีดังกล่าวถึงที่สุดแล้ว ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิที่จะยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งคืนอาวุธปืนของกลางได้
- มาตรา 36 "ภาระการพิสูจน์" ในคดีร้องขอคืนของกลาง
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1622/2509 ตามมาตรา 36 หน้าที่นำสืบพิสูจน์ย่อมตกอยู่แก่ผู้ร้อง ซึ่งเป็นฝ่ายกล่าวอ้างว่าตนมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิด
- คำพิพากษาฎีกาที่ 184/2524 ศาลพิพากษาริบเรือและของกลางอื่นแล้ว ผู้ร้องห้างว่ามิได้รู้เห็นเป็นใจในการกระทำผิด เป็นหน้าที่ผู้ร้องต้องนำสืบให้ศาลเชื่อเช่นนั้นมิใช่หน้าที่โจทก์ต้องสืบหักล้าง
- คำพิพากษาฎีกาที่ 368/2535 การขอให้คืนของกลางที่ศาลสั่งริบตาม ป.อ. มาตรา 36 นั้นเป็นส่วนหนึ่งของคดีอาญา จึงเป็นหน้าที่ของผู้ร้องที่ต้องนำพยานหลักฐานเข้าสืบแสดงให้ศาลเห็นว่า (1) ผู้ร้องเป็นเจ้าของ และ (2) มิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดของจำเลย เมื่อผู้ร้องแถลงไม่สืบพยาน จึงฟังไม่ได้ว่าผู้ร้องมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิด
- การโอนทรัพย์สิน
- คำพิพากษาฎีกาที่ 605/2510 ผู้ซื้อทรัพย์สินที่ถูกเจ้าพนักงานยึดไว้เป็นของกลางในคดีอาญา เพราะเป็นทรัพย์ที่จะพึงริบตามกฎหมาย จะอ้างการโอนนั้นยันเจ้าพนักงานไม่ได้ / เมื่อคดีฟังไม่ได้ว่าเจ้าของทรัพย์ไม่รู้เห็นเป็นใจในการกระทำผิด ศาลก็ไม่สั่งคืนทรัพย์ที่ริบนั้น
- คำพิพากษาฎีกาที่ 169/2506 กระบือที่จำเลยนำเข้ามาในราชอาณาจักร โดยหลีกเลี่ยงภาษีอากรและนอกทางอนุมัติ ซึ่งจะต้องถูกริบตาม พ.ร.บ. ศุลกากรฯ นั้น หากผู้ร้องได้รับโอนไว้ ภายหลังวันที่จำเลยกระทำความผิด ผู้ร้องย่อมมิใช่เป็นเจ้าของกระบือ ซึ่งมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดตาม มาตรา 33,34 เพราะในวันที่จำเลยนำกระบือเข้ามา ผู้ร้องไม่มีสิทธิเป็นเจ้าของกระบือ ฉะนั้น แม้ผู้ร้องจะรับโอนไว้โดยสุจริต ก็ไม่เป็นเหตุให้กระบือนั้น พ้นจากการถูกริบนั้นไปได้
- คำพิพากษาฎีกาที่ 2041/2522 ศาลสั่งริบรถยนต์แล้ว ผู้ที่ซื้อและโอนทะเบียนรถนั้นภายหลังโดยสุจริต ไม่ได้กรรมสิทธิ์ ร้องขอคืนรถยนต์ไม่ได้
- คำพิพากษาฎีกาที่ 453/2539 ( สบฎ เน 5) ผู้ร้องเป็นเจ้าของขณะที่ใช้ทำผิด ระหว่างพิจารณา ผู้ร้องขายให้คนนอก เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้ริบ จักรยานยนต์ตกเป็นของแผ่นดิน บุคคลภายนอกไม่มีกรรมสิทธิ์ ผู้ร้องซื้อคืนมาก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ ไม่มีสิทธิร้องขอคืน
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1007/2543 รถของกลางที่ศาลให้ริบนั้น ตกเป็นของแผ่นดิน เมื่อคดีถึงที่สุด ผู้ร้องชำระราคางวดสุดท้าย ก่อนคดีถึงที่สุด ผู้ขายจึงสามารถโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ผู้ร้อง และถือได้ว่าผู้ร้องเป็นเจ้าของ ขอคืนของกลางได้ (“ผู้ร้อง” และ “ผู้ขาย” มิได้มีส่วนรู้เห็นเป็นใจ ในการกระทำความผิด จึงสมควรคืนรถจักรยานยนต์ของกลางให้แก่ผู้ร้อง)
- ประเด็นเรื่องการรู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิด
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1865/2521 รู้เห็นเป็นใจไม่จำต้องร่วมกระทำผิดในที่เกิดเหตุ ผู้ร้องซึ่งขอเรือของกลางคืนรู้ว่าผู้เช่าใช้เรือจับปลาในแม่น้ำเป็นความผิดแต่ไม่ห้าม หรือหาทางเลิกสัญญาเช่า ก็เป็นการรู้เห็นเป็นใจ ขอเรือที่ศาลริบคืนไม่ได้
- คำพิพากษาฎีกาที่ 4117/2532 จำเลยนำรถยนต์ที่เช่าซื้อมาจากผู้ร้องไปใช้กระทำความผิดโดยผู้ร้องรู้และมิได้บอกเลิกสัญญาแต่กลับรับชำระค่าเช่าซื้อต่อไปอีกพฤติการณ์ของผู้ร้องจึงเป็นเพียงประสงค์จะได้รับค่าเช่าซื้อเท่านั้น และการที่ผู้ร้องมายื่นคำร้องขอคืนรถยนต์ของกลาง ก็เป็นการกระทำเพื่อประโยชน์แก่จำเลยที่จะได้รับรถยนต์ของกลางไปจากผู้ร้องในภายหลัง อันถือได้ว่าเป็นการร่วมรู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิดของจำเลย ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิร้องขอคืนของกลาง
- คำพิพากษาฎีกาที่ 3134/2540 การที่จำเลยนำรถบรรทุกของกลางไปบรรทุกข้าวสารเกินกว่าปกติถึง 70 กระสอบแม้จะไม่ปรากฏว่าผู้ร้องได้สั่งให้จำเลยบรรทุกข้าวสารเที่ยวละกี่กระสอบ แต่ก็นับว่าเป็นจำนวนมากคิดเป็นมูลค่าหลายหมื่นบาท จึงไม่น่าเชื่อว่าผู้ร้องจะไม่ทราบ เพราะผู้ร้องเป็นผู้จัดการโรงสีมีหน้าที่ต้องดูแลกิจการและรักษาผลประโยชน์ของโรงสี เมื่อปรากฏว่าการขนข้าวสารไปส่งดังกล่าว เป็นการขายให้แก่ผู้อื่นที่มีจำนวนยอดแน่นอน มิใช่เป็นการขนข้าวสารไปเก็บยังสถานที่ของโรงสีเอง กรณีเช่นนี้ย่อมจะต้องมีการตรวจนับจำนวนกันอย่างละเอียดเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายแก่โรงสี จึงเป็นไปไม่ได้ที่ผู้ร้องจะปล่อยปละละเลยให้มีการขนข้าวสารขึ้นรถบรรทุกของกลาง เกินกว่าจำนวนที่เคยบรรทุกตามปกติไปเป็นจำนวนมากเช่นนั้น พฤติการณ์แห่งคดีน่าเชื่อว่าผู้ร้องย่อมรู้เห็นในการบรรทุกข้าวสารเกินจำนวนดังกล่าว จึงฟังได้ว่าผู้ร้องมีส่วนรู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดของจำเลย
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1589/2542 การที่ผู้ร้องเก็บกุญแจรถจักรยานยนต์ของกลางไว้ที่บ้าน จำเลยสามารถนำกุญแจไปใช้ขับขี่รถจักรยานยนต์ของกลางได้ โดยไม่ต้องบอกกล่าวบุคคลใด แสดงว่าผู้ร้องยินยอมอนุญาตให้จำเลยหยิบกุญแจรถจักรยานยนต์ดังกล่าวไปใช้ตลอดเวลาตามที่จำเลยต้องการ จำเลยนำรถจักรยานยนต์ไปขับขี่แข่งขันกันในถนน ย่อมถือว่าผู้ร้องรู้เห็นเป็นใจแล้ว
- คำพิพากษาฎีกาที่ 351/2543 จำเลยที่ 3 เป็นบุตรผู้ร้อง ทั้งรถจักรยานยนต์ของกลาง ผู้ร้องซื้อมาเพื่อใช้ในการทำมาหากิน และรับส่งบุคคลในครอบครัวโดยให้จำเลยที่ 3 เป็นผู้ใช้ในการนำออกไปซื้อของและขับไปโรงเรียนบ้าง จึงพออนุมานได้ว่า ผู้ร้องมิได้เข้มงวดในการที่จำเลยที่ 3 จะนำรถจักรยานยนต์ของกลางออกไปใช้นัก พฤติการณ์มีผลเท่ากับผู้ร้องอนุญาตโดยปริยายให้จำเลยที่ 3 นำรถจักรยานยนต์ไปใช้ได้ทุกเวลา ทุกสถานที่โดยไม่ขัดขวางดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 3 อายุเพียง 17 ปี อยู่ในวัยรุ่นวัยคะนองนำรถจักรยานยนต์ของกลางไปใช้ในการขับแข่งขันโดยไม่ได้รับอนุญาต ย่อมถือไม่ได้ว่าผู้ร้องมีส่วนรู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิด ไม่มีสิทธิขอคืนรถจักรยานยนต์ของกลาง
- คำพิพากษาฎีกาที่ 5857/2543 จำเลยนำรถจักรยานยนต์ของกลางไปขับแข่ง แสดงให้เห็นว่าจำเลยขับรถจักรยานยนต์เป็นและขับเก่ง การที่ผู้ร้องซึ่งเป็นมารดาไม่ทราบว่าจำเลยขับเก่ง แสดงว่าไม่สนใจดูแลเอาใจใส่จำเลยซึ่งเป็นบุตรเท่าที่ควร และไม่ปรากฏว่าผู้ร้องใส่กุญแจลิ้นชักที่วางกุญแจรถจักรยานยนต์ไว้ให้ดี เป็นเหตุให้จำเลยนำรถจักรยานยนต์ไปขับได้โดยง่ายเช่นนี้ ถือได้ว่าผู้ร้องรู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำผิดของจำเลยแล้ว
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1002/2545 ทั้งคำว่า “รู้เห็นเป็นใจ” หมายความว่ารู้เหตุการณ์และร่วมใจด้วย ส่วนคำว่า “ร่วมใจ” หมายความว่านึกคิดอย่างเดียวกัน การรู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิด จึงหมายความว่ารู้แล้วว่าจะมีการนำรถยนต์ของกลางไปใช้กระทำความผิด และมีความนึกคิดกระทำความผิดด้วย
- การร้องขอคืนทรัพย์ “โดยไม่สุจริต”
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1865/2521 รู้เห็นเป็นใจไม่จำต้องร่วมกระทำผิดในที่เกิดเหตุ ผู้ร้องซึ่งขอเรือของกลางคืนรู้ว่าผู้เช่าใช้เรือจับปลาในแม่น้ำเป็นความผิดแต่ไม่ห้าม หรือหาทางเลิกสัญญาเช่า ก็เป็นการรู้เห็นเป็นใจ ขอเรือที่ศาลริบคืนไม่ได้
- คำพิพากษาฎีกาที่ 4117/2532 จำเลยนำรถยนต์ที่เช่าซื้อมาจากผู้ร้องไปใช้กระทำความผิด โดยผู้ร้องรู้ และมิได้บอกเลิกสัญญา แต่กลับรับชำระค่าเช่าซื้อต่อไปอีกพฤติการณ์ของผู้ร้อง จึงเป็นเพียงประสงค์จะได้รับค่าเช่าซื้อเท่านั้น และการที่ผู้ร้องมายื่นคำร้องขอคืนรถยนต์ของกลาง ก็เป็นการกระทำเพื่อประโยชน์แก่จำเลย ที่จะได้รับรถยนต์ของกลางไปจากผู้ร้องในภายหลัง อันถือได้ว่าเป็นการร่วมรู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิดของจำเลย ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิร้องขอคืนของกลาง
- คำพิพากษาฎีกาที่ 4085/2539 แม้สัญญาเช่าซื้อระบุว่า หากทรัพย์สินที่เช่าซื้อถูกยึดถูกริบ ไม่ว่าโดยเหตุใดให้ถือว่าสัญญาเลิกกันโดยมิต้องบอกกล่าวก่อนและผู้เช่าซื้อยอมชำระเงินค่าเช่าซื้อที่ค้างจนครบ แต่ผู้ร้องไม่ได้ใช้สิทธิตามสัญญาดังกล่าว กลับยอมรับชำระค่าเช่าซื้ออีก 2 งวด หลังจากรถยนต์ของกลางถูกยึดแล้ว และยอมผ่อนผันการผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระอีก 7 งวด ซึ่งเป็นเงินส่วนน้อยเมื่อเทียบกับราคาเช่าซื้อทั้งหมด แสดงว่าผู้ร้องไม่ประสงค์จะเลิกสัญญากับผู้เช่าซื้อ และผู้ร้องต้องการจะได้ค่าเช่าซื้อตามสัญญาเท่านั้น การที่ผู้ร้องขอคืนรถยนต์ของกลาง จึงเป็นไปเพื่อประโยชน์ของผู้เช่าซื้อแต่ฝ่ายเดียว เป็นการใช้สิทธิทางศาลโดยไม่สุจริต ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิขอคืนรถยนต์ของกลาง
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1431/2543 ผู้ร้องในฐานะผู้ให้เช่าซื้อร้องขอคืนรถยนต์บรรทุกของกลางที่ศาลสั่งริบเพื่อประโยชน์ของผู้เช่าซื้อ เพื่อให้ผู้เช่าซื้อได้รับรถยนต์บรรทุกของกลางคืนไป หาใช่เพื่อประโยชน์ของผู้ร้องไม่ จึงเป็นการใช้สิทธิไม่สุจริต ผู้ร้องไม่มีสิทธิขอคืนรถยนต์บรรทุกของกลาง
- คำพิพากษาฎีกาที่ 5085/2543 การริบทรัพย์สินเป็นการลงโทษผู้กระทำความผิดหรือจำเลยอีกสถานหนึ่งด้วยตาม ป.อ. มาตรา 18 (5) ประกอบมาตรา 33(1) ฉะนั้น การคืนของกลางแก่เจ้าของทรัพย์ผู้สุจริต หรือผู้ที่มิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิด ถือเป็นข้อยกเว้นอันจะต้องพิจารณาโดยเคร่งครัด เพราะเท่ากับเป็นการยกเว้นโทษดังกล่าวให้แก่จำเลยไปด้วยในตัว / จำเลยนำรถจักรยานยนต์ที่เช่าซื้อไปใช้ขับแข่งรถในทางอันเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย ย่อมเป็นการผิดสัญญาเช่าซื้อ เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้ริบรถกรยานยนต์ของกลาง จำเลยจึงต้องรับผิดต่อผู้ร้องตามข้อสัญญาโดยต้องชดใช้ราคา หากผู้ร้องต้องการใช้สิทธิแห่งตนโดยสุจริตและตามความประสงค์หลักชดใช้ราคา หากผู้ร้องต้องการใช้สิทธิแห่งตนโดยสุจริต และตามความประสงค์หลักในการทำสัญญาเช่าซื้อ ผู้ร้องควรที่จะเรียกร้องเอาการชำระหนี้ เรื่องราคาจากจำเลยให้ครบถ้วนตามสัญญาเช่าซื้อ หาควรเรียกร้องเอารถจักรยานยนต์ของกลาง อันอาจก่อให้เกิดประโยชน์แก่จำเลยด้วยไม่ หรือนับเป็นการเบี่ยงเบน ไม่เรียกร้องค่าเช่าซื้อเพื่อจะช่วยเหลือจำเลยมิให้ต้องรับโทษเต็มตามคำพิพากษาที่กำหนดไว้ พฤติการณ์ของผู้ร้องเป็นการขอคืนของกลางโดยไม่สุจริต
- การคัดค้านคำร้องขอคืนของกลาง
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1263/2513 ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งคืนทรัพย์ที่ศาลได้สั่งริบ โจทก์ได้รับสำเนาคำร้องแล้ว แม้จะมิได้ยื่นคำร้องคัดค้าน ก็ยังถือว่าโจทก์ยอมรับว่าทรัพย์นั้น เป็นของผู้ร้อง และผู้ร้องมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดดังที่อ้างในคำร้อง หาได้ไม่ และการที่โจทก์มิได้ยื่นบัญชีระบุพยาน ถ้าศาลเห็นว่า ตามรูปคดีสมควรจะได้ฟังพยานหลักฐานของโจทก์ประกอบข้อวินิจฉัย ศาลย่อมมีอำนาจอนุญาตให้โจทก์สืบพยานได้ตามขอ
- คำพิพากษาฎีกาที่ 18/2541 รถจักรยานยนต์ของกลางที่ถูกยึด ยังมีรายการจดทะเบียนรถแสดงว่าจำเลยเป็นเจ้าของรถอยู่ พยานหลักฐานที่ผู้ร้องนำสืบว่าผู้ร้องซื้อรถจักรยานยนต์ของกลางจึงมีพิรุธ ฟังไม่ได้ว่าผู้ร้องได้ซื้อรถจักรยานยนต์ของกลางจากจำเลย ผู้ร้องจึงมิใช่เจ้าของรถจักรยานยนต์ของกลางอันแท้จริง ที่จะมีสิทธิมาร้องขอคืนรถคันดังกล่าว
- การอุทธรณ์ ฎีกา คำสั่งคำร้องขอคืนของกลาง ในปัญหาข้อเท็จจริง
- คำพิพากษาฎีกาที่ 211/2504 ถึงแม้ศาลพิพากษาเสร็จเด็ดขาดแล้วว่า ไม้ของกลางเป็นไม้หวงห้าม จำเลยมีไว้เป็นความผิด และให้ริบไม้ของกลางแล้วก็ดี เจ้าของไม้ย่อมใช้สิทธิตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36 ขอคืนไม้ของกลาง โดยอ้างว่าไม่ใช่เป็นไม้หวงห้าม เพราะขึ้นอยู่ในสวนของตนได้ เพราะเจ้าของไม้ไม่มีโอกาสต่อสู้คดีกับโจทก์ คำพิพากษานั้นไม่มีผลผูกพันเจ้าของไม้
- คำสั่งคำร้อง 438/2512 คดีที่ผู้ร้องขอคืนทรัพย์ที่ศาลสั่งริบนั้น เมื่อศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ยกคำร้องโดยอาศัยข้อเท็จจริง ผู้ร้องจะฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงมิได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 217, 219
- คำสั่งคำร้องที่ 342/2519 ในกรณีที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอคืนทรัพย์สินที่ศาลสั่งริบ โดยอ้างว่าผู้ร้องเป็นเจ้าของอันแท้จริง มิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิด ดังบัญญัติไว้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36 นั้น แม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำร้องของผู้ร้องโดยอาศัยข้อเท็จจริง ผู้ร้องก็ฎีกาได้
- คำสั่งคำร้องที่ 802/2527 ร้องขอคืนของกลางที่ศาลสั่งริบ ไม่มีกฎหมายห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริง
- คำพิพากษาฎีกาที่ 2732/2527 พ.ร.บ.การพนันฯ ม.10 วรรค 2 ให้ศาลมีอำนาจที่จะใช้ดุลพินิจในการริบเครื่องมือเครื่องใช้ในการเล่นการพัน โดยจะริบหรือไม่ริบก็ได้ ศาลชั้นต้นลงโทษปรับจำเลย 600 บาท และริบโต๊ะบิลเลียด ไม้คิวและลูกบิลเลียดของกลาง ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เฉพาะไม่ริบของกลางเท่านั้น จึงเป็นการแก้ไขเล็กน้อย โจทก์จะฎีกาขอให้ริบของกลางอันเป็นปัญหาข้อเท็จจริงอีกไม่ได้ ต้องห้ามตาม ป.ว.อ.ม.218
- คำพิพากษาฎีกาที่ 705/2529 ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้จำคุกจำเลย 1 ปี 6 เดือนจึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.ว.อ. ม.218 เมื่อศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์ใช้ดุลพินิจไม่ริบรถจักรยานสองล้อของกลางที่จำเลยใช้ในการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์แล้ว โจทก์ฎีกาขอให้ริบ จึงเป็นการใต้เถียงดุลพินิจของศาลเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว
- กำหนดเวลาการร้องขอคืนทรัพย์
- คำพิพากษาฎีกาที่ 5/2526 ขอให้ศาลสั่งคืนทรัพย์สินตาม ป.อ.ม.36 ต้องกระทำภายใน 1 ปี นับแต่วันคำพิพากษาถึงที่สุด มิใช่ภายใน 14 วัน นับแต่ “วันขายทอดตลาด” เพราะการขายทอดตลาดทรัพย์สินในคดีอาญา หาใช่การบังคับคดีตาม ป.ว.พ.ไม่
- คำพิพากษาฎีกาที่ 3335/2527 เดิมโจทก์ฟ้องจำเลยคดีนี้กับผู้ร้องในข้อหาความผิดต่อ พ.ร.บ. ป่าไม้ จำเลยให้การรับสารภาพ ผู้ร้องให้การปฏิเสธ ศาลชั้นต้นสั่งในวันที่ 4 กันยายน 2524 ให้โจทก์แยกฟ้องผู้ร้องเป็นคดีใหม่ และในวันเดียวกันพิพากษาลงโทษจำเลยริบไม้และรถยนต์บรรทุกของกลาง โจทก์ฟ้องผู้ร้องเป็นคดีใหม่ เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2524 ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษา ศาลฎีกาที่ยกฟ้องโจทก์เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2526 คำว่าวันคำพิพากษาถึงที่สุดตาม ป.อ. ม.36 หมายถึงคำพิพากษาในคดีที่ศาลมีคำสั่งให้ริบทรัพย์ เมื่อคดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาและมีคำสั่งให้ริบทรัพย์เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2524 โดยไม่มีการอุทธรณ์ คำพิพากษาจึงถึงที่สุดตั้งแต่วันที่ 22 กันยายน 2524 จึงเป็นการยื่นภายหลังวันที่คำพิพากษาคดีนี้ถึงที่สุดแล้วเกิน 1 ปี คำร้องจึงต้องห้ามตาม ม.36
- คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3812/2549 คำว่า "วันคำพิพากษาถึงที่สุด" ตาม ป.อ. มาตรา 36 ย่อมหมายความถึงคำพิพากษาในคดีที่ศาลมีคำสั่งให้ริบทรัพย์ ข้อเท็จจริงได้ความว่าคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 2436/2542 ของศาลชั้นต้นกับคดีนี้เป็นกรณีเดียวกันแต่ฟ้องคดีคนละคราว ทรัพย์สินที่ยึดได้ก็เป็นทรัพย์สินรายเดียวกัน รวมทั้งธนบัตรของกลางที่ศาลพิพากษาให้ริบไปแล้วในคดีหมายเลขแดงที่ 2436/2542 ก่อนคดีนี้ แม้โจทก์จะมีคำขอให้ริบธนบัตรของกลางในคดีนี้และศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ริบ ก็ไม่อยู่ในอำนาจของศาลคดีนี้ที่จะสั่งให้ริบธนบัตรของกลางซ้ำอีก ธนบัตรของกลางจึงมิใช่ของกลางในคดีนี้ที่ศาลจึงพึงวินิจฉัยสั่งด้วย เมื่อคดีหมายเลขแดงที่ 2436/2542 ถึงที่สุด และผู้ร้องมายื่นคำร้องในคดีนี้ขอคืนของกลางภายหลังวันที่คำพิพากษาในคดีที่ศาลมีคำสั่งให้ริบธนบัตรของกลางถึงที่สุดแล้วเกิน 1 ปี คำร้องของผู้ร้องจึงต้องห้ามตาม ป.อ. มาตรา 36
- กฎหมายพิเศษ
- ตามกฎหมายศุลกากร กรณีขอคืนจากเจ้าพนักงาน หากเป็น “ยานพาหนะ” ต้องขอภายใน 60วัน “ทรัพย์สินอื่น” ต้องขอภายใน 30 วัน กรณีขอคืนจากศาลใช้ ม.36 ตามปกติ (เน 47/15/14)
- คำพิพากษาฎีกาที่ 176/2506 การสั่งริบไม้ของกลางในความผิดต่อ พ.ร.บ. ป่าไม้ฯ ต้องเป็นไปตาม พ.ร.บ. ป่าไม้ ฯ ซึ่งบัญญัติไว้เป็นพิเศษต่างหากจากประมวลกฎหมายอาญา / ขนไม้ท่อนอันเป็นไม้หวงห้าม ไม่มีรอยตราที่กฎหมายระบุไว้บรรทุกรถยนต์มาจากป่า อันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. ป่าไม้ฯ มาตรา 69 รถยนต์ที่ใช้ขนไม้ ย่อมเป็นยานพาหนะ ซึ่งได้ใช้เป็นอุปกรณ์ให้ได้รับผลในการกระทำความผิดต้องริบตาม มาตรา 74 ทวิ.
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1810/2517 พ.ร.บ.ป่าไม้ มิได้มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการขอคืนของกลางที่ศาลสั่งริบ จึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายอาญา บุคคลภายนอกคดีย่อมใช้สิทธิตาม มาตรา 36 ขอให้ศาลสั่งคืนของกลางที่ถูกริบตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ได้
มาตรา 37 ถ้าผู้ที่ศาลสั่งให้ส่งทรัพย์สินที่ริบไม่ส่งภายในเวลาที่ศาลกำหนด ให้ศาลมีอำนาจสั่งดังต่อไปนี้
(1) ให้ยึดทรัพย์สินนั้น
(2) ให้ชำระราคาหรือสั่งยึดทรัพย์สินอื่นของผู้นั้นชดใช้ราคาจนเต็ม หรือ
(3) ในกรณีที่ศาลเห็นว่า ผู้นั้นจะส่งทรัพย์สินที่สั่งให้ส่งได้แต่ไม่ส่ง หรือชำระราคาทรัพย์สินนั้นได้แต่ไม่ชำระ ให้ศาลมีอำนาจกักขังผู้นั้นไว้จนกว่าจะปฏิบัติตามคำสั่ง แต่ไม่เกินหนึ่งปี แต่ถ้าภายหลังปรากฏแก่ศาลเอง หรือโดยคำเสนอของผู้นั้นว่าผู้นั้นไม่สามารถส่งทรัพย์สินหรือชำระราคาได้ ศาลจะสั่งให้ปล่อยตัวผู้นั้นไปก่อนครบกำหนดก็ได้
- หากทรัพย์ไม่มีแล้วเช่น สูญหายหรือถูกทำลาย หรือกรณีตกไปอยู่กับผู้อื่น จะขอริบหรือขอให้ชำระราคาไม่ได้
- “ให้ยึด” นั้นใช้กับบุคคลนอกคดีได้ แต่ (2) “ให้ชำระราคาหรือยึดทรัพย์” และ (3) “กักขัง” นั้นใช้กับบุคคลนอกคดีไม่ได้
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1375/2503 ศาลลงโทษปรับจำเลย ๆ ชำระค่าปรับบางส่วนแล้ว จำเลยขอให้ศาลสั่งคืนค่าปรับ โดยจำเลยขอถูกกักขังแทนค่าปรับเช่นนี้ ศาลจะสั่งคืนค่าปรับให้จำเลยหาได้ไม่
- คำพิพากษาฎีกาที่ 804/2505 อาวุธปืนที่จำเลยมีไว้ในครอบครองโดยผิดกฎหมาย แต่จำเลยได้ขว้างทิ้งลงแม่น้ำ ก่อนได้ตัวจำเลยมาสอบสวน ศาลย่อมไม่สั่งริบตามที่โจทก์ขอ กรณีเช่นนี้โจทก์ก็จะขอบังคับให้จำเลยส่งปืนที่ทิ้งดังกล่าว หรือให้จำเลยชำระราคาปืนนั้น ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 37 ไม่ได้
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1587/2505 การที่ศาลจะสั่งริบทรัพย์สินนั้น ทรัพย์สินที่จะริบต้องมีตัวอยู่ไม่ว่าจะได้ยึดมาเป็นของกลางแล้วหรืออยู่ที่อื่น ถ้าทรัพย์สินที่จะริบไม่มีตัวอยู่ เช่น ถูกทำลายหรือสูญหาย หรือความมีอยู่ไม่ปรากฏ ย่อมริบไม่ได้ และเมื่อริบไม่ได้ ก็จะใช้วิธีการตามมาตรา 37 ไม่ได้
- คำพิพากษาฎีกาที่ 377/2506 เรื่องการริบทรัพย์ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 นั้น มิได้ให้ริบเฉพาะทรัพย์ซึ่งนำมาอยู่ในอำนาจของศาลหรือเจ้าพนักงานเท่านั้น แต่ได้มุ่งหมายถึงทรัพย์ที่ได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำผิดเป็นสารสำคัญ แม้ทรัพย์ของกลางที่เจ้าพนักงานคืนให้จำเลยไปแล้ว ศาลก็สั่งริบได้ตามมาตรา 37
- (ขส พ 2516/ 7) จำเลยใช้ปืนยิงคน แล้วขว้างทิ้งลงแม่น้ำ อัยการฟ้องขอให้ริบปืน ถ้าไม่ส่งให้ใช้เงิน ตาม ม 35 หมายความว่า ทรัพย์สินที่สั่งริบนั้น มีอยู่อันจะพึงตกเป็นทรัพย์ของแผ่นดินได้ การที่ศาลจะสั่งริบทรัพย์สินนั้น ทรัพย์สินที่จะริบต้องมีตัวอยู่ ไม่ว่าจะยึดได้มาเป็นของกลางแล้วหรือที่อื่น ถ้าทรัพย์ไม่มีอยู่ เช่นถูกทำลาย หรือสูญหาย หรือความมีอยู่ไม่ปรากฏ ย่อมริบได้ และเมื่อริบไม่ได้ ก็จะใช้วิธีการตาม ม 37 ดังที่โจทก์ขอไม่ได้ ฎ 804 , 1587/2505
มาตรา 38 โทษให้เป็นอันระงับไปด้วยความตายของผู้กระทำความผิด
- “โทษริบทรัพย์สิน” กรณีศาลสั่งริบ แล้วตาย ขอคืนทรัพย์ไม่ได้ เพราะตกเป็นของแผ่นดินตาม ม.35 แล้ว กรณีตาย ก่อนศาลสั่งริบขอคืนทรัพย์ได้ (เน 47/16/1)
- ”ค่าปรับ” ชำระแล้วตาย ขอคืนไม่ได้ หากยังไม่ชำระศาลเรียกให้ชำระไม่ได้ (เน 47/16/1)
- คดียอมความได้ ศาลอุทธรณ์หรือฎีกา สั่งจำหน่ายคดี ก็เป็นอันระงับ ไม่ต้องสั่งยกฟ้อง (เน47/16/1)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น